การตรวจแปปสเมียร์ (Pap Smear Test) – การเตรียมการ คำแนะนำ

ภาพรวม

การตรวจแปปสเมียร์ คือ การตรวจเพื่อคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เป็นการตรวจเพื่อหาการปรากฏตัวของระยะก่อนเป็นมะเร็งของเซลล์ปากมดลูก ในระหว่างขั้นตอนการตรวจ เซลล์จากปากมดลูกจะถูกขูดออกไปเล็กน้อย และส่งตรวจเพื่อหาเซลล์ที่เจริญเติบโตผิดปกติ ขั้นตอนการตรวจจะทำโดยแพทย์ในที่ทำงาน การตรวจอาจสร้สงความรู้สุกไม่สาบตัวเล็กน้อย แต่มักไม่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดในระยะยาว

คนที่ควรตรวจแปปสเมียร์คือใครบ้าง

แนวทางที่แนะนำสำหรับผู้หญิงที่ควรได้รับการตรวจแปปสเมียร์เป็นประจำคือทุกๆสามปีสำหรับผู้หญิงอายุ 21 ปี บางคนที่อาจมีความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งหรือติดเชื้อ อาจมีความจำเป็นต้องได้รับการตรวจบ่อยกว่านั้นหาก:
  • เป็นโรค เอชไอวีบวก
  • มีระบบภูมิต้านทานอ่อนแอจากการทำคีโมหรือปลูกถ่ายอวัยวะ
หากคุณอายุเกิน 30 ปีและมีผลตรวจแปปสเมียร์ปกติ อาจขอให้แพทย์ตรวจแปปสเมียร์ร่วมกับการตรวจหาเชื้อ HPV เพิ่มเติมทุกๆ 5 ปี HPV คือ เชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคหูดและเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปากมดลูก เชื้เอชพีวีชนิด 16 และ 18 คือสาเหตุหลักของโรคมะเร็งปากมดลูก หากมีการติดเชื้อเอชพีวี อาจมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก ผู้หญิงอายุเกินกว่า 65 ปีที่เคยมีประวัติผลการตรวจแปปสเมียร์เป็นปกติอาจหยุดการตรวจในอนาคตได้ ควรได้รับการตรวจแปปสเมียร์อย่างสม่ำเสมอตามพื้นฐานของช่วงอายุ สภาพการณ์การมีเพศสัมพันธ์ เพราะว่าเชื้อไวรัสเอชพีวีสามารถอยู่อย่างสงบได้นานหลายปีก่อนจะเกิดทำงานขึ้นได้อย่างฉับพลัน อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจ การทำความสะอาดอวัยวะเพศหญิง

การตรวจ Pap smear จำเป็นต้องตรวจบ่อยแค่ไหน 

ตวามบ่อยในการตรวจแปปสเมียร์ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ซึ่งรวมถึงอายุและความเสี่ยง
อายุ ความถี่ในการตรวจแปปสเมียร์
<21 ปี ไม่จำเป็นต้องตรวจ
21-29 ปี ทุก 3 ปี
30-65 ปี ทุก 3 ปี หรือตรวจเอชพีวีทุกๆ 5 ปี หรือตรวจแปปสเมียร์และเอชพีวีร่วมกันทุกๆ 5 ปี
65 ปีขึ้นไป อาจไม่จำเป็นต้องตรวจแปปสเมียร์อีก ปรึกษาแพทย์เพื่อประเมิน

การตรวจแปปสเมียร์

การเตรียมตัวสำหรับการตรวจแปปสเมียร์ต้องทำอย่างไรบ้าง

คุณสามารถตรวจแปปสเมียร์พร้อมกับการตรวจภายในประจำปีได้เลย หรือจะแยกตรวจก็ทำได้  หากมีรอบเดือนในวันนัดตรวจ แพทย์จะขอเลื่อนนัดตรวจใหม่ เพราะผลที่ได้อาจมีความแม่นยำน้อยลง พยายามหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ การสวนล้างช่องคลอด หรือใช้ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้ออสุจิในวันก่อนการตรวจ เพราะอาจไปแทรกแซงผลการตรวจได้ ในรายส่วนใหญ่ เป็นเรื่องปลอดภัยในการตรวจแปปสเมียร์ในช่วง 24 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ หลังจากนั้นการตรวจอาจสร้างความเจ็บปวดได้ ควรรอหลังคลอด 12 สัปดาห์เพื่อเพิ่มความแม่นยำในผลตรวจ การตรวจแปปสเมียร์เป็นเรื่องที่ไม่ยุ่งยากหากร่างกายผ่อนคลาย สิ่งที่สำคัญคือต้องอยู่ในความสงบจิตใจและหายใจลึกๆในระหว่างการตรวจ

ระหว่างการตรวจจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง

การตรวจแปปสเมียร์อาจสร้างความรู้สึกอึดอัดใจได้บ้าง แต่การตรวตจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว วิธีการตรวจ pap smear คือ แพทย์จะค่อยๆสอดใส่เครื่องมือที่เรียกว่า คีมถ่างช่องคลอดเข้าไปในช่องคลอด อึปกรณืชนิดนี้จะช่วยเปิดผนังช่องคอลดและเพื่อให้มีการเข้าถึงช่องคลอดได้ แพทย์จะขูดเอาเซลล์ตัวอย่างเล็กๆ จากช่องคลอด มีสองสามวิธีที่สามารถนำตัวอย่างมาได้คือ
  • ใช้เครื่องมือที่เรียกว่าอุปกรณืไม้พายทางการแพทย์
  • ใช้ไม้พายทางการแพทย์และแปรง
  • ใช้อุปกรณ์อื่นๆที่เรียกว่า ไซโตบรัช ที่ผสมผสานกันระหว่างไม้พายและแปรง
ผู้หญิงส่วนใหญ่จะรู้สึกถึงแรงกดเบาๆและรู้สึกระคายเคืองในระหว่างการขูด ตัวอย่างเซลล์ที่ได้จากปากมดลูกจะถูกเก็บไว้และส่งตรวจเพื่อมองหาเซลล์ที่ผิดปกติ หลังการตรวจคุณอาจรู้สึกไม่สบายตัวเล็กน้อยจากการถูกขูดหรือเป็นตะคริวเล็กน้อย อาจมีเลือดออกจากช่องคลอดบางๆทันทีหลังการตรวจ แจ้งให้แพทย์ทราบถึงอาการไม่สบายตัวหรือมีเลือดออกหลังจากวันตรวจไปแล้ว

ผลการตรวจแปปสเมียร์หมายความถึงอะไรได้บ้าง 

ผลการตรวจมีผลได้สองแบบ คือ ปกติหรือผิดปกติ

ผลการตรวจแปปสเมียร์แบบปกติ

หากผลออกมาเป็นปกติ ซึ่งนั่นหมายความว่าตรวจไมาพบเจอเซลล์ผิดปกติ ผลที่ได้คือแบบปกติบางครั้งอาจเรียกว่าเป็นผลลบ หากผลเป็นปกติคุณอาจไม่จำเป็นต้องตรวจแปปสเมียร์ไปอีกสามปีได้

ผลการตรวจแปปสเมียร์ผิดปกติ

หากผลตรวจเป็นแบบผิดปกติ นั้นไม่ได้หมายความว่ากำลังเป็นมะเร็ง ความหมายง่ายเลยคือมีเซลล์ผิดปกติที่ปากมดลูก เป็นเพียงระยะก่อนเป็นมะเร็ง เซลล์ที่ผิดปกติมีหลายระดับ เซลล์ผิดปกติเล็กน้อย คือ สิ่งที่พบได้บ่อยมากกว่าผิดปกติรุนแรง ขึ้นอยู่กับผลทีาแสดงออกมา แพทย์อาจแนะนำ
  • เพิ่มความบ่อยในการตรวจแปปสเมียร์มากขึ้น
  • ได้รับการตรวจมากขึ้นเพื่อตรวจดูเนื้อเยื่อปาดมดลูกที่เรียกว่าการส่องกล้องปากมดลูกด้วยคอลโปสโคป
ในระหว่างการตรวจด้วยการส่องกล้องปากมดลูกด้วยคอลโปสโคป แพทย์จะใช้แสง และกล้องขยายเพื่อดูช่องคลอดและเนื้อเยื่อปากมดลูกให้เห็นชัดเจนขึ้น และนำเอาชิ้นส่วนเนื้อเยื่อปากมดลูกไปตรวจที่เรียกว่าการตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ

ผลที่ได้มีความแม่นยำมากแค่ไหน

การตรวจแปปสเมียร์ให้ผลที่มีความแม่นยำมาก การตรวจแปปสเมียร์อย่างสม่ำเสมอจะช่วยลดอัตราการเกิดมะเร็งปากมดลูกลงได้และลดอัตราการเสียชีวิตได้ไม่ต่ำกว่า 80% แม้การตรวจอาจสร้างความอึดอัดใจบ้าง แต่ก็สามารถช่วยป้องกันเรื่องสุขภาพได้

ใช้การตรวจแปปสเมียร์เพื่อตรวจหาเชื้อ HPV ได้หรือไม่ 

จุดประสงค์หลักของการตรวจแปปสเมียร์คือเพื่อระบุเซลล์ที่เปลี่ยนไปในปากมดลูก ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากเชื้อเอชพีวี จากการระบุเซลล์มะเร็งปากมดลูกได้ตั้งแต่ในระยะต้นด้วยการตรวจแปปสเมียร์ การรักษาก็สามารถเริ่มได้ก่อนที่จะมีการแพร่กระจายและกลายเป็นเรื่องที่ต้องเป็นกังวล ดังนั้นจึงมีความเป็นได้ว่าเราสามารถตรวจหาเชื้อเอชพีวีจากการตรวจแปปสเมียร์ได้เช่นกัน เมื่มีการสัมผัสเชื้อเอชพีวีจากการมีเพศสัมพันธ์ร่วมกับผู้ชายหรือผู้หญิง เพื่อลดความเสี่ยงในการสัมผัสกับเชื้อไวรัสนี้ ควรมีเพศสัมพันธ์ด้วยการใช้ถุงยางอนามัยหรือวิธีป้องกันอื่นๆ เสมอ กิจกรรมทางเพศสัมพันธ์สำหรับผู้หญิงทุกครั้งคือความเสี่ยงในการสัมผัสกับเชื้อเอชพีวีทั้งสิ้น และควรได้รับการตรวจแปปสเมียร์อย่างน้อยในทุกๆ 3 ปี อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจ เชื้อ HPV คืออะไร

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับแปปสเมียร์

การตรวจแปปสเมียร์หรือที่เรียกว่าการตรวจแปปสเมียร์ เป็นส่วนสำคัญของการตรวจคัดกรองสุขภาพสตรีสำหรับมะเร็งปากมดลูก ต่อไปนี้เป็นคำถามที่พบบ่อยบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับการตรวจแปปสเมียร์:
  • การตรวจแปปสเมียร์คืออะไร?
      • Pap smear คือการตรวจคัดกรองที่เกี่ยวข้องกับการเก็บเซลล์จากปากมดลูกเพื่อตรวจดูความผิดปกติหรือการเปลี่ยนแปลงของมะเร็ง ช่วยตรวจหามะเร็งปากมดลูกหรือภาวะที่อาจนำไปสู่มะเร็งปากมดลูก
  • ฉันควรเริ่มรับการตรวจ Pap Smears เมื่อใด
      • แนวทางปฏิบัติในปัจจุบันมักแนะนำให้เริ่มตรวจแปปสเมียร์เมื่ออายุ 21 ปี อย่างไรก็ตาม ความถี่ที่แนะนำอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยเสี่ยงและแนวทางด้านสุขภาพของแต่ละบุคคล จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหารือเกี่ยวกับตารางการตรวจคัดกรองที่เหมาะสมกับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณ
  • ฉันควรตรวจ Pap Smear บ่อยแค่ไหน?
      • ความถี่ของการตรวจแปปสเมียร์อาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับอายุ ผลลัพธ์ก่อนหน้า และปัจจัยอื่นๆ โดยทั่วไป การตรวจคัดกรองเป็นประจำอาจแนะนำทุกๆ สามปีสำหรับผู้หญิงอายุ 21 ถึง 29 ปี ผู้หญิงอายุ 30 ถึง 65 ปีอาจได้รับการตรวจ Pap smear ร่วมกับการตรวจ HPV ทุกๆ ห้าปี หรือการตรวจ Pap smear เพียงอย่างเดียวทุกๆ สามปี
  • Pap Smear เจ็บปวดหรือไม่
      • ผู้หญิงส่วนใหญ่ไม่พบความเจ็บปวดจากการตรวจแปปสเมียร์ แต่อาจรู้สึกไม่สบายบ้างในระหว่างทำหัตถการ ผู้ให้บริการด้านการแพทย์ใช้เครื่องถ่างเพื่อเปิดช่องคลอดเบาๆ และใช้แปรงหรือไม้พายขนาดเล็กเพื่อรวบรวมเซลล์จากปากมดลูก หากคุณรู้สึกเจ็บปวด สิ่งสำคัญคือต้องสื่อสารกับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณ
  • ฉันควรได้รับการตรวจ Pap Smear หรือไม่หากได้รับวัคซีน HPV
      • ได้ แม้ว่าคุณจะได้รับวัคซีน HPV แล้ว แต่ก็ยังแนะนำให้ทำการตรวจแปปสเมียร์ เนื่องจากวัคซีนไม่ได้ป้องกัน HPV ทุกประเภทที่สามารถทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกได้ วัคซีนมุ่งเป้าไปที่เชื้อ HPV สายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูงเป็นหลัก แต่ไม่ครอบคลุมเชื้อ HPV สายพันธุ์ทั้งหมด
  • ผลการตรวจ Pap Smear ผิดปกติหมายถึงอะไร?
    • ผลการตรวจแปปสเมียร์ที่ผิดปกติไม่ได้หมายความว่าเป็นมะเร็งเสมอไป บ่งชี้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงในเซลล์ปากมดลูก อาจแนะนำให้ทำการทดสอบเพิ่มเติม เช่น colposcopy เพื่อระบุสาเหตุและจำเป็นต้องมีการแทรกแซงเพิ่มเติมหรือไม่
จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ส่วนบุคคลของคุณและข้อกังวลใด ๆ กับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณเพื่อกำหนดแผนการคัดกรองที่เหมาะสมที่สุดสำหรับคุณ การตรวจคัดกรองเป็นประจำมีความจำเป็นสำหรับการตรวจหาและป้องกันมะเร็งปากมดลูกตั้งแต่เนิ่นๆ
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด