การทำซีพีอาร์ (Cardiopulmonary Resuscitation) : CPR

ผู้เขียน Dr. Wikanda Rattanaphan
0
การทำซีพีอาร์
การทำซีพีอาร์ หรือ Cardiopulmonary Resuscitation – CPR คือ เทคนิคการช่วยชีวิตที่มีประโยชน์ในกรณีฉุกเฉินทุกชนิด เช่นภาวะหัวใจวายหรือ จมน้ำ ซึ่งทำให้หยุดหายใจ หรือหัวใจไม่เต้น หากคุณกลัวการทำ CPR หรือ ไม่แน่ใจในวิธีการทำ CPR ที่ถูกต้อง การได้เรียนรู้เป็นเรื่องที่ดีมากกว่าไม่พยายามทำอะไรเลย ต่อไปนี้คือข้อแนะนำจากทาง American Heart Association:
  • ไม่เคยได้รับการฝึก หากไม่เคยได้รับการฝึกทำ CPR มาก่อน หรือรู้สึกเป็นกังวลเกี่ยวกับการเป่าปากช่วยชีวิต โดยให้ทำซีพีอาร์ โดยใช้มือเท่านั้น ซึ่งนั้นหมายความว่าต้องมีการกดที่อกไม่หยุด 100 ถึง120 ครั้งต่อนาที หรือจนกว่านักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์จะมาถึง คุณไม่จำเป็นต้องพยายามจะช่วยชีวิตแบบเป่าปาก
  • มีการฝึก และพร้อมจะไปต่อ หากคุณได้รับการฝึกมาเป็นอย่างดี และมีความมั่นใจในความสามารถ ให้ตรวจเช็คดูชีพจรและการหายใจ หากไม่พบชีพจร หรือการหายใจภายใน 10 วินาที ให้เริ่มกดหน้าอกปั้มหัวใจ เริ่มทำซีพีอาร์ด้วยการกดหน้าอก 30 ครั้งก่อนจะเป่าปากช่วยชีวิตสองครั้ง
  • เคยฝึกมาก่อนแต่ทิ้งไปนาน หากคุณเคยได้รับการฝึกการทำซีพีอาร์มาก่อนแต่คุณไม่มั่นใจในความสามารถของคุณ ให้ทำแต่กดหน้าอกปั๊มหัวใจด้วยอัตรา 100 ถึง 120 ครั้งต่อนาที
ต่อไปด้านล่างนี้คือ คำแนะนำการทำซีพีอาร์ที่สามารถนำไปปรับใช้กับผู้ใหญ่ เด็ก และทารกแต่ไม่ใช่กับเด็กแรกเกิด (ทารกคือ อายุตั้งแต่ 4 สัปดาห์เป็นต้นไป) การทำซีพีอาร์เป็นการปั้มหัวใจที่สามารถช่วยรักษาออกซิเจนในเลือดไปเลี้ยงสมอง และอวัยวะอื่นๆได้จนกว่าจะได้รับการรักษาฉุกเฉิน เพื่อเรียกการเต้นของหัวใจให้กลับคืน สู่ปกติ เมื่อหัวใจหยุดเต้น ร่างกายจะไม่มีออกซิเจนในเลือด เมื่อขาดออกซิเจนก็จะส่งผลทำให้สมองเสียหายได้ภายในไม่กี่นาที หากคุณไม่เคยได้รับการฝึกฝนมาก่อน และประสบเหตุให้โทรฉุกเฉินก่อนเริ่มทำซีพีอาร์ เจ้าหน้าที่จะสามารถให้คำแนะนำวิธีการช่วยเหลือที่เหมาะสมให้ก่อนที่ความช่วยเหลือจะมาถึง 

การทำ CPR เบื้องต้น ก่อนเริ่มทำการ ซีพีอาร์

ก่อนเริ่มต้องตรวจเช็ดดังต่อไปนี้:
  • สิ่งแวดล้อมรอบตัวปลอดภัย หรือไม่?
  • ผู้ประสบเหตุมีสติ หรือไม่?
  • หากพบว่าไม่มีสติให้ตบเบาๆ หรือเขย่าเขา หรือเธอที่ไหล่แล้วตะโกนถามดังๆว่า “ยังโอเคอยู่ไหม”?”
  • หากคนๆนั้นไม่มีการตอบสนอง และมีคนอยู่กับคุณที่สามารถช่วยเหลือคุณได้ ให้โทรเรียกฉุกเฉิน ไปเอาเครื่อง AED ย่อมาจาก Automated External Defibrillator (เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ) และอีกคนเริ่มต้นทำซีพีอาร์
  • หากคุณอยู่เพียงลำพังให้โทรหาฉุกเฉินก่อนเริ่มการทำซีพีอาร์ ไปนำเครื่อง AED มาหากทำได้
  • ทันทีที่เครื่อง AED พร้อมใช้ให้ทำตามคำแนะนำของอุปกรณ์ และเริ่มทำซีพีอาร์

ข้อควรจำท่องไว้เสมอ C-A-B     

The American Heart Association ใช้ตัวอักษร C-A-B เพื่อช่วยคนในการจำขั้นตอนการทำซีพีอาร์ ดังนี้
  • C: Compressions คือ การกด
  • A: Airway คือ ทางเดินอากาศ
  • B: breathing คือ การหายใจ

C คือ การกด : เป็นการกู้คืนการไหลเวียนของเลือด

การกดนั้นหมายความว่าคุณจะต้องมือทั้งสองข้างของคุณกดลงด้วยวิธีเฉพาะที่ตำแหน่งหน้าอกของคนเจ็บอย่างแรง และเร็ว การกดหน้าอกเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญที่สุดในการทำซีพีอาร์  ขั้นตอนการกดหน้าอกปั้มหัวใจของการทำซีพีอาร์คือ :
  1. วางคนเจ็บนอนราบบนพื้นที่มีความมั่นคงแข็งแรง
  2. คุกเข่าอยู่ระหว่างคอ และหัวไหล่ของคนเจ็บ
  3. วางมือส่วนด้านล่างของฝ่ามือลงเหนือกลางหน้าอกคนเจ็บ ระหว่างหัวนมทั้งสองข้าง
  4. วางมืออีกข้างทับมือแรก ยืดข้อศอกให้เป็นเส้นตรง และตำแหน่งของหัวไหล่อยู่เหนือมือ
  5. ออกแรงงกดลงไป (การกด) ที่หน้าอกอย่างน้อย 2 นิ้ว (5 ซม.) แต่ต้องไม่มากเกิน 2.4 นิ้ว (6 ซม.) ใช้น้ำหนักตัวทั้งหมดที่มี (ไม่ใช่ออกแรงจากแค่ที่แขน) กดลงไปที่หน้าอก
  6. กดแรงๆให้ได้อัตรา 100 ถึง 120 ครั้งต่อนาที The American Heart Association ได้แนะนำให้กดตามจังหวะเพลง “Stayin’ Alive” ปล่อยให้หน้าอกมีจังหวะกระเด้งกลับหลังการกด  
  7. หากคุณไม่เคยได้รับการฝึกการทำซีพีอาร์ ให้กดหน้าอกไปเรื่อยๆจนกว่าจะเห็นสัญญานการเคลื่อนไหว หรือจนกว่าหน่วยฉุกเฉินจะมารับช่วงต่อ แต่หากเคยฝึกมาให้ทำการเปิดทางเดินอากาศ และช่วยด้วยการเป่าปากช่วยชีวิต

เปิดทางเดินหายใจ 

หากคุณได้รับการฝึกการทำซีพีอาร์มา และคุณได้กดหน้าอกไป 30 ครั้งแล้ว ให้เปิดช่องทางเดินหายใจโดยการกดหน้าผากให้หน้าแหงนคือ วางฝ่ามือลงบนหน้าผาก และกดศีรษะเบาๆไปข้างหลัง จากนั้นใช้มืออีกข้างยกคางขึ้นเบาๆเพื่อเป็นการเปิดทางเดินหายใจ เพราะหากปล่อยทิ้งไว้อาจจะทำให้ขาดออกซิเจนได้

