ประโยชน์ของแปะก๊วย (Benefits of Ginkgo)

แปะก๊วย (Ginkgo) หรือ Maidenhair ต้นไม้ที่มีที่มาจากจีน ที่ปลูกกันมาเป็นพันปีและใช้สารพัดประโยขน์ เพราะมันเป็นต้นไม้โบราณที่ยังคงอยู่ถึงปัจจุบัน จึงมีอีกชื่อว่า ฟอสซิลมีชีวิต ในตำรายาจีนใช้ใบและรากของแปะก๊วยในการรักษาโรค แต่ปัจจุบันใช้สารสกัดที่ทำจากใบแปะก๊วย อาหารเสริมแปะก๊วยมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย ส่วนใหญ่เน้นในเรื่องการทำงานของสมองและการไหลเวียนเลือด

แปะก๊วยสรรพคุณมีอะไรบ้าง

1. เม็ดแปะก๊วยมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ทรงพลัง

แปะก๊วยมีฟลาโวนอยด์และเทอร์ปีนอยด์สูงมาก ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ทรงพลัง สารต้านอนุมูลอิสระช่วยต่อสู้หรือทำให้ฤทธิ์ทำลายล้างของอนุมูลอิสระเป็นกลาง อนุมูลอิสระเป็นสารออกฤทธิ์แรงที่เกิดในร่างกายระหว่างการเผาผลาญอาหารเช่นการเปลี่ยนอาหารให้เป็นพลังงาน หรือการทำลายสารพิษ และยังทำลายเนื้อเยื่อที่สมบูรณ์ของร่างกายด้วย ทำให้แก่เร็วและเกิดโรคต่างๆได้ การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของแปะก๊วยได้ผลน่าสนใจมาก แต่ยังไม่เข้าใจถ่องแท้ว่ามันออกฤทธิ์และมีประสิทธิภาพอย่างไรในการรักษาโรคบางชนิด 

2. สารสกัดจากใบแปะก๊วยช่วยลดการอักเสบ

การอักเสบเป็นการแสดงปฎิกิริยาธรรมชาติของร่างกายต่อการบาดเจ็บหรือผู้บุกรุก เมื่อเกิดการอักเสบ ระบบภูมิคุ้มกันจะหลั่งสารต่างๆเพื่อต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอมหรือเพื่อรักษาบริเวณที่บาดเจ็บ โรคเรื้อรังบางชนิดกระตุ้นให้มีการตอบสนองโดยการอักเสบ แม้ว่าไม่มีความเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บแล้ว เมื่อเวลาผ่านไป การอักเสบที่มากเกินไปจะทำให้เกิดความเสียหายถาวรต่อเนื้อเยื่อและ DNA การทดลองในสัตว์และในหลอดทดลองนานเป็นปีๆ พบว่าสารสกัดแปะก๊วยช่วยลดตัวชี้วัดการอักเสบในเซลล์ของทั้งคนและสัตว์ ในระยะต่างๆของโรคหลากหลายชนิด ภาวะต่างๆที่สารสกัดจากแปะก๊วยสามารถลดการอักเสบได้ เช่น 

3. เพิ่มการไหลเวียนเลือดและทำให้สุขภาพหัวใจดีขึ้น

ในการแพทย์แผนจีน ใช้เมล็ดแปะก๊วยเพื่อเปิดช่องทางให้พลังงานไหลไปที่อวัยวะต่างๆ เช่น ไต ตับ สมองและปอด แปะก๊วยช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปที่ส่วนต่างๆของร่างกาย ซึ่งเป็นผลดีต่อสุขภาพ การศึกษาชิ้นหนึ่งในคนที่เป็นโรคหัวใจที่ได้รับสารเสริมแปะก๊วย พบว่ามีการเพิ่มการไหลของเลือดทันทีสู่อวัยวะต่างๆของร่างกาย พบว่ามีการเพิ่มการไหลเวียนของไนตริกออกไซด์ (สารที่ช่วยให้หลอดเลือดขยาย) ขึ้น 12% และการศึกษาอื่นก็ได้ผลเช่นเดียวกัน  และการศึกษาเพิ่มเติมชี้ให้เห็นผลของแปะก๊วยในการป้องกันหัวใจ,สมองและการเกิดโรคเส้นเลือดสมอง มีคำอธิบายมากมายในเรื่องนี้ แต่สิ่งหนึ่งอาจเป็นเพราะผลต้านการอักเสบของมัน แต่ควรต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้เข้าใจมากยิ่งขึ้นเกี่ยวกับผลของแปะก๊วยต่อการไหลเวียนเลือด  หัวใจและสมอง  

4. สรรพคุณแปะก๊วยลดอาการทางจิตและการหลงลืม

มีการศึกษามากมายเกี่ยวกับผลของแปะก๊วยในการลดความกังวลและความเครียดและอาการอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับโรคอัลไซเมอร์และความรับรู้ที่ลดลงตามอายุ แต่ผลการศึกษาโดยรวมยังไม่แน่นอน การศึกษาบางชิ้นพบว่ามีผลเช่นนั้นจริง แต่หลายการทดลองไม่ได้ผลแบบเดียวกัน การแสดงผลการศึกษา21 ชิ้นแสดงว่า ถ้าใช้ร่วมกับยา แปะก๊วยอาจช่วยให้อาการของอัลไซเมอร์ดีขึ้น 

5. สารสกัดใบแปะก๊วยเพิ่มการทำงานของสมองและสุขภาพโดยรวม

แปะก๊วยช่วยในการทำงานของสมองในคนที่สุขภาพดี การศึกษาเล็กๆไม่กี่ชิ้นช่วยให้เห็นว่าการเพิ่มอาหารเสริมอาจช่วยให้สุขภาพจิตและร่างกายดีขึ้น จึงทำให้อ้างได้ว่า ช่วยเพิ่มความจำ สมาธิ  

6. ลดความกังวล

การศึกษาบางชิ้น พบว่าการกินแปะก๊วยช่วยลดความวิตกกังวล เนื่องจากฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในแปะก๊วย ในการศึกษาชิ้นหนึ่ง ในคน 170 คนที่มีความกังวลทั่วไปที่ได้รับแปะก๊วย 240 มิลลิกรัม หรือยาหลอก 480 มิลลิกรัม กลุ่มที่ได้รับแปะก๊วยมีอาการกังวลลดลง 45%เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม แต่ก็ยังเร็วเกินไปที่จะสรุปว่าช่วยได้จริงGinkgo 

7. แปะก๊วยช่วยรักษาซึมเศร้า

อาหารเสริมแปะก๊วยช่วยลดอาการซึมเศร้า หนูที่ได้รับแปะก๊วยก่อนที่จะได้รับความกดดัน มีผลกระทบทางอารมณ์จากความกดดันน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับแปะก๊วย ซึ่งเป็นเพราะผลต้านการอับเสบของแปะก๊วย ที่ทำให้ร่างกายสามารถปรับเข้ากับความเครียดได้ดี แต่อย่าลืมว่า ซึมเศร้านั้นเป็นโรคที่ซับซ้อนที่อาจเกิดจากสาเหุตมากมาย ควรต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ 

8. ใบแปะก๊วยช่วยให้การมองเห็นและสุขภาพตาดีขึ้น

การศึกษาน้อยมากที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของแปะก๊วยกับการมองเห็นและสุขภาพตา แต่เท่าที่มีการศึกษาเบื้องต้นก็มีผลดี การศึกษาหนึ่งพบว่า ผู้ที่เป็นต้อกระจกที่ได้รับอาหารเสริมแปะก๊วย มีเลือดไปเลี้ยงลูกตาเพิ่มขึ้น แต่ไม่ได่แปลว่าการมองเห็นดีขึ้น การรายงานผลการวิจัยสองชิ้นประเมินผลของสารสกัดแปะก๊วยในผู้ที่มีจอตาเสื่อมจากวัย บางคนบอกว่าสายตาดีขึ้น แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ผลทางบวกส่วนใหญ่เกี่ยวกับการเพิ่มเลือดไปเลี้ยงลูกตา ยังไม่กระจ่างว่าแปะก๊วยทำให้การมองเห็นดีขึ้นในผู้ที่ไม่มีปัญหาทางสายตา จึงควรต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม 

9. แปะก๊วยรักษาการปวดหัวและไมเกรนได้

ในการแพทย์แผนจีน แปะก๊วยเป็นที่นิยมมากในการรักษาการปวดหัวและไมเกรน มีการวิจัยน้อยมากที่เกี่ยวกับผลในเรื่องนี้ แต่เมื่อคิดถึงต้นเหตุของการปวดหัว แปะก๊วยอาจช่วยได้ เป็นที่ทราบกันดีว่าแปะก๊วยมีผลต้านการอักเสบและต้านอนุมูลอิสระ ถ้าการปวดหัวและไมเกรนนั้นเกิดจากความเครียดสูง แปะก๊วยอาจช่วยได้ และถ้าการปวดหัวเกี่ยวข้องกับการที่เลือดไหลเวียนน้อยหรือหลอดเลือดหดตัว แปะก๊วยที่ขยายหลอดเลือดได้ อาจข่วยลดอาการได้  ในทางกลับกัน ไมเกรนบางชนิดเกิดจากหลอดเลือดขยายมากเกินไป ซึ่งแปะก๊วยช่วยไม่ได้ แต่นี่เป็นเพียงความเห็น และยังไม่มีหลักฐานยืนยัน หากท่านต้องการลองใช้แปะก๊วยเพื่อลดไมเกรน ไม่มีอันตราย เพียงแต่อาจไม่ได้ผลตามต้องการ 

10. ช่วยทำให้อาการหอบหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังดีขึ้น

การศึกษาบางชิ้นแสดงว่าแปะก๊วยอาจทำให้หอบหืดและการอักเสบในทางเดินหายใจเช่นในโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เพราะผลในการต้านการอักเสบ ซึ่งอาจช่วยลดการอักเสบในปอดและเพิ่มความจุปอด การศึกษาในคน 75 คนที่ใช้สารสกัดจากแปะก๊วยร่วมกับการรักษาด้วยv Glucocorticosteroid พบว่าสารที่บ่งชี้การติดเชื้อในคนที่ได้รับแปะก๊วยมีน้อยกว่าผู้ที่ได้ยาอย่างเดียว การศึกษาอีกชิ้นในคน 100 คน ใช้ยาสมุนไพรจีนที่มีแปะก๊วยผสม เพื่อรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง พบว่าผู้ที่ได้สมุนไพรมีอาการไอและหลอดลมอักเสบน้อยลงอย่างชัดเจนเมื่อมาตรวจติดตามผล 3 เดือนต่อมา เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม แต่ยังสรุปไม่ได้ว่าการที่อาการดีขึ้น เนื่องจากแปะก๊วยเพียงอย่างเดียว หรือเป็นผลจากสมุนไพรอื่นๆที่อยู่ในยานั้น 

11. ลดอาการก่อนมีประจำเดือน

การศึกษาเบื้องต้นแสดงว่าแปะก๊วยอาจช่วยลดอาการทั้งทางร่างกายและอารมณ์ก่อนมีประจำเดือน การศึกษาชิ้นหนึ่งในนักศึกษา  85 คน มีรายงานว่าอาการก่อนมีประจำเดือนลดลง 23%และกลุ่มควบคุมก็รายงานว่าลดลงเช่นเดียวกัน คือ 8.8% ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้เข้าใจดียิ่งขึ้นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสาเหตุและผลของแปะก๊วยกับอาการก่อนมีประจำเดือน 

12.แปะก๊วยสรรพคุณรักษาสมรรถภาพทางเพศ

แปะก๊วยอาจช่วยสมรรถภาพทางเพศ เช่นอวัยวะเพศไม่แข็งตัว และความต้องการทางเพศต่ำ เพราะมันช่วยเพิ่มไนตริกออกไซด์ในเลือด ช่วยให้เลือดไหลเวียนดีเนื่องจากเส้นเลือดขยายตัว ดังนั้นแปะก๊วยอาจมีผลดีในการรักษาสมรรถภาพทางเพศโดยการเพิ่มเลือดไหลเวียนไปอวัยวะต่างๆ การวิจัยบางชิ้น ใช้แปะก๊วยรักษาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ร่วมกับใช้ยาแก้ซึมเศร้า ผลคือไม่พบความแตกต่าง  และยังอาจมีปฎิกิริยาต่อกันของแปะก๊วยกับยาต้านซึมเศร้าด้วย อาจทำให้ผลของยาลดลงได้ การศึกษาชิ้นหนึ่งศึกษาการใช้แปะก๊วยเพื่อเพิ่มความต้องการทางเพศในหญิงที่เข้าร่วมการบำบัดจิตเกี่ยวกับเพศ พบว่าแปะก๊วยและการบำบัดได้ผลต่อเนื่องยาวนานกว่าการใช้ยาหลอก แต่แปะก๊วยอย่างเดียวไม่มีผล การใช้แปะก๊วยในการรักษาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศดูเหมาะสมแต่ยังไม่มีรายงานการศึกษาสนับสนุน 

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดได้

สำคัญมากที่จะต้องปรึกษาแพทย์ก่อนใช้แปะก๊วย สำหรับผู้ใหญ่มีความเสี่ยงน้อยมาก แต่ก็มีรายงานว่าแปะก๊วยทำให้เกิดอันตรายร้ายแรง หากคุณมีอาการแพ้สาร Alkylphenol จากพืช หรือได้รับยาบางอย่าง ไม่ควรใช้แปะก๊วย ผลข้างเคียงที่เกิดได้เช่น แปะก๊วยอาจมีปฎิกิริยาที่ร้ายแรงต่อยาบางชนิด และอาจเสี่ยงต่อการตกเลือดได้ ยาที่อาจมีปฎิกิริยากับแปะก๊วย เช่น
  • ยาละลายลิ่มเลือด (Warfarin, Aspirin)
  • ยาต้านเศร้า/ SSRI/MAOI (Prozac, Zoloft)
  • ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่เสตียรอยด์ (Ibuprofen, Tylenol) 

ใบแปะก๊วยสกัด

แปะก๊วยที่มีขายในตลาดมักอยู่ในรูปของ
  • แคปซูล
  • ยาเม็ด
  • ยาน้ำ
  • ใบแห้ง/ชา
ในการศึกษาทั้งหลายนี้ใช้สารสกัดแปะก๊วยบริสุทธิ์ อย่ากินเมล็ดแป๊ะก๊วยดิบเพราะมีพิษ และข้อจำกัดอย่างหนึ่งที่ใช้ในการศึกษาคือไม่ได้ใช้ขนาดยามาตรฐาน แต่ผลการศึกษามากมายแสดงว่า การแบ่งกินสารสกัดแปะก๊วย ไม่เกิน120–240 มิลลิกรัมต่อวันนั้นปลอดภัย ยังไม่มีการกำหนดขนาดยาสูงที่สุดที่กินได้ แต่ควรเริ่มจากปริมาณน้อยก่อนแล้วจึงค่อยเพิ่ม  แต่การศึกษาส่วนใหญ่ไม่ใช่ขนาดเกินกว่า 600 มิลลิกรัมต่อวัน แต่อย่าลืมว่ากว่าจะเห็นผล ต้องใช้เวลาประมาณ 6 สัปดาห์ 

บทส่งท้าย

แปะก๊วยมีฤทธิ์ต้านการอักเสบและต้านอนุมูลอิสระได้ดีมาก และยังช่วยให้เลือดไหลเวียนดี จึงทำให้มีผลในระบบต่างๆของร่างกายและช่วยทำให้อาการของโรคต่างๆดีขึ้น แต่ยังต้องมีการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม แม้ว่าจะมีการใช้แปะก๊วยมานานเป็นศตวรรษ คนยังไม่รู้จักการทำงานของมันอย่างถ่องแท้  และผลการศึกษาจำนวนมากก็ยังไม่ได้ข้อสรุปแน่นอน แปะก๊วยมีความเสี่ยง อาจทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพ หากคุณมีอาการแพ้หรือใช้ยาบางอย่างอยู่ หากคุณต้องการกินอาหารเสริมแปะก๊วย ควรปรึกษาแพทย์ก่อน

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด