การวัดความดันโลหิต (Blood Pressure Test) นั้นใช้เพื่อวัดความดันในหลอดโลหิตขณะที่หัวใจสูบฉีดเลือด คุณอาจต้องวัดความดันเป็นปกติเมื่อมีนัดกับแพทย์หรือเป็นการตรวจหาภาวะความดันโลหิตสูง บางคนใช้การวัดความดันเพื่อติดตามสุขภาพของหัวใจ
หากคุณมีความดันโลหิตสูง การเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตเล็กน้อยอาจช่วยให้ดีขึ้นได้
ทำไมต้องวัดความดันโลหิต
เมื่อเราไปพบแพทย์ การวัดความดันนั้นเป็นสิ่งที่ต้องทำเสมอ มันเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการคัดกรองสุขภาพทั่วไปของเรา เมื่อไหร่ที่คุณควรวัดความดัน:- ผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่มีความดันโลหิตปกติและไม่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจควรจะวัดความดันอย่างน้อยต่อสองถึงห้าปี
- ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป หรือผู้ที่มีอายุต่ำกว่าที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ควรวดความดันทุกปี ปัจจัยเสี่ยงสำหรับโรคความดันโลหิตสูงคือผู้ที่เป็นโรคอ้วนและชาวผิวสี
- ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น ความดันสูง หรือความดันต่ำ หรือโรคหัวใจ อาจต้องวัดความดันบ่อยกว่า 2 กลุ่มข้างต้น
ความเสี่ยง
การวัดความดันนั้น ง่าย รวดเร็ว และปกติแล้วจะไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด อย่างไรก็ตาม สายรัดจะบีบแขนของคุณในขณะที่มันกำลังทำงานอยู่ บางคนคิดว่ามันเจ็บเล็กน้อย แต่ความรู้สึกนั้นเกิดขึ้นเพียงไม่กี่วินาทีการเตรีมตัว
ไม่มีขั้นตอนการเตรียมตัวที่พิเศษสำหรับการวัดความดัน แต่ขั้นตอนข้างล่างนี้อาจช่วยให้ผลของความดันนั้นแม่นยำขึ้น:- ไม่สูบบุหรี่ ออกกำลังกาย หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน 30 นาทีก่อนที่จะวัด เพราะกิจกรรมเหล่านี้ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นและความดันโลหิตสูงขึ้น
- สวมเสื้อแขนสั้นเพื่อที่จะได้ใส่ปลอกแขนเพื่อวัดความดันได้ง่ายขึ้น
- นั่งพักก่อนสักครู่ก่อนที่จะวัดความดัน
- แจ้งแพทย์ว่ารับประทานยาอะไรอยู่บ้าง เพราะยาบางชนิดอาจส่งผลต่อความดันโลหิต
คุณคาดหวังอะไรจากการวัดความดันได้บ้าง
ระหว่างขั้นตอนการวัด
ปกติแล้ว พยาบาลจะวัดความดันในขณะที่คุณนั่งเก้าอี้และเท้าวางเรียบไปกับพื้น วางแขนลงบนโต๊ะในระดับเดียวกับหัวใจ ปลอกแขนจะรัดรอบต้นแขน ส่วนขอบของปลอกแขนจะอยู่เหนือข้อศอก ปลอกแขนควรจะพอดี ค่าอาดจะคลาดเคลื่อนหากปลอกนั้นหลวมเกินไปหรือคับเกินไป- สำหรับเครื่องที่ใช้วัดโดยมือ พยาบาลจะปลอกแขนรัดบนเส้นเลือด (หลอดเลือดแดงแขน) ที่ต้นแขนเพื่อที่จะฟังเสียงการไหลของเลือด
- ปลอกแขนจะพองขึ้นด้วยการใช้ที่ปั๊มมือ
- ในขณะที่ปลอกแขนพองขึ้นนั้น มันจะบีบแขนเราไปด้วย เลือดที่ไหลผ่านเส้นเลือดจะหยุดชั่วครู่
- พยาบาลจะเปิดวาล์วที่ปั๊มมือช้า ๆ เพื่อปล่อยอากาศในปลอกแขนและให้เลือดกลับมาไหลอีกครั้ง พวกเขาจะฟังเสียงการไหลของเลือดและจดบันทึกเอาไว้
หลังการวัดความดัน
หากความดันโลหิตของคุณสูงหรอืต่ำ คุณจะต้องวัดความดันอีกอย่างน้อย 3 ครั้ง ห่างกันอย่างน้อยครั้งละ 1 สัปดาห์ เพื่อที่จะทราบว่าคุณต้องเข้ารับการรักษาหรือไม่ ความดันโลหิตนั้นสามารถแตกต่างกันได้ในแต่ละช่วงเวลาและแต่ละวันผลลัพท์
แพทย์ หรือ พยาบาล หรือเจ้าหน้าที่สามารถบอกผลของการวัดความดันได้เลยทันที ความดันโลหิตจะถูกวัดในหน่วยมิลลิเมตรปรอท (mm Hg) ซึ่งจะมีตัวเลขอยู่ 2 เลข- ตัวเลขข้างบน (systolic) คือความดันโลหิตเมื่อหัวใจปั๊มเลือด
- ตัวเลขข้างล่าง (diastolic) คือความดันที่วัดระหว่างการเต้นของหัวใจ
ตัวเลขข้างบน (systolic) ในหน่วย mm Hg | และ/หรือ | ตัวเลขข้างล่าง (diastolic) ในหน่วย mm Hg | ประเภทของคุณ* |
|
|||
ต่ำกว่า 90 | หรือ | ต่ำกว่า 60 | ความดันโลหิตต่ำ† (hypotension) |
ต่ำกว่า 120 | และ | ต่ำกว่า 80 | ความดันโลหิตปกติ |
120-129 | และ | ต่ำกว่า 80 | ความดันโลหิตสูงขึ้น |
130-139 | หรือ | 80-89 | ความดันโลหิตสูง ระยะที่ 1 (hypertension) |
140 หรือมากกว่า | หรือ | 90 หรือมากกว่า | ความดันโลหิตสูงระยะที่ 2 (hypertension) |
- ลดปริมาณเกลือ (โซเดียม) สมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกาแนะนำว่า ผู้ใหญ่ที่สุขภาพดีไม่ควรรับประทานโซเดียมเกินวันละ 2,300 มิลลิกรัม (mg) ต่อวัน ตามทฤษฎีแล้ว ผู้ใหญ่ส่วนมากควรควบคุมปริมาณโซเดียมให้อยู่ที่ 1,500 mg ต่อวัน และควรเช็คปริมาณเกลือในอาหารแปรรูป เช่น ซุปกระป๋องและอาหารแช่แข็งต่าง ๆ
- รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เลือกทาน ผลไม้ ผัก ธัญพืช และผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำ รับประทานไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์ให้น้อยลง
- ควบคุมการดื่มแอลกอฮอล์ แอลกอฮอล์ทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงได้ หากคุณจะดื่มแอลกอฮอล์ ควรดื่มให้พอเหมาะ สำหรับผู้ใหญ่ที่สุขภาพดี คือ หนึ่งแก้วต่อวันสำหรับผู้หญิงและสองแก้วต่อวันสำหรับผู้ชาย
- หากคุณสูบบุหรี่อยู่ ควรเลิก และควรที่จะหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีควันบุหรี่
- ลดน้ำหนัก หากคุณมีน้ำหนักตัวที่มากเกินไป การลดน้ำหนักประมาณ 2.2 กิโลกรัมสามารถทำให้ความดันเลือดลดลงได้
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การขยับร่างกายตลอดจะช่วยลดความดันโลหิตและช่วยควบคุมน้ำหนัก ผู้ใหญ่ที่สุขภาพดีควรออกกำลังกายแบบแอโรบิคเบา ๆ อย่างน้อย 150 นาทีหรือ 75 นาทีสำหรับแอโรบิคแบบหนัก ต่อสัปดาห์ หรือควรออกทั้งสองแบบ
การเตรียมตัววัดความดันโลหิต
การเตรียมการทดสอบความดันโลหิตหรือที่เรียกว่าการวัดความดันโลหิตหรือการตรวจความดันโลหิตนั้นค่อนข้างง่าย ต่อไปนี้คือสิ่งที่คุณสามารถทำได้เพื่อให้แน่ใจว่าการอ่านค่าถูกต้องแม่นยำและทำให้กระบวนการดำเนินไปอย่างราบรื่น:- สวมเสื้อผ้าที่สบาย : เลือกเสื้อผ้าที่ช่วยให้เข้าถึงต้นแขนได้ง่าย วิธีที่ดีที่สุดคือสวมเสื้อแขนสั้นหรือเสื้อผ้าที่สามารถพับแขนเสื้อได้
- หลีกเลี่ยงคาเฟอีนและการออกกำลังกาย : อย่างน้อย 30 นาทีก่อนการทดสอบ หลีกเลี่ยงการบริโภคคาเฟอีน (พบในกาแฟ ชา เครื่องดื่มชูกำลัง และน้ำอัดลม) และงดเว้นจากการออกกำลังกายอย่างหนัก ปัจจัยเหล่านี้อาจทำให้ความดันโลหิตของคุณเพิ่มขึ้นชั่วคราว
- ปัสสาวะ : หากคุณจำเป็นต้องใช้ห้องน้ำ ให้ดำเนินการก่อนการทดสอบ การกระเพาะปัสสาวะเต็มอาจส่งผลต่อการอ่าน
- ผ่อนคลายและพักผ่อน : พยายามสงบสติอารมณ์และผ่อนคลาย นั่งเงียบๆ สักสองสามนาทีก่อนการทดสอบ หลีกเลี่ยงการพูดหรือเคลื่อนไหวมากเกินไป
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ : การสูบบุหรี่อาจทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้ชั่วคราว หากคุณสูบบุหรี่ ทางที่ดีควรงดเว้นอย่างน้อย 30 นาทีก่อนการทดสอบ
- นั่งสบาย : นั่งบนเก้าอี้โดยวางเท้าราบกับพื้นและรองรับหลัง วางแขนของคุณบนพื้นผิวเรียบ เช่น โต๊ะหรือโต๊ะ เพื่อให้อยู่ในระดับหัวใจ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าแขนของคุณผ่อนคลายไม่เกร็ง
- ถอดเสื้อผ้าที่รัดแน่นออก : หากคุณสวมเสื้อผ้าหรือเครื่องประดับที่รัดแน่น (เช่น นาฬิกาข้อมือหรือสร้อยข้อมือที่รัดแน่น) บนแขนที่จะวางผ้าพันแขนวัดความดันโลหิต ให้ถอดออกเพื่อให้แน่ใจว่าค่าที่อ่านได้แม่นยำ
- หลีกเลี่ยงการพูดคุย : การพูดระหว่างการทดสอบความดันโลหิตอาจส่งผลต่อความแม่นยำในการอ่าน ทางที่ดีควรนิ่งเงียบในขณะที่ทำการวัด
- แจ้งผู้ให้บริการด้านสุขภาพ : แจ้งให้ผู้ให้บริการดูแลสุขภาพทราบหากคุณมีข้อกังวลใดๆ หรือหากคุณเพิ่งประสบกับความเจ็บปวดหรือความรู้สึกไม่สบายใดๆ ที่อาจส่งผลต่อการอ่านเมื่อเร็วๆ นี้
- ปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ให้บริการดูแลสุขภาพ : หากผู้ให้บริการดูแลสุขภาพของคุณมีคำแนะนำเฉพาะสำหรับการวัดความดันโลหิตของคุณ เช่น ระยะเวลา การปรับยา หรือการอ่านค่าหลายครั้ง โปรดปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านั้น
นี่คือที่มาในบทความของเรา
- https://www.nhs.uk/conditions/blood-pressure-test/
- https://www.heart.org/en/health-topics/high-blood-pressure/understanding-blood-pressure-readings/monitoring-your-blood-pressure-at-home
- https://www.cdc.gov/bloodpressure/measure.htm
- https://my.clevelandclinic.org/health/diagnostics/4014-blood-pressure-when–how-to-check-at-home
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น