การกินเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ (Healthy Eating for Seniors) – แคลอรี่ ระบบภูมิคุ้มกัน

ผลการค้นหา

การกินเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ

การกินเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ (Healthy Eating for Seniors) – แคลอรี่ ระบบภูมิคุ้มกัน

อาหารผู้สูงอายุที่สมดุล การรับประทานอาหารที่สมดุลเป็นส่วนสำคัญในการมีสุขภาพที่ดีเมื่ออายุมากขึ้น ช่วยให้สามารถรักษาน้ำหนัก สุขภาพแข็งแรง กระปรี้กระเปร่า และรับสารอาหารที่ต้องการ นอกจากนี้ยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะสุขภาพเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจและโรคเบาหวาน ตามข้อมูลด้านโภชนาการ พบว่าผู้สูงอายุ 1 ใน 4 คนมีภาวะโภชนาการต่ำ ภาวะทุพโภชนาการทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะมีน้ำหนักเกิน หรือน้ำหนักน้อยเกินไป ทำให้กล้ามเนื้อ และกระดูกอ่อนแอลง จึงเกิดความเสี่ยงต่อโรคได้ เพื่อให้ได้รับโภชนาการที่เพียงพอ การกินอาหารที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์ วิตามิน แร่ธาตุ และสารอาหารอื่น ๆ ควบคุมอาหารแปรรูปที่มีน้ำตาลสูง ไขมันอิ่มตัว และไขมันทรานส์ และเกลือ…

ฟอร์มาลดีไฮด์

ฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde) – การใช้ความเสี่ยง

…มีการใช้ฉนวนโฟมยูเรีย-ฟอร์มาลดีไฮด์ (UFFI) ในบ้านหลายหลัง แต่ตอนนี้มีบ้านไม่กี่หลังที่หุ้มฉนวนด้วย UFFI บ้านที่ติดตั้ง UFFI เมื่อหลายปีก่อนไม่น่าจะมีระดับฟอร์มาลดีไฮด์สูงในขณะนี้ ผลิตภัณฑ์ไม้อัดที่มีฟอร์มาลดีไฮด์เรซินมักเป็นแหล่งของฟอร์มาลดีไฮด์ในบ้าน การใช้เครื่องใช้สำหรับเผาไหม้เชื้อเพลิงที่ไม่มีช่องระบายอากาศ เช่น เตาแก๊ส เตาเผาไม้ และเครื่องทำความร้อนด้วยน้ำมันก๊าด สามารถเพิ่มระดับฟอร์มาลดีไฮด์ในอาคารได้เช่นกัน ฟอร์มาลดีไฮด์ยังเป็นส่วนประกอบของควันบุหรี่ และทั้งผู้ที่สูบบุหรี่และผู้ที่สูดดมควันบุหรี่มือสองจะได้รับฟอร์มาลดีไฮด์ในระดับที่สูงขึ้น งานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่าระดับฟอร์มาลดีไฮด์ที่จับกับ DNA ในเซลล์เม็ดเลือดขาวของผู้ที่สูบบุหรี่สูงกว่ามากเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ ฟอร์มาลดีไฮด์ และสารเคมีอื่นๆ ที่ปล่อยฟอร์มาลดีไฮด์นั้นบางครั้งใช้ความเข้มข้นต่ำในเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคลอื่นๆ เช่น โลชั่น แชมพู ครีมนวด เจลอาบน้ำ และยาทาเล็บบางชนิด สิ่งเหล่านี้อาจทำให้ความเข้มข้นของฟอร์มาลดีไฮด์ในอากาศภายในห้องเพิ่มขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ…

การดูแลผู้สูงอายุ

การดูแลผู้สูงอายุ (Caring For Elderly) – ปัญหาที่พบบ่อย การป้องกัน

ไม่สำคัญว่าคุณจะอายุเท่าไร สิ่งที่สำคัญคือ การดูแลร่างกายตนเอง และป้องกันเรื่องการเจ็บป่วย แต่ถ้าหากคุณอายุ 65 ปี หรือมากกว่า โรคบางอย่างง่ายๆอย่าง เช่น โรคไข้หวัด หรือหวัดธรรมดาๆก็สามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ รวมไปถึงการติดเชื้อทุติยภูมิ เช่น ปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ หูติดเชื้อ หรือติดเชื้อไซนัส หากคุณเป็นโรคเรื้อรัง เช่น หอบหืด หรือโรคเบาหวาน อาการเจ็บป่วยทางเดินหายใจก็อาจแย่ลง เพราะเหตุนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญในการทำให้ระบบภูมิต้านทานแข็งแรง และลดอาการป่วยที่อาจเกิดขึ้น อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม โรคไซนัสอักเสบ ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุแบ่งออกเป็น 2…

ยาสำหรับกรดไหลย้อน

ยาสำหรับกรดไหลย้อน (Drug for Acid Reflux)

…ตัวอย่างของยาลดกรด ได้แก่: เจลอะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ (Alternagel, Amphojel) แคลเซียมคาร์บอเนต (Alka-Seltzer, Tums) แมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ (Milk of Magnesia) Gaviscon, Gelusil, Maalox, Mylanta, Rolaids Pepto-Bismol คุณควรรับประทานยาลดกรดตามที่แพทย์กำหนดหรือตามฉลากบนบรรจุภัณฑ์ หากคุณใช้ยาเม็ด ให้เคี้ยวให้ดีก่อนกลืนเพื่อบรรเทาอาการได้เร็วขึ้น อย่าลืมปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลาก เพื่อไม่ให้ใช้ยาเกินขนาด หรือใช้ยาลดกรดมากเกินไป ผลข้างเคียง ได้แก่ ท้องผูก ท้องร่วง การเคลื่อนไหวของลำไส้เปลี่ยนแปลง ปวดท้อง…

คำแนะนำสำหรับการใช้หน้ากากอนามัย

คำแนะนำสำหรับการใช้หน้ากากอนามัย (Guidance for Wearing Masks)

…การใช้หน้ากากอนามัยและคาร์บอนไดซ์ออกไซด์ การสวมใส่หน้ากากจะไม่เพิ่มระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศที่เราหายใจ หน้ากากผ้าไม่ได้ผลิตมาให้ลมเข้าออกไม่ได้ CO2 จึงสามารถผ่านทะลุผ่านหน้ากากผ้าได้เมื่อคุณหายใจออกหรือพูดคุย โมเลกุลของ CO2 มีขนาดเล็กมากพอจึสามารถผ่านทะลุผ้าออกมาได้ง่าย ในขณะที่ละอองฝอยที่เป็นตัวนำเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโควิด 19มีขนาดใหญ่กว่า CO2 ดังนั้นพวกเชื้อจึงไม่สามารถผ่านทะลุหน้ากากผ้าชนิดที่มีการออกแบบมาอย่างเหมาะสมและมีการสวมใส่ที่ถูกต้อง อากาศหนาว ในอากาศหนาวหน้ากากอาจเปียกเพราะการหายใจ, หิมะหรือความชื้นอื่นๆ ควรเปลี่ยนหน้ากากเมื่อเปียก หน้ากากเปียกจะทำให้การหายใจลำบาก และยังทำให้การป้องกันละอองฟอยจากผู้อื่นมีประสิทธิภาพลดน้อยลงและยอมให้ละอองฝอยเล็ดรอดออกมารอบหน้ากากได้ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการเปลี่ยนหน้ากากอนามัยในระหว่างช่วงอากาศหนาว หากคุณใช้หน้ากากแบสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้และมันเริ่มเปียก ให้นำหน้ากากใส่ถุงเก็บปิดให้สนิทจนกว่าเอาไปซัก ผ้าพันคอและอุปกรณ์สวมศีรษะทั้งหลายเช่น หน้ากากสกีและหมวกไหมพรมคลุมหน้าที่ใช้เพื่อเพิ่มความอบอุ่นมักทำมาจากผ้าถักแบบหลวมๆซึ่งไม่เหมาะสำหรับมาใช้แทนหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการติดเชื้อโควิด19 หากสวมแว่นกันตา ควรหาหน้ากากอนามัยที่มีความพอดีแนบสนิทกับจมูกของคุณหรือมีเส้นลวดบริเวณจมูกจะช่วยลดการเกิดไอที่แว่น ควรเลือกใช้สเปรย์ลดฝ้าที่ทำมาเผื่อแว่นสายตา นี่คือแหล่งที่มาในบทความนี้ https://www.sfcdcp.org/communicable-disease/healthy-habits/how-to-put-on-and-remove-a-face-mask/ https://uihc.org/health-topics/how-properly-put-and-take-face-mask https://www.health.govt.nz/our-work/diseases-and-conditions/covid-19-novel-coronavirus/covid-19-health-advice-public/covid-19-use-masks-and-face-coverings-community/covid-19-how-use-face-mask-safely…

นอนน้อยส่งผลเสียต่อสุขภาพ

นอนน้อยส่งผลเสียต่อสุขภาพ (Lack of Sleep is Bad for You)

…สิ่งนี้สามารถส่งผลให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นได้ ความไม่สมดุลของฮอร์โมน:การนอนหลับไม่เพียงพออาจรบกวนสมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย ส่งผลต่อฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับความเครียด (คอร์ติซอล) การเจริญเติบโตและการซ่อมแซม (ฮอร์โมนการเจริญเติบโต) และความอยากอาหาร (เกรลินและเลปติน) ความเครียดเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด:การอดนอนอาจทำให้ความดันโลหิตสูงและเพิ่มความเครียดต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง Microsleeps:ในกรณีที่ร้ายแรงของการอดนอน บุคคลอาจประสบกับ “Microsleeps” ซึ่งเป็นช่วงการนอนหลับสั้นๆ โดยไม่สมัครใจซึ่งอาจกินเวลาไม่กี่วินาที ในระหว่างตอนเหล่านี้ บุคคลจะนอนหลับได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่าจะดูเหมือนตื่นอยู่ก็ตาม ประสิทธิภาพการทำงานลดลง:การอดนอนสามารถลดประสิทธิภาพการทำงานลงอย่างมาก ทั้งในที่ทำงานและในชีวิตประจำวัน เนื่องจากจะบั่นทอนความสามารถในการมีสมาธิและทำงานให้เสร็จสิ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความไวต่อความเจ็บปวดเพิ่มขึ้น:การอดนอนสามารถลดเกณฑ์ความเจ็บปวด ทำให้บุคคลมีความไวต่อความรู้สึกไม่สบายและความเจ็บปวดทางร่างกายมากขึ้น ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของอุบัติเหตุ:อาการง่วงนอนและการตอบสนองที่บกพร่องเนื่องจากการอดนอนอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ รวมถึงอุบัติเหตุในที่ทำงานและอุบัติเหตุทางรถยนต์ อายุขัยสั้นลง:การอดนอนเรื้อรังสัมพันธ์กับอายุขัยที่สั้นลงในการศึกษาจำนวนมาก นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา https://www.healthline.com/health/sleep-deprivation/effects-on-body https://health.clevelandclinic.org/happens-body-dont-get-enough-sleep/ https://www.webmd.com/sleep-disorders/features/10-results-sleep-loss…