การช่วยหายใจ 

การเป่าช่วยหายใจ หรือการผายปอดสามารถทำได้ทั้งแบบการเป่าปาก และการเป่าจมูก หากพบว่ามีการบาดเจ็บที่ปากรุนแรงหรือไม่สามาถเปิดปากได้ Rescue Breathing Can Be Mouth To Mouth Breathing Or Mouth To Nose Breathing 
  1. หลังจากเปิดช่องทางเดินหายใจแล้ว (การกดหน้าผากให้หน้าแหงน) บีบจมูกให้ปิดสนิทพร้อมสำหรับการเป่าปาก และประกบปากคุณเข้ากับปากคนเจ็บให้สนิท
  2. เตรียมการเป่าปากสองครั้ง เป่าปากครั้งแรก นานราว1 วินาที และจับตาดูว่าหน้าอกมีการยกตัว หรือไม่
  3. หากหน้าอกมีการยกตัวขึ้น ให้เป่าปากครั้งที่สอง
  4. หากหน้าอกไม่มีการยกตัวขึ้น ให้ย้อนกลับไปทำการกดหน้าผากให้หน้าแหงน และจึงเริ่มเป่าปากครั้งที่สอง กดหน้าอกอีก 30 ครั้งตามด้วยเป่าปากอีกสองครั้งทำเป็นวงวนไปเรื่อยๆ จงระวังว่าต้องไม่ช่วยหายใจมากเกินไป หรือออกแรงมากเกินไป
  5. ย้อนกลับมากดหน้าอกเพื่อกู้คืนการไหลเวียนของเลือด
  6. ทันทีที่เครื่อง AED พร้อมใช้งาน ให้ทำตามขั้นตอน กระตุ้นด้วยเครื่องหนึ่งครั้ง จากนั้นกลับมากดหน้าอกอีกสองนาทีก่อนไปใช้เครื่องกระตุ้นครั้งที่สอง หากเครื่อง AED ไม่สามารถใช้ได้ ให้ย้อนกลับไปทำขั้นตอนที่ 5 
  7. ทำการซีพีอาร์ไปเรื่อยๆจนกว่าจะเห็นสัญญาณการเคลื่อนไหว หรือจนกว่าหน่วยฉุกเฉินจะเข้ามารับช่วงต่อ

การทำซีพีอาร์ในเด็ก

การทำซีพีอาร์สำหรับเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 1 ขวบจนถึงวัยรุ่น สามารถทำได้เหมือนกับที่ทำในผู้ใหญ่  ตามขั้นตอน  C-A-B และต่อไปนี้คือคำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับการซีพีอาร์ในเด็กคือ :

การกดช่วยหายใจ: การกู้คืนการไหลเวียนของเลือด

หากคุณอยู่เพียงลำพัง และไม่เห็นตอนที่เด็กหมดสติ ให้เริ่มด้วยการกดหน้าอกราวสองนาที โทรเรียกฉุกเฉิน และไปเอาเครื่อง  หากคุณอยู่เพียงลำพัง และเห็นตอนเด็กหมดสติ ให้โทรเรียกฉุกเฉิน จากนั้นไปนำเครื่อง GED มา และเริ่มต้นการทำซีพีอาร์ หากมีคนอื่นอยู่กับคุณ ให้คนนั้นโทรเรียกฉุกเฉิน และไปเอาเครื่อง GED ในขณะคุณเริ่มทำซีพีอาร์
  1. วางตัวเด็กลงบนพื้นที่มีความแข็งแรงมั่นคง
  2. คุกเข่าลงระหว่างคอ และหัวไหล่ของเด็ก
  3. วางมือทั้งสองข้าง ( หรือข้างเดียวหากเด็กตัวเล็กมาก)ลงบนบริเวณต่ำลงมาครึ่งหนึ่งของกระดูกหน้าอก (กระดูกสันอก)
  4. ใช้สันฝ่ามือหนึ่ง หรือทั้งสองข้างกดลงไปตรงๆที่หน้าอกราว 2 นิ้ว (ประมาณ 5 ซม.)แต่ต้องไม่มากกว่า 2.4 นิ้ว (ราว 6 ซม.) กดให้หนัก และเร็ว – 100 ถึง 120 ครั้งต่อนาที 
  5. หากคุณไม่เคยได้รับการฝึกทำซีพีอาร์มาก่อน ให้กดหน้าอกไปเรื่อยๆจนกว่าเด็กจะมีการเคลื่อนไหว หรือจนกว่าหน่วยแพทย์ฉุกเฉินจะมารับช่วงต่อ หากคุณได้รับการฝึกการทำซีพีอาร์มาก่อน ให้เกิดช่องการหายใจ และเริ่มช่วยด้วยการเป่าปาก

Cardiopulmonary Resuscitation

ช่องทางเดินหายใจ: การเปิดช่องทางเดินหายใจ

หากคุณเคยได้รับการฝึกทำซีพีอาร์มาก่อน คุณสามารถกดหน้าอก 30 ครั้ง เปิดช่องทางเดินหายใจให้เด็กด้วยการกดหน้าผากให้หน้าแหงนขึ้น
  • วางฝ่ามือลงบนหน้าผากของเด็ก และยกขึ้นเบาๆให้หัวแหงนไปทางด้านหลัง
  • ใช้มืออีกข้าง ยกคางขึ้นเบาๆให้แหงนขึ้นเพื่อเปิดช่องทางเดินหายใจ

การช่วยหายใจในเด็ก

ปฏิบัติตามขั้นตอนเป่าปากสำหรับเด็ก
  1. หลังจากกดหน้าผากให้หน้าแหงนขึ้นเพื่อเปิดช่องทางเดินหายใจแล้ว ให้บีบจมูกของเด็กให้สนิท ประกบปากคุณเข้ากับปากของเด็กให้สนิท
  2. เป่าลมหายใจเข้าไปในปากของเด็กราว 1 วินาที ดูว่าหน้าอกมีการยกตัว หรือไม่ หากมีการยกตัวขึ้นให้เป่าปากครั้งที่สอง หากหน้าอกไม่มีการยกตัว ให้ย้อนกลับมาทำการกดหน้าผากให้หน้าแหงนขึ้นอีกครั้ง จากนั้นจึงเป่าปากครั้งที่สอง ระวังว่าไม่ควรเป่าปากมากครั้งเกินไป หรือออกแรงมากเกินไป
  3. หลังจากเป่าปากสองครั้งแล้ว ให้กลับมาทำตามวงจรการช่วยชีวิตตั้งแต่การกดหน้าอก และการช่วยหายใจ หมายเหตุ: หากมีคนสามารถสลับการทำซีพีอาร์ ให้เปลี่ยนคนช่วยทุกๆสองนาที หรือหากผู้ช่วยชีวิตรู้สึกเหนื่อยให้เปลี่ยนมาช่วยหายใจสองครั้งทุกๆการกด 15 ครั้ง 
  4. ทันทีที่เครื่อง AED สามารถใช้งานได้ ให้ทำตามขั้นตอนเครื่อง ใช้แผ่นอิเล็กโทรดสำหรับเด็กอายุ มากกว่า 4 สัปดาห์จนถึง 8 ขวบ หากพบว่าแผ่นอิเล็คโทรดไม่มีความเหมาะสมสามารถใช้แผ่นสำหรับผู้ใหญ่ได้ ใช้เครื่องกระตุ้นหนึ่งครั้ง จากนั้นทำซีพีอาร์เริ่มด้วยการกดหน้าอก ราวสองนาทีก่อนกลับมาใช้เครื่องกระตุ้นอีกครั้งที่สอง
ทำต่อไปเรื่อยๆจนกว่าเด็กจะมีการเคลื่อนไหวหรือความช่วยเหลือมาถึง

การทำซีพีอาร์ในเด็กทารกอายุ 4 สัปดาห์ขึ้นไป

ภาวะหัวใจหยุดเต้นในเด็กทารกมักเกิดขึ้นเพราะการขาดออกซิเจน เช่น การติดคอ หากคุณรู้ว่าเด็กมีสิ่งของอุดตันทางเดินหายใจ ให้ทำการปฐมพยาบาลเรื่องของอุดกั้นก่อน แต่หากไม่ทราบว่าทำไมเด็กจึงไม่หายใจให้เริ่มการทำซีพีอาร์ ในขั้นแรก ให้ประเมินสถานการณ์ก่อน จับตัวเด็ก และจับตาดูการตอบสนอง เช่น การเคลื่อนไหว อย่าเขย่าตัวเด็ก หากพบว่าไม่มีการตอบสนอง โทรเรียกฉุกเฉิน จากนั้นเริ่มทำซีพีอาร์ทันที ตามขั้นตอนด้วยการกดหน้าอก เปิดช่องทางเดินหายใจ และให้ลมหายใจ (C-A-B)ตามขั้นตอนด้านล่างสำหรับเด็กที่อายุต่ำกว่า 1 ขวบ (ยกเว้นเด็กแรกเกิด สำหรับเด็กที่อายุ 4 สัปดาห์ขึ้นไป)  หากคุณเห็นเด็กหมดสติ ให้ไปนำเครื่อง AED มาก่อนเริ่มทำซีพีอาร์ หากมีคนอยู่ด้วนให้โทรเรียกฉุกเฉินทันที และไปเอาเครื่อง GED ในขณะที่คุณเริ่มทำซีพีอาร์

การกด เพื่อกู้คืนการไหลเวียนของเลือด

  1. วางตัวเด็กลงบนพื้นที่มีความมั่นคงแข็งแรง เช่น โต๊ะ หรือพื้น
  2. นึกภาพเส้นแนวขวางระหว่างหัวนมของเด็ก วางนิ้วสองนิ้วของมือข้างหนึ่งลงเหนือเส้นดังกล่าว บริเวนช่วงตรงกลางหน้าอก
  3. กดเบาๆที่หน้าอกราว 1.5 นิ้ว (ราว 4 ซม.)
  4. นับจำนวนครั้ง ควรกดให้ได้ 100 ถึง 120 ครั้งต่อนาที เช่น เดียวกับที่ทำในผู้ใหญ่

การเปิดช่องหายใจ

หลังจากกดหน้าอก 30 ครั้ง ให้ยกศีรษะแหงนไปทางด้านหลังเบาๆด้วยการยกคางขึ้นด้วยมือข้างหนึ่ง และกดหน้าผากลงด้วยมืออีกข้างหนึ่ง

การช่วยหายใจในเด็กทารก

  1. ปิดปากเด็กทารก และจมูกด้วยปากของคุณ
  2. เตรียมการช่วยหายใจสองครั้ง ใช้ลมจากแก้มของคุณส่งลมเบาๆ (แทนการใช้ลมหายใจลึกๆจากปอด) อย่างช้าๆเข้าไปในปากของเด็ก ราวหนึ่งวินาที จับตาดูว่าหน้าอกของเด็กมีการยกตัวขึ้น หรือไม่ หากมีให้ทำการเป่าลมครั้งที่สอง หากหน้าอกไม่มีการยกตัวขึ้นให้ย้อนกลับไปกดหน้าผากให้หน้าแหงนอีกครั้ง และเป่าปากครั้งที่สอง
  3. หากหน้าอกเด็กไม่มีการยกตัวขึ้น ให้คงกดหน้าอกต่อไป
  4. ให้เป่าปากสองครั้งทุกๆการกดหน้าอก 30 ครั้ง หากมีคนที่สามารถช่วยทำซีพีอาร์ได้ ให้เป่าปากหนึ่งถึงสองครั้งหลังการกดหน้าอกทุกๆ 15 ครั้ง
  5. ทำซีพีอาร์ต่อเนื่องไปเรื่อยๆจนกว่าจะเห็นสัญญานชีพ หรือจนกว่าหน่วยฉุกเฉินมาถึง

ใครที่ต้องการความช่วยเหลือด้วยการทำ CPR

 การทำ CPR มีความสำคัญอย่างยิ่งในการรักษาการไหลเวียนของเลือดและการจัดหาออกซิเจนไปยังอวัยวะสำคัญจนกว่าความช่วยเหลือทางการแพทย์จะมาถึง ต่อไปนี้เป็นสถานการณ์ที่บางคนอาจจำเป็นต้องทำ CPR: ภาวะหัวใจหยุดเต้น: 
  • สถานการณ์ที่พบบ่อยที่สุดที่ต้องทำ CPR คือระหว่างภาวะหัวใจหยุดเต้น สิ่งนี้เกิดขึ้นเมื่อหัวใจหยุดเต้นกะทันหันหรือเต้นผิดปกติ หากไม่มีการแทรกแซงทันที อาจนำไปสู่การหมดสติและเสียชีวิตได้ภายในไม่กี่นาที
การสำลัก: 
  • หากมีคนสำลักและไม่ตอบสนอง อาจจำเป็นต้องทำ CPR ในกรณีเช่นนี้ การทำ CPR สามารถช่วยขับสิ่งกีดขวางและฟื้นฟูการหายใจให้เป็นปกติได้
การจมน้ำ: 
  • หากมีคนจมน้ำและไม่ตอบสนอง อาจจำเป็นต้องทำ CPR ภาวะขาดออกซิเจนสามารถนำไปสู่ภาวะหัวใจหยุดเต้นได้อย่างรวดเร็ว ทำให้การช่วยชีวิตในทันทีมีความสำคัญอย่างยิ่ง
ไฟฟ้าช็อต: 
  • ไฟฟ้าช็อตที่รุนแรงสามารถรบกวนจังหวะการเต้นของหัวใจ  ส่งผลให้หัวใจหยุดเต้นได้ การทำ CPR อาจจำเป็นเพื่อรักษาการไหลเวียนโลหิตจนกว่าผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์จะสามารถแก้ไขปัญหาที่ซ่อนอยู่ได้
การใช้ยาเกินขนาด: 
  • การใช้ยาเกินขนาดบางชนิดอาจส่งผลให้ระบบทางเดินหายใจล้มเหลวและภาวะหัวใจหยุดเต้น ในกรณีเหล่านี้ การทำ CPR สามารถช่วยช่วยเหลือบุคคลนั้นได้จนกว่าความช่วยเหลือทางการแพทย์จะมาถึง
โรคการเสียชีวิตอย่างกะทันหันของทารก (SIDS): 
  • แม้ว่าทารกจะพบไม่บ่อย แต่ทารกอาจประสบกับการเสียชีวิตอย่างกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุ ในกรณีเช่นนี้ อาจมีการพยายามทำ CPR ขณะรอความช่วยเหลือทางการแพทย์ฉุกเฉิน
สิ่งสำคัญที่ควรทราบคือควรทำ CPR ให้กับบุคคลที่ไม่ตอบสนองและไม่หายใจหรือไม่หายใจตามปกติเท่านั้น ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่หัวใจเต้นแรงและบุคคลนั้นมีสติ นอกจากนี้ บุคคลที่ได้รับการฝึกอบรมการทำ CPR อย่างเหมาะสมควรปฏิบัติตามขั้นตอนเพื่อให้แน่ใจว่าจะทำได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย อย่าลืมโทรขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ฉุกเฉินทันทีเมื่อมีคนต้องการ CPR
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด