ชื่อสามัญ: pyrazinamide (peer a ZIN a mide)
รูปแบบยา:ยาเม็ดรับประทาน (500 มก.)
ประเภทยา: ยาต้านวัณโรค
Pyrazinamide คืออะไร
Pyrazinamide เป็นยาปฏิชีวนะใช้รักษาวัณโรค (TB) ทั้งในผู้ใหญ่และเด็ก โดยจะใช้ Pyrazinamide ร่วมกับยารักษาวัณโรคอื่นๆ เพราะอาจจะไม่หายหากใช้ Pyrazinamide เพียงอย่างเดียว และจำเป็นต้องใช้ยาทั้งตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด Pyrazinamide อาจใช้เพื่อวัตถุประสงค์ที่ไม่ได้ระบุไว้ในคู่มือการใช้ยานี้คำเตือนในการใช้ยา
ผู้ที่เป็นโรคตับรุนแรงหรือเป็นโรคเกาต์ ไม่ควรใช้ Pyrazinamideก่อนรับประทานยานี้
ผู้ที่มีอาการแพ้ไม่ควรใช้ Pyrazinamide หากแพ้ต่อยานี้หรือมีอาการดังต่อไปนี้:- โรคเกาต์
- โรคตับที่รุนแรง
- เอชไอวีหรือโรคเอดส์
- โรคเกาต์
- โรคตับ
- โรคเบาหวาน
- ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก
วิธีรับประทานยา Pyrazinamide
ใช้ยาตามบนฉลากยา หรือตามใบสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด แพทย์อาจมีการเปลี่ยนขนาดยาเป็นครั้งคราวเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ป่วยจะได้รับผลลัพธ์ที่ดีที่สุด อย่าใช้ยานี้ในปริมาณที่มากกว่าหรือน้อยกว่าหรือนานกว่าที่แนะนำ วัณโรคต้องได้รับการรักษาเป็นระยะเวลานาน โดยทั่วไปอาจไม่เกิน 6 เดือนหรือนานกว่านั้น ปฏิบัติตามคำแนะนำในการใช้ยาของแพทย์อย่างระมัดระวัง ใช้ยานี้ตามระยะเวลาที่แพทย์กำหนดถึงแม้ว่าอาการของผู้ป่วยอาจดีขึ้นก่อนที่การติดเชื้อจะหายสนิทแล้วก็ตาม เพราะในการหยุดยากระทันหันอาจเพิ่มความเสี่ยงของการติดเชื้อ หรือดื้อยาปฎิชีวนะได้ Pyrazinamide ไม่สามารถรักษาอาการติดเชื้อไวรัส เช่นไข้หวัดได้ แจ้งให้แพทย์ทราบหากผู้ป่วยมีการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัว เนื่องจากปริมาณยา Pyrazinamide ขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวของผู้ป่วย (โดยเฉพาะในเด็ก) เก็บที่อุณหภูมิห้องให้ห่างจากความชื้นและความร้อน ปิดฝาให้แน่นเมื่อไม่ใช้งานกรณีที่ลืมทานยา
หากลืมทานยาให้ทานยาทันทีที่นึกได้ หากใกล้ถึงเวลาที่ต้องรับประทานยาในมื้อถัดไป สามารถข้ามมื้อที่ลืมไปได้ทันทีโดยไม่ต้องเพิ่มปริมาณยาเป็นสองเท่า หากใช้ยาเกินขนาด ไปพบแพทย์ฉุกเฉินหรือโทรเรียกรถพยาบาล 1669 ทันทีผลข้างเคียงของไพราซินาไมด์
หากผู้ป่วยมีอาการแพ้ยาให้ไปพบแพทย์ทันที อาการแพ้ยา มีดังนี้- ลมพิษ
- หายใจยาก
- ใบหน้า ลำคอบวม
- แสบตา
- ผิวไหม้
- แผลพุพอง ผิวหนังเปลี่ยนสี
- ไม่สบายท้องหรือท้องเสียอย่างต่อเนื่อง
- ความรู้สึกกระหายน้ำมากหรือร้อนไม่สามารถที่จะปัสสาวะเหงื่อออกหนักหรือร้อนและผิวแห้ง
- ไข้
- ปวดข้อหรือบวม
- ช้ำหรือมีเลือดออกง่าย
- อาการกำเริบของโรคเกาต์ – ปวดข้อ ตึง แดงหรือบวม (โดยเฉพาะในเวลากลางคืน
- ปัญหาเกี่ยวกับตับ — คลื่นไส้ ปวดท้องตอนบน คัน อ่อนเพลีย, เบื่ออาหาร ปัสสาวะสีเข้ม โรคดีซ่าน
- ปวดข้อหรือกล้ามเนื้อ
- คลื่นไส้
- อาเจียน
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น