การผ่าตัดแปลงเพศจากชายเป็นหญิง (Sex Reassignment Surgery)

การแปลงเพศ ไม่ว่าจะจากชายเป็นหญิงหรือจากหญิงเป็นชายจะต้องผ่านกระบวนทั้งหมดคือการประเมินทางสุขภาพจิต การทำจิตบำบัดและการใช้ฮอร์โฒนบำบัดรวมไปถึงการผ่าตัด การผ่าตัดแปลงเพศจากชายเป็นหญิงเป็นกระบวนที่รวมไปถึงการผ่าตัดที่อวัยวะเพศและการผ่าตัดอื่นๆเช่นการผ่าตัดให้เป็นเพศหญิงเช่นการผ่าตัดเต้านม ผ่าตัดใบหน้าและผ่าตัดกล่องเสียง  ข้อเท็จจริงของการผ่าตัดแปลงเพศ
  • การผ่าตัดเปลี่ยนเพศจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงกลับได้ ดังนั้นทุกๆคนที่หวังจะผ่าตัดแปลงชายเป็นหญิงจึงควรต้องพิจารณาและตัดสินใจอย่างรอบคอบที่สุด
  • การผ่าตัดแปลงเพศจากชายเป็นหญิงเหมาะสำหรับคนที่เพศกำเนิดเป็นผู้ชายแต่มีอัตลักษณ์ทางเพศเป็นหญิง และคาดหวังจะดำรงชีวิตอยู่ในลักษณะเพศหญิง
  • การเปลี่ยนแปลงจากชายเป็นหญิงนั้นหมายความรวมไปถึงการผ่าตัดเพื่อให้เป็นเพศหญิงอื่นๆอีกหลายอย่าง เช่นการเสริมหน้าอก การทำศัลยกรรมใบหน้าเพื่อทำให้ดูเป็นเพศหญิงมากขึ้นและรวมไปถึงการผ่าตัดเปลี่ยนเสียงเพื่อทำให้เสียงสูงและเล็กลง
การผ่าตัดแปลงเพศ (SRS) หมายถึงการเทคนิคการผ่าตัดที่ใช้เพื่อการเปลี่ยนแปลงร่างกายของคนที่มีเพศภาวะที่ขัดแย้ง  เพศภาวะที่ขัดแย้งหรือที่เรียกว่าคนข้ามเพศหรือภาวะไม่พอใจในเพศสภาพตัวเอง (GID) คือ ภาวะที่คนๆหนึ่งร้สึกว่าเพศกำเนิดของตนไม่เข้ากันกับอุตลักษณ์ทางเพศ ไม่ได้เป็นรูปแบบการป่วยทางจิตใจเหมือนที่เคยมีความเชื่อกันมาในสมัยก่อน คนที่มีเพศภาวะที่ขัดแย้งสามารถรักษาได้ด้วยการให้คำปรึกษาทางด้านสภาพจิตใจ การบำบัดฮอร์โมนและการผ่าตัดแปลงเพศ แต่ไม่ใช่พวกคนข้ามเพศทุกคนจะต้องการหรือคาดหวังจะทำการผ่าตัดแปลงเพศกันทุกคน บางคนอาจรักษาด้วยการให้คำปรึกษาเท่านั้น บางคนอาจได้รับการปรึกษาและ/หรือบำบัดด้วยฮอร์โมน แต่หลายๆคนก็จบลงด้วยการผ่าตัดแปลงเพศ การผ่าตัดแปลงเพศไม่สามารถเปลี่ยนแปลงย้อนกลับได้ ดังนั้นคนที่ต้องการผ่าตัดเปลี่ยนจากเพศชายเป็นเพศหญิงจึงควรพิจารณาในการตัดสิยใจอย่างรอบคอบ เคยมีบางรายที่ได้รับการแปลงเพศไปแล้วแต่อยากกลับคืนสู่เพศเดิม ซึ่งต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูงและไม่สำเร็จสมบูรณ์ทั้งหมดได้ ไม่มีอะไรที่จะกลับไปเป็นเหมือนเดิมได้อีกครั้ง จากการประเมินระยะยาวทางกายภาพ จิตใจและสุขภาพทางเพศในผู้หญิงที่ผ่านการแปลงเพศ 50 รายในเบลเยี่ยมได้ข้อสรุปว่าผู้ที่ผ่านการแปลงเพศเป็นผู้หญิงมีระดับการทำงานทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจและทางสังคมได้ดี แต่กระนั้นก็พบว่าหลายคนมีผลพวงความทุกข์ทรมานจากความยุ่งยากบางอย่างโดยเฉพาะเรื่องความกังวลด้านสภาวะการตื่นตัว การหล่อลื่นและความเจ็บ  อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับโกรทฮอร์โมนได้ที่นี่

เหตุผลที่เลือกการผ่าตัดแปลงเพศศัลยกรรมอวัยวะเพศชาย

การผ่าตัดแปลงเพศจากชายเป็นหญิงเหมาะสำหรับคนที่เพศกำเนิดเป็นชายแต่มีอัตลักษณ์เป็นหญิงและหวังจะใช้ชีวิตอยู่ในฐานะเพศหญิง คนข้ามเพศหลายคนบอกกับเราว่าพวกเขารู้สึกไม่สะดวกใจจะอยู่กับเพศกำเนิดที่ติดตัวมาและต้องมีบทบาทตามเพศเดิม พวกเขารู้สึกเหมือนติดกับดักอยู่ในร่างที่พวกเขาไม่ต้องการเป็น จากข้อมูลของสมาคมจิตเวชศาสตร์สหรัฐอเมริกาพบว่าภาวะขัดแย้งทางเพศที่ผิดปกติเป็นสาเหตุของการถูกบีบคั้นและทำให้ระดับความเป็นตัวตนและทางสังคมเสียหาย คนข้ามเพศหลายคนต่างต้องเจอกับประสบการณ์การโดนตราหน้าและการถูกเลือกปฏิบัติ การทารุณทางร่างกายและวาจา การข่มขู่ด้วยความรุนแรงและเจอกับความรุนแรงทางกายภาพในสัดส่วนที่มากกว่าคนอื่น  คนข้ามเพศมักเจอประสบการณ์การถูกรังแกในโรงเรียนหรือในสถานการณ์ทางสังคมอื่นๆ การปรับเปลี่ยนบทบาททางเพศ การบำบัดด้วยฮอร์โมนและการผ่าตัดแปลงเพศเป็นการรักษาภาวะที่เกิดขึ้นได้ การผ่าตัดรวมถึงการเปลี่ยนจากเพศชายไปสู่การเป็นเพศหญิงด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนแปลง เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ไม่สามารถแก้กลับคืนได้และเป็นการผ่าตัดเพื่อให้เข้ากันกับอัตลักษณ์ภายนอกร่วมกับความรู้สึกภายในที่พวกเขาเป็น

ผลที่คาดหวัง

การผ่าตัดแปลงเพศจากชายเป็นหญิงรวมไปถึงการผ่าตัดอีกหลายอย่าง ทั้งการผ่าตัดอวัยวะเพศและอื่นๆ ในบทความนี้เราจะมุ่งประเด็นไปที่การผ่าตัดเปลี่ยนแปลงอวัยวะเพศเท่านั้น

การผ่าตัดศัลยกรรมแปลงเพศ

การผ่าตัดแปลงเพศแบ่งออกเป็นการผ่าตัดสามขั้นตอนหลักๆ คือ การเอาอวัยวะเพศชายออก -ส่วนขององคชาตและไข่-และสร้างอวัยวะเพศหญิงทั้งภายในและภายนอก-ช่องคลอด หูรูดและคลิตอริส ทั้งสามขั้นตอนสามารถทำได้พร้อมๆกันในการผ่าตัดครั้งเดียวและแกติก็มักทำพร้อมๆกันไปเลย แต่ก็สามารถทำทีละขั้นตอนได้ขึ้นอยู่กับความต้องการของคนไข้ .การนำลูกอัณฑะออกหรือการผ่าตัดอัณฑะ เป็นการผ่าตัดเพื่อเอาลูกอัณฑะออกไป สามารถทำได้ก่อนเอาส่วนองคชาตออกเพื่อเป็นการตัดฮอร์โมนเพศชาย เพราะลูกอัณฑะคือตัวหลักในการสร้างฮอร์โมนเทสโทสเตอร์โรน การนำออกไปจะเป็นการลดปริมาณเอสโตรเจนที่คนไข้ต้องรับประทานและยังช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากเอสโตรเจนได้ด้วย ลูกอัณฑะจะอยู่ในถุงเล็กๆที่เรียกว่าถุงอัณฑะ ในระหว่างการตัดลูกอัณฑะ ผิวบริเวณถุงอัณฑะบางส่วนจะถูกทิ้งไว้เพื่อนำไปสร้างเป็นผนังช่องคลอดหรือเป็นส่วนของช่องคลอดในระหว่างผ่าเพื่อกระชับช่องคลอด เพราะการผ่าตัดอาจทำให้ผิวของถุงอัณฑะหดตัวหรือเสียหายได้ ศัลยแพทย์บางท่านจะไม่แนะนำให้ผ่าตัดอัณฑะแยกโดยเฉพาะในคนที่วางแผนจะทำช่องคลอด หากทำการผ่าตัดลูกอัณฑะแยกออกมา การปลูกถ่ายผิวหนังจากหน้าท้องอาจต้องถูกนำมาใช้หากผิวของถุงอัณฑะไม่สามารถใช้งานได้

การนำองคชาตออกหรือการตัดองคชาตออกทั้งหมด

การตัดองคชาตคือการนำองคชาตออกไปพร้อมกับลูกอัณฑะ การผ่าลักษณะนี้จะเป็นการผ่าตัดแปลงเพศบางส่วนโดยไม่ได้ทำในขั้นตอนต่อไปนั้นคือการสร้างอวัยวะเพศหญิง การตัดองคชาตนี้บางครั้งเรียกว่าการทำให้ไร้ผล คนไข้ที่ยังไม่แน่ใจว่าตัวเองต้องการมีช่องคลอดจะหยุดอยู่แค่การตัดองคชาตออกไปเท่านั้น หากกระวยการดำเนินสู่ขั้นตอนต่อไป เนื้อเยื่อบางส่วนจากองคชาตจะถูกเก็บไว้เพื่อนำไปทำเป็นช่องคลอดและคริสตอริส การตัดองคชาตรวมไปถึงการสร้างรอยบุ๋มลึกลงไปของช่องคลอดและเปิดท่อปัสสาวะใหม่ที่ให้สามารถนั่งถ่ายปัสสาวะได้ ส่วนคนที่ตั้งใจจะทำช่องคลอด แพทย์จะไม่แนะนำให้ตัดองคชาตแยกกัน เพราะผิวหนังตามธรรมชาติและเนื้อเยื่อจากองคชาตสามารถนำมาใช้ทำช่องคลอดได้ หากคุณต้องการมาทำช่องคลอดในภายหลัง คุณอาจเสียโอกาสในการสร้างช่องคลอดเทียมด้วยผิวหนังที่ไวต่อความรู้สึกและเป็นเนื้อเยื่อจากองคชาต ซึ่งมีมาให้พร้อมกับตัวอยู่แล้ว เพื่อสิ่งที่ดีกว่าจึงควรทำหารผ่าตัดทั้งสองชนิดในเวลาเดียวกัน

การสร้างช่องคลอดผู้หญิง

การสร้างอวัยวะเพศหญิงเกี่ยวข้องกับการทำศัลยกรรมช่องคลอด การตกแต่งเลเบีย (แคม) และสร้างคลิโตริ เพื่อการทำศัลยกรรมช่องคลอดที่ประสบความสำเร็จ ศัลยแพทย์จะต้องทำให้หลายๆส่วนได้ผลบรรลุตามเป้าหมาย สิ่งที่จำเป็นคือการผ่าตัดต้องทำให้คนไข้สามารถถึงจุกสุดยอดทางเพศสัมพันธ์ได้ ด้วยการสร้างคลิโตริส ผนังช่องคลอดและช่องคลอดให้ทั้งออกมาดูดีและต้องรู้สึกดีเมื่อมีการสัมผัสด้วย การสร้างช่องคลอดควรได้รูปร่างรูปทรง มีความไวต่อการสัมผัสและมีความกว้างและลึกเพียงพอสำหรับการสอดใส่อวัยวะเพศ ช่องคลอดใหม่ควรมีความชุ่มชื้นและยืดหยุ่นได้ ด้วยเนื้อเยื่อที่ปราศจากเส้นขน เป้าหมายอีกหนึ่งสิ่งของการสร้างช่องคลอดคือการเปลี่ยนโครงสร้างท่อปัสสาวะเพื่อที่ให้สามารถปัสสาวะลงด้านล่างและมีกระแสน้ำที่เสถียร  คนไข้ควรรับทราบผลที่ได้อย่างชัดเจนกับศัลยแพทย์ก่อนการผ่าตัดทำช่องคลอด สิ่งที่สำคัญคือช่องคลอดที่สร้างขึ้นมาควรมีความลึกและกว้างมากพอในการสอดใส่อวัยวะเพศได้ จึงอาจจำเป็นต้องมีผิวหนังถุงอัณฑะ ซึ่งปกติแล้วทางเลือกสำหรับคนที่มีผิวหนังองคชาตที่เล็กเกินไปที่จะนำมาสร้างช่องคลอดให้ได้ขนาดที่มีความเหมาะสม ในกรณีเช่นนี้คนไข้อาจทำการขยายช่องคลอดทุกวันหลังการผ่าตัดเพื่อรักษารูปทรงของช่องคลอดไว้ การผ่าตัดแปลงเพศชนิด Penile inversion คือการใช้เทคนิคทั่วๆไปที่นำมาใช้ในการสร้างช่องคลอด เทคนิคนี้คือการนำเอาผิวหนังขององคชาตกลับเข้าไปด้านในทำเป็นผนังของช่องคลอดใหม่ หากมีผิวที่มากเป็นพิเศษจะสามารถนำมาทำช่องคลอดได้กว้างและลึกมากขึ้น ซึ่งปกติมักเอามาจากผิวหนังถุงอัณฑะหรือหน้าท้องส่วนล่าง เมื่อการผ่าตัดแปลงเพศแบบปกติดังที่กล่าวมาไม่สามารถทำได้ เพราะองคชาตเกิดความเสียหายหรือถูกนำออกไปก่อนหน้า  อาจใช้ส่วนหนึ่งของลำไส้ใหญ่มาใช้ทำเนื้อเยื่อช่องคลอดแทนได้  คลิโตริสถูกสร้างขึ้นโดยใช้ส่วนเล็กๆตรงส่วนหัวขององคชาตที่มีความไวต่อการสัมผัสสูงสุด เนื้อเยื่อที่สามารถยืดหดได้ ที่ทำให้องคชาตสามารถแข็งตัวได้ จะถูกเอาออกเพื่อป้องกันช่องคลอดและคลิโตริสบวมมากเกินไปในระหว่างมีการตื่นตัวทางเพศ ท่อปัสสาวะ-เป็นท่อที่ลำเลียงน้ำปัสสาวะจากกระเพาะปัสสาวะออกสู่ภายนอกร่างกาย-พบว่าในผู้หญิงและผู้ชายมีตำแหน่งที่แตกต่างกัน ในเพศชายจะมีท่อปัสสาวะที่ยาวกว่าเพสหญิง ในระหว่างการทำช่องคลอด ในระหว่างการทำช่องคลอด ท่อปัสสาวะก็จะถูกตัดให้สั้นลงและจัดวางตำแหน่งใหม่ ต่อมลูกหมาก เป็นต่อมที่พบตรงปากทางออกกระเพาะปัสสาวะและรอบๆท่อปัสสาวะจะถูกนำออกในระหว่างการผ่าตัดสร้างช่องคลอด. แคมเล็ก ส่วนที่อยู่ด้านในสุดของช่องคลอดมักทำมาจากผิวหนังองคชาตส่วนที่เหลืออยู่ แคมเล็ก แคมนอกจะถูกสร้างขึ้นโดยใช้ผิวหนังของลูกอัณฑะ การนำเอาลูกอัณฑะและองคชาตออกสามารถทำได้ไปพร้อมกับการทำอวัยวะเพสหญิงในการผ่าตัดครั้งเดียว ศัลยแพทย์บางท่านอาจเสนอให้สร้างช่องคลอดก่อนและจากนั้นก็สร้างแคมและหนังคลิโตริสในการผ่าตัดแยก การแยกการผ่าตัดจะสามารถลดการอักเสบที่มาจากการผ่าตัด ภาวะการอักเสบระดับสูงจะไปขัดขวางผลที่ได้ของการทำแคมและคลิโตริสที่ปราณีตได้  หากผ่าตัดแยกออกมา การผ่าตัดอัณฑะจะถือว่าเป็นการผ่าตัดที่ง่าย มักผ่าตัดภายใต้การมห้ยาระงับประสาท สามารถผ่าเสร็จภายในหนึ่งชั่วโมง การดูแลหลังการผ่าตัดคือสิ่งที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนและสามารถฟื้นตัวได้เต็มที่ภายในสองถึงสี่สัปดาห์ การผ่าตัดทั้งการนำเอาองคชาตออกและสร้างช่องคลอดคือการผ่าตัดหลักและต้องการการดูแลเต็มที่ทั้งก่อนและหลังการผ่าตัด 

การผ่าตัดอื่นๆในการผ่าตัดแปลงเพศ

นอกจากการผ่าตัดแปลงเพศจากชายเป็นหญิงแล้ว ยังมีการผ่าตัดอื่นๆในการทำให้คนไข้ดูเป็นเพศหญิงมากขึ้น ซึ่งรวมไปถึงการทำศัลยกรรมเสริมหน้าอก การผ่าตัดใบหน้าเพื่อให้ดูเป็นผู้หญิงมากขึ้น และการผ่าตัดเปลี่ยนเสียงเพื่อทำให้เสียงสูงขึ้นและเล็กลง การบำบัดด้วยฮอร์โมนและการเลเซอร์เส้นขนก็จะสามารถช่วยกำจัดขนที่ไม่ต้องการได้ การทำศัลยกรรมใบหน้าสามารถกำจัดหรือลดการเปลี่ยนแปลงในกระดูกใบหน้าที่เกิดจากขั้นท้ายของช่วงวัยเจริญพันธุ์ คนที่ผ่าตัดแปลงเพศจากชายเป็นหญิงจะเห็นสิ่งนี้เป็นสิ่งไม่สวยงาม เพราะมันทำให้มีใบหน้าดูเหมือนผู้ชาย การผ่าตัดจะช่วยกำจัดหรือลดความไม่สวยงามได้ อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับ:ฮอร์โมนเพศชายได้ที่นี่ Sex reassignment surgery

ก่อนและหลังการผ่าตัด

การผ่าตัดแปลงเพศไม่เหมือนการผ่าตัดเสริมความงามหรือศัลยกรรมตกแต่ง เพราะไม่สามารถเรียกร้องได้และเป็นการผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนเพศ ในหลายๆประเทศทั่วโลกต้องให้คนไข้ทำการตรวจและประเมินเพื่อนำมาพิจารณาก่อนการตัดสินใจ

ฮอร์โมนบำบัด

การผ่าตัดเปลี่ยนเพศมักต้องตามมาด้วยฮอร์โมนบำบัด การใช้ฮอร์โฒนบำบัดมีความจำเป็นสำหรับทุกขั้นตอนในการแปลงเพศ ทั้งช่วงก่อน ในระหว่างและหลัง  การได้รับฮอร์โมนจะช่วยเปลี่ยนภาพลักษณ์ให้ดูใกล้เคียงผู้หญิงมากขึ้น  

หลังการผ่าตัด

มีสิ่งที่ต้องทำมากมายหลังการผ่าตัดเพื่อเร่งและให้การฟื้นตัวประสบผลสำเร็จมากขึ้น เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลจะเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิดในขณะรอยาสลบหมดฤทธิ์ จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นในการอยู่ในโรงพยาบาลไปจนกว่าจพฟื้นตัวจนพอกลับบ้านได้ ปกติมักใช้เวลาหกถึงแปดวันหลังการผ่าตัด ในระหว่างช่วงแรกของการฟื้นตัว คนไข้ต้องนอนพักอยู่บนเตียงและอาจต้องใช้เครื่องควบคุมความปวดด้วยตนเอง  (PCA)  และได้รับยาปฏิชีวนะและยาที่ช่วยป้องกันการเกิดลิ่มเลือด ในการสร้างช่องคลอด จะมีการใส่อุปกรณ์รูปทรงแท่งเข้าไปไว้ในช่องคลอด และทิ้งไว้ในนั้นเป็นเวลามากกว่าห้าวันเพื่อช่วยทำให้เนื้อเยื่อผิวของช่องคลอดใหม่ติดกับเข้าผนังช่องคลอดด้วยตัวเอง สายสวนปัสสาวะจะถูกนำไปใส่ไว้ในท่อปัสสวะอันใหม่เพื่อถ่ายน้ำออกจากกระเพาะปัสสาวะ  เมื่อเข้าสู่อาทิตย์ที่สองคนไข้จะเริ่มรู้สึกสบายตัวมากขึ้น แต่การฟื้นตัวอาจต้องใช้เวลานานกว่านั้น ตัด แพทย์จะนัดตรวจอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง ด้วยการตรวจร่างกายเพื่อดูสุขภาพโดยรวม ปลังผ่านการทำช่องคลอดมาแล้วแพทย์จะตรวจเช็คแผลภายในช่องคลอด แพทย์จะตรวจดูว่าคลิโตริสหายดีแล้วหรือยังและดูเรื่องการรับความรู้สึก รวมถึงตรวจดูบาดแผลและเรื่องการติดเชื้อ และถามคำถามเรื่องการขับถ่ายและการทำงานของกระเพาะปัสสาวะ หากช่องคลอดที่สร้างขึ้นมาใหม่ไม่ได้ถูกทำให้ขยายกว้างออกทุกๆวันหลังจากการผ่าตัด ช่องคลอดอาจสั้นและแคบขึ้นกว่าที่หวังไว้ สิ่งนี้เองจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมในช่วงแปดสัปดาห์แรกหลังทำช่องคลอดจึงควรใส่อวัยวะเทียมไว้ภายในช่องคลอดตลอดเวลา ในช่วงแรกสามารถนำออกได้วันละครั้งเพื่อการทำความสะอาด และหลังจากนั้นก็เริ่มทิ้งระยะเวลห่างเพิ่มขึ้นได้ เพื่อการพยายามทำให้ช่องคลอดเปิดอยู่เสมอ คนไข้จำเป็นต้องขยายช่องคลอดทุกวัน มิฉะนั้นเมื่อเวลาผ่านไปช่องคลอดอาจแคบและสั้นลงได้คนส่วนใหญ่มักหายดีและสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติภายในหกสัปดาห์ ในช่วงเวลานี้การเคลื่อนไหวตามปกติไม่ควรมีอาการเจ็บอีกแล้ว ในบางรายการฟื้นตัวอาจใช้เวลานานกว่าเล็กน้อย สิ่งที่สำคัญคือพยายามหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่รุนแรงที่ทำให้หัวใจเต้นสูงไปจนกว่าร่างกายจะฟื้นตัวเต็มที่ แพทย์จะสามารถช่วยระบุข้อจำกัดกิจกรรมให้คนไข้ว่าสิ่งไหนปลอดภัยสิ่งไหนไม่ปลอดภัย

ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อน

ทุกๆการผ่าตัดมีความเสี่ยงทั้งสิ้นรวมไปถึงการผ่าตัดแปลงเพศจากชายเป็นหญิงด้วยเช่นกัน คนไข้ควรรับทราบความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการผ่าตัดก่อรตัดสินใจเลือกการผ่าตัดทุกรูปแบบ ภาวะแทรกซ้อนโดยเฉพาะที่อาจเกิดขึ้นหลังจากการผ่าตัดสร้างช่องคลอดเช่น:
  • มีรอยฉีก แผลเปิดหรือฝีขึ้นระหว่างรูทวารหนักกับช่องคลอดใหม่ ซึ่งควรรีบกลับไปพบแพทย์ทันที คนไข้อาจมีสัญญษนบางอย่างเช่นมีแก๊สหรืออุจจาระไหลซึมออกมาจากช่องคลอด
  • ความรู้สึกททางเพศลดและความสามารถในการถึงจุดสุดยอดก็อาจลดน้อยลงด้วย สิ่งนี้คือความเสี่ยงระยะยาวที่อาจเกิดขึ้นของการผ่าตัดช่องคลอด จากการศึกษาพบว่าความสามารถในการถึงจุดสุดยอดของคนที่ผ่าตัดแปลงเพศจากชายเป็นหญิงจะอยู่ที่ราว 63 เปอร์เซ็นต์ถึง 94 เปอร์เซ็นต์ ในบางรายอาขไม่สามารถถึงจุดสุดยอดได้อีกเลยหลังการผ่าตัด
  • เนื้อเยื่อที่ถูกนำมาสร้างช่องคลอด คลิโ๖ริสหรือแคมใหม่ตายทั้งหมดหรือตายเป็นบางส่วน ภาวะแทรกซ้อนนี้พบได้น้อยและส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในช่วงต้นๆของช่วงฟื้นตัว มักเกิดขึ้นบ่อยก่อนคนไข้จะได้รับการอนุญาติให้กลับบ้านได้ ความเสี่ยงนี้ที่เกิดขึ้นหลังจากออกจากโรงพยาบาลแล้วนั้นมีน้อยมาก 
  • แผลเย็บเกิดรอยปริแตก
  • ช่องคลอดใหม่ปิดหรือแคบลง ทำให้เจ็บหรือยากต่อการร่วมเพศ
  • ท่อปัสสาวะที่สร้างใหม่ปิดตัวหรือตีบ ส่งผลให้ให้ปัสสาวะมีปัญหา ปัสสาวะแล้วเจ็บหรือปัสสาวะได้น้อย หากมีอาการดังกล่าวหรือหากต้องใช้เวลาเพิ่มมากขึ้นในการพยายามปัสสาวะ รีบแจ้งให้แพทย์ทราบทันที
  • มดลูกหย่อน ทั้งแบบบางส่วนหรือทั้งหมด เกิดขึ้นเมื่อช่องคลอดหลุดหย่อนออกมานอกร่างกาย ติดต่อแพทย์ทันทีที่เกิดอาการขึ้น
  • เนื้อเยื่อส่วนที่มีขนในช่องคลอดมีขนเติบโตขึ้นมา
  • เกิดความไม่พึงพอใจกับรูปทรงหรือขนาดของแคม คลิโตริสหรือช่องคลอด
ในบางรายอาจมีความเสี่ยงจากการผ่าตัดอวัยวะเพศในระยะยาว ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆเช่นมีเลือดออก บวม มีการติดเชื้อหรือแผลเย็บปริแตกสามารถจัดการแก้ไขได้ ต้องรีบติดต่อแพทย์ทันทีหากมีการติดเชื้อรุนแรงหรือมีเลือดออกนานหลายวัปดาห์หลังการผ่าตัด การมีเลือดออกเล็กน้อยหลังการขยายถือเป็นเรื่องปกติ หลังออกจากโรงพยาบาล คนไข้จำเป็นต้องพยายามเคลื่อนไหวตัวเองบ่อยๆ รักษาความชุ่มชื้นเสมอเพื่อช่วยป้องกันการเกิดลิ่มเลือด ดังนั้นควรดื่มน้ำมากๆ และควรรีบไปพบแพทย์ทันทีหากมีอาการหายใจถี่ มึนงงศีรษะ เจ็บหน้าอกหรือกดเจ็บ ขาบวม เพราะอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญษนของการเกิดลิ่มเลือ
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด