โรคลักปิดลักเปิด (Scurvy) เกิดจากภาวะขาดแคลนวิตามินซีอย่างรุนเเรง
วิตามินซีหรือกรดแอสคอร์บิกเป็นสารอาหารที่สำคัญมีบทบาทสำคัญในกรเสริมสร้างการทำงานของอวัยวะต่างภายในร่างกายและบำรุงฟื้นฟูอวัยวะต่างๆที่สึกหรอซึ่งการทำงานของวิตามินซีมีดังต่อไปนี้
- ช่วยเสริมสร้างคอลลาเจนและโปรตีนที่ช่วยทำให้เนื้อเยื่อเกี่ยวพันต่างๆภายในร่างแข็งเเรงและมั่นคง
- ช่วยส่งเสริมการทำงานของกระบวนการเผาผลาญโปรตีนและคอลเลสเตอรอล
- ช่วยดูดซึมธาตุเหล็ก
- ส่งเสริมกระบวนการทำงานของสารต้านอนุมูลอิสระ
- รักษาบาดแผล
- ช่วยส่งเสริมการทำงานของสารสื่อประสาทอย่างเช่นโดพามีนและอิพิเนฟริน
อาการของลักปิดลักเปิดมีอะไรบ้าง?
วิตามินซีทำหน้าที่หลายอย่างในร่างกาย ดังนั้นถ้าหากร่างกายขาดแคลนวิตามินซีอาจทำให้มีอาการหลายอย่างเกิดขึ้น โดยปกติทั่วไปสัญญาณของโรคลักปิดลักเปิดมีอาการรุนเเรงขึ้นภายใน 4 สัปดาห์ ถ้าหากขาดแคลนวิตามินซีอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็โรคลักปิดลักเปิดใช้ระยะเวลา 3 ขึ้นไปจึงจะมีอาการของโรคแสดงออกสัญญาณเตือนของโรคเบื้องต้น
โรคลักปิดลักเปิดมีสัญญาณเตือนของโรคเบื้องต้นดังต่อไปนี้- รู้สึกอ่อนล้าและหมดแรง
- รู้สึกเหนื่อยล้าอย่างไม่ทราบสาเหตุ
- ความอยากอาหารลดลง
- รู้สึกหงุดหงิดเเละรำคาญ
- เจ็บปวดที่ขา
- มีไข้ต่ำ
อาการของโรคที่เกิดขึ้นเมื่อผ่านไป 1 เดือน
อาการทั่วไปของโรคลักปิดลักเปิดที่ไม่ได้รับการรักษาเมื่อเวลาผ่านไป 3 เดือน- โรคเลือดจางเป็นโรคนี้เกิดขึ้นเมื่อมีการขาดเเคลนเล็ดเลือดเเดงหรือฮีโมโกลบิน
- โรคเหงือกอักเสบหรือมีเหงือกแดงรวมถึงเหงือกร่นที่ทำให้มีเลือดไหลออกจากเหงือกได้ง่าย
- มีอาการเลือดไหลไม่หยุดหรือมีอาการเลือดออกที่ใต้ผิวหนัง
- รูขุมขนที่คางและบนหนังศีรษะกว้างขึ้นทำให้ผมร่วงง่าย
- มีผิวหนังฟกช้ำสีเลือดคล้ำไปจนถึงสีดำโดยปกติมักเกิดขึ้นที่ขาหรือเท้า
- ฟันผุ
- ข้อต่อบวมและกดเจ็บ
- หายใจสั้น
- เจ็บปวดที่หน้าอก
- มีอาการตาเเดงและระคายเคืองรวมถึงมีเลือดออกที่บริเวณเนื้อเยื่อตาขาวหรือเส้นประสาทตา
- เกิดบาดแผลที่หายช้าและมีปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย
- อ่อนไหวต่อแสงแดด
- มองเห็นภาพเบลอ
- หงุดหงิดและรำคาญง่ายรวมถึงเกิดภาวะซึมเศร้า
- เกิดเลือดออกตามทางเดินอาหาร
- มีอาการปวกหัว
ภาวะแทรกซ้อนรุนเเรง
อาการและภาวะเเทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคลักปิดลักเปิดเรื้อรังเนื่องจากไม่ได้รับการรักษาได้แก่- ภาวะดีซ่านรุนเเรงที่ทำให้ผิวหนังเเละตาเป็นสีเหลือง
- เกิดอาการเจ็บทั่วไป มีอาการบวมที่กดเจ็บ
- มีอาการตกเลือดหรือเลือดไหลไม่หยุดเป็นภาวะโลหิตจางประเภทหนึ่งที่เกิดจากเม็ดเลือดแดงสลายตัว
- มีไข้
- สูญเสียฟัน
- เกิดอาการเลือดตกใน
- เกิดอาการบาดเจ็บในระบบประสาท โดยปกติมักเกิดขึ้นกับร่างกายส่วนล่างและมือ
- เกิดอาการชัก
- อวัยวะภายในเกิดอาการล้มเหลว
- เกิดอาการเพ้อเเละบ้าคลั่ง
- เกิดอาการเจ็บป่วยขั้นรุนเเรง
- เสียชีวิต
ปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุ
ร่างกายของคนเราไม่สามารถสร้างวิตามินซีขึ้นมาได้เอง นั่นหมายความว่าเราจำเป็นต้องได้รับวิตามินซีจากอาหาร เครื่องดื่มหรืออาหารเสริม คนส่วนใหญ่ที่ขาดแคลนวิตามินซีสามารถรับประทานวิตามินซีจากผักและผลไม้ทั่วไปได้โดยไม่จำเป็นต้องทางอาหารเพื่อสุขภาพแบบพิเศษ ข้อมูลจากการสำรวจของสถาบันสุขภาพพบว่าโรคลักปิดลักเปิดเกิดขึ้นกับคนทั่วโลก ปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากภาวะขาดเเคลนสารอาหารได้แก่- โรคลักปิดลักเปิดมักเกิดขึ้นกับเด็กหรือผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป
- การดื่มแอลกอฮอลเป็นประจำทุกวัน
- ใช้ยาเสพติด
- อาศัยอยู่เพียงลำพัง
- การจำกัดเเละควบคุมอาหาร
- มีรายได้น้อย ทำให้ขาดแคลนสารอาหาร
- เป็นคนไร้บ้านหรือผู้อพยพ
- อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีผักและผลไม้สดอยู่อย่างจำกัด
- โรคการกินที่ผิดปกติหรืออาการทางจิตที่ทำให้กลัวการทานอาหาร
- โรคเกี่ยวกับระบบประสาท
- ความพิการ
- โรคที่มีการอักเสบของระบบทางเดินอาหาร (IBD) ได้แก่โรคลำไส้แปรปรวน (IBS) โรคโครห์นหรือโรคลำไส้อักเสบ
- โรคเกี่ยวกับการย่อยอาหารเเละระบบเผาผลาญ
- โรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน
- อาศัยอยู่ในประเทศที่มีวัฒนาธรรมการกินอาหารที่มีส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรตเช่นขนมปัง พาสต้าและข้าวโพด
- โรคท้องเสียเรื้อรัง
- ภาวะขาดน้ำ
- การสูบบุหรี่
- การทำเคมีบำบัดและการฉายแสงบำบัด
- การฟอกเลือดและภาวะไตล้มเหลว
การรักษาโรคลักปิดลักเปิด
แม้ว่าอาการของโรคลักปิดลักเปิดจะมีอาการที่รุนเเรงแต่วิธีการรักษาโรคลักปิดลักเปิดทำได้ง่ายและธรรมดา วิตามินซีสามารถหาได้ตามธรรมชาติ โดยส่วนใหญ่พบในผักและผลไม้ ซึ่งปกติมีการเติมวิตามินซีในน้ำผลไม้ ซีเรียลและอาหารต่างๆ ถ้าหากคุณสังเกตุพบอาการของโรคลักปิดลักเปิดที่ไม่รุนเเรง การทานอาหารที่มีส่วนประกอบของผักเเละผลไม้เป็นประจำสามารถช่วยรักษาอาการของโรคได้ การทานวิตามินซีเป็นอาหารเสริมสามารถหาทานได้ตามสะดวกเช่นวิตามินรวม ถ้าหากเปลี่ยนแปลงการทานอาหารเเล้วโรคลักปิดลักเปิดยังไม่ดีขึ้นควรไปปรึกษาเเพย์ สำหรับโรคลักปิดลักเปิดที่เรื้อรังและรุนเเรง แพทย์จะเเนะนำให้ทานอาหารเสริมวิตามินซีปริมาณสูงเป็นระยะเวลาหายสัปดาห์หรือหลายเดือน เนื่องจากยังไม่มียารักษาโรคลักปิดลักเปิดที่รุนเเรงโดยเฉพาะบทสรุป
โรคลักปิดลักเปิดเกิดจากการขาดแคลนวิตามินซีอย่างรุนเเรงและเรื้อรัง โดยส่วนใหญ่- มีอาการไม่รุนเเรง
- เกิดขึ้นกับผู้ที่ทานสารอาหารอย่างไม่สมดุล
- สามารถรักษาได้ด้วยการทานวิตามินซีเป็นอาหารเสริมหรือเปลี่ยนแปลงการทานอาหาร
โรคลักปิดลักเปิดที่เราควรรู้
1. ลักปิดลักเปิดเกิดจากการขาดวิตามินซี
ตามเส้นทางวิวัฒนาการของเรา มนุษย์สูญเสียความสามารถในการสังเคราะห์วิตามินซีภายในร่างกาย อาจเป็นเพราะมนุษย์ในยุคแรก ๆ กินเนื้อดิบ ผลไม้ และผักที่อุดมด้วยสารอาหารเป็นจำนวนมาก การพัฒนาเชิงวิวัฒนาการนั้นหมายความว่ามนุษย์ต้องเติมวิตามินซีที่ได้รับอย่างต่อเนื่องผ่านอาหาร การไม่ได้รับวิตามินซีในปริมาณที่แนะนำต่อวัน ซึ่งก็คือ 75 มิลลิกรัมสำหรับผู้หญิงที่มีสุขภาพดี และ 90 มิลลิกรัมสำหรับผู้ชายที่มีสุขภาพดี2. วิตามินซีทำหน้าที่ทางชีวภาพที่จำเป็น รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
คุณคงเคยได้ยินเกี่ยวกับวิตามินซีว่าเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ต่อสู้กับผลกระทบของวัย และอาจลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งบางชนิดและโรคหัวใจและหลอดเลือด วิตามินซีจำเป็นต่อการสังเคราะห์คอลลาเจนซึ่งเป็นเส้นใยในเนื้อเยื่อเกี่ยวพันระหว่างกระดูก กล้ามเนื้อ และเส้นเอ็น คอลลาเจนช่วยให้ข้อ ต่อและผิวหนังมีความยืดหยุ่นและส่งเสริมการสมานแผล วิตามินซียังช่วยให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารที่จำเป็นอื่นๆ เช่น ธาตุเหล็กจากแหล่งพืช3. อาการเลือดออกตามไรฟัน ได้แก่ เหงือกเป็นรูพรุนและฟันหลุด
หากไม่มีวิตามินซี เนื้อเยื่อเกี่ยวพันจะเริ่มขาดออกจากกัน ผู้ที่เป็นโรคเลือดออกตามไรฟันมีอาการเหงือกบวม ดำคล้ำ หรือมีเลือดออกและฟันหลุด ฟกช้ำง่ายและเกิดผื่นขึ้น แผลที่หายดีแล้วเปิดขึ้นอีกครั้ง และแม้แต่ขนที่มีรูปร่างเป็นเกลียว (ซึ่งเป็นผลมาจากเส้นเลือดฝอยในรูขุมขนแตก) ความง่วงซึม ซึมเศร้า และความเหนื่อยล้ามักมาพร้อมกับอาการทางร่างกาย โรคเลือดออกตามไรฟันระยะสุดท้ายยิ่งแย่ลง: ผู้ป่วยอาจมีอาการบวมที่ขาและข้อต่อที่เจ็บปวดมีเลือดออกเองมีไข้ และชักจนเสียชีวิตในที่สุด ปัจจุบันโรคเลือดออกตามไรฟันสามารถรักษาให้หายได้โดยง่ายด้วยการให้วิตามินซีเสริมแก่ผู้ป่วย แต่นั่นไม่ใช่กรณีเสมอไปนี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.nhs.uk/conditions/scurvy/
- https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/healthyliving/scurvy
- https://www.medicalnewstoday.com/articles/155758
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น