ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน (Nocturia) : สาเหตุ การรักษา การป้องกัน

ผู้เขียน Dr. Wikanda Rattanaphan
0
ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน

ภาวะปัสสาวะบ่อยเวลากลางคืน คืออะไร

ปัสสาวะบ่อยเวลากลางคืน (Nocturia) คือ ภาวะที่ปัสสาวะออกมากผิดปกติในเวลากลางคืน ในเวลาที่กำลังนอนหลับร่างกายของคุณจะผลิตปัสสาวะน้อยลง แต่มีความเข้มข้นเพิ่มขึ้น ทำให้คนส่วนมากไม่จำเป็นต้องตื่นมาปัสสาวะตอนกลางคืน สามารถนอนหลับต่อเนื่องไปโดยไม่รู้สึกปวดปัสสาวะได้นาน 6 ถึง 8 ชั่วโมง

แต่หากคุณต้องตื่นนอนมากกว่า 2 ครั้งขึ้นไปต่อคืนเพื่อถ่ายปัสสาวะ แสดงว่าคุณอาจมีอาการปัสสาวะมากผิดปกติเวลากลางคืน แล้วนอกจากภาวะที่ผิดปกติจะรบกวนการนอนหลับของคุณแล้วภาวะนี้ ยังเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงภาวะความผิดปกติทางร่างกายของคุณได้อีกด้วย

สาเหตุของการปัสสาวะบ่อยในเวลากลางคืน

สาเหตุของภาวะปัสสาวะมากผิดปกติเวลากลางคืนเกิดจากกิจวัตรประจำวันในการใช้ชีวิต ภาวะของโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ปัสสาวะมากผิดปกติเวลากลางคืนพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกวัย และมีปัจจัยอื่น ๆ ดังต่อไปนี้

อาการป่วยหรือโรคประจำตัวบางโรค

ภาวะของโรคมากมายที่อาจส่งผลให้เกิดอาการปัสสาวะมากผิดปกติเวลากลางคืนได้ โดยทั่วไปพบว่าการเกิดภาวะปัสสาวะมากผิดปกติเวลากลางคืน นั้นสัมพันธ์กับโรคการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ (UTI) รวมถึงการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ ภาวะการติดเชื้อดังกล่าวจะทำให้เกิดอาการปวดแสบปวดร้อนบ่อย ๆ จำเป็นต้องปัสสาวะอย่างเร่งด่วนเกือบตลอดทั้งวันทั้งคืน และจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาโรค

ภาวะของโรคอื่น ๆ ที่อาจเกี่ยวข้องกับภาวะปัสสาวะมากผิดปกติเวลากลางคืน ได้แก่

  • ภาวะติดเชื้อต่อมลูกหมาก หรือต่อมลูกหมากโต

  • ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน

  • ภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินไป (OAB)

  • ภาวะโตผิดปกติในกระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมาก หรือบริเวณอุ้งเชิงกราน

  • โรคเบาหวาน

  • อาการวิตกกังวล

  • ภาวะไตติดเชื้อ

  • ช่วงขาล่างบวมน้ำ หรือโตผิดปกติ

  • ภาวะหยุดหายใจในขณะหลับ

  • อาการผิดปกติในระบบประสาทส่วนต่าง ๆ เช่น โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (MS) โรคพาร์กินสันไขประสาทกระดูกสันหลังถูกกดทับ

ปัสสาวะมากผิดปกติเวลากลางคืนยังสามารถพบได้บ่อยในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการอวัยวะส่วนต่าง ๆ ล้มเหลวไม่ว่าจะเป็นหัวใจ หรือตับ

ภาวะการตั้งครรภ์

ปัสสาวะมากผิดปกติเวลากลางคืนเป็นอาการที่พบได้ในช่วงเริ่มต้นของการตั้งครรภ์ และอาจหยุดไปเมื่ออายุครรภ์มากขึ้น แต่ก็อาจเกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อครรภ์โตจนไปกดทับกระเพาะปัสสาวะ

การใช้ชีวิตประจำวัน

อีกหนึ่งสาเหตุทั่วไปที่ทำให้เกิดภาวะปัสสาวะมากผิดปกติเวลากลางคืน คือการบริโภคเครื่องดื่มที่มากเกินไป ไม่ว่าจะเป็นน้ำเปล่า เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนนั้นมีฤทธิ์ในการขับปัสสาวะ ทำให้การดื่มที่มีส่วนประกอบต่าง ๆ เหล่านี้เป็นประจำจะส่งผลให้ร่างกายของผู้รับประทานผลิตปัสสาวะได้มากขึ้น ยิ่งบริโภคแอลกอฮอล์หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากเกินไปก็จะยิ่งส่งผลให้ปวดปัสสาวะในตอนกลางคืน และต้องลุกมาปัสสาวะบ่อย ๆ ได้

การวินิจฉัยโรค

การวินิจฉัยสาเหตุที่มาของภาวะปัสสาวะมากผิดปกติเวลากลางคืน ค่อนข้างยุ่งยาก แพทย์อาจะมีคำถามมากมายมาซักถามผู้ป่วย และตัวผู้ป่วยเองอาจต้องจดบันทึกรายละเอียดประจำวันนาน 2 – 3 วันเพื่อติดตามอาการของตนเองว่ามีปริมาณการดื่มน้ำมากน้อยอย่างไร รวมทั้งปริมาณ และความถี่ในการปัสสาวะในแต่ละวันนั้นเป็นอย่างไร เพื่อให้แพทย์นำข้อมูลดังกล่าวมาเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาอาการปัสสาวะมากผิดปกติเวลากลางคืน

Nocturia
คำถามที่แพทย์มักถามผู้ป่วย คือ :
  • ภาวะปัสสาวะมากผิดปกติเวลากลางคืน เริ่มเมื่อใด
  • ผู้ป่วยปัสสาวะกี่ครั้งต่อคืน
  • ปริมาณปัสสาวะในแต่ละครั้งน้อยลงหรือไม่
  • ผู้ป่วยเคยปัสสาวะรดบนเตียงมาก่อนหรือไม่
  • ผู้ป่วยมีปัจจัยใดที่ทำให้อาการป่วยแย่ลงหรือไม่
  • ผู้ป่วยมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วยหรือไม่
  • ผู้ป่วยกำลังรักษาโรคใดอยู่ หรือเคยเข้ารับการรักษาอาการผิดปกติใดมาบ้าง
  • ครอบครัวและญาติ ๆ ของผู้ป่วยมีใครเคยเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะ หรือโรคเบาหวานหรือไม่
  • แพทย์อาจทำการตรวจวิเคราะห์เพื่อวินิจฉัยอาการของผู้ป่วยเพิ่มเติม ดังนี้:
  • การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อตรวจหาอาการของโรคเบาหวาน
  • การตรวจองค์ประกอบต่าง ๆ ในเลือด ทั้งจำนวนเม็ดเลือด และระดับสารเคมีต่าง ๆ ในเลือด
  • การตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะ
  • การเพาะเลี้ยงเชื้อต่าง ๆ ในปัสสาวะ
  • การทดสอบเมื่อผู้ป่วยอยู่ในภาวะขาดน้ำเหลว
  • การทดสอบด้วยการฉายภาพ อย่างการอัลตราซาวนด์หรือการทำ CT สแกน
  • การทดสอบระบบทางเดินปัสสาวะเช่น Cystoscopy

การรักษาอาการปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน

อาการปัสสาวะมากผิดปกติเวลากลางคืน สามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานยารักษาโรค ซึ่งผู้ป่วยจำเป็นต้องรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอทุกวันเพื่อรักษาอาการของโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ยาที่ใช้รักษาภาวะปัสสาวะมากผิดปกติเวลากลางคืน ประกอบไปด้วย:

•ยา Anticholinergic ช่วยบรรเทาอาการปัสสาวะถี่เกินไป เพราะตามปกติคนเราควรขับถ่ายไม่เกิน 1 ครั้งเท่านั้นในช่วงกลางคืน

•ยา Desmopressin ช่วยให้ผู้ป่วยผลิตปัสสาวะลดลงในตอนกลางคืน

การผ่าตัด

แพทย์จะพิจารณาใช้แนวทางการรักษานี้เมื่อพบว่าวิธีการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ นั้นไม่สามารถทำให้อาการปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืนหายขาดได้ แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัด แต่รูปแบบการผ่าตัดก็จะขึ้นกับอาการและสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยมีปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืนด้วย ซึ่งต้องพิจารณาเป็นรายบุคคล

ภาวะแทรกซ้อน

อาการปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืนจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาวะการนอนหลับของผู้ป่วย ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม การนอนหลับพักผ่อนที่ไม่เพียงพอจะก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพต่าง ๆ อาทิ

ภาวะทางอารมณ์ ผู้ป่วยจะรู้สึกเหนื่อยง่าย ควบคุมอารมณ์ไม่ค่อยไห้ รู้สึกหงุดหงิดฉุนเฉียวตลอดเวลา และอาจเกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ อย่างรู้สึกเหนื่อยง่าย กล้ามเนื้อเมื่อยล้า อ่อนเพลีย หรือง่วงซึมตลอดเวลาได้

การป้องกันอาการปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน

ปัสสาวะมากผิดปกติเวลากลางคืนอาจมีอาการแย่ลงได้หากผู้ป่วยมีภาวะของโรคเบาหวานหรือ UTI ร่วมด้วย  และอาการจะยิ่งแย่และลุกลามได้มากขึ้นหากปล่อยไว้แล้วไม่ทำการรักษา โดยทั่วไปภาวะปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืนจะทำให้มีปัสสาวะมาก และถี่ผิดปกติในเวลากลางคืนซึ่งสามารถหายขาดได้เมื่อทำการรักษาอย่างเหมาะสม

วิธีการป้องกันโรค

ขั้นตอนต่อไปนี้จะช่วยลดโอกาสการเกิดภาวะปัสสาวะมากผิดปกติเวลากลางคืนได้

การลดปริมาณน้ำดื่มก่อนเข้านอนประมาณ 2 ถึง 4 ชั่วโมง จะช่วยป้องกันไม่ให้คุณรู้สึกปวดปัสสาวะในตอนกลางคืนได้ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และคาเฟอีน รวมถึงการปัสสาวะให้เรียบร้อยก่อนเข้านอน อาหารบางชนิดอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองในกระเพาะปัสสาวะได้ ตัวอย่างเช่นช็อกโกแลต อาหารที่มีรสเผ็ด อาหารที่ในรสเปรี้ยว หรืออาหารที่มีสารให้ความหวานแทนน้ำตาลเป็นส่วนผสม การออกกำลังกายแบบ Kegel และการทำกายภาพบำบัดบริเวณอุ้งเชิงกรานสามารถเสริมสร้างกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานให้แข็งแรง และช่วยในระบบควบคุมในกระเพาะปัสสาวะได้

สิ่งสำคัญคือเราทุกคนจำเป็นต้องให้ความสนใจทันทีที่พบว่าตนเองมีอาการแย่ลง เพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ยิ่งหากผู้ป่วยสามารถที่จะจดบันทึกประจำวันเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ที่ดื่มกิน รวมทั้งเวลาที่กินเข้าไปก็จะยิ่งเป็นประโยชน์ต่ออาการของโรคมากยิ่งขึ้น

ปัจจัยเสี่ยงของภาวะปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน

ภาวะปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน เป็นภาวะที่มีลักษณะเฉพาะคือการตื่นขึ้นมาในตอนกลางคืนเพื่อปัสสาวะ อาจถือเป็นเรื่องปกติของชีวิต โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ แต่ก็สามารถบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพที่ซ่อนอยู่ได้เช่นกัน ปัจจัยเสี่ยงหลายประการมีความสัมพันธ์กับโอกาสที่จะประสบภาวะนี้เพิ่มขึ้น:
  • อายุ: ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืนจะพบได้บ่อยมากขึ้นเมื่อผู้คนมีอายุมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี
  • เพศ:ทั้งชายและหญิงมีประสบกับอาการปัสสาวะบ่อยในตอนกลางคืน แต่มีแนวโน้มว่าจะพบได้บ่อยในผู้ชายสูงอายุเนื่องจากปัญหาต่อมลูกหมาก
  • เงื่อนไขทางการแพทย์:ภาวะทางการแพทย์บางอย่างอาจทำให้เกิดภาวะกลางคืนได้ เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (UTI) ปัญหาเกี่ยวกับไต และความผิดปกติของการนอนหลับ เช่น หยุดหายใจขณะหลับ
  • การขยายต่อมลูกหมาก:การขยายตัวของต่อมลูกหมากในผู้ชายหรือที่เรียกว่า benign prostatic hyperplasia (BPH) อาจทำให้เกิดอาการทางเดินปัสสาวะรวมทั้งการปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน
  • ยา:ยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ (ยาเม็ดน้ำ) และยาที่เพิ่มการผลิตปัสสาวะ อาจทำให้ปัสสาวะตอนกลางคืนเพิ่มขึ้นได้
  • การบริโภคของเหลว:การบริโภคของเหลวจำนวนมาก โดยเฉพาะในช่วงใกล้เวลานอน สามารถเพิ่มโอกาสที่จะเกิดการปัสสาวะบ่อยเวลากล่งคืนได้
  • คาเฟอีนและแอลกอฮอล์:ทั้งคาเฟอีนและแอลกอฮอล์เป็นยาขับปัสสาวะและอาจส่งผลให้มีการผลิตปัสสาวะเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะกลางคืนได้
  • โรคอ้วน:น้ำหนักที่มากเกินไปสามารถกดดันกระเพาะปัสสาวะและทำให้เกิดการปัสสาวะบ่อยเวลากลางคืนได้
  • ปริมาณเกลือสูง:อาหารที่มีเกลือสูงสามารถนำไปสู่การกักเก็บของเหลวและเพิ่มการผลิตปัสสาวะ
  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน:ความไม่สมดุลของฮอร์โมน โดยเฉพาะในผู้หญิง อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบทางเดินปัสสาวะได้
  • การไม่ออกกำลังกาย:การขาดการออกกำลังกายอาจส่งผลต่อสุขภาพโดยรวม รวมถึงการทำงานของกระเพาะปัสสาวะด้วย
  • การกระจายตัวของของเหลว:เงื่อนไขทางการแพทย์และยาบางชนิดอาจทำให้ของเหลวในร่างกายเปลี่ยน ส่งผลให้การผลิตปัสสาวะเพิ่มขึ้นในเวลากลางคืน
  • การสูบบุหรี่:การสูบบุหรี่เกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพต่างๆ รวมถึงปัญหากระเพาะปัสสาวะและทางเดินปัสสาวะ
  • ความวิตกกังวลและความเครียด:ปัจจัยทางอารมณ์ เช่น ความวิตกกังวลและความเครียด อาจส่งผลต่อการทำงานของกระเพาะปัสสาวะและทำให้เกิดภาวะกลางคืนได้
  • ความผิดปกติทางระบบประสาท:สภาวะที่ส่งผลต่อระบบประสาท เช่น โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง อาจทำให้การทำงานของกระเพาะปัสสาวะไม่เป็นปกติได้
สิ่งสำคัญที่ควรทราบคือแม้ว่าปัจจัยเหล่านี้อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดการปัสสาวะบ่อยเวลากลางคืน ไม่ได้หมายความว่าคุณมีปัญหาสุขภาพที่ซ่อนอยู่เสมอไป หากคุณมีอาการปัสสาวะกลางคืนบ่อยครั้งหรือมีความกังวลเกี่ยวกับรูปแบบทางเดินปัสสาวะ ขอแนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเพื่อรับการประเมินและคำแนะนำที่เหมาะสม สามารถช่วยระบุสาเหตุที่ซ่อนอยู่และแนะนำการรักษาที่เหมาะสมหรือการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/14510-nocturia

  • https://www.urologyhealth.org/urology-a-z/n/nocturia

  • https://www.webmd.com/urinary-incontinence-oab/nocturia-pee-night

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด