ถั่วเขียว มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Mung Bean และมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Vigna radiata เป็นถั่วขนาดเล็กมีสีเขียวที่อยู่ในตระกูลถั่ว มนุษย์เพาะปลูกถั่วเขียวตั้งแต่สมัยโบราณ ถั่วเขียวที่มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย ต่อมาถั่วเขียวได้แพร่กระจายไปยังจีน และส่วนต่างๆ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ถั่วเขียวมีรสหวานเล็กน้อย และขายสด เป็นถั่วงอก หรือเป็นถั่วแห้ง ถั่วเขียวมีประโยชน์หลากหลายอย่างเหลือเชื่อ และสามารถประกอบอาหารได้ง่ายๆ ไม่ว่าจะอาหารคาวหรือหวาน ต่อไปนี้เป็นประโยชน์ 9 ประการของถั่วเขียว
1. อุดมด้วยสารอาหารเพื่อสุขภาพ
ถั่วเขียวอุดมไปด้วยวิตามิน และแร่ธาตุ ถั่วเขียวต้ม 1 ถ้วย 202 กรัม ประกอบด้วย- พลังงาน: 212 แคลอรี่
- ไขมัน: 0.8 กรัม
- โปรตีน: 14.2 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต: 38.7 กรัม
- ไฟเบอร์: 15.4 กรัม
- โฟเลต (B9): 80% ของ RDI
- แมงกานีส: 30% ของ RDI
- แมกนีเซียม: 24% ของ RDI
- วิตามิน B1: 22% ของ RDI
- ฟอสฟอรัส: 20% ของ RDI
- ธาตุเหล็ก: 16% ของ RDI
- ทองแดง: 16% ของ RDI
- โพแทสเซียม: 15% ของ RDI
- สังกะสี: 11% ของ RDI
- วิตามิน B2, B3, B5, B6 และซีลีเนียม
2. ระดับสารต้านอนุมูลอิสระสูงอาจลดความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังได้
ถั่วเขียวมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีต่อสุขภาพมากมาย ได้แก่ กรดฟีนอลิก ฟลาโวนอยด์ กรดคาเฟอีน กรดซินนามิก และอื่นๆ ทำให้ถั่วเขียวเป็นแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระที่ดี ซึ่งอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน และมะเร็งบางชนิด แต่อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องมีการวิจัยจากมนุษย์มากขึ้นก่อนที่จะให้คำแนะนำด้านสุขภาพ3. มีสารต้านอนุมูลอิสระ Vitexin และ Isovitexin ป้องกันฮีทสโตรก
ในหลายประเทศในเอเชีย การทำซุปถั่วเขียวมักนิยมบริโภคในช่วงฤดูร้อน นั่นเป็นเพราะเชื่อกันว่าถั่วเขียวมีคุณสมบัติต้านการอักเสบที่ช่วยป้องกันฮีทสโตรก อุณหภูมิร่างกายสูง ความกระหายน้ำ และอื่นๆ จากการทดลองพบว่า ถั่วเขียวมีสารต้านอนุมูลอิสระเช่น Vitexin และ Isovitexin ที่อาจป้องกันความเสียหายจากอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นจากฮีทสโตรก4. อาจลดระดับคอเลสเตอรอล “ไม่ดี” ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ
คอเลสเตอรอลสูงเป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยเฉพาะคอเลสเตอรอลชนิดเลวที่ “ไม่ดี” สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจได้ ที่น่าสนใจคือ มีงานวิจัยแสดงให้เห็นว่า ถั่วเขียวมีคุณสมบัติที่สามารถลดคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี (LDL) ได้ ทำให้ความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจลดลงด้วย แต่ทั้งนี้ยังต้องการงานวิจัยในมนุษย์เพิ่มเติม5. อุดมไปด้วยโพแทสเซียม แมกนีเซียม และไฟเบอร์ ซึ่งอาจช่วยลดความดันโลหิตได้
ความดันโลหิตสูงเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตในโลกถั่วเขียวอาจช่วยลดความดันโลหิตได้ เพราะเป็นแหล่งโพแทสเซียม แมกนีเซียม และไฟเบอร์ที่ดี มีการทดลองที่พบความสัมพันธ์ของสารอาหารดังกล่าวกับความเสี่ยงที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญของความดันโลหิตสูง6. ไฟเบอร์ และแป้งทนย่อย (Resistant Starch)ใ นถั่วเขียวช่วยเรื่องระบบย่อยอาหาร
ถั่วเขียวมีสารอาหารมากมายที่ดีต่อสุขภาพทางเดินอาหาร เพราะถั่วเขียวมีเส้นใยสูง ถั่วเขียวต้มสุก 1 ถ้วย 202 กรัม มีเส้นใย 15.4 กรัม เป็นเส้นใยที่ละลายน้ำได้ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า เพคติน ซึ่งสามารถช่วยให้ลำไส้เป็นปกติโดยเร่งการเคลื่อนไหวของอาหารผ่านลำไส้ และมีแป้งทนย่อย ซึ่งสามารถส่งเสริมสุขภาพทางเดินอาหาร และลดความเสี่ยงในการเกิดท้องอืดมากกว่าถั่วอื่นๆ7. ถั่วเขียวอาจลดระดับน้ำตาลในเลือด
น้ำตาลในเลือดสูงอาจเป็นปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรง ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ดี ถั่วเขียวมีเส้นใย และโปรตีนสูง และมีสารต้านอนุมูลอิสระที่อาจลดระดับน้ำตาลในเลือด และช่วยให้อินซูลินทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ถั่วเขียวนับว่าเป็นประโยชน์ในการลดระดับน้ำตาลในเลือด8 ส่งเสริมการลดน้ำหนักโดยการระงับความหิว
ถั่วเขียวมีไฟเบอร์ และโปรตีนสูง ซึ่งสามารถช่วยให้คุณลดน้ำหนักได้ เพราะการที่อิ่มได้นาน และความอยากอาหารที่ลดลงอาจช่วยลดปริมาณแคลอรี่ของคุณ ซึ่งช่วยลดน้ำหนักได้ แต่ทั้งนี้ต้องอาศัยการควบคุมโภชนาการโดยรวมร่วมด้วย9. โฟเลตในถั่วเขียวช่วยให้การตั้งครรภ์มีสุขภาพที่ดี
ผู้หญิงควรรับประทานอาหารที่มีโฟเลตสูงในระหว่างตั้งครรภ์ เพราะโฟเลตมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของลูกของคุณอย่างเหมาะสม ถั่วเขียวมีโฟเลต ธาตุเหล็ก และโปรตีนสูง ซึ่งทั้งหมดนี้ผู้หญิงต้องการมากขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ แต่โปรดหลีกเลี่ยงถั่วงอกดิบ (จากถั่วเขียว) เมื่อคุณตั้งครรภ์ เนื่องจากอาจมีแบคทีเรียที่เป็นอันตรายต่อการตั้งครรภ์ได้ใครที่ไม่ควรทานถั่วเขียว
โดยทั่วไปถั่วเขียวถือว่าปลอดภัยและมีคุณค่าทางโภชนาการสำหรับคนส่วนใหญ่เมื่อบริโภคเป็นส่วนหนึ่งของอาหารที่สมดุล อย่างไรก็ตาม มีสถานการณ์หรือเงื่อนไขบางประการที่บุคคลอาจต้องใช้ความระมัดระวังหรือหลีกเลี่ยงถั่วเขียว:- โรคภูมิแพ้:
- ผู้ที่แพ้พืชตระกูลถั่ว รวมทั้งถั่วเขียว ควรหลีกเลี่ยง ปฏิกิริยาการแพ้อาจมีตั้งแต่อาการเล็กน้อย เช่น คันหรือบวม ไปจนถึงปฏิกิริยารุนแรง เช่น หายใจลำบาก หากคุณสงสัยว่ามีอาการแพ้ ให้ไปพบแพทย์
- การขาด G6PD:
- ผู้ที่มีภาวะพร่องกลูโคส-6-ฟอสเฟตดีไฮโดรจีเนส (G6PD) อาจจำเป็นต้องจำกัดหรือหลีกเลี่ยงพืชตระกูลถั่วบางชนิด รวมถึงถั่วเขียว การขาด G6PD เป็นภาวะทางพันธุกรรมที่สามารถนำไปสู่ภาวะโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตกได้เมื่อบริโภคสารบางชนิด
- ความไวทางเดินอาหาร:
- บุคคลบางคนอาจรู้สึกไม่สบายทางเดินอาหาร เช่น มีแก๊สหรือท้องอืด เมื่อรับประทานถั่ว อาจเกิดจากการมีโอลิโกแซ็กคาไรด์ ซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนที่ย่อยได้ยาก การแช่ แตกหน่อ หรือปรุงถั่วให้ละเอียดสามารถช่วยลดผลกระทบเหล่านี้ได้
- สารต่อต้านสารอาหาร:
- ถั่วเขียวก็เหมือนกับพืชตระกูลถั่วอื่นๆ ที่มีสารต่อต้านสารอาหาร เช่น กรดไฟติก สารประกอบเหล่านี้อาจรบกวนการดูดซึมแร่ธาตุ เช่น เหล็กและสังกะสี การแช่ แตกหน่อ หรือปรุงถั่วเขียวสามารถช่วยลดระดับสารต่อต้านสารอาหารได้
- ปฏิกิริยาระหว่างยา:
- บุคคลที่รับประทานยาที่มีปฏิกิริยากับสารอาหารบางชนิดที่พบในถั่วเขียว เช่น โฟเลตหรือโพแทสเซียม ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเพื่อขอคำแนะนำด้านอาหารเฉพาะบุคคล
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น