รังสีเอกซ์คืออะไร
รังสีเอกซ์ คือ การตรวจด้วยการถ่ายภาพที่ใช้กันมานานหลายทศวรรษ สามารถช่วยทำให้แพทย์เห็นภาพภายในร่างกายได้โดยไม่ต้องผ่า สามารถช่วยแพทย์ในการวินิจฉัย เฝ้าติดตามและการรักษากับโรคแทบทุกชนิด การเอกซเรย์มีหลายชนิดที่ถูกนำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป ยกตัวอย่าง แพทย์อาจสั่งตรวจแมมโมแกรมเพื่อเอกซเรย์ทรวงอกของคุณ หรืออาจสั่งเอกซเรย์ร่วมกับการสวนแป้งแบเรียมเพื่อดูทางเดินอาหารอย่างละเอียดขึ้น การเอกซเรย์อาจมีความเสี่ยงบ้าง แต่กับคนส่วนใหญ่มักได้รับประโยชน์จากเอกซเรย์มากกว่าความเสี่ยง ปรึกษาแพทย์เพื่อเรียนรู้ว่าสิ่งไหนเหมาะสมกับคุณการเอกซเรย์ทำเพื่ออะไร
แพทย์อาจสั่งเอกซเรย์เพื่อ:- ตรวจบริเวณที่คุณรู้สึกเจ็บหรือรู้สึกไม่สบาย
- ติดตามกระบวนการการวินิจฉัยโรค เช่นภาวะกระดูกพรุน
- ตรวจสอบผลการรักษาว่าได้ผลหรือไม่
- มะเร็งกระดูก
- เนื้องอกที่หน้าอก
- หัวใจโต
- เส้นเลือดอุดตัน
- โรคที่ส่งผลกระทบต่อปอด
- ระบบย่อยมีปัญหา
- การแตกหัก
- การติดเชื้อ
- โรคกระดูกพรุน
- ข้ออักเสบ
- ฟันผุ
การเอกซเรย์ต้องเตรียมตัวอย่างไร
การเอกซเรย์เป็นการรักษามาตรฐาน ในหลายๆรายมักไม่มีความจำเป็นต้องมีขั้นตอนการเตรียมตัวพิเศษสำหรับการตรวจ ทั้งหมดขึ้นอยู่กับบริเวณที่แพทย์และนักรังสีวิทยาต้องการตรวจ คุณอาจจำเป็นต้องสวมเสื้อผ้าสบายๆ หลวมๆที่สามารถขยับเขยื้อนได้ง่าย แพทย์อาจขอให้คุณเปลี่ยนไปใส่ชุดโรงพยาบาลสำหรับการตรวจ แพทย์อาจขอให้คุณถอดเครื่องประดับหรือวัตถุที่เป็นโลหะอื่นๆออกจากร่างกายก่อนการเอกซเรย์ แจ้งให้แพทย์หรือนักรังสีวิทยาทราบทุกครั้งหากคุณมีการผ่าตัดฝังเหล็กมาก่อน การฝังนี้สามารถไปปิดกั้นการเอกซเรย์ไม่ให้เห็นภายในร่างกายและไม่สามารถสร้างภาพที่ชัดเจนขึ้นได้ ในบางราย คุณอาจจำเป็นต้องได้รับวัตถุทึบรังสีหรือสีย้อมทึบรังสีก่อนการเอกซเรย์ สารดังกล่าวจะช่วยทำให้ภาพที่ได้มีคุณภาพที่ดีขึ้น อาจมีส่วนประกอบของไอโอดีนหรือแบเรียม ขึ้นอยู่กับเหตุผลในการเอกซเรย์ สารทึบรังสีอาจถูกให้ได้ในหลายรูปแบบเช่น- ผ่านการรับประทานของเหลว
- ฉีดเข้าสู่ร่างกาย
- ให้ผ่านการสวนทวารก่อนการตรวจ
ขั้นตอนการตรวจเป็นอย่างไร
ด้วยเทคโนโลยีการเอกซเรย์หรือการฉายรังสีทำให้สามารถทำได้ที่แผนกฉายรังสีของโรงพยาบาล ห้องตรวจของทันตแพทย์หรือคลีนิคที่มีห้องตรวจวินิจฉัยโรคแบบพิเศษ เมื่อคุณเตรียมตัวเรียบร้อยแล้ว นักรังสีวิทยาหรือช่างเทคนิคจะบอกคุณถึงตำแหน่งของร่างกายที่ต้องการเอกซเรย์ พวกเขาจะขอให้คุณนอนลง นั่งหรือยืนในท่าทางต่างๆในระหว่างการตรวจ พวกเขาจะถ่ายภาพในขณะที่คุณยืนอยู่ที่ด้านหน้าแผ่นชนิดพิเศษที่บรรจุฟิลม์เอกซเรย์หรือเซ็นเซอร์ไว้ ในบางกรณีแพทย์อาจขอให้คุณนอนลงหรือนั่งลงบนแผ่นพิเศษและย้ายเอากล้องเอกซเรย์ขนาดใหญ่ที่ติดอยู่กับแขนเหล็กมาเหนือตัวคุณเพื่อถ่ายภาพเอกซเรย์ สิ่งที่สำคัญคือ ต้องอยู่นิ่งๆในระหว่างการถ่ายภาพ เพื่อให้เกิดภาพที่ชัดเจนมากขึ้น การตรวจนี้จะเสร็จสิ้นทันทีเมื่อนักรังสีวิทยาได้ภาพทั้งหมดตามที่พอใจแล้วผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการเอกซเรย์คืออะไร
การเอกซเรย์ใช้รังสีในปริมาณที่น้อยมากในการสร้างภาพร่างกายของเรา ระดับของรังสีที่สัมผัสนั้นมีความปลอดภัยสำหรับผู้ใหญ่ส่วนใหญ่ แต่ไม่เหมาะสำหรับเด็กที่กำลังพัฒนาการ หากคุณกำลังตั้งครรภ์หรือเชื่อว่าคุณอาจตั้งครรภ์ แจ้งให้แพทย์ทราบก่อนการเอกซเรย์ แพทย์อาจแนะนำวิธีการอื่นเช่นการทำเอ็มอาร์ไอ หากคุณเอกซเรย์เพื่อช่วยในการวินิจฉัยหรือช่วยจัดการกับโรคที่ทำให้เจ็บปวด เช่นกระดูกแตกหัก คุณอาจต้องเจอกับอาการเจ็บปวดหรือไม่สะดวกสบายในระหว่างการตรวจ คุณอาจจำเป็นต้องเกร็งตัวอยู่ในบางท่าทางในขณะถูกถ่ายภาพ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการเจ็บปวดหรือไม่สบาย แพทย์อาจแนะนำให้รับประทานยาแก้ปวดก่อนการตรวจ หากคุณต้องกินสารทึบรังสีเข้าไปก่อนการเอกซเรย์ คุณอาจได้รับผลข้างเคียงเช่น- มีผื่นขึ้น
- คัน
- คลื่นไส้
- วิงเวียนศีรษะ
- รู้สึกมีรสเหล็กอยู่ในปาก
เกิดอะไรขึ้นต่อไปหลังจากการเอกซเรย์
หลังการเอกซเรย์ภาพจะถูกเก็บรวบรวมไว้ คุณสามารถไปเปลี่ยนเสื้อผ้ากลับตามเดิม ขึ้นอยู่กับโรคที่เป็น แพทย์อาจแนะนำให้คุณกลับไปทำกิจกรรมตามปกติหรือพักผ่อนเพื่อรอผลการตรวจ ผลที่ได้อาจมาในวันเดียวกันหรือหลังจากวันตรวจ แพทย์จะตรวจดูภาพเอกซเรย์และรายงานที่ได้จากนักรังสีวิทยาเพื่อประเมินผล ขึ้นอยู่กับผลเอกซเรย์ที่ได้ แพทย์อาจสั่งตรวจเพิ่มเติมเพื่อการวินิจฉัยที่แม่นยำขึ้น ยกตัวอย่าง แพทย์อาจสั่งสแกนภาพเพิ่ม ตรวจเลือดหรือตรวจอื่นๆ เพื่อนำไปจัดรูปแบบการรักษา ปรึกษาแพทย์เพื่อรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคเฉพาะ การวินจฉัยและทางเลือกในการรักษาหัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น