อาหารออแกนิค  คืออะไร

อาหารออแกนิค หรือ Organic คือ อาหารที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา คำว่า ออแกนิค คือ กระบวนการผลิตอาหารไม่ว่าจะเป็นกรรมวิธี หรือทำฟาร์มโดยไม่ต้องใช้สารเคมี ฮอร์โมนยาปฏิชีวนะ หรือสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (GMO) ผลิตภัณฑ์ออแกนิคต้องปราศจากวัตถุเจือปนอาหารที่จำเป็น ซึ่งรวมถึงสารให้ความหวานเทียม สารกันบูด สีแต่งกลิ่น และผงชูรส (MSG) พืชผักออแกนิกจะใช้ปุ๋ยออแกนิค (ธรรมชาติ) เช่น ปุ๋ยคอก เพื่อปรับปรุงการเจริญเติบโตของพืช สัตว์ที่เลี้ยงแบบออแกนิกจะไม่ได้รับยาปฏิชีวนะ หรือฮอร์โมนใดๆ การทำเกษตรอินทรีย์นั้นจะเน้นการปรับปรุงคุณภาพดิน และการอนุรักษ์น้ำใต้ดินไปด้วย นอกจากนี้ยังลดมลพิษ และดีต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย อาหารออแกนิกที่ซื้อกันมากที่สุด ได้แก่ ผัก ผลไม้ ผลิตภัณฑ์จากนม และเนื้อสัตว์ ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ออแกนิกแปรรูปมากมาย เช่น โซดา คุกกี้ และซีเรียล

อาหารออแกนิคมีคุณค่ากว่าอาหารทั่วไป

มีการศึกษาเปรียบเทียบปริมาณสารอาหารของอาหารออแกนิค (อินทรีย์)  และอาหารปลอดสารพิษพบว่า ส่วนใหญ่ใช้กระบวนการผลิตโดยธรรมชาติวิทยา อย่างไรก็ตามมีหลักฐานว่า พืชผักที่ปลูกแบบออแกนิกอาจมีคุณค่าทางโภชนาการมากกว่า

พืชผักออแกนิคมีวิตามิน และแร่ธาตุที่มากกว่า

มีงานวิจัยจำนวนมากพบว่า พืชผักออแกนิคทั่วไปมีสารต้านอนุมูลอิสระ และธาตุอาหารรองบางชนิดที่สำคัญ เช่น วิตามินซี สังกะสี และธาตุเหล็ก ที่สูงกว่าพืชผักทั่วไป โดยระดับสารต้านอนุมูลอิสระสามารถสูงขึ้นได้ถึง 69% ในอาหารออแกนิค การศึกษาหนึ่งพบว่า ผลเบอร์รี่ และข้าวโพดที่ปลูกแบบออรแกนิกมีสารต้านอนุมูลอิสระมากกว่า 58% และวิตามินซีในปริมาณที่สูงขึ้นถึง 52% และมีงานวิจัยที่พบว่า การปรุงอาหารด้วยพืชผักออแกนิคให้สารต้านอนุมูลอิสระเพิ่มเติมในอาหารที่มากขึ้น เทียบได้กับการรับประทานผักและผลไม้เพิ่มอีก 1-2 เท่าต่อวัน พืชออแกนิคเป็นพืชที่ไม่ใช้ยาฆ่าแมลงที่เป็นสารเคมี เพื่อป้องกันศัตรูพืช นั้นจะผลิตสารประกอบป้องกันของตัวเองมากขึ้นนั่นคือ สารต้านอนุมูลอิสระ

มีระดับไนเตรทสะสมต่ำกว่าปกติ

พืชที่ปลูกแบบออแกนิค หรือ Organic พบว่า มีสารไนเตรทในระดับต่ำกว่า 30% ของพืชที่ปลูกทั่วไป ระดับไนเตรทมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง นอกจากนี้ยังสัมพันธ์กับ Methemoglobinemia ซึ่งเป็นโรคในทารกที่ส่งผลต่อความสามารถการลำเลียงออกซิเจนในร่างกาย แต่ก็ยังมีหลายคนเชื่อว่าไนเตรทไม่ได้กระทบกับสุขภาพขนาดนั้น

ผลิตภัณฑ์นมออแกนิค และเนื้อสัตว์ออแกนิคมีกรดไขมันที่ดีกว่า

นม และผลิตภัณฑ์จากนมออแกนิคมีกรดไขมัน โอเมก้า 3  และมีธาตุเหล็ก วิตามิน E และแคโรทีนอยด์ในปริมาณที่สูงกว่าพืชผักทั่วไป อย่างไรก็ตามนมออแกนิคมีซีลีเนียม และไอโอดีนน้อยกว่านมที่ไม่ใช่ออแกนิค โดยสารทั้ง 2 ชนิดนั้นจำเป็นต่อสุขภาพ มีงานวิจัยจำนวน 67 เล่ม พบว่า เนื้อสัตว์ออแกนิคมีกรดไขมัน โอเมก้า 3 ในระดับสูงกว่า และมีไขมันอิ่มตัวต่ำกว่าเนื้อสัตว์ทั่วไปเล็กน้อย การได้รับกรดไขมัน โอเมก้า 3 ในปริมาณที่สูงขึ้น ทำให้ร่างกายแข็งแรงมากขึ้น และลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจOrganic Food

มีสารเคมีตกค้างน้อยกว่า และมีความต้านทานแบคทีเรีย

หลายคนเลือกซื้ออาหารออแกนิค เพื่อหลีกเลี่ยงสารเคมีที่ปนเปื้อน มีงานวิจัยที่พบว่า การรับประทานอาหารออแกนิคช่วยลดการได้รับสารเคมี และแบคทีเรียที่ดื้อยาปฏิชีวนะ และมีการศึกษาที่พบว่า ระดับของแคดเมียมซึ่งเป็นโลหะที่มีพิษร้ายแรงจะลดลง 48% ในพืชผักออแกนิค และสารเคมีน้อยลงกว่าพืชผักทั่วไปถึง 4 เท่า มีผู้เชี่ยวชาญบางท่านกังวลเกี่ยวกับแคดเมียมที่สามารถสะสมในร่างกาย เมื่อเวลาผ่านไป โดยท้ายที่สุดจะสร้างอันตรายให้กับร่างกาย การล้าง และถู รวมทั้งปอกเปลือกก่อนปรุงอาหารสามารถลดสารเคมีเหล่านี้ได้ แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมด สรุปคือ ผักออแกนิคนั้นมีสารตกค้างน้อย เนื่องจากไม่มีการใช้สารเคมีระหว่างกระบวนการปลูก และเนื้อสัตว์ หรือนมออแกนิคนั้นไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะ ทำให้เราลดความเสี่ยงที่จะเจอกับเหล่าแบคทีเรียที่ดื้อยาได้

อาหารออแกนิคดีต่อสุขภาพจริงหรือเปล่า 

มีงานวิจัยจำนวนมากที่บอกว่า อาหารออแกนิคนั้นดีต่อสุขภาพ ตัวอย่างเช่นการศึกษาในห้องปฏิบัติการจำนวนมากพบว่า ปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระที่สูงขึ้นช่วยปกป้องเซลล์ร่างกายจากการถูกทำลาย และจากการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่ามีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโต การสืบพันธุ์ และภูมิคุ้มกันร่างกาย มีงานวิจัยพบว่า ไก่ที่บริโภคอาหารออแกนิคมีน้ำหนักตัวลดลง และมีระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง มีการศึกษาจากการเฝ้าสังเกตพบว่า อาหารออแกนิคช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อนกวางในเด็กๆ มีการศึกษาอื่นๆ พบว่า ระดับสารต้านอนุมูลอิสระในผู้ชายที่รับประทานอาหารออแกนิคในปริมาณสูงกว่าคนทั่วไป ในผู้ที่รับประทานอาหารออแกนิคจะมีสารต้านอนุมูลอิสระในปัสสาวะสูงกว่าคนทั่วไปเล็กน้อย แต่การศึกษานี้ก็ยังไม่มีหลักฐานที่เพียงพอ ทำให้ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนเพียงพอที่จะยืนยันได้ว่า อาหารออแกนิคมีประโยชน์ต่อสุขภาพของเรามากกว่าอาหารทั่วไป ดังนั้นจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติม

เคล็ดลับการเลือกซื้อสินค้าออแกนิค

ควรมองหาตราประทับรับรองที่น่าเชื่อถือ จะทำให้ทุกคนมั่นใจได้ว่าได้รับสินค้าออแกนิคที่มีคุณภาพ โดยสำหรับประเทศไทยให้มองหาสัญลักษณ์ ตรามาตรฐานระบบเกษตรอินทรีย์ มกท (Organic Agriculture Certification Thailand – ACT) และตรามาตรฐานระบบเกษตรอินทรีย์?สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ – มกอช. (National Bureau of Agricultural Commodity and Food Standards – ACFS) นอกจากตราสัญลักษณ์แล้ว คุณยังสามารถอ่านฉลาก เพื่อให้แน่ใจว่าเป็นสินค้าออแกนิค
  • ออแกนิค 100%: ผลิตภัณฑ์นี้ทำจากส่วนผสมออแกนิคทั้งหมด
  • ออร์แกนิค: อย่างน้อย 95% ของส่วนผสมในผลิตภัณฑ์นี้เป็นออแกนิค
  • ทำด้วยออร์แกนิค: มีส่วนผสมในผลิตภัณฑ์อย่างน้อย 70% เป็นออแกนิค
หากผลิตภัณฑ์ที่เป็นออแกนิคน้อยกว่า 70% จะไม่สามารถระบุว่า ออแกนิค หรือใช้ตรารับรองออแกนิคได้  โดยนี่เป็นมาตรฐานที่เป็นสากล

ข้อควรรู้เกี่ยวกับอาหารออร์แกนิค

อาหารออร์แกนิกหมายถึงอาหารที่ผลิตโดยใช้แนวทางปฏิบัติที่ส่งเสริมความสมดุลของระบบนิเวศและอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ต่อไปนี้เป็นข้อเท็จจริงสำคัญบางประการเกี่ยวกับอาหารออร์แกนิก:
  • มาตรฐานการผลิต:อาหารออร์แกนิกได้รับการเพาะปลูกและผลิตโดยไม่ใช้ยาฆ่าแมลงสังเคราะห์ ปุ๋ยเคมี สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (GMOs) การฉายรังสี หรือตะกอนน้ำเสีย วิธีการทำเกษตรอินทรีย์ ได้แก่ การปลูกพืชหมุนเวียน การทำปุ๋ยหมัก และการใช้ปุ๋ยธรรมชาติ
  • สวัสดิภาพสัตว์:ปศุสัตว์อินทรีย์ที่เลี้ยงเพื่อเนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์นม และไข่ได้รับอนุญาตให้ออกไปข้างนอกได้ และได้รับอาหารออร์แกนิกโดยไม่มีฮอร์โมนการเจริญเติบโตสังเคราะห์หรือยาปฏิชีวนะ สวัสดิภาพสัตว์ถือเป็นข้อพิจารณาที่สำคัญในการทำเกษตรอินทรีย์
  • ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม:การทำเกษตรอินทรีย์มีเป้าหมายเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยการส่งเสริมแนวทางปฏิบัติเพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน อนุรักษ์น้ำ และลดมลพิษ โดยมักมุ่งเน้นไปที่ความหลากหลายทางชีวภาพ การลดการใช้พลังงาน และปรับปรุงความสมดุลของระบบนิเวศ
  • คุณค่าทางโภชนาการ:แม้ว่าผลการวิจัยอาจแตกต่างกันไป แต่การศึกษาบางชิ้นชี้ให้เห็นว่าอาหารออร์แกนิกอาจมีสารอาหารและสารต้านอนุมูลอิสระบางอย่างในระดับที่สูงกว่าผลผลิตที่ปลูกโดยทั่วไป อย่างไรก็ตามความแตกต่างไม่ได้มีนัยสำคัญหรือสอดคล้องกันเสมอไป
  • การรับรองและกฎระเบียบ:โดยทั่วไปแล้วอาหารออร์แกนิกจะได้รับการควบคุมและรับรองโดยหน่วยงานภาครัฐหรือองค์กรอิสระที่ทำให้แน่ใจว่าเกษตรกรปฏิบัติตามมาตรฐานออร์แกนิกที่เฉพาะเจาะจง ประเทศต่างๆ มีขั้นตอนและกฎระเบียบการรับรองออร์แกนิกเป็นของตนเอง
  • ต้นทุนและการเข้าถึง:บางครั้งอาหารออร์แกนิกอาจมีราคาแพงกว่าอาหารที่ผลิตตามปกติ เนื่องจากต้นทุนแรงงานที่สูงขึ้นและผลผลิตที่ต่ำกว่าที่เกี่ยวข้องกับการทำเกษตรอินทรีย์ อย่างไรก็ตาม ส่วนต่างต้นทุนนี้อาจแตกต่างกันไปตามสถานที่และความพร้อมของผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก
  • ความต้องการของผู้บริโภค:ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีความต้องการอาหารออร์แกนิกเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับสุขภาพ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสวัสดิภาพสัตว์ สิ่งนี้นำไปสู่การขยายตัวในความพร้อมของผลิตผลออร์แกนิกในหลายตลาด
  • แนวทางปฏิบัติที่ไม่ใช่จีเอ็มโอและยั่งยืน:การทำเกษตรอินทรีย์ห้ามการใช้สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (GMOs) สนับสนุนการเกษตรแบบยั่งยืนโดยลดการพึ่งพาสารเคมีสังเคราะห์และส่งเสริมแนวทางการทำฟาร์มที่เป็นธรรมชาติมากขึ้น
  • สารกำจัดศัตรูพืชตกค้าง:การทำเกษตรอินทรีย์หลีกเลี่ยงการใช้สารกำจัดศัตรูพืชสังเคราะห์ ซึ่งอาจส่งผลให้สารกำจัดศัตรูพืชตกค้างในอาหารออร์แกนิกในระดับที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับผลผลิตที่ปลูกโดยทั่วไป
  • การเข้าถึงทั่วโลก:อาหารออร์แกนิกไม่ได้จำกัดอยู่แค่ผักและผลไม้เท่านั้น แต่ยังรวมถึงผลิตภัณฑ์หลากหลายประเภท เช่น ธัญพืช ผลิตภัณฑ์นม เนื้อสัตว์ สัตว์ปีก และอาหารแปรรูป
การผลิตอาหารออร์แกนิกมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้บริโภคมีตัวเลือกอาหารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและยั่งยืนมากขึ้น ซึ่งส่งเสริมสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม

บทสรุปส่งท้าย

อาหารออแกนิคนั้นมีสารอาหาร และสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณมากกว่าอาหารทั่วไป แม้ว่ายังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนนัก แต่เป็นเรื่องที่ทุกคนทราบกันดี การรับประทานอาหารออแกนิคเป็นการหลีกเลี่ยงการได้รับสารเคมี และแบคทีเรียที่ดื้อยา แต่ราคาผักออแกนิคก็สูงกว่าพืชผักทั่วไป ด้วยราคาที่สูงทำให้สุดท้ายอาหารออแกนิคจึงกลายเป็นอาหารทางเลือกที่ผู้ซื้อต้องพิจารณาความเหมาะสมในการเลือกซื้อ และสิ่งที่จะได้รับด้วยตนเอง
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด