ความฉลาดทางอารมณ์-EQ คืออะไร (Emotional Intelligence) – ส่วนประกอบ ตัวอย่าง

เราอาจจะคุ้นเคยกับความฉลาดทั่วไป ซึ่งก็คือ ความสามารถในการเรียนรู้ การใช้ความรู้ และการแก้ปัญหา แต่ความฉลาดนั้นไม่ได้มีเพียงแบบเดียว ความฉลาดทางอารมณ์ก็เป็นความฉลาดอย่างหนึ่ง  สำหรับใครหลาย ๆ คน ความฉลาดทางอารมณ์ยังเป็นสิ่งที่ใหม่ บทความนี้จะบอกเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ของความฉลาดทางอารมณ์ 

ความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence)

Emotional Intelligence คือ แนวคิดที่ถูกค้นคว้าวิจัยในช่วงปี 1990 ซึ่งมีความแตกต่างจากความฉลาดทั่วไป  ความฉลาดทางอารมณ์คือ ความสามารถที่จะเข้าใจ และจัดการกับอารมณ์ของตัวเองได้ ผู้ที่มีความฉลาดทางอารมณ์ยังมีความสามารถที่จะเข้าใจ และชักจูงอารมณ์ และพฤติกรรมของผู้อื่นได้ด้วย  และด้วยความเข้าใจนี้ บางคนก็สามารถมีความสุขกับความสำเร็จในชีวิตได้ 

ส่วนประกอบของความฉลาดทางอารมณ์ 

ความฉลาดทางอารมณ์มีสิ่งที่สำคัญ 5 ประการ ดังนี้:
Self-Awareness Self-Awareness คือ การรู้จักตนเอง รู้เท่าทันความรู้สึก และสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ  ผู้ที่มีความฉลาดทางอารมณ์จะมีความรู้จักตนเองสูง  พวกเขาจะรู้ว่าอารมณ์ส่งผลต่อตนเอง และคนอื่นอย่างไร และจะไม่ให้มันควบคุมพวกเขา 
Self-Regulation ผู้ที่มีความสามารถในการควบคุมตัวเองจะไม่ตัดสินใจอย่างหุนหันพลันแล่น พวกเขาจะหยุด และคิดถึงผลที่จะตามมาก่อนที่จะทำสิ่งต่าง ๆ 
Motivation ผู้ที่มีความฉลาดทางอารมณ์มีประสิทธิภาพ และมีแรงกระตุ้น พวกเขาคิดภาพใหญ่ ๆ และทำสิ่งที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ 
Empathy ผู้ที่มีความฉลาดทางอารมณ์จะมีแนวโน้มที่จะไม่เห็นแก่ตัว พวกเขาจะรู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้อื่น เป็นผู้ฟังที่ดี ไม่ตัดสิน และเข้าใจความต้องการของผู้อื่น ผู้ที่มีความฉลาดทางอารมณ์เป็นเพื่อที่ซื่อสัตย์ และเห็นอกเห็นใจ 
Social Skills พวกขเาสามารถทำงานร่วมกับคนอื่นได้ง่าย มีแนวโน้มที่จะเป็ผู้นำที่ดีเพราะมีทักษะการสื่อสารที่ดี และมีความสามารถที่จะจัดการกับความสัมพันธ์ได้

ตัวอย่างของความฉลาดทางอารมณ์ 

ผู้ที่มีความฉลาดทางอารมณ์หลายคนไม่รู้ว่าตัวเองมีสิ่งนี้อยู่ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าคน ๆ นั้นเป็นคนที่มีความฉลาดทางอารมณ์: 
  • เป็นคนที่เห็นใจผู้อื่น 
  • แก้ปัญหาได้ดี 
  • ไม่กลัวที่จะอ่อนไหว หรือแบ่งปันอารมณ์ 
  • มีขอบเขต ไม่กลัวที่จะปฏิเสธ 
  • สามารถเข้ากับคนอื่นได้ในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน 
  • สามารถก้าวออกจากสถานการณ์แย่ ๆ และเดินต่อไป 
  • ถามคำถามปลายเปิด 
  • สามารถวิจารณ์ได้โดยไม่กล่าวหา หรือโทษคนอื่น 
  • เป็นผู้ฟังที่ดี 
  • ไม่กลัวที่จะยอมรับความผิด และขอโทษ 
  • สร้างแรงบันดาลใจให้ตัวเอง 
  • เข้าใจการกระทำ และพฤติกรรมของตัวเอง 
การขาดความฉลาดทางอารมณ์มีดังนี้:
  • มีปัญหาในการรับหน้าที่ต่าง ๆ 
  • รับมือกับฟีดแบคได้ไม่ดี 
  • โกรธเคือง
  • ไม่สามารถปล่อยวางสิ่งที่ผิดพลาดในอดีตได้
  • รู้สึกว่าถูกเข้าใจผิด 
  • ชอบตัดสิน หงุดหงิดง่าย และรักษาความสัมพันธ์ไม่ได้ 
  • ไม่เข้าใจอารมณ์ของตัวเอง 
อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจ ความโกรธกับโรคหัวใจเกี่ยวข้องกันอย่างไร

Emotional Intelligence

Emotional Intelligence เป็นสิ่งที่เรียนรู้ได้ หรือไม่ 

บางคนเกิดมาพร้อมกับความฉลาดทางอารมณ์ แต่สำหรับคนที่ไม่ได้มีมาแต่กำเนิด สามารถเรียนรู้ และฝึกฝนได้  การทำให้การโต้ตอบกับผู้อื่นดีขึ้นเป็นทางหนึ่งที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับความฉลาดทางอารมณ์ ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นไม่ได้มีอยู่ในทุกคน ลองเอาใจเขามาใส่ใจเรา การทำแบบนั้นจะทำให้เข้าใจสถานการณ์ และรู้ว่าจะต้องตอบสนองอย่างไร  อีกวิธีหนึ่งที่จะสร้างความฉลาดทางอารมณ์คือ การมีความอ่อนน้อม และปล่อยให้ผู้อื่นได้มีโอกาสมีความสำเร้จ เรียนรู้มที่จะทำตามเป้าหมายโดยที่ไม่ต้องการความสนใจ หรือการยกย่อง  ฝึกการรับมือกับสถานการณ์ที่ยากลำบาก  หากคุณโมโห เครียด หรือโกรธง่าย ๆ ฝึกทำใจให้เย็นลง ถามคำถามกับตัวเองเพื่อให้เข้าใจต้นตอของอารมณ์ตัวเอง บางครั้ง การทำใจให้เย็นคือ การเดินออกจากสถานการณ์นั้น หรือการสูดหายใจเข้าลึก ๆ  ใจความสำคัญคือการเรียนรู้ที่จะควบคุมอารมณ์ และไม่ให้อารมณ์ควบคุมเรา  การเพิ่มทักษะการเข้าสังคมสามารถช่วยให้ความฉลาดทางอารมณ์เพิ่มขึ้นได้ หากคุณใช้โซเชียลมีเดียมาก ให้ห่างจากโซเชียลมีเดีย 1 หรือ 2 สัปดาห์ และพบเจอกับคนในชีวิตจริงแทน  อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจ การคิดเชิงบวก

ทำไมความฉลาดทางอารมณ์จึงสำคัญในที่ทำงาน 

ความฉลาดทางอารมณ์มีประโยชน์ในชีวิตหลายด้าน แต่สำคัญอย่างยิ่งในที่ทำงาน ในความเป็นจริงแล้ว การมีความฉลาดทางอารมณ์อาจทำให้คุณมีความก้าวหน้าในการงานอีกด้วย  ความสามารถที่จะวิจารณ์โดยปราศจากการโทษคนอื่นสามารถช่วยให้คุณเติบโตในฐานะพนักงานได้ ความฉลาดทางอารมณ์ยังมีประโยชน์ในที่ทำงาน เพราะคุณมีแนวโน้มที่จะตัดสินใจแบบแย่ ๆ หรือแบบหุนหันพลันแล่นน้อยลง  แต่คุณจะใช้เหตุผลแทน และคิดเกี่ยวกับผลที่จะตามมาก่อนที่จะตัดสินใจสิ่งต่าง ๆ  ความฉลาดทางอารมณ์เป็นส่วนประกอบสำคัญของที่ทำงานที่ประสบความสำเร็จ เพราะพนักงานจะมีความสามารถที่จะจัดการกับความเครียด แก้ปัญหาที่ซับซ้อน และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้  อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจ รับมือกับความเครียดไม่ใช่เรื่องยาก  

สร้างความฉลาดทางอารมณ์ให้แก่เด็ก

ความฉลาดทางอารมณ์  เป็นทักษะสำคัญที่นอกเหนือไปจากความสำเร็จทางวิชาการ และมีบทบาทสำคัญในความเป็นอยู่โดยรวมของเด็ก การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ในเด็กถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ความสัมพันธ์ และความสำเร็จโดยรวมในชีวิต ในฐานะผู้ปกครอง คุณสามารถสนับสนุนและส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ให้กับลูกของคุณได้อย่างจริงจังโดยนำกลยุทธ์ต่างๆ มาใช้ในการเลี้ยงดูบุตร

การตระหนักรู้ทางอารมณ์: 

  • กระตุ้นให้ลูกของคุณรับรู้และแสดงอารมณ์ของตนเอง ช่วยพวกเขาติดป้ายความรู้สึกและสนทนาเหตุผลเบื้องหลังพวกเขา ด้วยการสร้างสภาพแวดล้อมที่เปิดกว้างและไม่มีการตัดสิน คุณช่วยให้ลูกรู้สึกสบายใจที่จะแสดงอารมณ์ที่หลากหลาย

การสร้างแบบจำลองการควบคุมอารมณ์: 

  • เด็กๆ เรียนรู้จากการเป็นตัวอย่าง ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ปกครองจะต้องสร้างแบบจำลองการควบคุมอารมณ์ที่ดี สาธิตวิธีรับมือกับความเครียด ความคับข้องใจ หรือความผิดหวังอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งอาจรวมถึงการหายใจเข้าลึกๆ การก้าวออกไปเพื่อผ่อนคลาย หรือพูดคุยถึงความรู้สึกของคุณอย่างเปิดเผย

การฟังอย่างกระตือรือร้น: 

  • ฟังลูกของคุณอย่างกระตือรือร้นเมื่อพวกเขาแสดงอารมณ์ออกมา แสดงความเห็นอกเห็นใจและตรวจสอบความรู้สึกของพวกเขา สิ่งนี้ไม่เพียงช่วยให้พวกเขารู้สึกเข้าใจ แต่ยังสอนพวกเขาถึงความสำคัญของการฟังและการเอาใจใส่ในการสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น

สอนทักษะการแก้ปัญหา: 

  • แนะนำบุตรหลานของคุณในการค้นหาวิธีแก้ปัญหาสำหรับความท้าทายที่พวกเขาอาจเผชิญ กระตุ้นให้พวกเขาคิดอย่างมีวิจารณญาณเกี่ยวกับปัญหา พิจารณามุมมองที่แตกต่าง และสำรวจวิธีต่างๆ ในการแก้ไขปัญหา การแก้ปัญหาเป็นทักษะอันทรงคุณค่าที่ช่วยเพิ่มความฉลาดทางอารมณ์

ส่งเสริมความเห็นอกเห็นใจ: 

  • ช่วยให้ลูกของคุณเข้าใจและเชื่อมโยงกับความรู้สึกของผู้อื่น อภิปรายแนวคิดเรื่องความเห็นอกเห็นใจโดยเน้นความสำคัญของการพิจารณาอารมณ์ของผู้อื่น มีส่วนร่วมในการสนทนาเกี่ยวกับสถานการณ์ต่างๆ เพื่อกระตุ้นให้ลูกของคุณมองเห็นสิ่งต่าง ๆ จากหลายมุมมอง

ปลูกฝังกรอบความคิดแบบเติบโต: 

  • ส่งเสริมกรอบความคิดที่รวบรวมการเรียนรู้และความยืดหยุ่น สอนลูกของคุณว่าการทำผิดพลาดเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ตามธรรมชาติ และพวกเขาสามารถเติบโตและปรับปรุงได้ตลอดเวลา กรอบความคิดนี้มีส่วนช่วยในการปรับตัวและปรับตัวทางอารมณ์

ส่งเสริมการแสดงออกทางอารมณ์ผ่านศิลปะและการเล่น: 

  • ศิลปะและการเล่นเป็นเครื่องมืออันทรงพลังสำหรับการแสดงออกทางอารมณ์ ให้โอกาสบุตรหลานของคุณในการวาดภาพ ระบายสี หรือมีส่วนร่วมในการเล่นตามจินตนาการ กิจกรรมเหล่านี้สามารถช่วยพวกเขาประมวลผลและสื่อสารอารมณ์ที่ซับซ้อนได้อย่างสร้างสรรค์และสร้างสรรค์

ส่งเสริมทักษะทางสังคม: 

  • สนับสนุนบุตรหลานของคุณในการพัฒนาทักษะทางสังคมที่แข็งแกร่งโดยอำนวยความสะดวกโอกาสในการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ส่งเสริมให้พวกเขารู้จักเพื่อน ร่วมมือกับผู้อื่น และนำทางสถานการณ์ทางสังคม ความสามารถทางสังคมมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับความฉลาดทางอารมณ์
สรุป: การทุ่มเทเวลาและความพยายามในการดูแลความฉลาดทางอารมณ์ของลูกคือของขวัญที่จะเป็นประโยชน์ต่อพวกเขาตลอดชีวิต ด้วยการส่งเสริมการตระหนักรู้ในตนเอง ความเห็นอกเห็นใจ และการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ คุณช่วยให้บุตรหลานของคุณจัดการกับความซับซ้อนของอารมณ์และความสัมพันธ์ด้วยความมั่นใจและความยืดหยุ่น โปรดจำไว้ว่าการสร้างความฉลาดทางอารมณ์เป็นกระบวนการต่อเนื่อง และการสนับสนุนและคำแนะนำอย่างสม่ำเสมอมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาทางอารมณ์ของลูก
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด