ความปลอดภัยของอาหาร (Food Safety) – คำแนะนำ

ป้องกันอาหารเป็นพิษได้อย่างไร 

อาหารเป็นพิษไม่เพียงแค่ทำให้คนต้องเข้าโรงพยาบาลถึง 128,000 รายต่อปีเท่านั้น แต่ยังเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพในระยะยาวด้วย- เราสามารถป้องกันคนในครอบครัวจากอาหารเป็นพิษได้ด้วยการทำตามขั้นตอนส่ขั้นตอนง่ายคือ สะอาด แยกแยะ ปรุงสุกและแช่เย็น

สะอาด: ล้างมือให้สะอาด ทำความสะอาดเครื่องใช้ในครัวเรือนและพื้นผิวในครัวบ่อยๆ

เชื้อโรคที่ทำให้เกิดอาการป่วยสามารถมีชีวิตรอดอยุ่ในทุกๆที่รอบๆห้องครัว ซึ่งรวมไปถึงในอาหาร มือ เครื่องครัว เขียงและเคาน์เตอร์

ล้างมือให้ถูกวิธี:

  • ใช้สบู่ปกติและน้ำ-หลีกเลี่ยงสบู่ต้านเชื้อแบคทีเรีย- ถูหลังมือ ซอกนิ้วและใต้เล็บอย่างน้อย 20 วินาที ด้วยการร้องเพลง “แฮปปี้เบิร์ธเดย์” ตั้งแต่ต้นจนจบสองรอบ
  • ล้างออก จากนั้นซับมือให้แห้งด้วยผ้าขนหนูสะอาด
  • ล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะในระหว่างช่วงเวลาที่มีการแพร่กระจายของเชื้อโรค:
    • ก่อน ระหว่างและหลังเตรียมอาหาร
    • ก่อน จับเนื้อดิบ เนื้อไก่ อาหารทะเลหรือน้ำจากเนื้อสัตว์หรือไข่ที่ยังไม่ผ่านการปรุงสุก
    • ก่อนการรับประทานอาหาร
    • หลังการใช้ห้องน้ำ
    • หลังการเปลี่ยผ้าอ้อมเด็กหรือทำความสะอาดให้เด้กหลัการใช้ห้องน้ำ
    • หลังสัมผัสสัตว์ อาหารสัตว์หรือมูลสัตว์
    • หลังหยิบจับขยะ
    • ก่อนและหลังดูแลคนป่วย
    • ก่อนและหลังทำความสะอาดบาดแผล
    • หลังสั่งน้ำมูก ไอ หรือจาม
    • หลังจับอาหารสัตว์หรือเลี้ยงสัตว์

ล้างพื้นผิวแฃะเครื่องครัวหลังการใช้ในแต่ละครั้ง:

  • ล้างเขียง จานชาม เครื่องครัวและเคาน์เตอร์ด้วยน้ำร้อน สบู่ โดยเฉพาะหลังจากสัมผัสกับเนื้อสด เนื้อไก่ อาหารทะเลหรือไข่

ล้างผักและผลไม้ แต่ไม่ใช่เนื้อ เนื้อไก่หรือไข่:

  • ตัดส่วนที่เสียหายหรือช้ำทิ้ง จากนั้นนำผักและผลไม้ไปล้างให้น้ำไหลผ่านด้วยน้ำเปล่า
  • ถูตัวไขเคลือบผิวที่อยู่บนผลไม้ออกเช่ยเมล่อนหรือแตงกวาด้วยแปรงสะอาด
  • เช็ดให้แห้งด้วยกระดาษเช็ดมือหรือผ้าสะอาดDry produce with a paper towel or clean cloth towel.
  • ไม่ควรล้างเนื้อ เนื้อไก่ ไข่หรืออาหารทะเลเพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่กระจายเชื้อโรคที่เป็นอันตรายไปทั่วห้องครัว

แยกแยะ:เพื่อไม่ให้เกิดการปนเปื้อนข้าม

ใช้เขียงแยกประเภทและจานที่ใช้สำหรับประกอบอาหาร เนื้อ เนื้อไก่ อาหารทะเลและไข่:

  • ใช้เขียงหนึ่งอันสำหรับอาหารสดหรืออาหารที่ไม่ต้องผ่านการปรุงสุกก่อนรับประทาน และอาหารดิบอื่นๆเช่นเนื้อ เนื้อไก่หรืออาหารทะเล 
  • ใช้จานและภาชนะเครื่องครัวสำหรับอาหารปรุงสุกและอาหารดิบแยกจากกัน
  • ใช้น้ำร้อน สบู่ในการล้างจาน ภาชนะเครื่องครัวและเขียงที่สัมผัสเนื้อดิบ เนื้อไก่ ไข่หรือแป้ง
food safety

แยกเก็บอาหารแต่ละประเภท:

  • ในรถเข็นช็อปปิ้งก็ควรแยกอาหารสด เนื้อไก่ อาหารทะเลและไข่ออกจากอาหารชนิดอื่นๆ และใสเนื้อ เนื้อไก่และอาหารทะเลลงถุงพลาสติกหากทำได้ เมื่อตอนจ่ายเงินให้แยกของสดแยกถุงจากอาหารชนิดอื่นๆ
  • ที่บ้านให้จัดเก็บเนื้อสด เนื้อไก่และอาหารทะเลใส่ในภาชนะหรือใส่ลงถุงปิดถุงให้แน่นหนา นำไปแช่แข็งหากยังไม่มีแผนการจะได้ใช้ภายในสองสามวัน
  • ในตู้เย็น เก็บไข่ไว้ในกล่องและเก็บในส่วนของตัวด้านในตู้เย็น ไม่ใช่ที่ฝาประตูตู้เย็น

ทำการปรุงสุกด้วยอุณหภูมิที่ถูกต้อง

อาหารจะมีความปลอดภัยเมื่อมีอุณหภูมิภายในที่สูงมากพอจะฆ่าเชื้อโรคที่อาจทำให้เกิดอาการป่วย:

  • ใช้เครื่องวัดอุณหภูมิสำหรับอาหารเพื่อให้แน่ใจว่าอาหารมีความปลอดภัย เมื่อคิดว่าอาหารสุกแล้วให้ใช้เครื่องวัดอุณหภูมิเสียบเข้าไปตรงบริเวณที่หนาที่สุด ให้แน่ใจว่าไม่โดนกระดูก ไขมันหรือกระดูกอ่อน
  • ดูชาร์ทตารางอุณหภูมิอาหารเพื่อให้แน่ใจว่าอาหารมีอุณหภูมิถึงตามที่กำหนด

ให้อาหารร้อนเสมอ ( 140˚F หรือสูงกว่า) หลังอาหารปรุงสุก:

หากยังไม่เสิร์ฟอาหารในทันทีหลังทำอาหารเสร็จ ให้พยายามอย่าปล่อยให้อาหารเย็นอยุ๋ในช่วงอุณหภูมิที่เป็นอันตราย (ระหว่าง 40°F -140°F) เพราะในอุณหภูมิดังกล่าวเชื้อโรคจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว

ใช้ไมโครเวฟให้ความร้อนทั่วถึง (165˚F หรือสูงกว่า):

  • อ่านคำแนะนำสำหรับการปรุงอาหารและปฏิบัติตามเพื่อให้แน่ใจว่าอาหารได้รับการปรุงสุกอย่างทั่วถึง
  • หากฉลากอาหารบอกไว้ว่า “วางทิ้งไว้  X นาทีหลังการปรุงสุก” คือการทิ้งอาหารไว้ในตู้ไมโครเวฟราวสองสามนาทีเพื่อให้อาหารสุกทั่วถึงในขณะที่ส่วนที่เย็นกว่าจะได้ดูดซับความร้อนจากบริเวณที่ร้อนกว่า
  • คนอาหารในระหว่างให้ความร้อนช่วงกลางๆ ทำตามคำแนะนำสำหรับอาหารแช่แข็ง บางชนิดไม่ได้ถูกออกแบบมาให้สามารถคนได้ในระหว่างให้ความร้อน

การแช่: การเก็บอาหารแช่เย็นและแช่แข็งอย่างเหมาะสม

  • แบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของอาหารเป็นพิษจะทวีตัวอย่างรวดเร็วเมื่ออยู่ในอุณหภูมิห้องระหว่าง  40°F ถึง 140°F 
  • ตู้เย็นควรตั้งอุณหภูมิไว้ที่ 40°F หรือต่ำกว่า และช่องแช่แข็งควรอยู่ที่ 0°F หรือต่ำกว่า 
  • ไม่ควรทิ้งอาหารที่เน่าเสียได้ไว้นอกตู้เย็นเกินกว่า 2 ชั่วโมง หากอาหารสัมผัสอุณหภูมิมากกว่า 90°F (เช่นในรถร้อนๆหรือไปปิคนิค) ให้รีบแช่เย็นภายใน 1 ชั่วโมง
  • อย่าละลายหรือหมักอาหารบนเคาน์เตอร์ วิธีที่ปลอดภัยที่สุดคือละลายหรือหมักเนื้อ เนื้อไก่และอาหารทะเลในตู้เย็น
  • การแช่แข็งไม่ได้เป็นการทำลายเชื้อโรคที่เป็นอันตราย แต่เป็นการช่วยรักษาอาหารให้ปลอดภัยจนกว่าจะถูกนำมาใช้ประกอบอาหาร
 การปฏิบัติตามสี่ขั้นตอนเหล่านี้เพื่อความปลอดภัยของอาหาร ได้แก่ ทำความสะอาด แยก ปรุง และแช่เย็น คุณสามารถลดความเสี่ยงของการเจ็บป่วยที่เกิดจากอาหาร และป้องกันตัวเองและครอบครัวจากเชื้อโรคที่เกิดจากอาหารได้ นอกจากนี้ ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับการเรียกคืนอาหารและปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติในการจัดการอาหารที่ปลอดภัยเพื่อให้แน่ใจว่าอาหารที่คุณบริโภคนั้นปลอดภัยและมีประโยชน์
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด