โรคไข้กระต่าย Tularemia คืออะไร 

โรคทูลารีเนียหรือไข้กระต่ายคือ โรคติดเชื้อที่เป็นการติดเชื้อเฉพาะชนิดที่มาจากสัตว์เช่น:
  • สัตว์ฟันแทะพวกหนูในป่า
  • กระรอก
  • นก
  • กระต่าย
โรคไข้กระต่ายมีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียฟรานซิเซลล่า ทูลารีซิส ที่สามารถเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

การแพร่เชื้อสู่มนุษย์

มนุษย์สามารถติดเชื้อโรคทูลารีเนียได้ด้วยการสัมผัสโดยตรงกับสัตว์ที่มีการติดเชื้อหรือจากตัวเห็บ ยุงหรือเหลือบ อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับการติดเชื้อจากเห็บได้ที่นี่ ความแตกต่างของโรคทูลารีเนียขึ้นอยู่ตำแหน่งที่เชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกาย รูปแบบส่วนใหญ่ของโรคมักมีสาเหตุมาจากการสัมผัสเชื้อแบคทีเรียทางผิวหนัง อาการรุนแรงของโรคส่วนมากเกิดจากการสูดดมเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกาย โรคทูลารีเนียสามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ การได้รับการรักษาในระยะเริ่มแรกสามารถทำให้การฟื้นตัวได้ดีกว่า แต่อย่างไรก็ตามในรายที่มีอาการรุนแรงที่อาจถึงขั้นเสียชีวิตก็ยังสามารถรักษาได้ โรคทูลารีเนียพบได้ยาก ที่ได้รับรายงานในแต่ละปีของประเทศสหรัฐอเมริกามีเพียง100 ถึง 200 รายต่อปีเท่านั้น

รูปแบบและอาการโรคทูลารีเนีย

อาการของโรคทูลารีเนียมีหลากหลายอาการ ตั้งแต่ไม่มีอาการหรือมีเล็กน้อยไปจนถึงขั้นเสียชีวิต รูปแบบอาการจะปรากฏให้เห็นภายใน 3 ถึง 5 วันหลังติดเชื้อแบคทีเรีย แต่ในบางรายอาจใช้เวลามากกว่า 2 สัปดาห์อาการจึงปรากฏให้เห็น อาการที่หลากหลายขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกาย ต่อไปนี้คือรูปแบบของโรคและอาการที่มักเกิดขึ้นของโรคทูลารีเนีย

ไข้กระต่ายชนิดมีแผลที่ผิวหนังและต่อมน้ำเหลืองบวม

อาการไข้กระต่ายชนิดมีแผลที่ผิวหนังและต่อมน้ำเหลืองบวมหรือมีการติดเชื้อผ่านผิวหนัง อาการคือ:
  • มีแผลที่ผิวหนังตรงจุดที่ได้รับการสัมผัสจากสัตว์ที่ติดเชื้อหรือบริเวณที่ถูกกัด
  • ต่อมน้ำเหลืองบวมใกล้กับบริเวณผิวที่เป็นแผล (ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นที่รักแร้หรือขาหนีบ)
  • ปวดศีรษะอย่างรุนแรง
  • มีไข้
  • หนาวสั่น
  • อ่อนล้า

ไข้กระต่ายชนิดต่อมน้ำเหลืองบวม

อาการของไข้กระต่ายชนิดต่อมน้ำเหลืองบวม หรือการติดเชื้อผ่านผิวหนังมีความคล้ายคลึงกับไข้กระต่ายชนิดมีแผลที่ผิวหนังและต่อมน้ำเหลืองบวมแต่ไม่มีแผลปรากฏให้เห็น

ไข้กระต่ายชนิดปอดบวม

ไข้กระต่ายชนิดปอดบวมคือชนิดที่มีความรุนแรงที่สุด เป็นการแพร่เชื้อผ่านการสูดดม อาการคือ:

ไข้กระต่ายชนิดตาอักเสบและต่อมน้ำเหลืองบวม

อาการของไข้กระต่ายชนิดตาอักเสบและต่อมน้ำเหลืองบวมหรือการติดเชื้อที่ดวงตาคือ:
  • ระคายเคืองตา
  • เจ็บตา
  • ตาบวม
  • ตาแดงหรือตามีขี้ตา
  • เจ็บบริเวณที่ด้านในเปลือกตา
  • ต่อมน้ำเหลืองบริเวณหลังหูบวม

ไข้กระต่ายชนิดคอหอยส่วนบนอักเสบ

อาการของไข้กระต่ายชนิดคอหอยส่วนบนอักเสบหรือการติดเชื้อแบคทีเรียผ่านการกลืนกิน คือ:

ไข้กระต่ายชนิดไข้ไทฟอยด์

อาการไข้กระต่ายชนิดไข้ไทฟอยด์พบได้ยาก อาการคือ:
  • มีไข้สูงมาก
  • อ่อนล้าอย่างมาก
  • ท้องเสีย
  • อาเจียน
ไข้กระต่ายชนิดไข้ไทฟอยด์สามารถทำให้เกิดโรคปอดอักเสบและทำให้ตับและม้ามโต Tularemia

ภาวะแทรกซ้อนของโรคไข้กระต่าย

ความรุนแรงและโรคไข้กระต่ายในรายที่ไม่ได้รับการรักษาอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนดังต่อไปนี้:
  • ภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง
  • เยื่อบุรอบๆบริเวณสมองและไขสันหลังบวม ที่เรียกว่าเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • เสียชีวิต
อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับ: เยื่อหุ้มสมองอักเสบได้ที่นี่

สาเหตุของโรคไข้กระต่าย

เชื้อแบคทีเรียฟรานซิเซลล่า ทูลารีซิส เป็นสาเหตุของโรคไข้กระต่าย สัตว์ที่สามารถเป็นพาหะของเชื้อแบคทีเรียดังกล่าวคือ:
  • กระต่ายหรือเห็บ
  • เหลือบ
  • กระต่ายป่า
  • กระต่าย
  • หนู
  • สัตว์เลี้ยงนอกบ้าน
ชนิดของโรคไข้กระต่ายเกิดขึ้นช้าหรือเร็วจะขึ้นอยู่กับว่าแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกายได้อย่างไร การสัมผัสทางผิวหนังคือสาเหตุส่วนใหญ่ของโรคดังกล่าว การสูดดมผ่านปอดคือชนิดของโรคไข้กระต่ายที่มีความรุนแรงที่สุด หากทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา เชื้อโรคอาจลามไปยังส่วนอื่นๆของร่างกาย:
  • ปอด
  • ไขสันหลัง
  • สมอง
  • หัวใจ
โรคสามารถก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้และบางครั้งอาจทำให้ถึงขั้นเสียชีวิต เส้นทางการเข้าสู่ร่างกายและผลของโรคไข้กระต่ายรวมถึง:
  • การสัมผัสทางผิวหนังเป็นสาเหตุของโรคไข้กระต่ายชนิดต่อมน้ำเหลืองบวมหรือชนิดมีแผลที่ผิวหนังและต่อมน้ำเหลืองบวม
  • การสูดดมละอองฝอยของเชื้อแบคทีเรียเป็นสาเหตุของโรคไข้กระต่ายชนิดปอดบวม
  • การสัมผัสผ่านดวงตาเป็นสาเหตุของไข้กระต่ายชนิดตาอักเสบและต่อมน้ำเหลืองบวม
  • การกลืนเข้าร่างกายเป็นสาเหตุของไข้กระต่ายชนิดคอหอยส่วนบนอักเสบ
  • การติดเชื้อแบบแพร่กระจาย (ชนิดหนึ่งที่ส่งผลกระทบทั่วร่างกาย) เป็นสาเหตุของไข้กระต่ายชนิดไข้ไทฟอยด์

ปัจจัยเสี่ยงการเกิดไข้กระต่าย

สัตว์ที่เป็นพาหะของเชื้อแบคทีเรียเป็นสาเหตุของโรคไข้กระต่าย คนที่สัมผัสกับสัตว์บ่อยๆจึงมีความเสี่ยงในการติดเชื้อเพิ่มขึ้น คนที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นคือ:
  • คนที่ต้องทำงานใกล้ชิดกับสัตว์ เช่นสัตวแพทย์ คนดูแลสวนสัตว์และเจ้าหน้าที่ดูแลอุทยาน
  • คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่า
  • คนที่ทำงานกับซากสัตว์ เช่นนักล่า คนทำสตัฟฟ์สัตว์และพ่อค้าเนื้อ
  • คนที่ทำงานในสวนหรือจัดสวน

การวินิจฉัยโรคไข้กระต่าย

การวินิจฉัยโรคไข้กระต่ายไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะมักเกิดขึ้นเหมือนกับโรคอื่นๆ วิธีที่เชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกายมีความหลากหลายและซับซ้อน แพทย์จะต้องซักถามประวัติส่วนบุคคลและประวัติโรคประจำตัวเพื่อนำมาช่วยในการวินิจฉัยโรค แพทย์อาจสงสัยถึงโรคไข้กระต่ายหากเพิ่งมีการเดินทางมาไม่นาน แมลงสัตว์กัดต่อยหรือการสัมผัสกับสัตว์ แพทย์อาจสงสัยว่าเป็นโรคไข้กระต่ายหากก่อนหน้านี้คุณมีโรคที่รุนแรงเกี่ยวกับระบบภูมิต้านทานอยู่ก่อนแล้ว เช่นโรคมะเร็งหรือเอชไอวี แพทย์อาจใช้การตรวจเซโรโลจีเทสต์เพื่อระบุชนิดของโรคไข้กระต่าย การตรวจเป็นการตรวจหาแอนติบอดี้ชนิดเฉพาะเจาะจงในร่างกายที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรค เพราะการตรวจขั้นต้นมักไม่สามารถระบุแอนติบอดี้ได้ แพทย์อาจต้องเก็ยตัวอย่างในห้องปฏิบัติการ ตัวอย่างนำมาจาก:
  • ผิวหนัง
  • ต่อมน้ำเหลือง
  • ภาวะน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด (มีของเหลวจากเยื่อหุ้มปอดเข้าไปในช่องอก)
  • ของเหลวในไขสันหลัง

การรักษาโรคไข้กระต่าย

การรักษาโรคไข้กระต่ายแต่ละรายจะขึ้นอยูกับรูปแบบและความรุนแรงของโรค การได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่ในระยะแรกสามารถรักษาทันทีด้วยยาปฏิชีวนะ ยาปฏิชีวนะที่มักนำมาใช้ในการรักษาโรคไข้กระต่ายคือ:
  • ไซโปรฟลอกซาซิน (ไซโปร)
  • ด็อกซีไซคลิน (ด็อกซี)
  • เจนตามัยซิน
  • สเตรปโตมัยซิน

การป้องกันโรคไข้กระต่าย

การป้องกันรวมไปถึงการระวังเรื่องของความปลอดภัย เชื้อแบคทีเรียจะเจริญเติบโตในสถาวะที่สกปรก การระบาดของโรคเกิดขึ้นในปาร์ตี้ล่าสัตว์เมื่อนักล่าพลาดเรื่องวิธีการทำความสะอาดหรือใช้ของที่มีการปนเปื้อน การทำความสะอาดสัตว์เมื่อออกไปล่าสัตว์ ควรปฏิบัติตามข้อควรระวังดังต่อไปนี้:
  • อย่าโดนผิวหนังสัตว์ที่มีอาการป่วย
  • สวมถุงมือและแว่นตาเมื่อจับตัวสัตว์
  • ล้างมืออย่างระมัดระวังหลังจับสัตว์
  • ปรุงให้สุกทั่วถึง
ต่อไปนี้คือเคล็ดลับเล็กๆน้อยๆในการลดความเสี่ยงโดยรวมในการติดเชื้อโรคไข้กระต่าย:
  • สวมกางเกงขายาวและเสื้อแขนยาวเมื่อเข้าป่าเพท่อช่วยห้องกันแมลงกัด
  • พยายามกันสัตว์ให้ห่างจากอาหารและน้ำ
  • หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำจากทะเลสาปหรือบึง
  • ปกป้องสัตว์ที่เลี้ยงนอกบ้านยาไล่เห็บและหมัด
  • ใช้ยากันแมลง

การเฝ้าระวังสำหรับโรคไข้กระต่าย

การเฝ้าระวังโรคไข้กระต่ายจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคและได้รับการรักษารวดเร็วมากแค่ไหน  หากคิดว่าเป็นโรคไข้กระต่าย ให้ไปพบแพทย์ทันที การได้รับการวินิจฉัยช้าเป็นสาเหตุทำให้อาการยิ่งแย่ลง
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด