เรียบเรียงและปรับปรุงข้อมูลทางการแพทย์โดย : พญ. พรรณิภา สุขสมบูรณ์กิจ
งูสวัด
งูสวัด (Shingles) คือการติดเชื้อที่เกิดจากไวรัสชื่อว่า varicella-zoster เป็นไวรัสตัวเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส ผู้ป่วยจะเริ่มเป็นอีสุกอีใสก่อน และเชื้อยังจะสามารถอยู่ในระบบประสาทได้หลายปีก่อนที่จะกลับมาเป็นงูสวัดอีกครั้ง เมื่อมีเชื้ออยู่ในร่างกายแล้ว โรคจะแสดงอาการก็ต่อเมื่อร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันลดลง ป่วย หรือการนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ และเครียดสาเหตุของโรคงูสวัดเกิดจากอะไร
โรคงูสวัดเกิดจากอะไร การติดเชื้อไวรัส varicella-zoster งูสวัดบางคนเรียกว่าโรคเริมงูสวัด เพราะเป็นไวรัสในกลุ่มเริม ชนิดเดียวกับเริมที่อวัยเพศ และริมฝีปากอาการงูสวัด
งูสวัดอาการ แบ่งเป็นระยะดังนี้
อาการงูสวัดเริ่มต้นในระยะแรกจะมีอาการปวดแสบปวดร้อนผิวหนัง มีผื่นแดง เกิดขึ้นตามร่างกายเป็นหย่อม ๆ อาการงูสวัดเริ่มต้นอาจจะคล้ายกับผื่นคันทั่วไปแต่ให้สังเกตุอาการอื่น ๆ ที่ตามมา ว่าที่ผู้ป่วยเป็นคือผื่นงูสวัดหรือไม่ หลังจากนั้นจะเข้าสู่ระยะที่สอง อาการของโรคงูสวัดจะเกิด ผื่นแดงคัน และอาจจะมีตุ่มน้ำพองร่วมด้วย อาจจะเกิดขึ้นได้บริเวณลำตัว หรือใบหน้า และนอกจากผื่นแดงพวกนี้แล้วอาจจะมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยในบางคน อาจจะไม่เกิดขึ้นกับทุกคน เช่น มีไข้ หนาวสั่น ปวดหัว ร่างกายอ่อนล้า แสบร้อนผิวหนัง และกล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยตุ่มคันเหล่านี้จะหายเองได้ในเวลา สองอาทิตย์ ในระยะที่สามแผลจะแห้งตกสะเก็ด คือหายแล้วแต่ยังปวดในผิวบริเวณที่เป็นแผลอยู่ บางครั้งอาจจะปวดนานเป็นเดือนซึ่งอาการแตกต่างกันออกไป โรคแทรกซ้อนของงูสวัดที่ร้ายแรงแต่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง มีดังนี้ :- สูญเสียการได้ยิน หรือปวดในหูอย่างรุนแรง เวียนหัว ไม่สามารถรับรสอาหารได้ ซึ่งอาจเป็นอาการของโรค Ramsay Hunt ต้องรักษาโดยด่วน
- การติดเชื้อแบคทีเรียบนผิวหนังหากผิวของผู้ป่วยแดงบวมและร้อนตลอดเวลา
- ปวดตา หรือมีผื่นขึ้นที่ตา ซึ่งควรได้รับการรักษาทันทีเพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายของอย่างตาถาวร
งูสวัดขึ้นตา
งูสวัดที่เกิดที่ดวงตามีชื่อว่า Herpes zoster ophthalmicus สาเหตุเกิดจากการเชื้อครั้งแรกแล้วร่างกายไม่สามารถกำจัดไวรัสได้ทั้งหมด ตัวเชื้อจึงไปอยู่ตามประสาทคู่ที่ 5 นั่นคือเส้นประสาทบริเวณดวงตา งูสวัดที่ตาจะเกิดขึ้นประมาณ 10 – 25 % ของโรคงูสวัด ส่งผลให้เกิดการอักเสบเรื้อรังในลูกตา อาจส่งผลให้ปวดตามเส้นประสาทรอบดวงตา หรือสูญเสียการมองเห็น อาการปวดตามเส้นประสาทรอบดวงตาได้ อาจจะเป็นผื่นหรือตุ่มพองที่เปลือกตา และจะทำให้ตาบวม แดง และมองอะไรไม่ชัดเจนมีภาพเบลอ หากได้รับการรักษาอาจจะทำให้ตาบอดได้งูสวัดที่หลัง
โรคงูสวัด ผื่นมักจะเกิดขึ้นรอบ ๆ ด้านหนึ่งของรอบเอวของผู้ป่วย และมีแผลพุพองร่วมด้วย เคยมีความเชื่อว่าหากเป็นงูสวัดรอบเอวแล้วจะทำให้ตายได้ แต่มันไม่เป็นความจริง ซึ่งความจริงแล้ว ผู้ป่วยที่เป็นงูสวัดทั้งสองด้านของร่างกายหรือเกิดขึ้นรอบเอว อาจจะเป็นผู้ป่วยที่ มีภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำมาก ร่างกายอ่อนแอ อาจจะมีโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้น เมื่ออาการของงูสวัดกำเริบ ก็จะเกิดการลุกลามได้มากกว่าปกติ และอาจจะเสียชีวิตจึงทำให้หลายคนเข้าใจผิดว่าการเป็นงูสวัดรอบเอวจะเสียชีวิตได้งูสวัดที่หน้า
ส่วนใหญ่แล้วโรคงูสวัดมักเกิดขึ้นที่ด้านหลังหรือหน้าอก แต่ผู้ป่วยสามารถเป็นผื่นงูสวัดขึ้นที่ใบหน้าได้ แผลงูสวัดบนใบหน้าอาจจะไม่สวยงาม ควรทายารักษาแผลเป็น หากผื่นอยู่ใกล้ใบหู บางครั้งอาจเกิดการติดเชื้อที่อาจนำไปสู่การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเกี่ยวกับความสมดุลของกล้ามเนื้อใบหน้าของผู้ป่วย หากเป็นงูสวัดในปาก ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บปวดมาก ทำให้ยากต่อการรับประทานอาหารวัคซีนงูสวัด
ปัจจุบันในในประเทศไทยมีวัคซีนป้องการโรคงูสวัดเพียงชนิดเดียว ได้แก่วัคซีนที่เตรียมจากเชื้อไวรัสวาริเซลลา ที่ถูกทำให้เชื้อเจอจางลง การฉีดวัคซีนป้องกันงูสวัดสามารถป้องกันการเกิดโรคได้ร้อยละ 69.8% งูสวัดในเด็กจะเกิดขึ้นน้อยมาก ยกเว้นแต่เป็นอีสุกอีใสเท่านั้น วิธีรักษางูสวัด ยังไม่มีการรักษาโรคงูสวัดได้โดยตรง แต่การเข้ารับการดูแลอย่างด่วนจะป้องกันภาวะแทรกซ้อน หากงูสวัดเกิดขึ้นคุณควรเข้ารับการรักษาภายใน 72 ชั่วโมง แพทย์อาจสั่งยาเพื่อบรรเทาอาการและลดระยะเวลาการติดเชื้อตัวยาที่แพทย์จะสั่งจ่ายยารักษางูสวัดเพื่อรักษาตามอาการมีดังนี้
- ยาแก้อักเสบจำพวก ibuprofen ลดอาการอักเสบปวดบวม
- ยาแก้ปวด anticonvulsants หรือ tricyclic antidepressants
- ยารักษาอาการคัน เช่น diphenhydramine (Benadryl)
- capsaicin (Zostrix) ลดอาการปวดเส้นประสาทที่จะเกิดขึ้นหลังจากงูสวัดหาย
งูสวัดติดต่อไหม
โรคงูสวัดติดต่อทางไหน ติดต่ออย่างไร : งูสวัดไม่ได้เป็นโรคติดต่อ แต่ไวรัส varicella-zoster สามารถแพร่กระจายไปยังบุคคลอื่นที่ยังไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสได้ แต่จะไม่สามารถติดงูสวัดจากคนที่เป็นงูสวัด ยกเว้นแต่จะเป็นอีสุกอีใสแล้วรับเชื้อมาเก็บไว้ในร่างกายและกายเป็นงูสวัดได้ภายหลัง เพื่อป้องกันการลุกลามและแพร่กระจายของไวรัส หากคุณมีโรคงูสวัด คุณควรรักษาความสะอาดบริเวณผื่นคันอย่าสัมผัสบริเวณนั้นและล้างมือบ่อยๆ ไม่ควรออกไปนอกบ้าน หมั่นทำความสะอาดเสื้อผ้าและเครื่องนอน และไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกันกับผู้อื่นวิธีรักษาโรคงูสวัดเองที่บ้าน
วิธีการรักษางูสวัดเบื้องต้น การบรรเทารักษาอาการที่บ้านสามารถช่วยบรรเทาอาการงูสวัดได้ อาจจะทำได้ดังนี้ :- อาบน้ำเย็นทำความสะอาดผิว
- ใช้การประคบเย็นลงบนผื่น เพื่อลดอาการปวดและอาการคัน
- ทาคาลาไมน์ เพื่อลดอาการคัน
- รับประทานอาหารที่มีวิตามิน A, B-12, C และ E รวมถึงกรดอะมิโนไลซีนเพื่อเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน
การวินิจฉัยงูสวัด (Shingles)
ส่วนใหญ่งูสวัดสามารถวินิจฉัยได้ด้วยการตรวจร่างกายของผื่นและแผล แพทย์จะสอบถามอาการและประวัติทางการแพทย์ หรือบางครั้งอาจจะมีการเก็บตัวอย่างจากของเหลวบริเวณแผลไปทำการตรวจสอบใครที่มีความเสี่ยงเป็นโรคงูสวัด
งูสวัดสามารถเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่เคยเป็นโรคอีสุกอีใส อย่างไรก็ตามปัจจัยบางประการทำให้โรคงูสวัดสามารถกำเริบได้ ดังนี้:- ผู้สูงอายุ
- ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องเป็นโรคเอดส์
- ผู้ป่วยมะเร็ง หรือกำลังรับการทำคีโมหรือฉายแสง
- ใช้ยาบางตัวที่ทำให้ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำลง
ภาวะแทรกซ้อนของโรคงูสวัส
โรคงูสวัดมักจะมีไวรัสแฝงอยู่ในร่างกายเป็นเวลาหลายปี ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง และระบบประสาทที่เลี้ยงผิวหนัง ก่อให้เกิดผื่นพองเล็ก ๆ ทำให้มีอาการเจ็บปวด โดยแผลพุพองนี้สามารถเป็นอยู่นานหลายเดือนหรือแม้แต่เป็นปี ทำให้เส้นประสาทเสียหายและเกิดแผลเป็นได้ ไม่มีวิธีรักษา แต่มีวัคซีนที่อาจป้องกันได้ โรคงูสวัดสามารถมีอาการแทรกซ้อนที่อยู่ได้นานหลังจากผื่นหายไป ได้แก่:- สมองอักเสบหรือใบหน้าเป็นอัมพาตหากส่งผลต่อเส้นประสาทบางชนิด
- ปัญหาเกี่ยวกับดวงตาและการสูญเสียการมองเห็น หากผื่นของคุณอยู่ในหรือรอบๆ ดวงตา
- ความเจ็บปวดที่กินเวลานานหลังการระบาด เรียกว่า โรคประสาท postherpetic มีผลต่อผู้ที่เป็นโรคงูสวัดมากถึง 1 ใน 5 คน
ลิงค์ด้านล่างนี้เป็นแหล่งข้อมูลของบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/shingles/symptoms-causes/syc-20353054
- https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/shingles/shingles-skin#1
- https://www.nia.nih.gov/health/shingles
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น