โรคบูลิเมียคืออะไร
โรคบูลิเมีย (Bulimia) คือโรคการรับประทานอาหารที่ผิดปกติที่และอาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
อาการของโรคคือการรับประทานอาหารที่ผิดปกติในปริมาณที่มากในเวลาสั้นแลัวขับออกด้วยการทำให้ตัวเองอาเจียน การออกกำลังกายอย่างหนักหรือการทานยาระบายหรือยาขับปัสสาวะ
ผู้ป่วยที่เป็นโรคบูลิเมียจะทำการเอาอาหารที่รับประทานเข้าไปออก ทำเป็นพฤติกรรมด้วยการรับประทานในปริมาณมากแล้วกำจัดออกวนเป็นวัฏจักรไปเรื่อยๆ พฤติกรรมดังกล่าวรวมไปถึงวิธีการรักษาน้ำหนักตัวเองอย่างเคร่งครัดรูปแบบอื่นๆด้วยเช่นการอดอาหาร การออกกำลังกายหรือการลดน้ำหนักอย่างหนักเกินไป
ผู้ป่วยที่เป็นโรคบูลีเมียมักเห็นภาพตัวเองที่ไม่เป็นจริง ผู้ป่วยจะหมกมุ่นกับเรื่องน้ำหนักของตัวเองและมีความคิดแง่ลบต่อภาพลักษณ์ของตนเอง หลายคนที่ป่วยเป็นโรคบูลิเมียมักมีน้ำหนักตัวปกติหรืออาจน้ำหนักเกินก็ได้ การเป็นโรคบูลิเมียนั้นยากต่อการสังเกตและการวินิจฉัย
จากการวิจัยพบว่ามีประมาณ1.5 เปอร์เซ็นต์ของผู้หญิงและ0.5เปอร์เซ็นต์ของผู้ชายที่เคยเป็นโรคบูลิเมียสักครั้งหนึ่งในช่วงชีวิต แต่ส่วนใหญ่มักเกิดกับผู้หญิงมากกว่า โดยเฉพาะเกิดขึ้นในช่วงระหว่างวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ตอนต้นมากที่สุด
และมีมากกว่า20เปอร์เซ็นต์ที่พบว่ามีอาการของโรคบูลิเมียในช่วงวัยมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะพวกนักกีฬาที่ต้องมีการรักษารูปร่างและน้ำหนักของตัวเองให้คงที่ยิ่งมีความเสี่ยงสูงในเรื่องการกินที่ผิดปกติมากกว่าคนอื่น รวมไปถึงนักเต้น นางแบบและนักแสดงก็เข้าข่ายความเสี่ยงสูงเช่นกัน
สาเหตุของโรคบูลิเมีย
โรคบูลิเมียเป็นโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่โรคนี้อาจเกิดจากปัจจัยร่วมที่สามารถทำให้เกิดโรคได้
คนที่มีปัญหาทางด้านจิตใจหรือพวกที่มีมุมมองโลกที่ผิดเพี้ยนจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้สูงกว่าคนทั่วไป เช่นเดียวกับคนประเภทมีความต้องการและคาดหวังสูงทางสังคม คนที่มีอิทธิพลสูงทางสื่อมีเดียก็มีความเสี่ยงสูงเช่นกัน และอาจมีปัจจัยอื่นร่วมด้วยเช่น:
-
มีปัญหาด้านอารมณ์ความโกรธ
-
มีความเครียด
-
เป็นคนรักความสมบูรณ์แบบ
-
เป็นคนที่ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้
-
เคยมีบาดแผลในใจมาก่อน
ในบางการวิจัยพบว่าโรคบูลิเมียเป็นโรคทางกรรมพันธ์ หรืออาจเกิดจากสาเหตุเซโรโทนินบกพร่องในสมอง
อาการของโรคบูลิเมียคืออะไร?
อาการทั่วไปของโรคบูลิเมียคือ:
-
มีความวิตกกังวลหรือกลัวว่าน้ำหนักตัวจะเพิ่มมากขึ้นเป็นเวลายาวนาน
-
คุยแต่เรื่องความอ้วน
-
หมกหมุ่นอยู่กับน้ำหนักและรูปร่างของตนเอง
-
มีความคิดแง่ลบต่อภาพลักษณ์ของตนเอง
-
รับประทานอาหารปริมาณมากในช่วงเวลาสั้นๆ
-
บังคับให้ตัวเองอาเจียน
-
มีการทานยาระบายหรือยาขับปัสสาวะมากเกินไป
-
ใช้อาหารเสริมหรือผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อลดน้ำหนัก
-
ออกกำลังกายอย่างหนัก
-
ฟันมีคราบ(เกิดจากกรดในกระเพาะอาหาร)
-
ผิวหนังแข็งด้านบนบริเวณด้านหลังมือ
-
ไปห้องน้ำทันทีหลังรับประทานอาหารเสร็จ
-
ไม่ยอมรับประทานอาหารต่อหน้าคนอื่น
-
หลีกเลี่ยงกิจกรรมทางสังคม
ภาวะแทรกซ้อนจากโรคบูลิเมีย เช่น:
- ไตวาย
- มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ
- โรคเหงือก
- ฟันผุ
- มีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยหรือท้องผูก
- ภาวะขาดน้ำ
- โภชนาการบกพร่อง ขาดสารอาหาร
- อิเล็กโทรไลต์หรือเคมีไม่สมดุล
ผู้หญิงที่เคยประจำเดือนขาด มีความวิตกกังวล เครียด ใช้ยาหรือติดแอลกอฮอล์อาจเป็นโรคบูลิเมียได้
การวินิจฉัยโรคบูลิเมีย
แพทย์มีวิธีการตรวจวินิจฉัยโรคบูลิเมียได้หลายแบบ ในขั้นแรกแพทย์จะทำการตรวจร่างกาย อาจสั่งตรวจเลือดหรือตรวจปัสสาวะ และตรวจทางจิตวิทยา และนำมาวินิจฉัยโรคร่วมกันเพื่อช่วยปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารและภาพลักษณ์ของตนเอง
นอกจากนี้แพทย์อาจใช้เกณฑ์การวินิจฉัยโรคทางจิตเวช DSM-5 (Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders) ประกอบการวินิจฉัยโรค โดยดูลักษณะของผู้ป่วยที่เป็นโรคบูลิเมียดังต่อไปนี้:
-
รับประทานอาหารปริมาณมากๆผิดปกติซ้ำๆ
-
กำจัดอาหารที่รับประทานเข้าไปด้วยการอาเจียนบ่อยๆ
-
มีพฤติกรรมกำจัดอาหารด้วยการออกกำลังกายอย่างหนัก มีการใช้ยาระบายและอดอาหาร
-
ไม่เห็นคุณค่าของตัวเองจากเรื่องของน้ำหนักตัวและรูปร่าง
-
มีพฤติกรรมรับประทานอาหารปริมาณมากแล้วตามด้วยการกำจัดทิ้งเกิดขึ้นอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งโดยทำติดต่อกันเป็นเวลา 3 เดือนขึ้นไป
-
ไม่ได้ป่วยเป็นโรคคลั่งผอม
ระดับความรุนแรงของโรคบูลิเมียขึ้นอยู่กับความถี่ของการกำจัดอาหารในแต่ละสัปดาห์โดยจัดระดับความรุนแรงของโรคไว้ดังต่อไปนี้:
-
ระดับไม่รุนแรง: 1-3 ครั้งต่อสัปดาห์
-
ระดับปานกลาง: 4-7 ครั้งต่อสัปดาห์
-
ระดับรุนแรง: 8-13 ครั้งต่อสัปดาห์
-
ระดับรุนแรงมาก: มากกว่า14 ครั้งต่อสัปดาห์
ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการของโรคบูลีเมียมานานแพทย์อาจทำการตรวจเพิ่มเติม เนื่องจากอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนซึ่งจะก่อให้เกิดโรคอื่นตามมาได้เช่นโรคหัวใจ
รักษาโรคบูลิเมียอย่างไร
การรักษาโรคบูลิเมียเราจะไม่รักษาเฉพาะเรื่องของการให้ความรู้ด้านอาหารและเรื่องโภชนาการเท่านั้น แต่เรายังต้องรักษาเรื่องของสภาพทางจิตใจร่วมด้วย ทางเลือกของการรักษาอาจมีดังต่อไปนี้:
-
ใช้ยาต้านโรคซึมเศร้า เช่นยาฟลูอ็อกเซทีน(โปรแซ็ค) เป็นยาแก้ซึมเศร้าตัวเดียวที่ได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกาเพื่อใช้รักษาโรคบูลีเมีย
-
จิตบำบัด เป็นวิธีรักษาด้วยการพูดคุยบำบัดทางจิตกับผู้ให้คำปรึกษาพิเศษเพื่อบำบัดความคิดและพฤติกรรม การบำบัดแบบครอบครัวและการบำบัดสัมพันธภาพระหว่างบุคคล
-
การให้ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการ โดยแพทย์และนักโภชนาการอาจช่วยในการวางแผนการรับประทานอาหารที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมน้ำหนักได้อย่างมีความปลอดภัย
-
การรักษาในโรงพยาบาล เมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อนสำหรับผู้ป่วยโรคบูลิเมียชนิดรุนแรง
การรักษาที่ประสบผลสำเร็จมักรวมเอาการรักษาทั้งแบบการได้รับยาต้านเศร้า รวมกับจิตบำบัดและมีความร่วมมือร่วมใจกันระหว่างแพทย์ นักจิตวิทยา ครอบครัวและเพื่อนๆ
การรักษาปัญหาด้านการรับประทานจะต้องเข้าร่วมโปรแกรม ผู้ป่วยจำต้องได้รับการดูแลและช่วยเหลือตลอดเวลา
ผู้ป่วยต้องเข้ารวมกลุ่ม ไปรับการบำบัดและรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ ผู้ป่วยอาจฝึกโยคะแบบเบาๆเพื่อเพิ่มการตระหนักรู้ทางร่างกายเป็นการฝึกสติขั้นต้น
การเฝ้าติดตามสำหรับโรคบูลิเมีย
โรคบูลิเมียอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษาหรือการรักษานั้นล้มเหลว โรคบูลิเมียเป็นโรคที่เป็นปัญหาทั้งทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งอาจเป็นสิ่งที่ต้องท้าทายตลอดชีวิตในการควบคุม
แต่อย่างไรก็ตาม โรคบูลิเมียสามารถหายได้หากการรักษาประสบผลสำเร็จ การรู้ว่าเป็นโรคบูลิเมียในระยะแรกๆจะทำให้การรักษามีประสิทธิผลดีกว่า
การรักษาจะมุ่งความสำคัญไปที่เรื่องของอาหาร การให้คุณค่าแก่ตนเอง การแก้ปัญหา ทักษะการรับมือกับสิ่งต่างๆรวมกับปัญหาทางด้านจิตใจ ด้วยการรักษาดังกล่าวนี้เองจะสามารถช่วยผู้ป่วยให้มีพฤติกรรมที่ดีต่อไปในระยะยาว
การดูแลผู้ป่วยโรคบูลิเมีย
การดูแลผู้ที่เป็นโรคบูลิเมียต้องอาศัยความเห็นอกเห็นใจและความเข้าใจ บูลิเมีย เนอร์โวซาเป็นโรคการกินที่รุนแรง โดยมีลักษณะเป็นช่วงๆ ของการกินจุใจ ตามมาด้วยพฤติกรรมเพื่อชดเชย เช่น การอาเจียน การออกกำลังกายมากเกินไป หรือการใช้ยาระบาย สิ่งสำคัญคือต้องจำไว้ว่าความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาบูลิเมีย ดังนั้นคุณควรสนับสนุนให้บุคคลนั้นเข้ารับการบำบัด ความช่วยเหลือทางการแพทย์ และอาจใช้ยาภายใต้คำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ ในระหว่างนี้ คุณสามารถช่วยเหลือและดูแลผู้ป่วยบูลิเมียได้ด้วยวิธีต่อไปนี้:- ให้ความรู้แก่ตนเอง : เรียนรู้เกี่ยวกับโรคนี้และผลกระทบของมัน การทำความเข้าใจความผิดปกตินี้จะช่วยให้คุณให้การสนับสนุนได้ดีขึ้นและหลีกเลี่ยงความเข้าใจผิด
- การสื่อสารแบบเปิด : สร้างสภาพแวดล้อมที่เปิดกว้างและไม่ตัดสินเพื่อให้แต่ละบุคคลได้พูดคุยเกี่ยวกับการต่อสู้ดิ้นรนและความรู้สึกของตน กระตุ้นให้พวกเขาแบ่งปันประสบการณ์ของพวกเขา
- สนับสนุนความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ : แนะนำและช่วยเหลือพวกเขาในการหานักบำบัดหรือที่ปรึกษาที่เชี่ยวชาญเรื่องความผิดปกติของการรับประทานอาหาร ทีมบำบัดอาจรวมถึงแพทย์ นักโภชนาการที่ลงทะเบียน และจิตแพทย์ หากจำเป็น
- หลีกเลี่ยงการตำหนิหรือวิพากษ์วิจารณ์ : ระวังอย่าตำหนิหรือวิพากษ์วิจารณ์พฤติกรรมของตน หลีกเลี่ยงความคิดเห็นที่อาจเพิ่มความรู้สึกผิดหรือความอับอาย
- ส่งเสริมนิสัยการกินเพื่อสุขภาพ : ส่งเสริมการรับประทานอาหารที่สมดุลและสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปริมาณอาหารที่พวกเขาบริโภค
- หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น : ระวังสิ่งกระตุ้นที่อาจนำไปสู่การดื่มสุราหรือการล้างข้อมูล หลีกเลี่ยงการพูดคุยเรื่องน้ำหนัก ขนาดร่างกาย อาหาร และรูปร่างหน้าตา
- การติดตามสุขภาพกาย : ติดตามสุขภาพกายของพวกเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพวกเขากำลังมีพฤติกรรมกำจัด การอาเจียนบ่อยครั้งอาจทำให้เกิดความไม่สมดุลของอิเล็กโทรไลต์และปัญหาสุขภาพอื่นๆ
- ให้การสนับสนุนทางอารมณ์ : ให้การสนับสนุนทางอารมณ์ อดทน มีความเห็นอกเห็นใจ และไม่ตัดสินผู้อื่น
- ส่งเสริมกลไกการรับมือเชิงบวก : ช่วยให้พวกเขาค้นพบวิธีที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้นในการรับมือกับความเครียด ความวิตกกังวล และอารมณ์อื่นๆ แนะนำกิจกรรมต่างๆ เช่น การเขียนบันทึก ศิลปะ การทำสมาธิ หรือการออกกำลังกาย
- เข้าร่วมกลุ่มสนับสนุน : ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในกลุ่มสนับสนุนการรับประทานอาหารผิดปกติ การเชื่อมต่อกับผู้อื่นที่มีประสบการณ์คล้ายกันจะมีประโยชน์มาก
- อดทน : การฟื้นตัวจากโรคการกินต้องใช้เวลา หลีกเลี่ยงการกดดันให้บุคคลนั้นอาการดีขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเป็นกระบวนการที่ค่อยเป็นค่อยไป
- นำสิ่งล่อใจออกไปให้ห่าง : หากเป็นไปได้ ให้ลบสิ่งกระตุ้น เช่น นิตยสารที่เกี่ยวข้องกับอาหาร ตาชั่ง หรือสิ่งอื่นใดที่อาจมีส่วนทำให้เกิดความคิดเชิงลบ
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
-
https://www.nhs.uk/conditions/bulimia/
-
https://www.webmd.com/mental-health/eating-disorders/bulimia-nervosa/mental-health-bulimia-nervosa
-
https://www.webmd.com/mental-health/eating-disorders/bulimia-nervosa/mental-health-bulimia-nervosa#1
-
https://www.womenshealth.gov/mental-health/mental-health-conditions/eating-disorders/bulimia-nervosa