เกือบทุกคนต้องเคยสะอึกอย่างน้อยครั้งหนึ่งในชีวิต แม้ว่าการสะอึกจะหายไปเองในเวลาไม่นาน แต่ก็เป็นอาการที่น่าเบื่อ และทำให้ไม่สะดวกในการรับประทาน และการพูด
หลายคนพยายามจะหากลเม็ดมากมายที่จะทำให้หายสะอึก ตั้งแต่หายใจในถุงกระดาษ จนถึงการกินน้ำตาลเป็นช้อน แต่วิธีไหนล่ะ ที่จะได้ผลและแก้สะอึกได้จริง
ไม่ค่อยมีผลการศึกษามากนัก ที่ประเมินความสำเร็จของการใช้วิธีแก้สะอึกหลายๆ วิธีที่หลายคนลองใช้ และหลาย วิธีก็มีเรื่องราวประกอบ แต่ที่นิยมที่สุดคือการกระตุ้นเส้นประสาทเวกัส ซึ่งเชื่อมต่อกับกะบังลม
อาการสะอึกเกิดจากอะไร
ทำไมเราถึงสะอึก? การสะอึกเกิดขึ้นเมื่อกะบังลมหดเกร็งโดยไม่ตั้งใจ กะบังลมคือกล้ามเนื้อใหญ่ที่ช่วยในการหายใจเข้าออก เมื่อมันหดเกร็งคุณจะหายใจเข้าทันทีและเส้นเสียงจะปิด ซึ่งทำให้เกิดเสียงที่พิเศษคือเสียงสะอึก
ส่วนใหญ่ การสะอึกมาและหยุดเร็วมาก ปัจจัยที่ทำให้เกิดการสะอึกคือ
- กินมาก กินเร็ว
- ดื่มเครื่องดื่มซ่า
- อาหารรสจัด
- เครียดหรือตื่นเต้น
- ดื่มแอลกอฮอล์
- อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว
แก้อาการสะอึกบ่อย ๆ
กลเม็ดต่อไปนี้ ใช้กับการสะอึกสั้นๆ แต่ถ้าคุณสะอึกบ่อยคือนานกว่า 48 ชั่วโมง ควรปรึกษาแพทย์ อาจเป็นอาการของโรคอื่นๆที่ต้องรักษาวิธีทำให้หายสะอึกโดยการหายใจและการจัดท่า
บางครั้ง การเปลี่ยนวิธีการหายใจหรือท่าทาง ช่วยผ่อนคลายกะบังลมได้- ฝึกการหายใจลึกๆ หายใจช้าๆลึกๆ หายใจเข้านับหนึ่งถึงห้า หายใจออกนับหนึ่งถึงห้า
- กลั้นหายใจ หายใจเข้าลึกๆและกลั้นไว้ 10-20 วินาที แล้วหายใจออกช้าๆ ทำซ้ำถ้าจำเป็น
- หายใจในถุงกระดาษ เอาถุงกระดาษครอบจมูกและปาก หายใจเข้าออกช้าๆ ถุงจะโป่งและยุบตามจังหวะ ไม่ควรใช้ถุงพลาสติก
- กอดเข่า นั่งในท่าที่สบาย เข่าชิดอกและนิ่งไว้สองนาที
- กดหน้าอก ก้มตัวไปข้างหน้าเพื่อให้มีแรงกดที่หน้าอก จะเพิ่มแรงกดที่กะบังลม
- ใช้วิธี Valsalva คือหายใจออกขณะที่บีบจมูกไว้และปิดปากสนิท
สะอึกไม่หายให้กดจุด
กดบริเวณของร่างกายที่ไวต่อแรงกด กดที่จุดนั้นด้วยมือ ช่วยคลายกล้ามเนื้อกะบังลมหรือกระตุ้นเส้นประสาทเวกัส- ดึงลิ้น การดึงลิ้นช่วยกระตุ้นเส้นประสาทและกล้ามเนื้อในลำคอ จับปลายลิ้นและค่อยๆดึงออกมา ครั้งหรือสองครั้ง
- กดที่กะบังลม กะบังลมคือกล้ามเนื้อที่แบ่งช่องท้องและช่องอก ให้ใช้มือกดที่บริเวณใต้กระดูกสันอก
- ปิดจมูกในขณะที่ดื่มน้ำ
- บีบฝ่ามือ ใช้นิ้วโป้งกดที่ฝ่ามืออีกข้างหนึ่ง
- นวดเส้นเลือดแดงคาโรติด เส้นเลือดนี้อยู่สองข้างลำคอ (ที่ที่เราแตะและสัมผัสพบชีพจร) นอนลง หันศีรษะไปทางซ้าย และนวดเส้นเลือดแดงที่ข้างขวา นวดวนเป็นวงกลมนาน 5-10 นาที
- ดื่มน้ำเย็น จิบน้ำเย็นช่วยกระตุ้นเส้นประสาทเวกัส
- ดื่มน้ำจากขอบแก้ว เอาแก้วไว้ใต้คางและดื่มจากขอบแก้วฝั่งตรงข้าม
- ดื่มน้ำอุ่นหนึ่งแก้วโดยไม่หยุดเพื่อหายใจ
- ดื่มน้ำผ่านผ้าหรือกระดาษ ปิดแก้วน้ำเย็นด้วยผ้าหรือกระดาษและดื่มน้ำผ่านผ้าหรือกระดาษนั้น
- ดูดก้อนน้ำแข็งสักสองสามนาที และกลืนเมื่อน้ำแข็งก้อนเล็กลง
- กลั้วคอด้วยน้ำแข็งนาน 30 วินาที ทำซ้ำได้
- กินน้ำผึ้งหรือเนยถั่วสักช้อน ให้มันละลายในปากสักนิดก่อนกลืน
- กินน้ำตาล หยิบน้ำตาลเกล็ดสักหนึ่งหยิบมือวางบนลิ้น ทิ้งไว้ 5-10 นาที แล้วกลืน
- ดูดชิ้นมะนาว บางคนใส่เกลือเล็กน้อยบนชิ้นมะนาวฝาน และกลั้วปากด้วยน้ำเพื่อป้องกันไม่ให้ฟันถูกกรดซิตริก
- แตะน้ำส้มสักหยดบนลิ้น
เมื่อไรควรไปพบแพทย์
ส่วนใหญ่การสะอึกจะกายไปในไม่กี่นาทีหรือไม่กี่ชั่วโมง หากคุณสะอึกบ่อยๆหรือเป็นนานกว่าสองวัน ควรปรึกษาแพทย์ เพราะการสะอึกอาจเป็นอาการของโรคอื่นๆ เช่น- กรดไหลย้อน
- โรคเส้นเลือดสมอง
- โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
โดยยาแก้สะอึก มีดังนี้
- Baclofen (Gablofen)
- Chlorpromazine (Thorazine)
- Metoclopramide (Reglan)
ข้อเท็จจริงของการสะอึก
อาการสะอึกเป็นอาการสะท้อนที่พบบ่อยและไม่เป็นอันตรายซึ่งสามารถเกิดขึ้นเมื่อกะบังลมซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่หายใจหดตัวกะทันหัน ต่อไปนี้เป็นข้อเท็จจริงที่น่าสนใจเกี่ยวกับอาการสะอึก:- ศัพท์วิทยาศาสตร์:ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของอาการสะอึกคือ “singultus”
- การกระตุกของกะบังลม:อาการสะอึกเกิดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อกระบังลมอย่างกะทันหันและไม่ได้ตั้งใจ ตามมาด้วยการที่สายเสียงปิดอย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้เกิดเสียง “ฮิค” ที่เป็นลักษณะเฉพาะ
- อาการที่พบบ่อย:อาการสะอึกมักเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อคนทุกวัย ตั้งแต่ทารกจนถึงผู้สูงอายุ
- สิ่งกระตุ้น:อาการสะอึกสามารถถูกกระตุ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น การรับประทานอาหารเร็วเกินไป การบริโภคเครื่องดื่มอัดลม ความตื่นเต้น วิตกกังวล และแม้แต่อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง
- อาการสะอึกของทารกในครรภ์:สามารถตรวจพบอาการสะอึกของทารกในครรภ์ได้ในครรภ์และสตรีมีครรภ์มักรู้สึกได้ในช่วงหลังของการตั้งครรภ์ นี่เป็นสัญญาณของพัฒนาการของทารกในครรภ์ตามปกติ
- อาการสะอึกอย่างต่อเนื่อง:อาการสะอึกที่กินเวลานานกว่า 48 ชั่วโมงถือเป็นอาการต่อเนื่องหรือเรื้อรัง และอาจเป็นสัญญาณของภาวะทางการแพทย์ที่ซ่อนอยู่ ซึ่งควรได้รับการประเมินโดยผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ
- อาการสะอึกที่ทำลายสถิติ:บางคนเคยมีอาการสะอึกเป็นเวลานานเป็นพิเศษ บันทึกสถิติโลกกินเนสส์สำหรับการสะอึกที่ยาวนานที่สุดที่บันทึกไว้นั้น จัดขึ้นโดยชาร์ลส์ ออสบอร์น ซึ่งสะอึกอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 68 ปี ตั้งแต่ปี 1932 ถึง 1990
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://www.webmd.com/digestive-disorders/hiccups-treatment
- https://www.medicinenet.com/hiccups/article.htm
- https://www.medicalnewstoday.com/articles/9896
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น