โรคไหลตายในเด็ก (Sudden Infrant Death Syndrome :SIDS) คือภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อเด็กทารกที่เสียชีวิตอย่างไม่คาดคิดและกระทันหันทั้งที่ดูเหมือนมีสุขภาพดี และไม่สามารถหาสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิตได้ แม้หลังจากนั้นจะสืบค้นอย่างไรก็หาสาเหตุการเสียชีวิตไม่เจอ
โรค SIDS หรือที่เรียกกันว่าโรคตายในเปล ที่มักเกิดกับเด็กทารกในขณะนอนหลับ
แม้โรคไหลตายในทารกจะพบได้ไม่บ่อยนัก แต่ก็เป็นสาเหตุการตายที่พบได้ในทารกอายุระหว่าง 1 เดือนถึง 1 ปีได้ ช่วงอายุที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุดคือ 2-4 เดือน
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงสำหรับโรค SIDS
สาเหตุของโรคไหลตายในทารกยังไม่มีใครรู้ แต่นักวิทยาศาสตร์เองกำลังมองหาแนวโน้มที่อาจทำให้เกิดโรคนี้ ความเป็นไปได้ของสาเหตุที่ได้จากสอบสวนโรคคือ:
-
มีรูปแบบของการไม่หายใจ (มีช่วงเวลาหารหยุดหายใจในขณะนอนหลับ)
-
สมองในส่วนการควบคุมการหายใจผิดปกติ
ในขณะที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด โรคไหลตายในทารกจึงมีปัจจัยเสี่ยงมากมาย มีหลายปัจจัยเสี่ยงที่เราสามารถหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องรู้ไว้ ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไหลตายในทารกคือ:
- ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุด: การให้ลูกของคุณนอนคว่ำหรือนอนตะแคงก่อนอายุ 1 ขวบ
- ความบกพร่องของสมอง (ไม่สามารถตรวจพบได้จนกว่าจะได้รับการชันสูตร)
- น้ำหนักแรกเกิดน้อย
- คลอดก่อนกำหนดหรือเกิดจากครรภ์แฝด
- มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรค SIDS
- ได้รับควันบุหรี่มือสองหรือมีมารดาสูบบุหรี่ในระหว่างตั้งครรภ์
- เชื้อชาติ (สำหรับชาวแอฟริกันอเมริกันและคนพื้นเมืองอเมริกันมีความเสี่ยงเกิดโรค SIDS มากกว่าชนชาติอื่น 2 เท่าโดยไม่ทราบเหตุผล)
- เพศ (เด็กผู้ชายมีความเสี่ยงมากกว่าเด็กผู้หญิง)
- มีมารดาที่อายุยังน้อย (ต่ำกว่า 20 ปี)
- มักเกิดขึ้นในช่วงระหว่างหน้าหนาวหรืออากาศเย็น (ถึงกระนั้นสถิตินี้อาจเปลี่ยนแปลงได้)
- อากาศร้อนเกินไป
- นอนร่วมกันกับบุคคลอื่น (คือการนอนบนเตียงเดียวกันกับพ่อแม่หรือคนดูแล)
- เปลเก่าหรือไม่ปลอดภัย
- ที่นอนหรือฟูกนุ่มเกินไป
- ในเตียงเด็กมีสิ่งของนุ่มๆ
- ใช้หมอนจัดท่านอนในขณะให้นมหรือนอน ซึ่งไม่แนะนำให้ใช้
- ไม่ใช่จุกนมหลอก
- ไม่ได้ทานนมมารดา
ควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้เท่าที่จะทำได้เพื่อลดความเสี่ยงให้ลูกน้อยของคุณกับการเกิดโรคไหลตายในทารก
อาการของโรคไหลตายในทารก
โรคไหลตายในทารกไม่มีอาการให้สังเกตเห็นได้ เป็นการเสียชีวิตของทารกแบบกระทันหันและไม่คาดคิดทั้งๆที่ดูเหมือนมีสุขภาพที่ดี เด็กนอนหลับแล้วอาจจะไหลตายได้
การลดความเสี่ยงในการเกิดโรค SIDS
โรคไหลตายในทารกยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด และไม่สามารถป้องกันได้ แต่เรารู้ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรค ปัจจัยเสี่ยงบางอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้บางอย่างหลีกเลี่ยงได้หรือลดความเสี่ยงลงได้
ปัจจัยเสี่ยงที่สุดคือการให้ทารกอายุต่ำกว่า 1 ขวบนอนคว่ำหรือนอนตะแคง จึงเป็นเรื่องสำคัญที่คุณสามารถทำได้เพื่อลดความเสี่ยงโรคไหลตายในทารกด้วยการให้ลูกน้อยของคุณนอนหงายไม่ว่าจะเป็นช่วงนอนหลับในเวลากลางคืนหรือนอนงีบในเวลากลางวันก็ตาม
ลำดับต่อไปในการป้องกันโรคไหลตายในทารกคือให้ลูกน้อยของคุณนอนหลับไปพร้อมกับจุกนมหลอกแม้ในที่สุดมันจะหลุดออกมาจากปากก็ตาม แต่จำไว้ว่าต้องมีเพียงตัวจุกนมหลอกเท่านั้น จุกนมหลอกจะต้องไม่มีสายที่อาจมาพันคอเด็กได้ หรือไม่มีติดกับเสื้อผ้าของเด็ก ที่นอนหรือที่ตุ๊กตาด้วย
หากคุณให้ลูกกินนมแม่ คุณอาจต้องรอให้คุณยอมใช้จุกนมหลอกเสียก่อน อาจใช้เวลาเป็นเดือนหรือมากกว่านั้น
ยังมีวิธีช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไหลตายในทารกอีกหลายทางเช่น:
-
ไม่สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์หรือใช้ยาในช่วงระหว่างตั้งครรภ์หรือหลังคลอดบุตร
-
ไม่ยอมให้ใครสูบบุหรี่ในบ้านหรือสูบใกล้ๆลูกน้อย
-
ฝากครรภ์ในระหว่างตั้งครรภ์
-
ดูแลลูกอย่างใกล้ชิดในระหว่างการนอนหลับ ในห้องเดียวกันแต่ไม่ใช่บนเตียงเดียวกัน
-
หลีกเลี่ยงการนอนร่วมกัน (ร่วมเตียงเดียวกัน)กับลูก หรือปล่อยให้นอนรวมกับเด็กหรือผู้ใหญ่คนอื่น
-
เอาของเล่น แผ่นกันกระแทก ผ้าห่ม หมอนจัดท่านอนและหมอนข้างออกจากเตียงเมื่อถึงเวลานอน
-
หลีกเลี่ยงการพันตัวเด็ก (การห่อตัว) ลูกน้อยเมื่อถึงเวลาเอานอน
-
ใช้ฟูกที่นอนที่มีความปลอดภัยและมีผ้าปูที่พอดี
-
การให้ลูกทานนมแม่ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไหลตายในทารกได้
ขอความช่วยเหลือ
การสูญเสียลูกน้อยไม่ว่าจะด้วยเหตุใดก็ตามเป็นเรื่องการสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ การเสียลูกในโรคไหลตายเป็นอารมณ์ที่ผสมปนเปไปมาระหว่างความเศร้าโศกและความรู้สึกผิดไปพร้อมๆกัน จะต้องมีเรื่องของการชันสูตรและสอบสวนเพื่อหาสาเหตุการตายยิ่งไปเพิ่มอารมณ์ให้แย่มากกว่าเดิม
การสูญเสียลูกยังส่งผลให้เกิดความตึงเครียดในความสัมพันธ์จากคู่สมรสหนักหนาพอๆความรู้สึกของคนในครอบครัวคนอื่นๆ
จึงเป็นเหตุผลที่ดีในการขอความช่วยเหลือจากกลุ่มที่เคยสูญเสียลูกไปเหมือนกันเพื่อหาคนที่เข้าใจความรู้สึกของคุณ ได้รับการปรึกษาที่อาจช่วยได้ทั้งความเศร้าโศกเสียใจและเรื่องความสัมพันธ์ในคู่สมรสไปในเวลาเดียวกัน
การเฝ้าติดตาม
โรคไหลตายในทารกไม่มีสาเหตุและไม่สามารถป้องกันได้ เพียงแค่การปฏิบัติตัวที่เหมาะสมก็จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงได้
การไปพบแพทย์ในช่วงระหว่างตั้งครรภ์และให้หมอเด็กได้ดูแลตรวจเช็คหลังการคลอดเป็นประจำก็เป็นเรื่องที่สำคัญ
หากคุณเคยสูญเสียลูกจากโรคไหลตายในทารก เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องมีคนมาช่วยเหลือ คุณต้องข้ามผ่านความเสียใจไปให้ได้และมันจะง่ายขึ้นหากมีคนคอยช่วยเหลือและเข้าใจอยู่ด้วย
จำไว้ว่าการเสียใจอาจต้องใช้เวลาและแต่ละคนไม่เหมือนกัน ทางที่ดีที่สุดคือคุณต้องเปิดใจและยอมรับการช่วยเหลือจากคนอื่นเพื่อให้คุณก้าวผ่านความสูญเสียนี้ไปให้ได้
ภาพรวมของการเกิดโรคไหลตายในเด็ก
โรคไหลตายในเด็ก (SIDS) หรือที่เรียกว่าการเสียชีวิตของทารกเป็นปรากฏการณ์ที่น่าเศร้าและอธิบายไม่ได้ โดยที่ทารกที่มีสุขภาพแข็งแรงโดยปกติแล้วจะอายุต่ำกว่า 1 ขวบ เสียชีวิตอย่างกะทันหันและไม่คาดคิดระหว่างการนอนหลับ SIDS คือการวินิจฉัยการยกเว้น ซึ่งหมายความว่าเกิดขึ้นเมื่อไม่สามารถระบุสาเหตุการเสียชีวิตอื่นได้หลังจากการสอบสวนอย่างละเอียด รวมถึงการชันสูตรศพ การทบทวนประวัติทางการแพทย์ของทารก และการตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุการตาย ต่อไปนี้เป็นประเด็นสำคัญที่ควรทราบเกี่ยวกับโรคการเสียชีวิตอย่างกะทันหันของทารก:- ช่วงอายุ : มักเกิดในทารกอายุระหว่าง 1 เดือนถึง 1 ปี โดยมีความเสี่ยงสูงสุดในช่วงอายุ 2 ถึง 4 เดือน
- ปัจจัยเสี่ยง : แม้ว่าจะยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของ SIDS แต่ก็มีการระบุปัจจัยเสี่ยงหลายประการ ได้แก่:
- ตำแหน่งการนอนหลับ : ทารกที่ถูกจัดให้นอนตะแคงหรือนอนตะแคงมีความเสี่ยงสูงกว่า แคมเปญ “Back to Sleep” ซึ่งริเริ่มขึ้นในทศวรรษ 1990 ได้ลดอัตรา SIDS ลงอย่างมาก โดยสนับสนุนให้ผู้ปกครองวางทารกไว้บนหลังเพื่อการนอนหลับ
- สภาพแวดล้อมในการนอนหลับ : ปัจจัยต่างๆ เช่น การนอนบนพื้นผิวที่อ่อนนุ่ม (เช่น ที่นอนนุ่มๆ หรือโซฟา) การใช้เตียงร่วมกับพ่อแม่หรือพี่น้องคนอื่นๆ การสัมผัสกับควันบุหรี่ และความร้อนสูงเกินไปอาจเพิ่มความเสี่ยงได้
- การคลอดก่อนกำหนดหรือน้ำหนักแรกเกิดน้อย : ทารกที่คลอดก่อนกำหนดหรือมีน้ำหนักแรกเกิดน้อยมีความเสี่ยงสูง
- การสูบบุหรี่และการใช้สารเสพติดของมารดา : มารดาที่สูบบุหรี่ในระหว่างตั้งครรภ์หรือให้ทารกได้รับควันบุหรี่มือสอง รวมถึงผู้ที่เสพยาเสพติดหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระหว่างตั้งครรภ์ เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด SIDS
- การป้องกัน : แม้ว่าจะไม่สามารถป้องกัน SIDS ได้อย่างสมบูรณ์ แต่ก็มีขั้นตอนที่ผู้ปกครองและผู้ดูแลสามารถทำได้เพื่อลดความเสี่ยง:
- ให้ทารกนอนหงายเสมอ
- ใช้พื้นผิวการนอนที่โล่งโดยไม่มีผ้าปูที่นอนที่หลวมหรือวัตถุที่อ่อนนุ่มอยู่ในเปล
- หลีกเลี่ยงการให้ทารกสัมผัสควันบุหรี่ในระหว่างตั้งครรภ์และหลังคลอด
- ถ้าเป็นไปได้ การให้นมบุตรอาจช่วยป้องกัน SIDS ได้
- ให้จุกนมหลอกในเวลางีบหลับและก่อนนอน
- การวิจัยและการตระหนักรู้ : มีความพยายามในการวิจัยที่สำคัญเพื่อให้เข้าใจ SIDS ได้ดีขึ้น และมีการรณรงค์ให้ความรู้สาธารณะที่สำคัญเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ปกครองและผู้ดูแลเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติในการนอนหลับอย่างปลอดภัย
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
-
https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/sudden-infant-death-syndrome/symptoms-causes/syc-20352800
-
https://kidshealth.org/en/parents/sids.html
-
https://www.nhs.uk/conditions/sudden-infant-death-syndrome-sids/
-
https://www.webmd.com/parenting/sids-prevention
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team