ไฟโบรไมอัลเจีย (Fibromyalgia) คือ โรคปวดเรื้อรัง ที่เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง ซึ่งมีอาการดังนี้
-
ปวดกล้ามเนื้อ และกระดูก
-
ไวต่อความรู้สึก รู้สึกเจ็บปวดง่ายกว่าปกติ
-
นอนหลับไม่สนิท มีปัญหาด้านความคิด และการเรียนรู้
อาการของโรคนี้วินิจฉัยได้ยาก และบางครั้งแพทย์ก็สับสนในการวินิจฉัยอาการ
อาการโรคปวดเรื้อรัง
อาการโดยทั่วไปคือ กล้ามเนื้อหรือกระดูกเจ็บปวด หรือ ไวต่อความรู้สึก
โดยาการอื่นๆ ได้แก่
-
เหนื่อยล้า
-
นอนหลับไม่สนิท
-
นอนนาน แต่รู้สึกนอนไม่อิ่ม
-
ขาดสมาธิ รวบรวมความสนใจได้ยาก
-
ปวดหรือปวดตุบๆ ที่ท้องส่วนล่าง
-
ตาแห้ง
-
ปัญหาของกระเพาะปัสสาวะ เช่น ปวดกระเพาะปัสสาวะ(ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย)
ในผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ สมอง และเส้นประสาทมีการตอบสนองที่ผิดปกติหรือตอบสนองมากเกินไปต่อความเจ็บปวด ซึ่งอาจเกิดจากระดับสารเคมีในสมองที่ไม่ปกติ หรือความผิดปกติของปมประสาทไขสันหลัง
สาเหตุโรคปวดเรื้อรัง
ปัจจุบันแพทย์ และนักวิจัยเองก็ยังหาสาเหตุไม่พบ แต่จากการวิจัยล่าสุดพบว่า สาเหตุน่าจะเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรม ร่วมกับมีสิ่งกระตุ้น เช่นการติดเชื้อ การบาดเจ็บรุนแรงและความเครียด
สาเหตุที่เป็นไปได้ที่จะทำให้ผู้ป่วยเกิดโรคปวดเรื้อรัง ได้แก่
การติดเชื้อ
ไข้หวัดใหญ่ ปอดอักเสบ การติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร โดยเฉพาะที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Salmonella และShigella และเชื้อไวรัส Epstein-Barr สามารถกระตุ้นให้เกิดโรคปวดเรื้อรังได้
พันธุกรรม
โรคป่วยเรื้อรังมักพบในครอบครัวที่มีสมาชิกเป็นอาการนี้มากกว่า 1 คนขึ้นไป
นักวิจัยคิดว่า การเปลี่ยนแปลงของยีนเป็นสาเหตุให้เกิดโรคนี้ พบว่ามียีนบางตัวที่มีผลต่อการถ่ายทอดรหัสของสารเคมีที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดในระหว่างเซลประสาท
ความเครียด
ความเครียดหรือการได้รับบาดเจ็บรุนแรง ส่งผลต่อร่างกายไปอีกนาน ความเครียดมีส่วนทำให้ระดับฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจก่อให้เกิด อาการปวดเรื้อรังได้
มีทฤษฎีหนึ่งที่เชื่อว่า สมองตอบสนองต่อความเจ็บปวดไวขึ้น ความรู้สึกเจ็บปวดที่ปกติไม่เคยรู้สึกจึงรู้สึกมากขึ้น เมื่อเวลาผ่านไป รวมถึงการที่เส้นประสาทตอบสนองต่อความเจ็บปวดมากเกินไป
การรักษาโรคปวดเรื้อรัง
ตอนนี้ยังไม่มีวิธีการรักษาเฉพาะทาง แต่การรักษาที่ใช้คือ การลดอาการและเพิ่มคุณภาพชีวิต ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
-
นั่งสมาธิ
-
จัดการกับกิจวัตรประจำวันให้เหมาะสม
-
เปลี่ยนวิถีชีวิต เช่น การนอน การออกกำลังกาย การจัดการความเครียด
สมาธิจะช่วยลดการปวด และทำให้นอนหลับได้ดี การบำบัดทางร่างกาย และอาชีวบำบัด ช่วยเพิ่มความแข็งแรง และลดความกดดันของร่างกาย การออกกำลังกาย และวิธีการที่ช่วยลดความเครียด ทำให้รู้สึกดีขึ้น ทั้งร่างกาย และจิตใจ
การรักษาโรคปวดเรื้อรัง
จุดประสงค์หลักของการรักษาคือ จัดการกับความเจ็บปวดและเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย และการใช้ยาต่อไปนี้
ยาลดปวด
ยาแก้ปวดที่มีขายทั่วไปเช่น ibuprofen (Advil) หรือ acetaminophen (Tylenol) ช่วยได้หากอาการปวดไม่มากเกินไป
ยาแก้ปวดอย่างแรง เช่น tramadol (Ultram) เคยนำมาใช้ลดปวด แต่ไม่ได้ผล และต้องเพิ่มขนาดยา เสี่ยงต่อการติดยา แพทย์จึงไม่นิยมใช้ยานี้ในการรักษา
ยาต้านความเศร้า
Duloxetine (Cymbalta) และ Milnacipran HCL (Savella) บางครั้งถูกนำมาใช้ เพื่อลดอาการปวดและความเหนื่อยล้า และยังช่วยในการนอน รวมทั้งช่วยทำให้สารสื่อประสาทสมดุลย์
ยากันชัก
Gabapentin (Neurontin) จะช่วยลดอาการของโรค ยา Pregabalin (Lyrica) เป็นยาชนิดแรกที่ อย.อเมริการับรองให้ใช้กับโรคนี้ ซึ่งออกฤทธิ์โดยกันไม่ให้เซลล์ประสาทส่งความเจ็บปวดออกไป
ภาวะแทรกซ้อนของโรคปวดเรื้อรัง
โรคนี้เป็นโรคเรื้อรังที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อและกระดูกอย่างกว้างขวาง ความเหนื่อยล้า การนอนหลับไม่ปกติ และจุดกดเจ็บตามร่างกาย แม้ว่าโรคปวดเรื้อรังจะไม่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่คุกคามถึงชีวิต แต่ก็อาจส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อคุณภาพชีวิตของบุคคล ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นและปัญหาที่เกี่ยวข้องกับโรคปวดเรื้อรังได้แก่:- อาการปวดเรื้อรังและไม่สบาย: ภาวะแทรกซ้อนหลักของโรคปวดเรื้อรัง คือความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและบ่อยครั้งที่ทำให้ร่างกายอ่อนแอลงโดยแต่ละบุคคล ความเจ็บปวดนี้อาจรบกวนกิจกรรมประจำวัน การทำงาน และปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
- ความเหนื่อยล้าและความผิดปกติของการนอนหลับ:ผู้ที่เป็นโรคปวดเรื้อรังจำนวนมากจะมีอาการเหนื่อยล้าอย่างรุนแรงและรบกวนการนอนหลับ เช่น นอนไม่หลับหรือนอนหลับโดยไม่ได้รับการฟื้นฟู การอดนอนอาจทำให้อาการอื่นๆ รุนแรงขึ้น และทำให้สุขภาพโดยรวมของบุคคลแย่ลงไปอีก
- ภาวะสุขภาพจิต:โรคไฟโบรมัยอัลเจียมักเชื่อมโยงกับปัญหาสุขภาพจิต เช่น อาการซึมเศร้า วิตกกังวล และความเครียด การรับมือกับความเจ็บปวดเรื้อรังและผลกระทบต่อชีวิตประจำวันสามารถนำไปสู่การพัฒนาหรือทำให้อาการเหล่านี้แย่ลงได้
- ไม่สามารถออกแรงได้มาก :เนื่องจากความเจ็บปวดและความเหนื่อยล้า ผู้ที่เป็นโรค โรคปวดเรื้อรังอาจออกกำลังกายน้อยลง วิถีชีวิตแบบอยู่ประจำที่นี้อาจนำไปสู่การปรับสภาพร่างกาย กล้ามเนื้ออ่อนแรง และสมรรถภาพหัวใจและหลอดเลือดลดลง
- การแยกทางสังคม: ข้อจำกัดที่กำหนดโดยโรคปวดเรื้อรังอาจส่งผลให้เกิดการแยกทางสังคม เนื่องจากบุคคลอาจประสบปัญหาในการเข้าร่วมในกิจกรรมที่พวกเขาเคยสนุกหรือรักษาความสัมพันธ์ทางสังคมไว้
- ฟังก์ชั่นการรับรู้บกพร่อง :บางคนที่เป็นโรคปวดเรื้อรัง ประสบปัญหาทางสติปัญญา ซึ่งรวมถึงปัญหาเกี่ยวกับความจำ สมาธิ และความชัดเจนของจิตใจ
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
-
https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/fibromyalgia/symptoms-causes/syc-20354780
-
https://www.nhs.uk/conditions/fibromyalgia/
-
https://www.cdc.gov/arthritis/basics/fibromyalgia.htm
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team