ผักตำลึงคืออะไร
ตำลึงชื่อวิทยาศาสตร์ Coccinia grandis (L.) Voigt. เป็นพืชไม้เลื้อยชนิดหนึ่ง ลักษณะโคนใบจะคล้ายรูปหัวใจ ต้นตำลึงมีเถาหรือมือที่ใช้ยึดเกาะสิ่งต่าง ๆ ยื่นออกมาจากข้อของลำต้น ดอกตำลึงมีทั้งดอกเดี่ยวและดอกคู่ กลีบดอกมีสีขาว และรูปทรงของดอกจะคล้ายกับระฆัง ตำลึงอุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนการที่สูงมีทั้งวิตามิน และแร่ธาตุหลายชนิด โดยเฉพาะที่ส่วนใบและยอดอ่อนของตำลึงที่ให้ทั้งพลังงาน โปรตีน เส้นใยอาหาร เบตาแคโรทีน วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี แคลเซียม ฟอสฟอรัส และเหล็กคุณประโยชน์ของตำลึง ตำลึงสรรพคุณมีอะไรบ้าง
นอกจากคุณค่าทางโภชนาการที่สูงแล้ว ประโยชน์ของตำลึงยังมีอีกมากมาย ซึ่งล้วนส่งผลที่ดีต่อร่างกาย ได้แก่:ใบตำลึงกับคุณค่าทางโภชนาการ
ในใบตำลึงและยอดอ่อนตำลึงที่มีน้ำหนัก 100 กรัมจะประกอบไปด้วยสารอาหาร ดังนี้- แคลอรี่ 39 กิโลแคลลอรี่
- โปรตีน 3.3 กรัม
- ไขมัน 0.4 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต 5.5 กรัม
- ไฟเบอร์ 1 กรัม
- แคลเซียม 126 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม
- เหล็ก 4.6 มิลลิกรัม
- เบต้าแคโรทีน 5.1 มิลลิกรัม
- วิตามินเอ 0.9 มิลลิกรัม
ใบตำลึงช่วยกำจัดกลิ่นตัว
มนุษย์มักมีกลิ่นตัวอันเนื่องมาจากเหงื่อและคราบสกปรกต่าง ๆ โดยเฉพาะในบริเวณที่มีความอับชื้นอย่างรักแร้ หรือที่เรียกว่ากลิ่นเต่า ซึ่งสามารถใช้ตำลึงบรรเทากลิ่นได้ โดยนำเถาและใบตำลึงมาตำผสมกับปูนแดงแล้วทาบริเวณรักแร้ ทิ้งไว้สักครู่แล้วล้างออก กลิ่นตัวที่รุนแรงจะลดลงได้ตำลึงสรรพคุณบำรุงผิวพรรณ
ตำลึงสามารถนำมาใช้บำรุงผิวหน้าให้ดูเต่งตึงได้ ด้วยการนำยอดตำลึงและน้ำผึ้งอย่างละครึ่งถ้วย มาปั่นรวมกันในโถผสม ปั่นจนเนื้อละเอียดเนียน แล้วจึงนำมาพอกหน้าที่ล้างสะอาดดีแล้ว พอกทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาดลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน
มีงานวิจัยที่ได้นำส่วนต่าง ๆ ของต้นตำลึงไปทดสอบและพบว่าสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ โดยสารสกัดจากส่วนลำตันของตำลึงสามารถกระตุ้นการนำกลูโคสเข้าสู่เซลล์ได้ ช่วยเพิ่มระดับของอินซูลิน ปรับสมดุลการสังเคราะห์ไกลโคเจน ซึ่งเมื่อไกลโคเจนไม่ถูกปรับโครงสร้างมาเป็นกลูโคส ก็จะส่งผลให้ระดับกลูโคสในกระแสเลือดลดลง มีงานวิจัยโดยให้ผู้ป่วยเบาหวานรับประทานสารสกัดจากใบตำลึงและผลตำลึงด้วยแอลกอฮอล์ 50% ปริมาณ 1 กรัมต่อวัน นานต่อเนื่องติดต่อกัน 90 วัน พบว่าผู้ป่วยจะมีระดับน้ำตาลในเลือดลดลง โดยไม่มีผลข้างเคียง จึงสามารถลดความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานได้ และยังมีงานวิจัยที่ให้ผู้ป่วยรับประทานผงตำลึงแห้งที่นำไปอัดเป็นเม็ด โดยรับประทานครั้งละ 3 เม็ด นาน 3 สัปดาห์ พบว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดดีขึ้นใบตำลึงบรรเทาอาการปวดและอักเสบของร่างกาย
มีผลงานวิจัยที่ได้เปรียบเทียบสรรพคุณตำลึงในการบรรเทาอาการปวดเปรียบเทียบกับมอร์ฟีน สารสกัดจากพืชอีกชนิดที่นิยมนำมาใช้แก้ปวด พบว่าตำลึงมีฤทธิ์ใกล้เคียงกับมอร์ฟีน โดยไม่ต้องเสี่ยงกับภาวะติดสารเสพติดอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีผลงานวิจัยในหนูทดลองที่ชี้ว่าสารสกัดจากต้นตำลึงมีฤทธิ์ในการด้านทานการอักเสบได้เทียบเท่ากับยาไดโคลฟีแนค โดยสารสกัดจากส่วนใบตำลึงจะให้ผลในการรักษาที่ดีที่สุด ซึ่งนอกจากจะรับเข้าทางร่างกายด้วยการรับประทาน หรือฉีดเข้าร่างกายแล้วยังสามารถนำมาทาที่ผิวหนังโดยตรง เพื่อลดรอยแดงที่เกิดจากยุงกัดได้อีกด้วยใบตำลึงสรรพคุณในการบำรุงสายตา
ในตำลึงอุดมไปด้วยวิตามินเอ และเบต้าแคโรทีนในปริมาณมาก ซึ่งสารทั้ง 2 ชนิดมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ จึงช่วยป้องกันการเสื่อมสภาพของเซลล์สายตา ช่วยบำรุงดวงตาให้มีสุขภาพที่ดี ทางการแพทย์แผนไทยเชื่อว่าการนำน้ำต้มจากเถาตำลึงมาหยอดตาจะช่วยบรรเทาอาการตาแดง และตาอักเสบได้ตำลึงสรรพคุณช่วยให้กระดูกแข็งแรงขึ้น
เนื่องจากผักตำลึงมีแร่ธาตุที่สำคัญต่อร่างกายอยู่หลายชนิด โดยเฉพาะแคลเซียมที่มีในปริมาณที่สูงมาก และจากงานวิจัยยังพบว่าแคลเซียมในตำลึงนั้นร่างกายสามารถดูดซึมได้ง่ายกว่าแคลเซียมที่มาจากนมวัว จึงทำให้การกินตำลึงสามารถทดแทนแคลเซียมในกลุ่มผู้ที่มีอาการแพ้นมวัวได้ช่วยปรับปรุงการทำงานของระบบย่อยอาหาร
ในผักตำลึงมีเอนไซม์อะไมเลสอยู่มาก ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่จำเป็นต่อการย่อยอาหารที่มีแป้งเป็นส่วนประกอบ ซึ่งหากอาหารจำพวกแป้งไม่สามารถย่อยได้ตามปกติก็จะทำให้เกิดอาการท้องอืด และแก๊สในกระเพาะอาหารได้ การรับประทานตำลึงจึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในระบบย่อยอาหารได้โทษของตำลึง
ตำลึงมี 2 ประเภท คือตำลึงตัวผู้และตำลึงตัวเมีย ให้สังเกตที่ขนาดและความอวบของใบ โดยตำลึงตัวเมียนั้นจะมีขนาดใบที่อวบและใหญ่กว่า ในขณะที่ตำลึงตัวผู้จะมีใบที่แคบ และเรียวกว่า ซึ่งตำลึงที่สามารถนำมาบริโภคเป็นอาหารคือตำลึงตัวเมีย ส่วนตำลึงตัวผู้หากรับประทานมาก ๆ อาจมีผลข้างเคียงได้ การรับประทานตำลึงในปริมาณที่มากเกินไป จะเกิดโทษจากตำลึงได้ โดยอาจกระตุ้นให้ระบบย่อยอาหารทำงานหนักเกินไป หรือเกิดอาการข้างเคียงอย่างท้องเสียได้ จึงต้องรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะวิธีการรับประทานตำลึง
ตำลึงเป็นผักที่มีรสจืดจึงสามารถนำไปปรุงอาหารได้หลากหลาย ส่วนที่นิยมรับประทานเป็นอาหารคือใบและยอดอ่อนของตำลึง โดยสามารถรับประทานสด หรือลวกเพื่อใช้เป็นเครื่องจิ้มกับน้ำพริก หรือนำไปใช้เป็นส่วนประกอบในน้ำซุปก็ได้ ส่วนประกอบอื่น ๆ ของตำลึงอย่างลูกตำลึง เถา และรากก็สามารถรับประทานได้ แต่นิยมใช้เพื่อปรุงเป็นยาพื้นบ้านมากกว่าหัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น