คู่มือการปั้มน้ำนมแม่ (Pumping Breast Milk Guide)

วิธีเก็บน้ำนมแม่และการปั้มนมไม่ใช้เรื่องยาก

เมื่อถึงเวลาที่แม่ต้องกลับไปทำงานหรือต้องออกไปธุระในช่วงเย็น แม่มือใหม่ส่วนใหญ่มักต้องจำเป็นต้องหยุดการให้นมบุตรจากอกเขาสู่การปั้มน้ำนมแทน การปั้มน้ำนมอาจดูน่ากลัวในครั้งแรก แต่สิ่งนี้จะไม่เป็นเรื่องซับซ้อนทันทีที่คุณลงมือปฏิบัติ ต่อไปนี้คือสิ่งที่ควรรู้ในการเริ่มต้นปั้มน้ำนม

ควรเริ่มใช้เครื่องปั้มน้ำนมเมื่อไร 

คุณควรเริ่มปั้มน้ำนมเมื่อเริ่มรู่สึกว่าคุณต้องเริ่มปั้มแล้ว และการเริ่มต้นทำจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์หลายอย่าง คุณแม่มือใหม่บางคนอาจเริ่มต้นปั้มน้ำนมทันทีหลังคลอดบุตร – ในโรงพยาบาลหรือศูนย์คลอดบุตร-ที่มีคนช่วยดูเรื่องการปั้มน้ำนมหรือมีอุปกรณ์เครื่องปั้มนม สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการพยายามเริ่มให้เร็วมากที่สุดโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อไม่สามารถเลี้ยงดูลูกน้อยได้ตั้งแต่แรกคลอด – หากลูกน้อยเป็นเด็กคลอดก่อนกำหนด หรือเป็นเด็กที่ต้องการบางอย่างที่พิเศษกว่าเด็กคนอื่น คุณแม่มือใหม่บางคนอาจจะรอคอยไปอีกสองสามสัปดาห์ก่อนจะเริ่มต้นปั้มน้ำนม ในช่วงวันแรกๆของการปั้มน้ำนม อาจต้องใช้เวลาเล็กน้อยในการปั้ม  ช่วงเวลาที่ทารกมีอายุระหว่าง 4 ถึง 6 สัปดาห์เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุด และทำให้คูรแม่มือใหม่มีเวลามากพอในระหว่างรับเอาอาหารเข้าไปเพื่อปั้มน้ำนมพิเศษที่สามารถเก็บไว้ใช้ได้ในภายหลัง หากคุณวางแผนจะต้องกลับไปทำงาน ควรเริ่มต้นปั้มน้ำนมสองหรือสามอาทิตย์ก่อนเก็บสะสมน้ำนม

การปั้มน้ำนมควรเริ่มต้นอย่างไร 

มีขั้นตอนสองสามขั้นตอนในการปั้มน้ำนมช่วงเริ่มต้นแต่ละครั้งที่สามารถช่วยสร้างความมั่นใจว่าคุณจะสามารถปั้มน้ำนมได้ในปริมาณมากพอ ขั้นแรก ล้างมือให้สะอาดเสมอด้วยน้ำและสบู่ก่อนเริ่มการปั้มน้ำนม
  • ผ่อนคลาย หาที่สบายๆ สงบๆนั่งลงและทำตัวตามสบายให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ สูดลมหายใจลึกๆ นั่งสมาธิสักห้านาที ทำโยคะยืดเส้นสายเล็กน้อย 
  • ช่วยในการหลั่งน้ำนม การนวดเบาที่หน้าอกหรือการประคบน้ำอุ่นจะสามารถช่วยให้หน้าอกพร้อมในการหลั่งน้ำนมได้
  • กอดลูกน้อยเข้ามาใกล้ๆ-หรือคิดจินตนาการ หากลูกน้อยอยู่ใกล้ให้กอดตัวลูกไว้ก็จะสามารถช่วยกระตุ้นการหลั่งของน้ำนมได้ แต่หากอยู่ห่างกัน ให้มองดูรูปลูกน้อยของคุณ ฟังเสียงลูกน้อยที่เก็บบันทึกไว้ มองดูดวงตาของเขาหรือจินตนาการถึงกลิ่นสัมผัสของลูกน้อย ให้รู้สึกว่ามีลูกน้อยอยู่ในอ้อมแขนก็สามารถช่วยได้
  • ปิดฐานกรวยปั้มนมให้ดี อาจช่วยได้ด้วยการให้ความชุมชื้นด้วยน้ำก็จะช่วยปทำให้ฐานปิดสนิทได้ดียิ่งขึ้น
  • อยู่บริเวณจุดศูนย์กลาง วางหัวนมไว้ตรงกลางของกรวยปั้มนมก่อนเริ่มต้นปั้มน้ำนม
  • หลักสำคัญในการปั้ม เครื่องปั้มน้ำนมส่วนใหญ่มักเริ่มต้นในช่วงการหลั่งน้ำนม-ด้วยการดูดแบบสั้น เร็ว เป็นการจำลองการดูดของเด็กเพื่อเป็นการกระตุ้นการหลั่งน้ำนม อาจต้องใช้เวลาราวสองสามนาทีก่อนน้ำนมจะเริ่มไหลและหลังจากช่วงน้ำนมเริ่มไหล สักสองสามนาที เครื่องปั้มจะเปลี่ยนไปเป็นการดูดปั้มในจังหวะปกติ
  • อย่าตั้งระดับการดูดสูงเกินไป ต้องเริ่มต้นการดูดในระดับต่ำก่อนและค่อยๆเพิ่มขึ้นเมื่อน้ำนมเริ่มไหลออกมา (แต่ต้องอยู่ในระดับที่รู้สึกสบาย-คือเป็นการปั้มที่ไม่ควรทำให้รู้สึกเจ็บและการดูดที่แรงไม่ได้หมายความว่าจะช่วยทำให้ได้น้ำนมได้มากขึ้น)

ความบ่อยในการปั้มน้ำนมและควรปั้มน้ำนมเป็นระยะเวลาเท่าไร 

หากคุณกำลังพยายามเก็บสะสมน้ำนมไว้ก่อน การปั้มจะอยู่ในช่วงระหว่างการเลี้ยงดูบุตรเมื่ออยู่กับลูกน้อย หากต้องการปั้มในที่ทำงานหรือเพื่อทดแทนมื้อืั้ลูกไม่ได้ทานนม ให้ปั้มตรงเวลาตามเดิมเวลาเดียวกันกับเด็กเคยทาน ซึ่งปกติมักเกิดขึ้นทุกๆสามหรือสี่ชั่วโมง เวลาในการปั้มอาจใช้เวลาราว 15 ถึง 20 นาทีเพื่อได้ปริมาณน้ำนมที่ดี (ผู้หญิงบางคนอาจใช้เวลา 30 นาทีหรือมากกว่านั้นในการปั้มน้ำนม โดยเฉพาะในช่วงต้นๆของวัน) ควรปั้มน้ำนมไปจนกว่าน้ำนมจะเริ่มไหลน้อยลงและรู้สึกได้ว่าน้ำนมไหลออกมามาหมดแล้ว และอย่าลืมทำความสะอาดอุปกรณ์ปั้มนมทุกครั้งหลังการใช้

ตารางเวลาที่ที่สุดสำหรับการปั้มน้ำนมและการทานนม 

เวลาที่ดีที่สุดในการปั้มน้ำนมขึ้นอยู่แลเวแต่บุคคล คุณแม่จะรู้ได้เองว่าเวลาช่วงไหนคือเวลาที่ดีที่สุดสำหรับตนเอง แต่เวลาการปั้มที่ดีที่สุดคือเป็นช่วงเวลาที่หน้าอกมีน้ำนมเต็มที่  หากต้องการปั้มน้ำนมเพื่อเพิ่มจำนวนให้มากขึ้น ให้ลองปั้มในชั่วโมงหลังจากลูกดื่มในช่วงเช้า ตามธรรมชาติหน้าอกจะมีน้ำนมเต็มที่ในช่วงเช้าของแต่ละวัน ดังนั้นช่วงเช้าจึงเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่จะได้น้ำนมเพิ่มมากขึ้น ในวันที่อยู่กับลูกน้อย ให้บีบปั้มนมในช่วงชั่วโมงหลังการให้นมบุตรและอย่างน้อยหนึ่งชั่วโมงก่อนการให้นมครั้งถัดไป- ยิ่งต้องการมากหมายถึงยิ่งได้น้ำนมมาก-  คุณแม่บางท่านอาจสามารถปั้มน้ำนมจากนมข้างหนึ่งได้ในขณะที่ลูกน้อยกำลังทานนมอีกข้างหนึ่งได้ ตราบใดที่ลูกน้อยสามารถได้รับน้ำนมอย่างเพียงพอจากนมแค่ข้างเดียว เป็นวิธีประหยัดเวลาในการสะสมน้ำนมในขณะทำให้เต้านมว่างเปล่าในระหว่างการดูดนม  คุณอาจปั้มน้ำนมในช่วงท้ายของการให้นมเพื่อให้แน่ใจว่าน้ำนมหมดจนหยดสุดท้าย (แม่หลายๆคนพบว่าการปั้มนมด้วยมือง่ายกว่าการใช้เครื่องปั้มสำหรับการปั้มหลังการให้นมบุตร) หากลูกน้อยของคุณเริ่มขยายเวลาในการดื่มนมออกไปเป็นทุกๆสี่ชั่วโมง คุณสามารถลองปั้มน้ำนมทุกๆสองชั่วโมงระหว่างการให้นม การทำเช่นนี้จะช่วยทำให้มีน้ำนมมากขึ้นและมีเพียงพอในการจัดเก็บ ช่วงเวลาที่ควรหลีกเลี่ยงมากที่สุดคือช่วงบ่ายหรือใกล้เย็นถ้าเป็นไปได้ ช่วงเวลานี้จะเป็นช่วงที่มีน้ำนมน้อยมากที่สุดเป็นเพราะความอ่อนเพลียและความเครียด Pumping Breast Milk Guide

การทำพาวเวอร์ปั้ม

หลักการพาวเวอร์ปั้มเป็นการปั้มน้ำนมได้ด้วยการเลียนแบบการ “เอาลูกเข้าเต้า” เป็นคำอธิบายการดูดนมของลูกในช่วงแรกเกิดที่บ่อยกว่าปกติ เพื่อเป็นการเพิ่มการผลิตโปรแลคติน คือฮอร์โมนที่ช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำนม  คุณสามารถใช้หลักการพาวเวอร์ปั้มแทนการให้นมตามปกติ (ยกตัวอย่างเช่นอยู่ในที่ทำงานหรือต้องอยู่ห่างจากตัวลูกน้อยนานสองสามชั่วโมง)  หลักการพาวเวอร์ปั้มอาจเป็นดังนี้:
  • ปั้ม 20 นาที
  • พัก 10 นาที
  • ปั้ม 10 นาที
  • พัก 10 นาที
  • ปั้ม 10 นาทีจนครบหนึ่งชั่วโมง
หากไม่มีเวลามากพอถึงหนึ่งชั่วโมง ให้ใช้แบบ 30 นาที คือปั้ม 10 นาที พัก 5 ปั้ม 5 พัก 5และจากนั้นปั้มอีก 5 นาที อาจใช้เวลาประมาณสองสามวันในการตอบสนองการสร้างเพิ่มขึ้นของน้ำนม คุณแม่บางท่านสามารถเพิ่มขึ้นได้ภายในสามวันในขณะที่บางรายต้องใช้หลักการพาวเวอร์ปั้มเป็นสัปดาห์ก่อนจะเห็นผล

ประโยชน์ที่ได้จากการปั้มนมจากเต้าคืออะไร 

มีหลายเหตุผลว่าทำไมแม่จึงต้องปั้มนมของตัวเองไว้ นับตั้งแต่การช่วบบรรเทาอาการนมคัดและเสริมสร้างน้ำนมเพื่อเก็ยสะสมไว้ให้ลูกน้อยมีดื่มในช่วงเวลาที่ต้องอยู่ห่างจากลูกน้อย (เช่นการกลับไปทำงาน) หากคุณปั้มนมและเก็บไว้ คุณก็จะยังคงให้ลูกน้อยของคุณได้ประโยชน์จากการทานนมแม่ไปได้อีกนานหลังจากหยุดให้นมบุตร และเหมาะสำหรับแม่ที่ต้องการให้ลูกน้อยได้ทานนมแม่จ่อไปแต่ตัวแม่ไม่สามารถให้นมได้เองด้วยเหตุผลบางอย่าง (เช่นมีปัญหาการดูดหรือมีน้ำนมน้อย) ไม่สำคัญว่าจะด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม ประโยชน์ที่ได้จากการปั้มนมคือ:
  • คุณสามารถกลับไปทำงานได้  หรือออกไปไหนตอนช่วงเวลากลางคืน ไปพักผ่อนหรือเดินทางไปทำธุรกิจ) และลูกน้อยของคุณก็ยังคงได้ทานนมแม่อยู่
  • คุณแม่ไม่จำเป็นต้องรับบทหนักในการรับผิดชอบการให้นมบุตรเพียงคนเดียว -คู่ของคุณหรือคนช่วยเลี้ยงดูบุตรของคุณก็สามารถเข้ามาช่วยได้เช่นกัน
  • การปั้มนมจะทำให้คุณสร้างน้ำนมได้แม้ในช่วงเวลาก่อนที่ลูกน้อยของคุณจะต้องการ และยังทำให้สามารถเก็บไว้เป็นพิเศาเผื่อต้องใช้ในระหว่างอยู่บนท้องถนน
  • การปั้มนมเก็บไว้เพิ่มโอกาสให้เราสามารถนำไปบริจาคนมที่ปั้มเกินไว้ให้กับแม่ๆที่ไม่สามารถให้นมบุตรตัวเองได้แต่ยังคงต้องการได้รับประโยชน์จากนมแม่เช่นกัน

วิธีเก็บน้ำนมแม่ของคุณแม่นักปั๊ม

การปั้มก็เป็นเพียงครึ่งหนึ่งของเรื่องราวทั้งหมด เพราะสิ่งที่ควรต้องรู้อีกก็คือวิธรการเก็บรักษาน้ำนมที่ปั้มออกมา เครื่องปั้มนมหลายชนิดมักมีภาชนะบรรจุติดมาด้วยเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บและนำมาใช้ให้นมลูกน้อย  คุณยังสามารถเก็บน้ำนมไว้ในถุงพลาสติก (ที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อเก็บรักษานมแม่)  ควรเก็บในปริมารสามในสี่ส่วนหากเก็บแบบแช่แข็งเพื่อเหลือพื้นที่ให้มีการขยาย ควรแช่แข็งน้ำนมในปริมาณน้อย (3 ถึง4 ออนซ์ต่อหนึ่งถุง) เพื่อง่ายต่อการละลาย น้ำนมทีปั้มออกมาสามารถทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้องได้นานถึงสี่ชั่วโฒงโดยเก็บให้ห่างจากแสงแดดและแหล่งความร้อนอื่นๆ น้ำนมสามารถเก็บไว้ได้อย่างปลอดภัยในตู้เย็นได้นานถึงสี่วันและเก็บแช่แข็งไว้ได้นานหกถึง12 เดือน (ควรใช้ภายในหกเดือนคือเวลาที่ดีที่สุด) ควรติดวันที่ปั้มน้ำนมไว้ที่ภาชนะบรรจุแต่ละอัน และให้แน่ใจว่าได้ใช้อันเก่าเสียก่อน

วิธีทำความสะอาดเครื่องปั้มน้ำนม

การทำความสะอาดที่ปั้มนมทุกครั้งหลังการใช้ถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดเพื่อเป็นการป้องกันเชื้อโรคไปส่งผลให้เกิดอันตรายต่อลูกน้อยของคุณ ควรมั่นใจไว้ล้างทำความสะอาดทุกชิ้นส่วนของเครื่องปั้มนมที่ต้องสัมผัสกับเต้านมหรือน้ำนมด้วยสบู่เหลวและน้ำอุ่น ถูกชิ้นส่วนด้วยแปรงสะอาดและล้างออกภายใต้น้ำไหลผ่าน หากล้างด้วยมือต้องแน่ใจว่าล้างเครื่องปั้มในอ่างล้างที่สะอาด – ไม่ใช่อ่างล้างในห้องครัว – ควรเป็นอ่างที่ไว้ล้างเฉพาะอ่างที่ล้างอุปกรณ์ของเด็กเพียงเท่านั้น และต้องไม่วางส่วนประกอบของเครื่องปั้มไว้ในอ่าง เป่าให้แห้งและวางผึ่งแยกส่วนไว้จนแห้งสนิท หากใช้กับลูกน้อยที่อายุน้อยกว่า 3 เดือนหรือเด็กคลอดก่อนกำหนด หรือเด็กที่มีระบบภูมิต้านทานอ่อนแอต้องฆ่าเชื้อทุกวัน หากใช้เครื่องล้างที่มีความปลอดภัย ให้วางชิ้นส่วนไว้บนตะแกรงชั้นบนสุดของเครื่องล้างและและให้ใช้น้ำร้อนและระบบเป่าแห้งด้วยความร้อน

วิธีกระตุ้นน้ำนม

นวดคลึงเต้านมในการผ่อนคลาย

การนวดคลึงเต้านมเบา ๆ วนรอบ ๆ เต้านมนั้นถือเป็นการกระตุ้นให้น้ำนมไม่เกาะแข็งอยู่ในที่ใดที่ถึงและน้ำนมไหลเวียนได้ง่าย คุณแม่อาจมีการประคบอุ่นร่วมด้วยก่อนเริ่มปั๊มนม ก็จะทำให้น้ำนมออกได้ดีกว่าเดิม  การทำจี๊ด การทำจี๊ดก่อนการปั้มนมเป็นการกระตุ้นให้น้ำนมสามารถหลั่งออกมาได้ดีกว่าเดิม โดยการนวดวนเป็นก้นหอยรอบ ๆ ฐานนมก่อนแนะใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้ปั่นหัวนมนวดขึ้นลง หมุนคลึงไปมา  ให้ลูกดูดนมจากเต้า การที่ลูกน้อยดูดนมจากเต้าบ่อย ๆ นั้นเป็นการกระตุ้นฮอร์โมนในการผลิตน้ำนม โดยทำสลับกับการปั้มนมเพื่อจัดเก็บไว้เมื่อคุณแม่ไม่สะดวกให้นม หรือจัดเก็บไว้ในอนาคตเพื่อจะได้มีน้ำนมให้ลูกดื่มไปนาน ๆ นั่นเอง
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด