อัญชัน (Butterfly Pea) – เรื่องน่ารู้ และประโยชน์

ดอกอัญชันเป็นพืชทีเราคุ้นเคย และพบเห็นได้ทั่วไปตามริมรั้ว สถานที่ต่างๆ หลายคนอาจไม่เคยรู้ว่าอัญชันนั้นมีประโยชน์มากมายหลายอย่าง อัญชันเป็นพืชที่มีต้นกำเนิดมาจากแถบอเมริกาใต้ สามารถปลูกได้ทั่วไปในเขตร้อน อัญชันเป็นไม้เถา ลักษณะของอัญชันคือ จะมีดอกสีขาว สีม่วง สีฟ้า บริเวณตรงกลางดอกจะมีสีเหลือง รูปร่างคล้ายหอยเชลล์

สรรพคุณดอกอัญชัน

สรรพคุณของดอกอัญชันนั้นมีมากมายหลายอย่าง สรรพคุณที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวคือ มีสารที่ชื่อว่า “แอนโทไซยานิน” ซึ่งมีหน้าที่ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆได้ดีมากขึ้น เช่น บริเวณรากผม ดวงตา หรือปลายนิ้ว อกจากมีสารแอนโทไซยานินเป็นส่วนประกอบแล้ว อัญชันยังมีสารอื่นๆอีก เช่น ฟลาโวนอยด์ สเตียรอยด์ และไตรเตอร์ปินอยด์ ซึ่งอาจช่วยรักษาปัญหาสุขภาพต่างๆได้ด้วย เช่น ช่วยลดการอักเสบ ถอนพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย ขับปัสสาวะ โรคเบาหวาน ป้องกันการแข็งตัวของเลือด  อัญชันสามารถนำแทบทุกส่วนของต้นมาใช้เพื่อเกิดประโยชน์ เช่น สารสกัดที่ได้จากส่วนลำต้นเหนือดิน ใบ ดอก และรากมีฤทธิ์กระตุ้นการเรียนรู้ และความจำ คลายเครียด และความวิตกกังวล ช่วยในการนอนหลับ ลดน้ำตาลในเลือดแก้ปวด ลดการอักเสบ  อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม ประโยชน์ของการนอนหลับ อีกทั้งยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในวงการเครื่องสำอางค์ สารสกัดเอทานอลจากดอกอัญชันมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ 5a-Reductase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของเส้นขน และมีฤทธิ์กระตุ้นการงอกของเส้นขนในหนู  นอกจากนี้สารสกัดเอทานอลนี้ยังช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ Tyrosinase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างเซลล์เม็ดสีเมลานิน และกระตุ้นการเพิ่มจำนวนของเซลล์ Melanocyte เมื่อทำการทดลองในหลอดทดลอง จากการทดสอบพบว่าอัญชันยังมีประโยชน์ในการนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางบำรุงผิว สารสกัดน้ำ และสารสกัดเอทานอลจากดอกอัญชันสามารถนำไปเป็นส่วนประกอบในเจลสำหรับทารอบดวงตา ซึ่งได้ประโยชน์มาจากฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่มีอยู่

Butterfly Pea

ประโยชน์ของดอกอัญชัน

-ราก มีรสเย็นจืด ช่วยบำรุงดวงตา ขับปัสสาวะ แก้ปวดฟัน น้ำอัญชันจากใบสดและดอกสด ใช้หยอดตา แก้ตาอักเสบ ฝ้าฟาง ตาแฉะ น้ำอัญชันจากดอก ใช้ทาคิ้ว ทาศีรษะเป็นยาปลูกผม ช่วยทำให้ผมดกดำเงางาม สีจากดอกอัญชัน ใช้ดอกที่มีสีน้ำเงินที่มีสารแอนโทไซยานิน มาทำเป็นสีผสมในขนม ทำน้ำสมุนไพร  เมล็ดของอัญชัน สามารถนำมาทำเป็นยาระบาย ใบและรากของอัญชัน ดอกอัญชันสีขาวสามารถนำมาใช้เป็นยาขับปัสสาวะ และยาระบาย  มีสารต้านอนุมูลอิสระ อัญชันมีสรรพคุณทางยาหลายอย่าง หนึ่งในนั้นคือ ช่วยป้องกันเซลล์ของร่างกายไม่ให้เกิดความเสียหายจากอนุมูลอิสระ เพราะดอกอัญชันเป็นพืชที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ และยังมีประโยชน์ช่วยป้องกัน และรักษาปัญหาสุขภาพได้หลายอย่าง  จากการทดลองพบว่าดอกอัญชันมีฤทธิ์ช่วยปกป้องเซลล์เม็ดเลือดแดงจากการทำลายของสารอนุมูลอิสระ และมีสารสกัดที่ได้จากดอกอัญชันยังมีสารเควอซิทิน และแอนโทไซยานินที่ช่วยลดการอักเสบของเซลล์ และอาจนำมาใช้เป็นยา หรือสารสกัดเพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพที่ก่อให้เกิดอาการอักเสบเรื้อรังได้ด้วย ช่วยเสริมสร้างความจำ จากการศึกษาพบว่าสารสกัดแอกอฮอล์จากดอกอัญชันช่วยป้องกันการเสื่อมถอยของความจำในหนูทดลอง การให้หนูทดลองกินยาตำรับอินเดียผสมสารสกัดอัญชันปริมาณ 3 กรัมจ่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมนานติดต่อกันทุกวันเป็นเวลา 60 วัน พบว่าเซลล์สมองของหนูถูกทำลายลดน้อยลง จากการทดลองหนูที่เป็นโรคเบาหวานให้กินยาสมุนไพรที่มีส่วนผสมของรากอัญชันเป็นเวลานาน 30 วัน พบว่ามีประสิทธิภาพช่วยลดความเสียหายชองเซลล์สมองที่เป็นผลมาจากโรคเบาหวาน ทำให้ความจำของหนูเสื่อมถอยน้อยลง อีกทั้งยังพบด้วยว่าที่ได้รับสารสกัดจะมีความจำ และเรียนรู้ได้ดีกว่าหนูที่ไม่ได้รับสารสกัดดังกล่าว ช่วยรักษาโรคทางระบบประสาท และสมอง โรคทางสมอง เช่น โรคที่เกิดจากความผิดปกติของยีน ความผิดปกติของระบบประสาท การได้รับบาดเจ็บที่ไขสันหลัง การติดเชื้อ ผู้ป่วยจะมีปัญหาเกี่ยวกับการทำงานร่วมกันของสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาท ส่งผลทำให้ร่างกายทำงานผิดปกติ พบว่าสารสกัดจากรากอัญชันมีส่วนประกอยของสารพฤกษาเคมีที่อาจช่วยต้านอาการป่วยของโรคที่เกิดจากภาวะเสื่อมของระบบประสาท และสมองได้ รวมถึงรักษาอาการซึมเศร้าด้วย อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม โรคซึมเศร้าและการรักษา แก้อาการหอบหืด รากอัญชัญมีสรรพคุณช่วยลดอาการแพ้อันเป็นสาเหตุจากหอบหืด จากการทดลองในหนูพบว่ามีปฏิกิริยาภูมิแพ้ต่อสารบางอย่างน้อยลงหลังได้รับสารสกัดจากรากอัญชัน  ช่วยลดไข้ จากการทดลองจากหนูพบว่า หนูที่มีอาการบวมที่อุ้งเท้า และมีไข้ จะมีไข้ลดลงหลังได้รับสารสกัดรากอัญชัน และยังอาจมีสรรพคุณรักษาอาการป่วยได้เหมือนยาแก้ไข้ทั่วไป โดยออกฤทธิ์ได้นานถึง 5 ชั่วโมงเมื่อเทียบกับการรับประทานยาพาราเซตามอล

โทษของดอกอัญชัน และข้อควรระวัง

แม้ประโยชน์ของอัญชันจะมีสรรพคุณทางยามากมายก็ตาม แต่ก็ยังไม่มีหลักฐาน หรือข้อมูลทางการแพทย์ที่มากเพียงพอจะชี้ชัดว่าอัญชันสามารถช่วยรักษาปัญหาสุขภาพเหล่านี้ได้จริง จึงจำเป็นต้องได้รับการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป ผู้ที่ต้องการบริโภคอัญชันเพื่อประโยชน์ด้านทางยาให้ปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ เนื่องจากอัญชันอาจทำปฏิกิริยากับยารักษาโรคบางชนิด อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงบางอย่างได้ โดยเฉพาะในสตรีมีครรภ์ และสตรีที่กำลังให้นมบุตร ข้อควรระวังมีดังต่อไปนี้ -ควรระวังในการรับประทานดอกอัญชัน หากกำลังใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เพราะอัญชันมีฤทธิ์ในการละลายลิ่มเลือด อาจส่งผลทำให้ยามีฤทธิ์รุนแรง และเกิดอันตรายได้ -ไม่ควรดื่มน้ำอัญชัน ชาอัญชัน ที่มีความเข้มข้นมากเกินไป และไม่ควรดื่มแทนน้ำเปล่า -ควรใช้ผงอัญชันชงเป็นเครื่องดื่มน้ำดอกอัญชันในปริมาณแต่น้อย -ผู้ที่มีอาการแพ้ละอองฝอย หรือเกสรดอกไม้ ควรระมัดระวังในการใช้อัญชันเพราะอาจก่อให้เกิดปฏิกิริยาแพ้ได้ เช่น กัน

วิธีทำน้ำดอกอัญชัน

1.นำดอกอัญชันสดประมาณ 100 กรัมมาล้างให้สะอาด ใส่หม้อเติมน้ำเปล่า 2 ถ้วย นำไปต้มจนเดือด ปิดฝาทิ้งไว้ 3 นาที จากนั้นกรองเอาดอกอัญชันออก 2.ทำน้ำเชื่อมโดยใช้สัดส่วน น้ำเปล่า 500 กรัมต่อน้ำตาลทราย 500 กรัม เมื่อได้ส่วนผสมครบแล้วให้นำน้ำดอกอัญชัน น้ำเชื่อม น้ำผึ้งมาผสมรวมกัน ชิมรสตามชอบ

ข้อเท็จจริงของดอกอัญชัน

อัญชัน (Clitoria ternatea) เป็นไม้ดอกที่ขึ้นชื่อเรื่องดอกไม้สีฟ้าโดดเด่น และใช้ประโยชน์ได้หลากหลายตั้งแต่ไม้ประดับและทำอาหารไปจนถึงยาแผนโบราณ ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจเกี่ยวกับอัญชันมีดังนี้:
  • ดอกไม้สีฟ้าสดใส:
      • ต้นอัญชันมีชื่อเสียงในด้านดอกไม้สีฟ้าอันน่าทึ่ง สีฟ้าเข้มเกิดจากการมีเม็ดสีธรรมชาติที่เรียกว่าแอนโทไซยานิน
  • การใช้ทำอาหาร:
      • ดอกอัญชันมักใช้ในอาหารเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเติมลงในอาหารและเครื่องดื่มเพื่อให้ได้สีฟ้าตามธรรมชาติ ดอกไม้สามารถนำมาชงชา ค็อกเทล และแม้แต่กับข้าวหลากสีสันได้
  • สีผสมอาหารธรรมชาติ:
      • ดอกอัญชันใช้เป็นสีผสมอาหารตามธรรมชาติ เมื่อเติมลงในส่วนผสมที่เป็นกรด เช่น มะนาวหรือมะนาว สีน้ำเงินสามารถเปลี่ยนเป็นสีม่วงหรือสีชมพูได้
  • ยาแผนโบราณ:
      • ในการแพทย์แผนโบราณ อัญชันถูกนำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ ได้รับการแนะนำว่ามีคุณสมบัติต้านการอักเสบและยาแก้ปวด นอกจากนี้ยังใช้เพื่อรักษาอาการต่างๆ เช่น อาการอักเสบและอาการปวด
  • การใช้อายุรเวท:
      • ในการแพทย์อายุรเวช อัญชันเรียกว่า “Shankhpushpi” มีการใช้เพื่อเพิ่มความจำและการทำงานของการรับรู้ และเชื่อกันว่ามีคุณสมบัติสงบและบรรเทาความเครียด
  • ความสามารถในการปรับตัว:
      • ต้นอัญชันสามารถปรับตัวได้และสามารถเจริญเติบโตได้ในสภาพดินที่หลากหลาย เป็นพืชที่แข็งแรงสามารถทนได้ทั้งความแห้งแล้งและฝนตกหนัก
  • ชื่อและสัญลักษณ์:
      • พืชนี้มีชื่อเรียกต่างๆ นานา เช่น อัญชัน, อัญชันสีน้ำเงิน, ปีกนกพิราบเอเชีย และอัญชันคอร์โดแฟน ชื่อ “Clitoria” มาจากคำภาษากรีก “kleitoris” ซึ่งหมายถึงรูปร่างของพืชที่มีลักษณะคล้ายอวัยวะเพศหญิง
  • คุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ:
      • ดอกอัญชันมีสารต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ ฟลาโวนอยด์และแอนโทไซยานิน สารประกอบเหล่านี้มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น การปกป้องเซลล์จากความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชัน
  • งานวิจัยที่น่าสนใจ:
    • การวิจัยทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับอัญชันมีเพิ่มมากขึ้น โดยสำรวจถึงประโยชน์ต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบ อย่างไรก็ตาม, จำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อทำความเข้าใจศักยภาพในการรักษาอย่างเต็มที่.
อัญชันไม่เพียงแต่โดดเด่นสะดุดตาเท่านั้น แต่ยังมีความสำคัญทางวัฒนธรรม การทำอาหาร และศักยภาพทางการแพทย์ในภูมิภาคต่างๆ ของโลกอีกด้วย ความคล่องตัวและความสามารถในการปรับตัวทำให้เป็นพืชที่มีเอกลักษณ์และน่าสนใจพร้อมประโยชน์ใช้สอยหลากหลาย
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด