โรคน้ำกัดเท้า (Athlete’s foot) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เกลื้อนที่เท้า คือการเป็นเชื้อราที่เท้า เป็นเชื้อราที่สามารถติดต่อได้ นอกจากนี้ยังสามารถแพร่กระจายไปยังเล็บเท้าและมือได้อีกด้วย โดยส่วนมากจะพบในผู้ที่เล่นกีฬา
โรคน้ำกัดเท้าไม่ได้มีความร้ายแรง แต่ถ้าคุณมีอาการของโรคเบาหวานหรือมีระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ โรคน้ำกัดเท้าก็อาจจะรักษาได้ยาก ถ้าคุณสงสัยว่ามีอาการของโรคน้ำกัดเท้า ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที
สาเหตุของโรคน้ำกัดเท้า
โรคน้ำกัดเท้าเกิดจากการที่มีเชื้อราเติบโตบริเวณเท้า อาจเกิดจากการสัมผัสกับเชื้อราโดยตรง หรือสัมผัสกับบริเวณที่มีเชื้อรา เชื้อราจะสามารถเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมที่อุ่นและชื้น โดยส่วนมากมักพบในห้องอาบน้ำ ล็อกเกอร์หรือรอบๆสระว่ายน้ำอาการของโรคน้ำกัดเท้า
อาการของโรคน้ำกัดเท้ามีได้หลายอย่าง เช่น- อาการคันและแสบระหว่างนิ้วเท้าหรือฝ่าเท้า
- มีแผลพุพองบริเวณที่คัน
- ผิวที่เท้าแตกและลอก โดยส่วนมากจะเป็นบริเวณนิ้วเท้าและฝ่าเท้า
- ผิวแห้งที่ฝ่าเท้าหรือด้านข้างเท้า
- ผิวหนังดิบบริเวณเท้า
- เล็บเท้าเปลี่ยนสี หนาขึ้นและร่วน
- เล็บเท้าหลุด
วิธีการรักษาโรคน้ำกัดเท้า
โรคน้ำกัดเท้า สามารถรักษาได้ด้วยยาที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป ถ้าหากยาตามร้านขายยาไม่สามารถรักษาอาการได้ แพทย์อาจจะสั่งยาฆ่าเชื้อราเฉพาะที่ แพทย์อาจแนะนำวิธีการรักษาเพิ่มเติมที่บ้านเพื่อให้เชื้อราหายไปยาตามร้านขายยาทั่วไป
มียาฆ่าเชื้อราหลายชนิดที่หาซื้อได้ เช่น :- miconazole (Desenex)
- terbinafine (Lamisil AT)
- clotrimazole (Lotrimin AF)
- butenafine (Lotrimin Ultra)
- tolnaftate (Tinactin)
ยาสั่งจากแพทย์
แพทย์อาจสั่งยาต่อไปนี้เพื่อรักษาโรคน้ำกัดเท้าของคุณ :- topical หรือ miconazole
- ยาฆ่าเชื้อชนิดรับประทาน เช่น itraconazole (Sporanox), fluconazole (Diflucan), หรือ terbinafine (Lamisil)
- ยาสเตียรอยด์เพื่อลดอาการอักเสบหรือเจ็บปวด
- ยาปฏิชีวะเพื่อรักษาอาการติดเชื้อจากแบคทีเรีย
การดูแลตัวเองที่บ้าน
แพทย์อาจแนะนำให้แช่เท้าในน้ำเกลือหรือน้ำผสมน้ำส้มสายชูเพื่อบรรเทาอาการให้แผลแห้งการบำบัดอื่นๆ
น้ำมันทีทรีเป็นวิธีที่ถูกใช้รักษาโรคน้ำกัดเท้าได้สำเร็จ จากการศึกษาในปี 2002 พบว่า การใช้ทีทรีออยล์ในการรักษาได้ผลมากถึง 64% คุณควรปรึกษาแพทย์ว่าสามารถใช้วิธีนี้ได้หรือไม่ เพราะในบางครั้งน้ำมันอาจทำให้เกิดโรคผิวหนังอักเสบได้ในบางคนภาวะแทรกซ้อน
โรคน้ำกัดเท้าอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้หลายอย่าง ภาวะแทรกซ้อนที่ไม่รุนแรงคือ อาการแพ้เชื้อรา ซึ่งทำให้เกิดแผลพุพองที่เท้าหรือมือ อีกทั้งยังสามารถติดเชื้อได้ซ้ำเมื่อรักษาหายแล้ว ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงคือ เท้าบวม เจ็บปวดและร้อน เป็นหนอง ไม่สามารถระบายน้ำได้ เป็นไข้ ซึ่งเป็นสัญญาณของการติดเชื้อแบคทีเรีย นอกจากนี้แบคทีเรียยังสามารถแพร่กระจายไปยังระบบน้ำเหลืองหรือต่อมน้ำเหลืองได้อีกด้วยแนวโน้มระยะยาว
การติดเชื้อของโรคน้ำกัดเท้า อาจมีอาการรุนแรงหรือไม่รุนแรงก็ได้ ในบางครั้งอาจมีอาการเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่บางครั้งก็เกิดขึ้นเป็นเวลานาน โดยส่วนมากมักตอบสนองได้ดีต่อการรักษา อย่างไรก็ตาม ถ้าหากเป็นการรักษาระยะยาว อาจจำเป็นที่จะต้องมีการรับประทานยาร่วมด้วยเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อซ้ำอีกนี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/athletes-foot/symptoms-causes/syc-20353841
- https://www.nhs.uk/conditions/athletes-foot/
- https://www.medicinenet.com/image-collection/athletes_foot_1_picture/picture.htm
- https://kidshealth.org/en/teens/athletes-foot.html
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น