ลอราซีแพม (Lorazepam) : วิธีใช้ และข้อควรระวัง

ผู้เขียน Dr. Wikanda Rattanaphan
0
ลอราซีแพม

Lorazepam คือยาอะไร

ยาลอราซีแพมเป็นยาคลายเครียด โดยลอราซีแพมจัดอยู่ในกลุ่มเบนโซไดอะซีปีน (Benzodiazepines) ซึ่งออกฤทธิ์ที่สมองและประสาทให้หลั่งสารออกมาควบคุมให้อาการสงบลง การทำงานของยาจะไปเพิ่มการทำงานของกาบ้า (GABA) ซึ่งเป็นสารเคมีภายในสมอง

การใช้ยาในแบบอื่นๆ

ลอราซีแพม ต้องเป็นแพทย์สั่งเท่านั้นถึงสามารถรับประทานได้  โดยทั่วไป แพทย์ในการใช้ยานี้เพื่อการนอนหลับในกรณีที่นอนไม่หลับ หรือเพื่อลดอาการถอนแอลกอฮอล์ รวมไปถึงใช้เพื่อลดอาการคลื่นไส้  อาเจียนเนื่องจากเคมีบำบัด คำเตือนก่อนใช้ยา Lorazepam การใช้ยาลอราซีแพมร่วมกับยาบรรเทาความปวด เช่น โคเคน (Codeine) ไฮโดรคอโดน (Hydrocodone) อาจเพิ่มความเสี่ยงของผลข้างเคียงที่ร้ายแรง เช่น การเสียชีวิต ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงลง แพทย์จะเริ่มยาในขนาดที่ต่ำก่อน และใช้ยาให้น้อยที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ หากมีอาการดังต่อไปนี้ควรรีบไปพบแพทย์ ได้แก่ การหายใจช้า/ตื้น วิงเวียนศีรษะผิดปกติ ซึมลง/เวียนศีรษะอย่างรุนแรง ปลุกตื่นยาก 

วิธีใช้ยาลอราซีแพม

ควรอ่านฉลากหรือใบกำกับยาก่อนทุกครั้งที่ใช้ยาลอราซีแพม หากมีข้อสงสัยหรือคำถามให้ปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์ ซึ่งสามารถรับประทานยาลอราซีแพมโดยมีหรือไม่มีอาหารตามก็ได้ ขึ้นอยู่กับคำสั่งแพทย์ หากต้องใช้ยาในระยะยาวควรรับประทานยาในเวลาเดียวกันของทุกวัน เพื่อให้คุณไม่ลืมยา หากคุณหยุดใช้ยากระทันหัน อาจเกิดอาการถอนยา ได้แก่  ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันจากอาการถอนยา แพทย์จะทำการค่อยๆลดขนาดยาลงอย่างช้าๆค่อยเป็นค่อยไป หากลดขนาดยาแล้วมีแนวโน้มเกิดอาการถอนยามากขึ้นนั้นอาจเกิดจากการที่คุณใช้ยาลอราซีแพมเป็นเวลานาน(มากกว่า 1- 4 สัปดาห์) หรือใช้ยาในขนาดสูง อีกทั้งหากเคยมีประวัติติดเหล้าหรือแอลกอฮอร์, ติดสารเสพติด หรือมีความผิดปกติทางบุคลิกภาพ ควรแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบล่วงหน้า แม้ลอราซีแพมจะมีประโยชน์มาก ในทางกลับกันก็อาจทำให้เกิดการเสพติดได้ ฉะนั้นใช้ยาตามขนาดยาที่แพยท์สั่งจึงเป็นสิ่งที่พึงกระทำ อย่าหยุดใช้ยาเองกระทันหัน บางอาการอาจจะแย่ลงเมื่อหยุดใช้ยา เมื่อใช้ยาเป็นเวลานานอาจไม่ได้ผลเช่นกัน ควรปรึกษาแพทย์หากคุณสามารถหยุดยาแล้วไม่มีอาการใดๆ แจ้งแพทย์หากอาการแย่หรือเลวร้ายลง

ผลข้างเคียงของ Lorazepam

ง่วงนอน  วิงเวียนศีรษะ   ปวดศีรษะ อาเจียน การมองเห็นไม่ชัดเจน ท้องผูก แสบร้อนกลางทรวงอก  ความอยากอาหารเปลี่ยนไป หากอาการเหล่านี้แย่ลง ให้แจ้งแพทย์หรือเภสัชกรของคุณทันที จำไว้ว่าแพทย์ของคุณสั่งยานี้เนื่องจากพวกเขาตัดสินใจแล้วว่าจะเกิดประโยชน์มากกว่าความเสี่ยงจากผลข้างเคียงของยา อีกทั้งหลายคนที่ใช้ยานี้ก็ไม่เกิดผลข้างเคียงจากยา แจ้งให้แพทย์ทราบหากเกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ รวมถึง:
  • จิตใจหรืออารมย์เปลี่ยนไป เช่น เห็นภาพหลอน, ซึมเศร้า, มีความคิดฆ่าตัวตาย
  • พูดไม่ชัดหรือพูดลำบาก
  • การมองเห็นเปลี่ยนไป
  • ร่างกายอ่อนเพลียผิดปกติ
  • เดินลำบาก
  • มีปัญหาในการจำ
  • มีสัญญาณของการติดเชื้อ เช่น มีไข้, เจ็บคอ
ควรเข้ารับการรักษาหากคุณมีอาการที่พบได้ยาก ซึ่งเป็นอาการผลข้างเคียงที่รุนแรง ได้แก่:
  • ตัวและตาเหลือง
  • ชัก
  • หายใจช้าหรือลำบาก
อาการแพ้ที่รุนแรงที่พบได้ยากจากการใช้ยาลอราซีแพม ได้แก่:
  • ผื่น
  • คันหรือบวม (โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า ลิ้น ภายในลำคอ)
  • วิงเวียนศีรษะรุนแรง
  • หายใจลำบาก
จากที่กล่าวมาข้างต้น ยังมีผลข้างเคียงอื่นๆที่เกิดขึ้นได้อีก ที่ไม่ได้ระบุไว้ สิ่งสำคัญควรแจ้งแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อไป

ข้อควรระวังในการใช้ยา Lorazepam

ก่อนที่จะรับประทานยาลอราซีแพมควรแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบเกี่ยวกับประวัติการแพ้ของตัวคุณกับยาดังกล่าวหรือยาเบนโซไดอะซีปีนตัวอื่นๆ อาทิ อัลพราโวแลม(alprazolam), โคลนาซีแพม(clonazepam), ไดอะซีแพม(diazepam) หรืออาการแพ้อื่นๆ เนื่อจากผลิตภัณฑ์ยาดังกล่าวมีส่วนประกอบที่ไม่ออกฤทธิ์ ซึ่งอาจเป็สาเหตุให้เกิดอาการแพ้หรือปัญหาที่ตามมาได้ ประวัติที่ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนการใช้ยา:
  • โรคไต
  • โรคตับ
  • ต้อหิน (Glaucoma)
  • ปัญหาเกี่ยวกับปอด/การหายใจ เช่น อาการหยุดหายใจระหว่างหลับ 
  • มีอาการซึมเศร้า โรคทางจิต 
  • มีบุคคลหรือประวัติครอบครัวที่ใช้ยาแล้วเกิดความผิดปกติ เช่น ใช้ยาในปริมาณมากแล้วเกิดการเสพติดยา/แอลกอฮอล์
หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องจักรหรือยานพาหนะ หากคุณกำลังใช้ยาลอราซีแพมอยู่  ก่อนที่จะเข้ารับการผ่าตัดต้องแจ้งให้แพทย์ทราบว่ายาที่คุณใช้ทั้งหมดมีอะไรบ้าง ในผู้สูงอายุอาจไวต่อผลข้างเคียงจากยา โดยเฉพาะการสูญเสียการประสานงานและอาการง่วงนอน นอกจากนี้ผู้สูงอายุอาจไม่รู้สึกคลายเครียด ในทางตรงกันข้ามอาจเกิดอาการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ/อารมย์ เกิดปัญหาในการนอนหลับอาจนำไปสู่ความเสี่ยงในการหกล้ม และความต้องการทางเพศเปลี่ยนไป  ในเด็กอาจไม่ได้ประโยชน์จากยาเท่าที่ควร เนื่องด้วยไม่ช่วยให้คลายกังวลแล้วยังเกิดภาพหลอนหรืออาการกระสับกระส่ายได้ ไม่แนะนำให้ใช้ลอราซีแพมในสตรีตั้งครรภ์ เนื่องจากอาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้ อีกทั้งในคุณแม่ที่ให้นมบุตรหากใช้ยาในขณะที่ให้นมบุตร ควรสังเกตุอาการในทารก เช่น อาการหายใจช้าลง  ปัญหาการกินนม หรือร้องไห้ตลอดเวลา ควรปรึกษาแพทย์สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม ยาลอราซีแพมสามารถส่งผ่านนมแม่ได้ ฉะนั้นควรปรึกษาแพทย์ก่อนให้นมบุตรLorazepam

ปฏิกิริยาต่อกันของยา

ดูในส่วนของคำเตือนที่กล่าวไว้ด้านบน ปฏิกิริยาต่อกันของยาอาจเปลี่ยนการทำงานของยาหรือเพิ่มความเสี่ยงที่รุนแรงของผลข้างเคียงของยาได้ ในบทความนี้ไม่มีปฏิกิริยาต่อกันของยาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรเก็บรายชื่อผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่คุณใช้ รวมถึงรายการยาที่แพทย์สั่ง ทั้งที่เป็นสมุนไพรและไม่ใช่สมุนไพร แจ้งแพทย์และเภสัชกรให้ทราบ อย่าเริ่มหรือหยุดยาเอง หรือเปลี่ยนขนาดยาเองโดยไม่ได้รับคำสั่งจากแพทย์ บางผลิตภัณฑ์อาจเกิดปฏิกิริยาต่อกันของยา เช่น
  • Clozapine
  • Kava
  • Sodium oxybate (หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ Gamma hydroxybutyrate : GHB)
ความเสี่ยงที่รุนแรง เช่น หายใจช้าหรือลำบาก, ซึมลง/เวียนศีรษะอย่างรุนแรง อาจเกิดอาการมากขึ้นหากรับประทานยาร่วมกับยาอื่นๆส่งผลให้เกิดปัญหาในการหายใจหรือซึมลงได้ แจ้งแพทย์หรือเภสัชกรหากคุณใช้ยาอื่นๆร่วมด้วย เช่น กลุ่มยาแก้ปวด หรือยาแก้ไอ เช่น โคเคน (Codeine)  ไฮโดรคอโดน (Hydrocodone) แอลกอฮอร์, กัญชา (Cannabis) หรือยานอนหลับ/คลายกังวลอื่นๆ เช่น อัลพราโวแลม (Alprazolam)  โคลนาซีแพม(Clonazepam) ไดอะซีแพม(Diazepam)  ยาคลายกล้ามเนื้อ เช่น Carisoprodol Cyclobenzaprine หรือยาต้านฮีสตามีน เช่น Cetirizine  Diphenhydramine ตรวจสอบฉลากยาทุกตัวของคุณ เช่น ยาแก้แพ้ หรือยาแก้ไอ เพราะอาจมีส่วนประกอบที่เป็นเหตุให้เกิดอาการซึมลง สอบถามเภสัชกรสำหรับตัวยาที่ปลอดภัย

การใช้ยาเกินขนาด

โทรแจ้ง 1669 หรือรีบไปดน่วยฉุกเฉิน หากคุณใช้ยาเกินขนาดและมีอาการรุนแรง เช่นหายใจไม่ออกหรือหายใจลำบาก หรือศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี  1367 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หมายเหตุ การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต เช่น การเริ่มลดความเครียด อาจเพิ่มประสิทธิภาพของยาลอราซีแพมได้ อย่าแบ่งยาหรือใช้ยาร่วมกับผู้อื่น การตรวจเลือด เช่น การตรวจนับเม็ดเลือด, หน้าที่ของตับ เป็นระยะเพื่อติดตามความคืบหน้า หรือตรวจสอบผลข้างเคียงเป็นสิ่งที่ควรทำ สามารถปรึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากแพทย์ได้

การลืมทานยา

หากคุณลืมทานยาและต้องทานมากกว่า 1 ครั้งต่อวัน ให้ข้ามยามื้อนั้นไปและไปทานยาของมื้อถัดไปแทน โดยไม่ต้องเบิ้นยาหรือทานยาเพิ่ม หรือหากลืมยาในกรณีที่คุณทานยาวันละครั้งก่อนนอนแล้วคุณลืมยา ไม่ต้องทานยาทดแทนในมื้อเช้า ให้ข้ามไปทานตามปกติมื้อก่อนนอนได้เลย หรือโทรลปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางออก

การเก็บรักษายา

เก็บยาไว้ในอุณหภูมิห้อง, พ้นแสงและความชื่น ไม่เก็บยาไว้ในห้องน้ำ อีกทั้งควรเก็บยาทั้งหมดให้ไกลมือเด็กและสัตว์เลี้ยง อีกทั้งอย่าทิ้งยาลงในชักโครกหรือเทลงในท่อระบายน้ำ ยกเว้นจะได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรทิ้งยาเหล่านี้ให้เหมาะสมเมื่อยาหมดอายุหรือไม่จำเป็นต้องใช้ยาอีกต่อไป ปรึกษาเภสัชกรหรือบริษัทกำจัดขยะในพื้นที่ของคุณ

ใครที่ไม่ควรใช้ลอราซีแพม

ลอราซีแพมเป็นยาที่อยู่ในกลุ่มเบนโซไดอะซีพีน ซึ่งมักใช้รักษาโรควิตกกังวล การนอนไม่หลับ และอาการชักบางประเภท อย่างไรก็ตาม มีสถานการณ์และเงื่อนไขเฉพาะที่อาจไม่แนะนำให้ใช้ และควรใช้ความระมัดระวัง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเพื่อขอคำแนะนำเฉพาะบุคคลเกี่ยวกับลอราซีแพมและความเหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ ต่อไปนี้เป็นบางสถานการณ์ที่อาจจำเป็นต้องมีความระมัดระวังหรือการหลีกเลี่ยงการใช้ยาลอราซีแพม:
  • อาการแพ้หรือความไว:บุคคลที่ทราบว่าแพ้ยาลอราซีแพมหรือยาเบนโซไดอะซีปีนไม่ควรรับประทาน ปฏิกิริยาการแพ้อาจรวมถึงอาการต่างๆ เช่น ผื่น คัน บวม หรือหายใจลำบาก
  • โรคต้อหินมุมแคบ: Lorazepam อาจทำให้อาการนี้รุนแรงขึ้นเนื่องจากอาจส่งผลต่อความดันในลูกตา อาจไม่เหมาะกับผู้ที่เป็นโรคต้อหินชนิดนี้
  • ปัญหาระบบทางเดินหายใจ:ควรใช้ความระมัดระวังสำหรับบุคคลที่มีภาวะทางเดินหายใจรุนแรง เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เนื่องจากลอราซีแพมอาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าทางเดินหายใจหรือทำให้หายใจลำบากแย่ลง
  • ประวัติการใช้สารเสพติดหรือการเสพติด:บุคคลที่มีประวัติการใช้สารเสพติด โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับแอลกอฮอล์หรือยาอื่นๆ อาจมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะติดยาลอราซีแพม ควรใช้ความระมัดระวังเมื่อสั่งยาเบนโซไดอะซีพีนในกรณีเช่นนี้
  • การตั้งครรภ์และให้นมบุตร:โดยทั่วไปไม่แนะนำให้ใช้ยาลอราซีแพมในระหว่างตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เว้นแต่ว่าผลประโยชน์จะมีมากกว่าความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น สิ่งสำคัญคือต้องหารือเรื่องนี้กับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ
  • ผู้สูงอายุ:ผู้สูงอายุจำเป็นต้องระมัดระวัง เนื่องจากอาจมีความไวต่อผลของลอราซีแพมมากกว่า รวมถึงความเสี่ยงที่จะเกิดอาการระงับประสาท สับสน หรือการประสานงานบกพร่อง
  • ตับหรือไตทำงานไม่ปกติ:บุคคลที่มีความบกพร่องทางตับหรือไตอย่างรุนแรงอาจจำเป็นต้องปรับขนาดยาหรือติดตามอย่างใกล้ชิดขณะรับประทานลอราซีแพม เนื่องจากยาได้รับการประมวลผลโดยอวัยวะเหล่านี้
  • สภาวะทางการแพทย์บางประการ:ลอราซีแพมอาจไม่เหมาะกับบุคคลที่มีอาการป่วยบางอย่าง เช่น โรคต้อหินเฉียบพลัน โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรืออาการมึนเมาจากแอลกอฮอล์เฉียบพลัน
ปฏิบัติตามคำแนะนำและคำแนะนำของบุคลากรทางการแพทย์เกี่ยวกับการใช้ยาลอราซีแพมเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณมีอาการป่วยใดๆ กำลังใช้ยาอื่นๆ หรือมีความกังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียงหรือปฏิกิริยาระหว่างกัน  

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://medlineplus.gov/druginfo/meds/a682053.html
  • https://www.webmd.com/drugs/2/drug-8892-5244/lorazepam-oral/lorazepam-oral/details
  • https://www.nhs.uk/medicines/lorazepam/
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด