การรีแพร์ช่องคลอดคืออะไร
การรีแพร์ช่องคลอด หรือ Anterior vaginal wall repair คือขั้นตอนการผ่าตัดที่ใช้แก้ไขภาวะที่เรียกว่าช่องคลอดหย่อนคล้กระชับ “ภาวะช่องคลอดหย่อนคล้อย” หมายถึงภาวะที่ช่องคลอดหลุดจากตำแหน่งที่เคยอยู่ อาจเกิดในกรณีที่มีอาการห้อยยานของช่องคลอด และมีกระเพาะปัสสาวะหรือท่อปัสสาวะเลื่อนเข้าไปอยู่ในตำแหน่งของช่องคลอดแทน ท่อปัสสาวะคือท่อที่นำปัสสาวะออกจากร่างกาย การทำรีแพร์เพื่อซ่อมแซมช่องคลอดจะช่วยให้ผนังของช่องคลอดกระชับ และกระชับกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่ออ่อนของกระเพาะปัสสาวะ หรือท่อปัสสาวะให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับปากมดลูกอักเสบได้ที่นี่อาการที่มดลูกหย่อนคล้อย
บางครั้งการหย่อนคล้อยของช่องคลอด ก็ไม่มีอาการผิดปกติ แต่หากมีอาการ จะมีลักษณะดังนี้:- ปวดขณะมีเพศสัมพันธ์
- รู้สึกตึง หรือไม่สบายตัวในช่องคลอด
- รู้สึกในการเบาหรือโหว่งบริเวณอุ้งเชิงกราน
- อาการปวดหลังจะดีขึ้นเมื่อนอนลง
- ปัสสาวะบ่อย
- ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้
สาเหตุที่มดลูกหย่อนคล้อย
ปัจจัยที่ทำให้มดลูกหย่อนคล้อยนั้นมีหลายประการ และหากเกิดอาการดังกล่าว จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาเพื่อทำรีแพร์ช่องคลอด สาเหตุของอาการเกิดจาก:- กำลังตั้งครรภ์
- คลอดลูกทางช่องคลอด
- มีน้ำหนักเกิน
- ความเครียดจากการเคลื่อนไหวของลำไส้
- การยกของที่หนักเกินไป
- ไอเรื้อรัง
- รักษาน้ำหนักให้เหมาะสม
- รักษาอาการไอเรื้อรัง
- รักษาอาการท้องผูกเรื้อรัง
- ยกของให้ถูกวิธีโดยการงอเข่า
ความเสี่ยงที่เกิดจากการทำรีแพร์ยกกระชับช่องคลอด
ส่วนมากการทำรีแพร์ช่องคลอดนั้นมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง แต่ก็มีความเสี่ยงที่สามารถพบหลังการผ่าตัด ดังนี้:- เจ็บปวดในขณะปัสสาวะ
- ปัสสาวะบ่อย และกะทันหัน
- ปัสสาวะเล็ด
- ความเสียหายที่ท่อปัสสาวะ ช่องคลอด หรือกระเพาะปัสสาวะ
การเตรียมตัวสำหรับการทำรีแพร์
การเตรียมตัวก่อนทำการรีแพร์ แพทย์อาจขอให้อดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมงก่อนการผ่าตัด ผู้ป่วยควรหยุดทานแอสไพริน ไอบูโพรเฟน และนาโพรเซนก่อนการผ่าตัดหลายวัน เพื่อลดความเสี่ยงของเลือดที่ออกมากเกินไป ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการใช้ยาที่เหมาะสม หากทานวาร์ฟารินหรือยาที่ทำให้เลือดจางลง ระหว่างการผ่าตัดรีแพร์ การรีแพร์ช่องคลอดจะดำเนินการโดยใช้ยาชาหรือยาสลบ ภายใต้การดมยาสลบ ผู้ป่วยจะหลับและไม่รู้สึกเจ็บปวด ส่วนการให้ยาชา ผู้ป่วยจะรู้สึกชาบริเวณที่ต่ำกว่าเอว และไม่รู้สึกถึงความเจ็บปวด แต่จะรู้สึกตัวตื่นอยู่ ศัลยแพทย์จะทำการกรีดที่ผนังด้านหน้าของช่องคลอด เพื่อปรับตำแหน่งกระเพาะปัสสาวะหรือท่อปัสสาวะให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม อาจมีการผ่าตัดเย็บเนื้อเยื่อระหว่างช่องคลอดและกระเพาะปัสสาวะเพื่อช่วยให้อวัยวะอยู่กับที่ ศัลยแพทย์อาจนำเนื้อเยื่อในช่องคลอดออกเพิ่มเติม ซึ่งจะช่วยกระชับกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลังการผ่าตัด ผู้ป่วยจำเป็นต้องอยู่ในโรงพยาบาลเป็นเวลาหลายวัน หลังเข้ารับการรีแพร์ช่องคลอด กระเพาะปัสสาวะอาจได้รับผลกระทบจากการผ่าตัด ผู้ป่วยอาจต้องใช้สายสวนเป็นเวลา 1 ถึง 2 วัน สายสวนเป็นท่อขนาดเล็กที่วางอยู่ในกระเพาะปัสสาวะเพื่อนำปัสสาวะออกจากร่างกาย ควรรับประทานอาหารเหลวหลังการผ่าตัด และเมื่อผู้ป่วยสามารถปัสสาวะ และการเคลื่อนไหวของลำไส้เป็นไปได้ตามปกติแล้ว ก็จะสามารถกลับมารับประทานอาหารตามปกติได้หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น