ความรุนแรงในครอบครัว (Domestic Violence) – แผนความปลอดภัยช่วยด้วย

ผู้เขียน Dr. Sommai Kanchana
0
ความรุนแรงในครอบครัว
ความรุนแรงในครอบครัวเป็นปัญหาที่ร้ายแรงต่อผู้หญิงหลายคน การรู้ถึงสัญญาณของความสัมพันธ์ที่ใช้ความรุนแรง และการพาตัวเองออกจากสถานการณ์ที่อันตรายเป็นสิ่งที่สำคัญ

การรู้ถึงปัญหาความรุนแรงในครอบครัว 

ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว หรือปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นระหว่างคู่รักมีหลายประเภท ทั้งทางอารมณ์ เพศสัมพันธ์ หรือ การทำร้ายร่างกายต่าง ๆ ความรุนแรงในครอบครัวเกิดขึ้นทั้งในคู่รักเพศเดียวกัน และต่างเพศ  ความสัมพันธ์ที่ใช้ความรุนแรงเป็นเรื่องเกี่ยวกับผู้ที่อำนาจ และการควบคุม ผู้ที่ใช้ความรุนแรงจะใช้คำพูด และการกระทำที่ข่มขู่ ทำร้ายคู่ครองของตนเอง  การที่จะบอกว่าคือการใช้ความรุนแรงในครอบครัวหรือไม่ในตอนแรกนั้นเป็นเรื่องที่ยาก แต่ในบางคู่การทำร้ายก็จะเกิดขึ้นในช่วงเริ่มต้นของความสัมพันธ์ และแย่ลงเมื่อเวลาผ่านไป คุณอาจกำลังอยู่ในความสัมพันธ์ที่ใช้ความรุนแรงในครอบครัวอยู่หากคู่ของคุณ: 
  • การดูถูก หรือทำให้คุณรู้สึกแย่
  • ไม่ให้ หรือทำให้คุณไม่อยากไปทำงาน ไปโรงเรียน ไปเจอครอบครัว หรือไปเจอเพื่อน 
  • พยายามควบคุมการใช้เงินของคุณ ที่ๆ คุณไป ยาที่คุณกิน หรือเสื้อผ้าที่คุณใส่ 
  • หึงหวง หรือแสดงความเป็นเจ้าของ หรือกล่าวหาว่าคุณไม่ซื่อสัตย์ 
  • อารมณ์ร้ายเมื่อดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือใช้ยาเสพติด 
  • พยายามควบคุมการพบบุคคลากรทางการแพทย์ของคุณ 
  • ข่มขู่คุณด้วยความรุนแรง หรืออาวุธ 
  • ตี เตะ ผลัก ตบ บีบ หรือทำร้ายคุณ ลูก ๆ หรือสัตว์เลี้ยงด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม 
  • บังคับให้คุณมีเพศสัมพันธ์ด้วยโดยที่คุณไม่ยินยอม 
  • กล่าวโทษว่าคุณเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดความรุนแรง หรือบอกว่าคุณสมควรที่จะถูกกระทำแบบนั้น 
  • ข่มขู่เพื่อน ครอบครัว เพื่อนร่วมงาน หรือคนอื่น ๆ ของคุณ 
หากคุณเป็นเลสเบี้ยน ไบเซ็กชวล หรือผู้ที่แปลงเพศแล้ว คุณอาจกำลังประสบกับความรุนแรงในครอบครัวอยู่ หากคุณอยู่ในความสัมพันธ์กับผู้ที่ 
  • บอกคุณว่าหน่วยงานของรัฐจะไม่ช่วยเหลือผู้ที่เป็นเลสเบี้ยน ไบเซ็กชวล หรือผู้ที่แปลงเพศแล้ว 
  • บอกคุณว่า หากคุณจบความสัมพันธ์ แปลว่าคุณยอมรับว่าผู้ที่เป็นเลสเบี้ยน ไบเซ็กชวล หรือผู้ที่แปงเพศแล้วไม่ปกติ 
  • พูดว่าผู้หญิงไม่สามารถใช้ความรุนแรงได้ 

อย่าสนใจคำกล่าวหา

คุณอาจไม่พร้อมที่จะมองหาความช่วยเหลือเพราะคึณคิดว่าคุณเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความรุนแรงในความสัมพันธ์นี้: 
  • คู่รักของคุณกล่าวหาว่าคุณเป็นสาเหตุของความรุนแรงนี้ พวกเขาจะไม่รับผิดชอบในการกระทำของตนเอง 
  • เขาจะแสดงพฤติกรรมรุนแรงแค่กับคุณเท่านั้น ไม่มีพฤติกรรมเหล่านี้กับคนอื่น ซึ่งนั่นอาจทำให้คุณคิดว่าคุณทำให้เกิดความรุนแรงขึ้น 
  • นักจิตวิทยา หรือแพทย์ไม่สามารถทราบถึงปัญหาได้ หากคุณไม่บอกแพทย์ หรือนักจิตวิทยาเกี่ยวกับความรุนแรงที่เกิดขึ้น พวกเขาอาจจะวินิจฉัยจากแค่อาการที่คุณบอก ซึ่งนั่นอาจทำให้เกิดการวินิจฉัยที่ผิดพลาดได้ ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาสุขภาพจิตที่จะตามมา 
  • คุณอาจต่อสู้กับคู่รักที่ใช้ความรุนแรงของคุณโดยการตะโกน ผลัก หรือตีพวกเขาระหว่างที่ทะเลาะกัน และนั่นอาจทำให้คุณเป็นกังวลว่าคุณเป็นฝ่ายที่ใช้ความรุนแรงหรือไม่ แต่ที่จริงแล้วมันเป็นเพียงแค่การป้องกันตัวเท่านั้น อีกฝ่ายอาจจะใช้การกระทำนี้กล่าวหาว่าคุณเป็นผู้มที่ใช้ความรุนแรง 

การตั้งครรภ์ ลูก และการทำร้าย 

บางครั้งความรุนแรงในครอบครัวเริ่มขึ้น หรือเพิ่มมากขึ้นระหว่างที่ตั้งครรภ์ ทำให้สุขภาพของคุณ และทารกอยู่ในความเสี่ยง ความอันตรายนั้นก็ยังคงดำเนินต่อไปหลังจากที่ทารกเกิดแล้ว  ถึงแม้ว่าลุกของคุณจะไม่ถูกทำร้าย แต่การที่ต้องเห็นความรุนแรงในครอบครัวนั้นเป็นสิ่งที่อันตราย เด็ก ๆ ที่เติบโตในครอบครัวที่มีความรุนแรงมีแนวโน้มที่จะถูกใช้ความรุนแรง และมีปัญหาด้านพฤติกรรมมากกว่าเด็กคนอื่น ๆ เมื่อโตขึ้น พวกเขาอาจเป็นคนที่ชอบใช้ความรุนแรง และคิดว่าความรุนแรงในความสัมพันธ์นั้นเป็นเรื่องปกติ  อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม  สาเหตุการแท้งบุตร

Domestic Violence

การตัดวงจร

หากคุณอยู่ในสถานการณ์ที่มีความรุนแรง คุณอาจพบรูปแบบเหล่านี้:
  • คู่รักของคุณข่มขู่ด้วยความรุนแรง 
  • คู่รักของคุณทำร้ายร่างคุณ 
  • คู่รักของคุณขอโทษ สัญญาว่าจะเปลี่ยนแปลง และให้ของขวัญ 
  • แต่พวกเขาทำพฤติกรรมเดิมซ้ำ ๆ 
ปกติแล้ว ความรุนแรงจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และรุนแรงมากกว่าเดิมเมื่อเวลาผ่านไป  ยิ่งคุณอยู่ในความสัมพันธ์ที่ใช้ความรุนแรงนานเท่าไหร่ ก็จะส่งผลเสียต่อร่างกาย และจิตในมากเท่านั้น คุณอาจเป็นโรคซึมเศร้า หรือวิตกกังวล หรือเริ่มตั้งคำถามถึงความสามารถในการดูแลตัวเองของคุณเอง 

ความท้าทาย 

  • หากคุณเป็นเป็นผู้อพยพ คุณอาจรู้สึกไม่แน่ใจที่จะขอความช่วยเหลือเพราะกลัวที่จะถูกส่งกลับประเทศ กำแพงด้านภาษา ปัจจัยทางด้านการเงิน และความจำกัดทางด้านสังคมอาจทำให้ความโดดเดี่ยว และความสามารถในการเข้าถึงความช่วยเหลือเป็นไปได้ยากขึ้น 
  • หากคุณเป็นหญิงสูงอายุ คุณอาจพบความท้าทายที่เกี่ยวกับอายุของคุณ และระยะเวลาของความสัมพันธ์นั้น ๆ คุณอาจเติบโตในช่วงเวลาที่ความรุนแรงในครอบครัวยังไม่เป็นที่พูดถึง หรือคู่ของคุณอาจมีปัญหาเกี่ยวกับสภาพจิตที่คุณไม่สามารถเดินออกมาได้ หรือต้องรับผิดชอบ 
  • หากคุณเป็นคู่รักเพศเดียวกัน คุณอาจมีแนวโน้มที่จะขอความช่วยเหลือน้อยลง เนื่องจากคุณไม่อยากให้ความชอบเพศเดียวกันถูกเปิดเผย หากคุณถูกคุกคามจากผู้หญิงที่เป็นคู่ของคุณ อาจเป็นสิ่งที่ยากที่จะทำให้คนอื่นเชื่อ 
ทางเดียวที่จะตัดวงจรนี้ได้คือการเริ่มบอกใครสักคนหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครอบครัวที่ช่วยเหลือได้ หรือผู้ให้บริการทางการแพทย์ 

วางแผนที่ปลอดภัย 

การเดินออกมาจากผู้ที่ใช้ความรุนแรงนั้นอาจเป็นเรื่องที่อันตราย คุณสามารถเตรียมตัวได้ดังนี้:
  • โทรขอคำปรึกษาจากสายด่วนเวลาที่ผู้ที่ใช้ความรุนแรงไม่อยู่ 
  • เตรียมของให้พร้อม ทั้งเสื้อผ้า กุญแจ เอากระเป๋าไว้ในที่ปลอดภัย อย่าลืมเอกสารสำคัญต่าง ๆ เงิน ยา ใส่ในกระเป๋าที่ถือได้สะดวก 
  • มีที่ ๆ จะไปแน่ชัดแล้ว 

ระวังเรื่องการติดต่อ และที่ที่คุณจะหนีไป 

ผู้ที่ใช้ควมรุนแรงอาจใช้เทคโนโลยีเพื่อตามคุณไปยังที่ ๆ คุณไป หากคุณเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัย คุณควรจะระมัดระวังเรื่องความเป็นส่วนตัว: 
  • ใช้มือถืออย่างระมัดระวัง พวกเขาอาจจะดักฟังบทสนทนา เช็คสายโทรเข้าออก หรือข้อความต่าง ๆ 
  • ใช้คอมพิวเตอร์อย่างระมัดระวังเมื่ออยู่ที่บ้าน พวกเขาอาจดูอีเมลล์ หรือเว็บไซต์ที่คุณค้นหา ควรใช้คอมพิวเตอร์ที่ที่ทำงาน ห้องสมุด หรือใช้ของเพื่อนเเทน 
  • นำ GPS ออกจากรถ เพราะพวกเขาอาจตามคุณจากจีพีเอสได้ 
  • เปลี่ยนรหัสผ่านอีเมลล์เสมอ ตั้งรหัสผ่านที่พวกเขาจะเดาไม่ได้ 
  • ลบประวัติการ้นหาในเว็บไซต์ต่าง ๆ 
อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม บูลลี่คืออะไร และรับมืออย่างไร

เราสามารถขอความช่วยเหลือได้จากที่ไหน  

  • คนที่คุณไว้ใจ อาจจะเป็นเพื่อน ครอบครัว เพื่อนบ้าน เพื่อนร่วมงาน 
  • ผู้ให้บริการทางด้านการแพทย์ หมอ หรือพยาบาลที่สามารถช่วยรักษาอาการบาดเจ็บ และให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นได้ 
  • ตำรวจ หรือผู้ที่มีอำนาจเกี่ยวข้อง 
การรับรู้ว่ากำลังอยู่ในความสัมพันธ์ที่ใช้ความรุนแรงอยู่เป็นเรื่องทียาก แต่การขอความช่วยเหลือนั้นเป็นสิ่งที่ควรทำ เราควรระลึกไว้เสมอว่า ไม่มีใครสมควรที่จะถูกทำร้าย

แจ้งเหตุความรุนแรงในครอบครัว

แจ้งเหตุความรุนแรงในครอบครัว โทร.แจ้ง ศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน 1300. https://www.parentsone.com/save-broken-family-for-life/ ศูนย์ปฏิบัติการเพื่อป้องกันการกระทำความรุนแรงในครอบครัว กรุงเทพฯ : กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว โทร. 0 2642 5048 ส่วนภูมิภาค : สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ 76 จังหวัด 2. OSCC ศูนย์ช่วยเหลือสังคม โทร. 1300 3. สถานีตำรวจ/โรงพยาบาล 4. ศาลากลางจังหวัด/ที่ว่าการอำเภอ
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด