ยากันยุงมีความสำคัญแค่ไหน
เป็นที่ปฎิเสธไม่ได้ว่าในประเทศ และสภาพอากาศของเรานั้นเป็นแหล่งชุกชุมของยุงเป็นอย่างดี โดยเฉพาะที่ที่มีแหล่งน้ำจะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงอย่างดีเยี่ยม และยุงนั้นเป็นพาหะที่ทำให้เกิดโรคร้ายได้หลายโรค และบางโรคอาจส่งผลกระทบถึงแก่ชีวิต เช่น ดังนั้นการป้องกันยุงจึงอยู่คู่กับคนไทยเรามาช้านาน อย่างสมัยก่อนเราจะนอนกางมุ้ง และยังใช้ยากันยุงร่วมด้วย แต่ปัจจุบันมีนวัตกรรมที่ทันสมัยขึ้นในการไล่ยุง และมีทางเลือกที่หลากหลายวิธีป้องกันยุง
ปัจจุบันยากันยุงมีหลากหลายรูปแบบเพื่อให้เหมาะกับการใช้งาน และยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ยากันยุงจึงมีให้เลือกแบบหลากหลายมาก ไม่ว่าจะเป็นสเปรย์กันยุงที่ใช้ฉีดพ่นกับผิว หรือครีมทากันยุง และแม้แต่สเปรย์ฉีดเพื่อไล่ยุงในอากาศ รวมไปถึงการประยุกต์นำสมุนไพรไทยเช่นตะไคร้ เพื่อทำมาไล่ยุง ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของสเปรย์ หรือน้ำมันหอมระหายยากันยุงแบบขดจุด
ยากันยุงมีหลากหลายรูปแบบเช่น เป็นขด ซึ่งมีลักษณะเป็นขดวงกลม เมื่อจุดจะเกิดควันที่มีสารไล่ยุง ซึ่งสารนี้จะส่งผลให้ยุงไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ หรือทำให้ยุงตายโดยเป็นสารสังเคราะห์ที่อยู่ในกลุ่มของไพรีทรอยด์ ที่ช่วยไล่แมลงได้และไม่ส่งผลอันตรายต่อคนยากันยุงแบบไฟฟ้า
เป็นวิธีไล่ยุงในบ้านที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เพราะสะดวกกับการใช้งาน มีการใช้ไฟฟ้ามาช่วยกระจายให้ยากันยุงกระจายไปตามส่วนต่าง ๆ ของบ้านอย่างทั่วถึง โดยน้ำยาชนิดนี้จะมีประสิทธิภาพในการไล่ยุงด้วยกลิ่นที่ยุงไม่ชอบเท่านั้น ไม่ใช่การฆ่ายุงแบบน้ำยาชนิดอื่นๆ จึงสามารถกันพื้นที่บริเวณที่มีการใช้เครื่องมือชนิดนี้ได้เป็นอย่างดี มีจุดเด่นที่ไร้กลิ่นฉุน และมีความปลอดภัยต่อผู้ที่อยู่ในบ้านขณะใช้อีกด้วย อย่างไรก็ดีการใช้งานยากันยุงแบบไฟฟ้านั้นจะมีการใช้พลังงานไฟฟ้าตลอดเวลา ดังนั้นเมื่อหยุดใช้งานควรดึงออกจากปลั๊ก หรือปิดสวิทช์ที่ปลั๊กไฟทุก ๆ ครั้งเพื่อความปลอดภัย และประหยัดพลังงานของผู้ใช้งานอีกด้วย องค์ประกอบของยากันยุงแบบไฟฟ้า ได้แก่- เครื่องพ่นน้ำยา มักมีระบุขนาดพื้นที่ของห้องที่เครื่องพ่นสามารถพ่นน้ำยาครอบคลุมพื้นที่ขนาดเท่าใดได้บ้าง
- น้ำยาไล่ยุง โดยมากจะมีลักษณะใส ๆ ไม่มีสี โดยปริมาณน้ำยาในเครื่องไล่ยุงแบบไฟฟ้าแต่ละชนิดแต่ละยี่ห้อนั้นจะมีความแตกต่างกันเล็กน้อย
- ปลั๊กไฟ ในปัจจุบันจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิดคือชนิดที่ต้องเสียบปลั๊กไฟเอาไว้ตลอดระยะเวลาการใช้งาน แบบชาร์ทไฟเอาไว้ล่วงหน้าสามารถเปิดใช้งานแบบไร้สายได้ และแบบใช้ถ่านไฟฉาย
- ฟังก์ชั่นเพิ่มเติม บางชนิดจะมีการบอกสถานะการทำงาน หรือตั้งระยะเวลาในการทำงานได้อีกด้วย
สเปรย์ไล่ยุง
แม้ว่ายุงจะเป็นศัตรูตัวร้ายของมุษย์ แต่หากผลิตภัณฑ์ไล่ยุงมีความรุนแรงก็อาจทำให้อันตรายกับผู้คนที่อยู่ใกล้ ๆ กับบริเวณที่ใช้ยากันยุงได้ ดังนั้นจึงได้มีการคิดค้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภัย พร้อม ๆ กับประสิทธิภาพในการไล่ยุง โดยพิจารณาว่ายุงกลัวอะไรมาใช้ในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ในการไล่ยุงที่ทำให้ผู้ใช้ได้ทั้งกลิ่นหอมของตระไคร้ และประสิทธิภาพในการไล่ยุงได้เป็นอย่างดี ผู้ใช้สามารถฉีดพ่นตามเสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ หรือพื้นที่ที่อยู่อาศัยให้ทั่วเพื่อให้บริเวณดังกล่าวปราศจากยุงกวนใจได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามการใช้งานสเปรย์ไล่ยุงมักมีข้อจำกัดเรื่องเวลาในการงาน โดยมากจะไม่เกิน 4 ชั่วโมง และกรณีเด็กเล็กควรพิจารณาเลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับผิวบอบบางแพ้ง่ายของทารกด้วย ตามท้องตลาดสามารถแบ่งประเภทของสเปร์ยกันยุงได้ ดังนี้- สารสกัดจากธรรมชาติ ตามธรรมชาติมีสมุนไพรที่มีคุณสมบัติในการไล่ยุงอยู่หลายชนิด จึงได้มีการนำสมุนไพรมาใช้ทำยากันยุงสมุนไพรในรูปแบบสเปรย์ ซึ่งนอกจากประสิทธิภาพในการกันยุงแล้วยังปลอดภัยกับผู้ใช้งานอีกด้วย
- แบบสเปรน์ดราย์ เป็นสเปร์ยกันยุงที่พ่นเป็นละอองฝอยขนาดเล็กมาก ๆ ได้ดี และยังป้องกันไม่ให้เกิดความรู้สึกเหนอะหนะหลังการใช้งานได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
- สเปร์ยสำหรับเด็กเล็ก เพราะเด็กเล็ก ๆ จะอ่อนไหวต่อสารกระตุ้นต่าง ๆ ได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่ ทั้งความไวในการรับกลิ่น หรือผิวที่บอบบางระตายเคืองได้ง่าย ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ผลิตภััณฑ์เฉพาะสำหรับเด็ก
ยาทากันยุง
เมื่อกล่าวถึงโลชั่นกับยุง หลาย ๆ คนอาจสงสัยว่ามีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร แต่ในปัจจุบันได้มีการคิดค้น และพัฒนายาทากันยุงในรูปแบบโลชั่น เพื่อให้ยากันยุงชนิดนี้มีประสิทธิภาพในการบำรุงผิว พร้อม ๆ กับการปกป้องจากยุงร้านที่เข้ามาทำความรังควานของผู้คน โดยมากประสิทธิภาพในการไล่ยุงนั้นจะมาผลิตภัณฑ์ไล่ยุงที่สำคัญ ดังนี้- DEET หรือสาร N,N-Diethyl-Meta-Toluamide เป็นสารเคมีที่มีประสิทธิภาพในการทำโลชั่นกันยุงเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะมีประสิทธิภาพที่ดีแล้ว ยังมีราคาถูก และปลอดภัยอีกด้วย (แต่ต้องควบคุมปริมาณการใช้งาน) แต่ในกรณีที่ผู้ใช้มีผิวบอบบางแพ้ง่ายผลิตภัณฑ์นี้อาจทำให้เกิดอาการระคายเคือง ผื่นแดง หรือบวมได้
- อิคาริดิน หรือ Icaridin เป็นสารเคมีสังเคราะห์ที่ใช้ฉีดยากันยุงได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีจุดเด่นที่ไร้กลิ่น เหมาะกับผู้ที่ชื่นชอบผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีกลิ่นรุนแรงได้ดี และยังอ่อนโยนต่อผิวมากกว่า DEET อีกด้วย
- ส่วนผสมจากธรรมชาติ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้สมุนไพรจากธรรมชาติมาใช้เป็นส่วนผสมสำคัญในการไล่ยุง โดยทั่วไปจะเป็นน้ำมันหอมระเหยจากยูคาลิปตัน ตะไคร้ หรือลาเวนเดอร์ เป็นต้น ซึ่งนอกจากสมุนไพรที่ใช้ในการไล่ยุงแล้ว โลชั่นกันยุงหลายชนิดยังเพิ่มส่วนผสมที่ช่วยบำรุงผิว หรือกักเก็บความชุ่มชื้นของผิวได้อีกด้วย ด้วยความปลอดภัย และประสิทธิภาพในการดูแลผิวเช่นนี้จึงทำให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับคนทุกเพศทุกวัย แต่ก็มักมีราคาแพงอีกด้วย
ยากันยุงสมุนไพร
สมุนไพรตามธรรมชาติหลายชนิดนั้นก็มีประสิทธิภาพในการไล่ยุงได้เป็นอย่างดี ถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภัยสูง ผู้ใช้งานสามารถทำได้ด้วยตนเอง โดยทั่วไปนิยมใช้สมุนไพร ดังต่อไปนี้- ตะไคร้หอม เป็นสมุนไพรที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ภายในลำต้นมีน้ำมันหอมระเหยชนิด Citronella, Citronellol และ Geraniol ที่มีประสิทธิภาพในการไล่ยุงได้ หาบ้านของใครมีพื้นที่พอสมควรก็อาจปลูกเอาไว้ในกระถางต้นไม้เล็ก ๆ เพื่อไล่ยุง หรือนำส่วนเหง้า มาทุบ แล้ววางไว้บริเวณที่มืด ๆ ในห้อง ซึ่งเป็นวิธีไล่ยุงในบ้านที่มีประสิทธิภาพ พร้อมกลิ่นหอม ๆ หรือจะนำไปสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหยเพื่อใช้เป็นส่วนผสมในครีมทาตัว หรือสเปรย์ฉีดยุงได้อีกด้วย
- มะกรูด เป็นพืชสมุนไพรอีกชนิดที่มีน้ำมันหอมระเหยเป็นจำนวนมาก และสามารถจัดการกับยุงชนิดต่าง ๆ ได้ โดยส่วนที่นิยมนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหยเพื่อใช้งานก็คือส่วนใบ หรือผิวของเปลือกมะกรูด สามารถนำมาใช้เป็นส่วนผสมในสเปรย์ฉีดกันยุง หรือวางไว้ใกล้แหล่งน้ำเพื่อป้องกันลูกน้ำยุงลาย และป้องกันไม่ให้ยุงมาวางไข่ในน้ำได้
- โหระพา เป็นสมุนไพรที่นิยมนำมาใช้ประกอบอาหารได้หลายชนิด สามารถนำมาปลูกใส่กระถางวางเอาไว้หน้าทางเข้าออกบ้านเพื่อใช้ป้องกันยุงได้ มีวิธีทำยากันยุงด้วยตนเองง่าย ๆ เพียงขยี้ใบโหระพาจนมีกลิ่นหอมออกมา นำไปวางในบริเวณที่มียุงชุกชุม หรือวางไว้หน้าทางลม หรือนำใบโหระพามาต้มกับน้ำเปล่า นานประมาณ 2-3 ชั่วโมง แล้วจึงเติมเหล้าขาวลงไป กลายเป็นสเปรย์ไล่ยุงอย่างง่ายแล้ว
- สะระแหน่ เป็นสมุนไพรที่มีน้ำมันหอมระเหย เช่น P-Cymene, B-Pinene, Ocimene และ Limonene เป็นส่วนประกอบ สามารถนำใบสะระแหน่มาบดขยี้ให้กลิ่นกระจายออกมา แล้วทาลงบนผิวหนังได้โดยตรง เพียงเท่านั้นก็เป็นยาทากันยุงอย่างง่ายแล้ว
- มะนาว กลิ่นของมะนาวสามารถไล่ยุงได้ สามารถนำเปลือกมะนาวไปต้มเพื่อเอากลิ่นแล้วนำมาวางตามมุมต่าง ๆ ของบ้านเพื่อไล่ยุงได้
- ส้ม เป็นสมุนไพรไล่ยุงอีกชนิดหนึ่ง ในผิวส้มมีน้ำมันหอมระเหยที่สามารถไล่ยุงได้อย่าง P-Cymene, B-Pinene, Ocimene, Citral และ Limonene เพียงนำเปลือกส้มไปตาแดดให้แห้งก็สามารถนำมาจุดไล่ยุงได้
- ยูคาลิปตัส ส่วนใบของต้นยูคาลิปตัสน้ำมันหอมระเหยชนิดพิเศษที่มีสรรพคุณไล่ยุงและแมลง โดยนำใบสดประมาณ 1 กำมือ มาขยี้ให้กลิ่นกระจายออกมา แล้วนำไปวางไว้ตามมุมห้อง เพื่อไล่แมลงรบกวนต่าง ๆ
วิธีไล่ยุงในสวน
แม้ว่าพื้นที่สวนมักสร้างความร่มรื่นเย็นตาเย็นใจให้กับผู้อยู่อาศัยได้เป็นอย่างมาก แต่ในสวนก็มักจะเป็นสถานที่ที่สร้างปัญหารบกวนจากยุงในสวนได้ ซึ่งวิธีการจัดการกับยุงในสวนอย่างง่าย ๆ ที่ทุกคนสามารถทำได้นั้นมีดังนี้- การปลูกพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณไล่ยุง พืชหลายชนิดมีน้ำมันหอมระเหยที่มีประสิทธิภาพในการไล่ยุง ดังนั้นเพียงปลูกกระจายตามส่วนต่าง ๆ ของสวนก็สามารถลดปัญหายุงรบกวนได้ดี เช่น ตะไคร้หอม โหระพา ต้นกระเทียม หรือสาระแหน่ เป็นต้น
- การกำจัดแหล่งน้ำยุงลาย ในเวลาที่ฝนตกบ่อย ๆ อาจเกิดแอ่งน้ำ หรือร่องเล็ก ๆ ที่มีน้ำขังอยู่ได้ ซึ่งหากปล่อยเอาไว้นาน ๆ ก็อาจทำให้กลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงได้ จึงควรหมั่นตรวจสอบ และขจัดแหล่งน้ำขังเหล่านี้เพื่อลดโอกาสที่ยุงจะไปวางไข่นั่นเอง
- ติดหลอดไฟที่ช่วยกำจัดยุง เพราะแสงจากหลอด LED บางชนิดมีความยาวคลื่นแสงทียุงไม่สามารถมองเห็นได้ การติดหลอด LED ชนิดนี้ไว้ตามมุมต่าง ๆ ของสวนจึงช่วยลดปริมาณยุงรบกวนได้
- หมั่นตัดหญ้าและเล็มใบไม้ ตามใต้ต้นหญ้าและใบไม้ที่ขึ้นจนหนามักมีความชื้นที่เหมาะกับการอาศัยอยู่ของยุงเป็นจำนวนมากๆ ได้ จึงควรขจัดพื้นที่ดังกล่าวเพื่อลดที่อยู่อาศัยของยุงให้น้อยลง
เคล็ดลับในการใช้ยาไล่ยุง:
- อ่านและปฏิบัติตามคำแนะนำ:
- อ่านและปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากผลิตภัณฑ์เสมอ รวมถึงความถี่ในการใช้ซ้ำและข้อควรระวังเฉพาะใดๆ
- ทาบนผิวหนังที่สัมผัส:
- ทาผลิตภัณฑ์ไล่ยุงบนพื้นผิวที่สัมผัส แต่หลีกเลี่ยงการทาบริเวณรอบดวงตาและปาก สำหรับผิวหน้า ให้ใช้ยาไล่แมลงบนมือแล้วเกลี่ยให้ทั่วใบหน้า
- ใช้กับเสื้อผ้า:
- สามารถใช้ไล่ยุงกับเสื้อผ้าได้ โดยเฉพาะในบริเวณที่ยุงสามารถกัดเสื้อผ้าบางๆ ได้ เพอร์เมทรินเป็นยาขับไล่ที่ออกแบบมาเพื่อรักษาเสื้อผ้า
- สมัครใหม่ตามความจำเป็น:
- สารขับไล่มีระยะเวลาประสิทธิผลที่จำกัด ใช้ซ้ำตามคำแนะนำของผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะหลังจากว่ายน้ำหรือออกเหงื่อ
- หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ผสม:
- หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ครีมกันแดดผสมกัน ควรทาครีมกันแดดและสารไล่แมลงแยกกันเพื่อการปกป้องที่เหมาะสม
- ปกป้องเด็ก:
- เลือกผลิตภัณฑ์ไล่แมลงสูตรเฉพาะสำหรับเด็ก และปฏิบัติตามคำแนะนำด้านอายุบนฉลากผลิตภัณฑ์ ทายากันยุงให้เด็กๆ ด้วยตัวเองเพื่อให้แน่ใจว่ามีการใช้อย่างเหมาะสม
- หลีกเลี่ยงพื้นที่ละเอียดอ่อน:
- หลีกเลี่ยงการใช้สารไล่แมลงกับบาดแผล บาดแผล หรือผิวหนังที่ระคายเคือง ระมัดระวังบริเวณที่บอบบาง เช่น ดวงตาและปาก
- ระวังโรคภูมิแพ้:
- หากคุณมีผิวที่บอบบางหรือแพ้ง่าย ให้ทำการทดสอบแพทช์ก่อนทาสารไล่ยุงในพื้นที่ขนาดใหญ่
- ล้างมือหลังการใช้:
- หลังจากทายาขับไล่แล้ว ให้ล้างมือให้สะอาดเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ยาเข้าตาหรือปากโดยไม่ได้ตั้งใจ
- พิจารณาทางเลือกจากธรรมชาติ:
- ถ้าคุณชอบทางเลือกที่เป็นธรรมชาติ น้ำมันหอมระเหยบางชนิด เช่น ตะไคร้หอม ลาเวนเดอร์ และน้ำมันทีทรีก็อาจมีคุณสมบัติไล่ได้ อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพอาจแตกต่างกันไป
- ชุดป้องกัน:
- สวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว และถุงเท้า โดยเฉพาะในช่วงที่มียุงชุกชุม
- รับข่าวสาร:
- ติดตามข่าวสารความชุกของโรคที่มียุงเป็นพาหะในพื้นที่ของคุณ และใช้มาตรการป้องกันที่เหมาะสม
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น