ภาวะน้ำคร่ำมาก (Polyhydramnios) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ภาวะน้ำคร่ำมาก (Polyhydramnios) คือ ภาวะที่มีปริมาณน้ำในถุงน้ำคร่ำมากผิดปกติ ถุงน้ำคร่ำเกิดการขยายตัว และอาจมีอาการข้างเคียงต่าง ๆ ตามมา โดยทั่วไปจะพบในหญิงที่กำลังตั้งครรภ์ 1 – 2% อาการส่วนใหญ่ของภาวะน้ำคร่ำมากจะไม่รุนแรง และเกิดจากการสะสมของน้ำคร่ำทีละน้อยในช่วงอายุครรภ์ท้าย ๆ หากภาวะน้ำคร่ำมากรุนแรงอาจทำให้หายใจไม่ออก เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด หรือมีอาการอื่น ๆ

ดังนั้นหากได้การวินิจฉัยว่าเป็นภาวะน้ำคร่ำมาก แพทย์อาจตรวจครรภ์ของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน การรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ ภาวะน้ำคร่ำมากเป็นสำคัญ กรณีอาการไม่รุนแรงสามารถหายเองได้

Polyhydramnios

สาเหตุของภาวะน้ำคร่ำมาก

สาเหตุที่บางประการที่ทำให้เกิดภาวะน้ำคร่ำมาก คือ :

  • ความผิดปกติแต่กำเนิดที่ส่งผลต่อระบบทางเดินอาหารหรือระบบประสาทส่วนกลางของทารก

  • อาการเบาหวานของมารดา

  • การถ่ายเทเลือดในภาวพตั้งครรภ์ผิดปกติ คือกรณีที่เป็นครรภ์แฝดแล้วแฝดคนหนึ่งได้รับเลือดมากเกินไป ส่งผลให้แฝดอีกคู่ได้รับเลือดน้อยเกินไป

  • ภาวะขาดเซลล์เม็ดเลือดแดงในทารก (โรคโลหิตจางของทารกในครรภ์)

  • ความเข้ากันไม่ได้ระหว่างเลือดของแม่และทารก

  • การติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์

แต่ในบางกรณีก็ไม่สามารถหาสาเหตุของภาวะน้ำคร่ำมากได้

อาการของภาวะน้ำคร่ำมาก

อาการภาวะน้ำคร่ำมากจะส่งผลกระทบต่อความดันภายในมดลูก และอวัยวะใกล้เคียง

กรณีภาวะน้ำคร่ำมากไม่รุนแรงอาจแสดงอาการเพียงเล็กน้อย หรือไม่มีอาการใดเลย แต่หากภาวะน้ำคร่ำมากมี ความรุนแรงอาจแสดงอาการดังนี้:

  • หายใจถี่หรือหายใจไม่ออก

  • ขาบวม และท้องบวม

  • รู้สึกปวดบริเวณมดลูกหรือมีการหดตัว

  • ความผิดปกติของทารกในครรภ์ เช่นการคว่ำตัวของทารก

แพทย์สันนิษฐานอาการภาวะน้ำคร่ำมาก เมื่อมดลูกของแม่ขยายใหญ่ผิดปกติ และรู้สึกทารกในครรภ์มีความผิดปกติ

การรักษาภาวะน้ำคร่ำมาก

กรณีภาวะน้ำคร่ำมากไม่รุนแรงมักหายได้เอง แต่อาจต้องเข้ารับการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากอาการอาจเกิดซ้ำ แต่หากหายเองไม่ได้ แพทย์จะทำการรักษาตามทางเลือกดังนี้

การรักษาที่สาเหตุ

กรณีภาวะน้ำคร่ำมากเกิดจากโรคเบาหวานที่เกิดในระหว่างตั้งครรภ์ แพทย์จะพิจารณารักษาโรคเบาหวาน เพื่อบรรเทา และรักษาภาวะน้ำคร่ำมาก กรณีผู้ตั้งครรภ์มีโรคประจำตัวต่าง ๆ ควรแจ้งให้แพทย์ที่ดูแลครรภ์ทราบทันที

การรักษาตามอาการ

กรณีภาวะน้ำคร่ำมากส่งผลต่อใช้ชีวิตประจำวัน แพทย์อาจพิจารณาแนวทางการรักษา ดังนี้

  • การเจาะเพื่อนำน้ำคร่ำส่วนเกินออก ช่วยลดปริมาณน้ำคร่ำให้อยู่ในระดับปกติ แพทย์จะพิจารณาตามความจำเป็นเพราะวิธีนี้มีความเสี่ยงที่จะทำให้คลอดก่อนกำหนด

  • การรักษาด้วยยาอินโดเมทาซิน เป็นยาช่วยลดปริมาณน้ำคร่ำและปัสสาวะของทารก ซึ่งต้องพิจารณษจากอายุครรภ์ เพราะหากอายุครรภ์มากจะเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจของทารกผิดปกติ

  • การทำคลอดก่อนกำหนด แพทย์อาจพิจารณาหากอาการแทรกซ้อนจากภาวะน้ำคร่ำมากมีความรุนแรง

แม้เข้ารับการรักษาแล้ว แพทย์ก็จะยังตรวจติดตามอาการอย่างใกล้ชิดต่อไป

ภาวะแทรกซ้อนในภาวะน้ำคร่ำมาก

ภาวะน้ำคร่ำมากมีความสัมพันธ์กับสิ่งเหล่านี้ :

  • ภาวะคลอดก่อนกำหนด

  • ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด – น้ำคร่ำออกมาก่อนกำหนด

  • รกหลุดลอก – รกหลุดลอกออกจากผนังมดลูกก่อนคลอด

  • สายสะดือย้อย – เป็นลักษณะที่สายสะดือยื่นลงในช่องคลอดก่อนตัวทารก

  • ทารกต้องคลอดด้วยการผ่าตัดผ่านช่องท้อง

  • ทารกเสียชีวิตในครรภ์

  • เลือดออกมากหลังคลอด เนื่องจากไม่มีกล้ามเนื้อมดลูก

เมื่อเกิดภาวะน้ำคร่ำมากในระหว่างการตั้งครรภ์ ปริมาณน้ำคร่ำที่เกินยิ่งมากก็ยิ่งส่งผลให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เพิ่มขึ้น

การป้องกันภาวะน้ำคร่ำมาก

ภาวะน้ำคร่ำมาก คือ ภาวะในการตั้งครรภ์ที่มีการสะสมของน้ำคร่ำมากเกินไปในถุงน้ำคร่ำ แม้ว่าจะป้องกันภาวะโพลีไฮดรานิโอสไม่ได้เสมอไป แต่ก็มีขั้นตอนบางอย่างที่คุณสามารถทำได้เพื่อลดความเสี่ยงหรือจัดการภาวะนี้หากคุณตกอยู่ในความเสี่ยง คำแนะนำบางประการมีดังนี้:
  • การดูแลก่อนคลอดเป็นประจำ: การดูแลก่อนคลอดตั้งแต่เนิ่นๆและสม่ำเสมอเป็นสิ่งสำคัญ เข้าร่วมการนัดหมายก่อนคลอดของคุณทั้งหมด เพื่อให้ผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณสามารถติดตามการตั้งครรภ์ของคุณและตรวจพบปัญหาที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงภาวะโพลีไฮดรานิโอสได้ตั้งแต่เนิ่นๆ
  • จัดการอาการทางการแพทย์ที่เป็นอยู่: หากคุณมีอาการป่วยใด ๆ เป็นอยู่ เช่น เบาหวานหรือเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าอาการเหล่านั้นได้รับการควบคุมอย่างดีผ่านการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และการใช้ยา หากจำเป็น การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดที่ดีสามารถช่วยป้องกันภาวะโพลีไฮดรานิโอสได้
  • รักษาร่างกายให้ชุ่มชื้น: แม้ว่าอาจดูเหมือนขัดกับสัญชาตญาณ แต่การดูแลให้ร่างกายได้รับน้ำอย่างเพียงพอในระหว่างตั้งครรภ์เป็นสิ่งสำคัญ ภาวะขาดน้ำอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน รวมถึงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของภาวะโพลีไฮดรานิโอส ปรึกษาผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณเพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับความต้องการดื่มน้ำโดยเฉพาะของคุณ
  • หลีกเลี่ยงน้ำที่มากเกินไป: ในทางกลับกัน ปริมาณของเหลวที่มากเกินไปสามารถทำให้เกิดภาวะโพลีไฮดรานิโอสได้ ปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพเกี่ยวกับการบริโภคของเหลวในระหว่างตั้งครรภ์ เนื่องจากคำแนะนำอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของแต่ละบุคคล
  • ติดตามการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์: ใส่ใจกับการเคลื่อนไหวของลูกน้อย การเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ที่ลดลงอาจเป็นสัญญาณของภาวะโพลีไฮดรานิโอ ดังนั้นควรปรึกษาผู้ให้บริการดูแลสุขภาพของคุณหากคุณสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงใดๆ
  • ข้อควรพิจารณาด้านอาหาร: ในบางกรณี การลดการบริโภคคาร์โบไฮเดรตหรือน้ำตาลอาจช่วยควบคุมภาวะโพลีไฮดรานิโอสได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณสามารถให้คำแนะนำด้านอาหารตามสถานการณ์เฉพาะของคุณได้
  • ยา: ในบางกรณี ผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณอาจสั่งยาเพื่อลดระดับน้ำคร่ำ หากภาวะโพลีไฮดรานิโอสรุนแรงหรือก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อคุณหรือลูกน้อยของคุณ
สิ่งสำคัญที่ควรทราบคือไม่สามารถป้องกันภาวะโพลีไฮดรานิโอสได้เสมอไป เนื่องจากอาจเกิดจากปัจจัยที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของคุณ หากคุณสงสัยว่าคุณอาจเป็นโรคโพลีไฮดรานิโอสหรือมีความเสี่ยง จำเป็นต้องปรึกษากับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณ พวกเขาสามารถให้การประเมินและคำแนะนำส่วนบุคคลตามสถานการณ์เฉพาะของคุณเพื่อให้แน่ใจว่าผลลัพธ์ที่ดีที่สุดสำหรับคุณและลูกน้อยของคุณ

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/polyhydramnios/symptoms-causes/syc-20368493

  • https://www.nhs.uk/conditions/polyhydramnios/

  • https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3964358/

  • https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/17852-polyhydramnios


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด