เจ็บหน้าอก (Chest pain) : อาการ สาเหตุ การวินิจฉัย การรักษา

การเจ็บหน้าอกหรือ (Chest pain) คืออาการที่ทำให้ผู้ป่วยหลายคนต้องเข้าห้องฉุกเฉินเนื่องจากสาเหตุนี้บ่อย ๆ อาการเจ็บอกอาจจะเป็นได้จากหลายสาเหตุ เช่นโรคหัวใจ กล้ามเนื้อหน้าอกอักเสบ หรือความดัน ที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บหน้าอก การเจ็บหน้าอกหรือ (Chest pain)

สาเหตุของการเจ็บหน้าอก

เราสามารถแบ่งสาเหตุของอาการเจ็บแน่นหน้าอกได้จากโรคที่เป็น โดยจำแนกได้ดังนี้

ระบบทางเดินอาหารก่อให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก

เจ็บหน้าอกที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ 

โรคเจ็บหน้าอกที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจมีดังนี้:
  • หัวใจวาย(heart attack) เมื่อมีอาการหัวใจวายจะส่งผลให้เกิดการเจ็บแน่นบริเวณหน้าอกเพราะเลือดไม่สามารถส่งไปหล่อเลี้ยงที่หัวใจได้ตามปกติ 
  • ภาวะเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ (pericarditis) คือการอักเสบของเยื่อหุ้มหัวใจ ภาวะนี้จะทำให้เจ็บหน้าอกเหมือนการถูกมีดแทง ภาวะนี้อันตรายเช่นเดียวกับอาการหัวใจวายซึ่งอาจจะทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ 
  • หลอดเลือดแดงแตกเซาะ (aortic dissection) เป็นภาวหลอดเลือดแดงฉีกขาด ก่อให้เกิดเลือดที่ไหลมารวมกันตรงกลางชั้นผิว ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บหน้าอก 
  • หลอดเลือดหัวใจ(agina) สามารถก่อให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกได้ เนื่องจากเกิดการทำงานผิดปกติ 
  • กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (myocarditis)  

การเจ็บหน้าอกที่มีสาเหตุมาจากปอด

  • หลอดลมบีบเกร็ง (bronchospasm)
  • ปอดบวม (pnuemonia)
  • ปอดรั่ว (pneumothorax)
  • ลิ่มเลือดอุดตันในปอด (pulmonary embolus)
  • หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน (Viral bronchitis)

อาการบาดเจ็บจากกล้ามเนื้อหรือกระดูก

  • กล้ามเนื้อหน้าอกกดทับเส้นประสาท
  • เอ็นหรือกล้ามเนื้อหน้าอกอักเสบ
  • ซี่โครงหัก หรือได้รับการบาดเจ็บ

สาเหตุอื่น ๆ 

อาการแพนิค และโรคงูสวัดสามารถก่อให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกได้เช่นกัน

อาการเจ็บหน้าอกเกิดจากอะไร

อาการเจ็บหน้าอกนั้นมีได้หลายอาการ เนื่องมาจากสาเหตุของโรค โดยจะมีอาการได้ดังนี้ 
  • อาการเจ็บหน้าอกเวลาหายใจ อาจจะมีสาเหตุมาจากโรคของปอด เนื่องด้วยเยื่อหุ้มปอดอักเสบ หรือบางคร้ังอาจจะเป็นสาเหตุมาจากโรคปอดบวม
  • เหงื่อออก ตัวเย็น เจ็บหน้าอก
  • ร่างกายอ่อนเพลีย
  • รู้สึกแน่นตึงที่หน้าอก

วิธีรักษาอาการเจ็บหน้าอก

ในการรักษาอาการเจ็บหน้าอกนั้นจะขึ้นอยู่กับโรคและสาเหตุที่ผู้ป่วยเป็น โดยอาจจะมีการรักษาข้างต้นได้ดังนี้ : 

การรักษาด้วยยา

  • การให้ยา ประเภทไนโตรกลีเซอรีนและยาอื่น ๆ ที่เปิดหลอดเลือดแดง เพื่อให้เลือดไหลเวียนได้ดี 
  • ยารักษาอาการซึมเศร้า ใช้สำหรับผู้ที่มีความวิตกกังวลมาก จนส่งผลให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก
  • ยาสลายลิ่มเลือด ใช้ในการสลายลิ่มเลือดที่อุดตันทางเดินหัวใจ

การผ่าตัด

Bypass surgery การผ่าตัดประเภทนี้เป็นการหลอดเลือดจากส่วนอื่นของร่างกายมาใช้แทนหลอดเลือดที่อุดตัน  การทำบอลลูน สำหรับผู่ป่วยที่มีปัญหาหลอดเลือดอุดตัน โดยการทำบอลลูนนั้นแพทย์จะทำการสอดท่อเล็ก ๆ เข้าไปยังหลอดเลือดใหญ่ และทำการต่อสายท่อกับอุปกรณ์บอลลูนเพื่อเปิดทางให้หลอดเลือดที่ตีบ เพื่อให้เลือดไหลผ่านได้สะดวกขึ้น การผ่าตัดรักษาผนังหลอดเลือดแดงใหญ่ เพื่อทำการรักษาหลอดเลือดที่ฉีดขาด

การวินิจฉัยอาการเจ็บหน้าอก

หากคุณมีอาการเจ็บหน้าอกควรขอความช่วยเหลือจากแผนกแพทย์ฉุกเฉินในทันที โดยในการวินิฉัยนั้นแพทย์จะทำการซักประวัติทางการแพทย์โดยละเอียด และอาจจะทำการตรวจหัวใจว่าทำงานปกติหรือไม่ โดยการวินิจฉัยขั้นต้นจะทำการตรวจดังนี้ : 
  • การตรวจเลือด เพื่อหาค่าเอนไซม์ในกล้ามเนื้อหัวใจว่าปริมาณมากหรือไม่ เนื่องจากโรคหัวใจนั้นจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจเสียหาย และส่งผลให้เอนไซม์กล้ามเนื้อของหัวใจปะปนอยู่ในเลือดได้นั่นเอง
  • การทำซีทีสแกน เพื่อตรวจลิ่มเลือดภายในปอดและผนังหลอดเลือดว่ามีการฉีกขาดหรือไม่
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG or EKG) 
  • การตรวจเอ็กซ์เรย์หลอดเลือด เพื่อตรวจหาว่าหลอดเลือดนั้นตีบหรืออุดตันหรือไม่
  • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง 

อาหารที่ดีที่สุดสำหรับอาการเจ็บหน้าอก

โปรแกรม Dean Ornish ที่นำไปสู่การปรับปรุงการทำงานของหลอดเลือดแดงและการลดลง อย่างมาก ของการโจมตีด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ – การลดความถี่ในรายงานของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบถึง 91% – ไม่ใช่แค่การให้ผู้คนรับประทานอาหารที่มีพืชเป็นหลัก นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับคำแนะนำสำหรับการออกกำลังกายระดับปานกลางและการจัดการกับความเครียด เรารู้ว่าการออกกำลังกายเพียงอย่างเดียวสามารถปรับปรุงการทำงานของ endothelial ได้ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าการควบคุมอาหารมีส่วนเกี่ยวข้องกับสิ่งนี้   เราทราบดีว่าอาหารที่มีพืชเป็นส่วนประกอบหลักสามารถทำให้อาการของโรคหัวใจที่เป็นสาเหตุหลักของอาการเจ็บน่าอกทุเลาลง การสลายคราบจุลินทรีย์และเปิดหลอดเลือดแดง ในบางกรณีโดยไม่ต้องใช้ยาหรือการผ่าตัด  อะไรเกี่ยวกับอาหารจากพืชที่ช่วยเพิ่ม ความสามารถในการขยายหลอดเลือดของเราได้อย่างไร ธาตุอาหารหลักแตกต่างกันหรือไม่ หรือเพียงแค่ลดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายของเนื้อสัตว์ อาจเป็นการลด คอเลสเตอรอล การทำงานของบุผนังหลอดเลือดจะดีขึ้นหากเราลดคอเลสเตอรอลให้ต่ำพอ โดยวิธีใดก็ตามที่จำเป็น มีการศึกษาหนึ่งครั้งการสแกน PET วัดการไหลเวียนของเลือดไปยังหัวใจก่อนและหลังการลดคอเลสเตอรอลที่แตกต่างกันสามวิธี วิธีแรกใช้ยา และวิธีที่สองใช้อาหารไขมันต่ำ ซึ่งเป็นอาหารที่มีไขมันต่ำจริงๆ โดยมีแคลอรี่จากไขมันน้อยกว่า 2 เปอร์เซ็นต์  โดยไม่มีการอดอาหารเลย  ผู้เข้าร่วมการศึกษาเริ่มต้นด้วยระดับคอเลสเตอรอลและการไหลเวียนของเลือดไปยังหัวใจลดลง ซึ่งเรียกว่า ภาวะขาดเลือดไปเลี้ยง ซึ่งเป็นพื้นที่ของกล้ามเนื้อหัวใจที่ไม่ได้รับการไหลเวียนของเลือดอย่างเพียงพอ หลังจากลดคอเลสเตอรอลแล้ว ระดับคอเลสเตอรอลก็ยังแย่มาก แต่ด้วยการปรับปรุง การไหลเวียนของเลือดก็ดีขึ้น และอาการแน่นหน้าอกก็ลดลงครึ่งหนึ่ง เมื่อพวกเขาหยุดการรักษาและคอเลสเตอรอลกลับสูงขึ้น การไหลเวียนของเลือดไปยังกล้ามเนื้อหัวใจก็กลับลดลง ดังนั้น คอเลสเตอรอลที่ลดลงเองจึงดูเหมือนว่าจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังหัวใจ และนักวิจัยคิดว่าเป็นเพราะเมื่อคอเลสเตอรอลลดลง การทำงานของบุผนังหลอดเลือดก็จะดีขึ้น

ภาพรวม

อาการเจ็บหน้าอกบางคร้ังอาจจะเป็นอาการที่ส่งผลมาจากโรคที่ไม่ได้เป็นอันตรายมากนัก เช่นกรดไหลย้อน หรือหอบหืด แต่หากเกิดอาการเจ็บหน้าอกก็ไม่ควรวางใจเพราะนอกจากเกิดจากโรคที่ไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตแล้ว โรคนี้อาจจะเป็นผลมาจากโรคที่มีอัยตรายถึงชีวิตเช่นโรคหัวใจก็เป็นได้ ดังนั้นเมื่อมีอาการเจ็บหน้าอกควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจสอบหาสาเหตุที่แท้จริง 

นี่คือลิงค์แหล่งที่มาของบทความของเรา

  • https://www.nhs.uk/conditions/chest-pain/
  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/chest-pain/symptoms-causes/syc-20370838
  • https://www.webmd.com/pain-management/guide/whats-causing-my-chest-pain

Content and expert reviews from Bupa team.

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด