การนอนกลางวันดีหรือไม่ดีต่อสุขภาพ
- จากการวิจัยเมื่อเร็วๆนี้พบว่าการได้นอนกลางวันสัปดาห์ละสองหรือสามครั้งต่อสัปดาห์นั้นอาจส่งผลดีต่อสุขภาพของหัวใจ
- ผู้เชี่ยวชาญกล่าวไว้ว่าการได้นอนงีบตอนกลางวันเป็นประจำทุกวันอาจเป็นสัญญานของการนอนในเวลากลางคืนที่ไม่พอเพียงหรืออาจมีปัญหาสุขภาพบางอย่าง
- หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญกล่าวไว้ว่าการงีบตอนกลางวันควรน้อยกว่า 30 นาทีหรือนานกว่า 90 นาที
ความสำคัญของการนอนกลางวัน
แพทย์ทุกคนสามารถให้คำตอบเรื่องความสำคัญของการนอนที่ดีในแต่ละคืนและทุกๆคืนให้คุณรับทราบได้อย่างรวดเร็ว ร่างกายและจิตใจของเรามีการตั้งค่าการปิดตัวเองไว้ถึงหนึ่งในสามของการดำรงอยู่ หากทำไม่ได้จะส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพหลายอย่าง ทั้งทางด้านจิตใจและร่างกาย การนอนหลับจะช่วยให้เราฟื้นตัวจากความเครียดและปล่อยให้อวัยวะที่จำเป็นต่างๆของร่างกายได้พักผ่อน สิ่งนี้เองจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมการนอนไม่พอจึงส่งผลกระทบที่เป็นอันตรายเป็นทอดๆต่อไปได้ ยกตัวอย่างเช่น คนที่มีความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ในการเกิดโรคหัวใจสามารถลดความเสี่ยงลงได้หากมีการนอนที่เหมาะสม กระนั้นการนอนมากไปหรือน้อยไปล้วนส่งผลให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจวายให้กับทุกคนได้ พูดอย่างตรงไปตรงมาแล้ว นักวิจัยเองก็ยังคงมืดมนเรื่องบทบาทของการงีบนอนกลางวันที่ส่งผลต่อสุขภาพ แต่อย่างไรก็ตาม แพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ออกมาบอกแล้วว่าการนอนในช่วงสั้นๆมีหลักเกณฑ์ขั้นพื้นฐานบางอย่างเมื่อการงีบเกิดขึ้นเมื่อดวงตาปิดในขณะที่พระอาทิตย์ยังคงไม่ตกดินการงีบนอนกลางวันและสุขภาพหัวใจ
Yue Leng และ Kristine Yaffe ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานฟรานซิสโก ได้ออกมาบอกกล่าวถึงความจริงที่ว่านักวิจัยเองก็ยังคงมีคำถามมากกว่าคำตอบเกี่ยวกับการนอนกลางวัน สิ่งที่เป็นเรื่องท้าทายที่สุดก็คือการระบุแลเวลาะบอกปริมาณเวลาที่ควรนอนในช่วงพักลักษณะนี้ “ต้องมีการวางแผนก่อนหรือไม่ จุดประสงค์ของการนอนงีบคืออะไร การนอนกลางวันควรทำเป็นบางครั้งเมื่อต้องการหรือเป็นวัฒนธรรมการนอนกลางวัน การนอนกลางวันสามารถทดแทนการนอนแย่ๆที่ไม่เพียงพอได้หรือไม่ หรือการนอนกลางวันจะสามารถบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพบางอย่างได้หรือไม่ มีคำถามว่าการ “งีบหลับ” ไป 5 นาทีว่าเป็นการนอนช่วงเวลาสั้นๆหรือไม่ คำตอบสำหรับคำถามเหล่านี้ ผลกระทบที่อาจตามมาจากการนอนช่วงสั้นๆนั้นไม่สามารถกล่าวถึงได้เต็มที่มากนัก จากการศึกษาของทางมหาวิทยาลัยโรงพยาบายโลซาน สวิสเซอร์แลนด์ กับคนจำนวน 3,462 คนที่ไม่เคยมีประวัติเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดมาก่อน พวกเขาได้ตรวจดูผู้ที่เข้าร่วมทดลองว่ามีรูปแบบการนอนกลางวันเกิดขึ้นบ่อยแค่ไหนและยาวนานแค่ไหนต่อหนึ่งสัปดาห์และตามดูภาวะหัวใจของพวกเขาที่เกิดขึ้นในภายหลัง เมื่อผ่านไป 5 ปี พบว่ามีผู้เข้าร่วมทดลองเกิดโรคเกี่ยวกับหัวใจทั้งแบบเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตและไม่ถึงขั้นเสียชีวิตจำนวน 155 ราย พบว่าคนที่นอนงีบกลางวันสัปดาห์ละหนึ่งหรือสองครั้งมีความเสี่ยงน้อยกว่าอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับคนที่ไม่เคยนอนกลางวันเลย นับรวมไปถึงคนที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับหรือคนที่ง่วงนอนมากเกินไปในระหว่างวัน ทำอย่างไรให้เจ้าตัวน้อยนอน อ่านต่อที่นี่ จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกันระหว่างการนอนกลางวันว่ายาวนานแค่ไหนกับการเกิดโรคที่เกี่ยวกับหัวใจ จากการวิจัยจากมหาวิทยาลัยโตเกียวในประเทศญี่ปุ่น— วัฒนธรรมการนอนกลางวันในที่ทำงานคือถูกมองว่าเป็นสัญญานของการทำงานหนัก- จากการศึกษาพบว่าการนอนกลางวันและสุขภาพหัวใจปรากฎให้เห็นเป็นกราฟรูปตัวเจ ซึ่งนั้นหมายความว่าความเสี่ยงจะลดลงถึงจุดหนึ่งต่อจากนั้นก็จะพุ่งขึ้นสูงในเวลาต่อมา นักวิจัยยอมรับว่าการนอนช่วงสั้นๆน้อยกว่า 30 นาที-ได้รับการกล่าวถึงว่าเป็น “การนอนงีบ” -ที่เป็นประโยชน์ในการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ แต่ก็ดูเหมือนว่าการงีบนี้อาจส่งผลตรงกันข้ามได้หากมีการนอนงีบนานไปกว่านั้น จึงไม่อาจพูดได้ว่าการนอนงีบช่วงสั้นๆคือสิ่งไม่ดีต่อหัวใจ ความต้องการในการนอนกลางวันอาจหมายความถึงบางสิ่งบางอย่างที่อาจกำลังจะเกิดขึ้น จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าภาวะที่สัมพันธ์กัน-หมายความถึงการเกิดขึ้นร่วมกัน-ไม่มีเหตุและผล ดังนั้นจึงไม่อาจสรุปได้ว่าการงีบนอนตอนกลางวันคือสิ่งที่เหมาะสมดีที่สุดสำหรับสุขภาพของหัวใจ ดังนั้นจึงทำให้มั่นใจได้ว่าคำตอบมีมากไปกว่าแค่ดีหรือไม่ดีเท่านั้น และยังต้องมีอีกหลายสิ่งเกี่ยวกับการงีบในช่วงสั้นๆที่เราควรต้องเรียนรู้ต่อไป อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับ:วัฒนธรรมการนอนกลางวันของญี่ปุ่น แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับการงีบหลับ:- จัดให้สั้น:ตั้งเป้างีบหลับประมาณ 10-20 นาทีเพื่อหลีกเลี่ยงความเฉื่อยในการนอนหลับในขณะที่ยังคงได้รับประโยชน์จากการตื่นตัวที่เพิ่มขึ้น
- เลือกเวลาที่เหมาะสม:ช่วงบ่ายหรือประมาณเที่ยง มักถือเป็นเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการงีบหลับ เนื่องจากเป็นจังหวะที่สอดคล้องกับจังหวะการทำงานของร่างกายตามธรรมชาติ
- สร้างสภาพแวดล้อมที่สะดวกสบาย:หาสถานที่ที่เงียบสงบ มืด และสะดวกสบายเพื่องีบหลับเพื่อผ่อนคลายและลดการรบกวนให้เหลือน้อยที่สุด
- สม่ำเสมอ:หากคุณงีบหลับเป็นประจำ พยายามนอนหลับในเวลาเดียวกันในแต่ละวันเพื่อควบคุมนาฬิกาภายในร่างกายของคุณ
บทสรุป
กุญแจสำคัญคือการนอนหลับในช่วงกลางคืนที่ดีและปราศจากสิ่งต่างๆเช่นสิ่งเร้า การปลุก การหายใจมีปัญหาและปัญหาอื่นๆที่ไปกันไใ่ให้คนนั้นไได้รับการพักผ่อนที่พอเพียงมากไปกว่าการได้นอนอยู่ในเตียงเฉยๆ การนอนกลางวันในช่วงสั้นๆจะดีหรือไม่ดีนั้น เรื่องของระยะเวลาหรือความบ่อยไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวข้องกัน คำถามคือมีการนอนที่ดีหรือไม่ต่างหากเล่าที่เกี่ยวข้อง การนอนช่วงสั้นๆจะช่วยหัวใจได้เพราะคนที่มีโอกาสได้งีบนอนมักมีความเครียดลดน้อยลง เรารู้กันดีว่าการนอนหลับคือสิ่งจำเป็นในการทำให้ตัวเองมีสุขภาพที่แข็งแรง การนอนจะช่วยเรื่องความดันโลหิตและอัตราการเต้นหัวใจที่จะลดต่ำลงกว่าในขณะตื่น ดังนั้นเวลานอนที่เหมาะสมจึงมีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูหัวใจ ตราบใดที่ไม่มีปัญหาเรื่องโรคนอนไม่หลับ การได้นอนกลางวันช่วงสั้นๆก็ไม่ใช่เรื่องผิดแต่อย่างใด การนอนกลางวันควรนอนระหว่าง 20 ถึง 30 นาที หรือขยายช่วงการนอนไปถึง 90 นาที หากมีการนอนหลับที่มีคุณภาพเพียงพอตลอดทั้งคืน ก็ไม่ควรที่จะต้องนอนในช่วงกลางวันแล้ว สิ่งที่สำคัญคือการเชื่อฟังเสียงของร่างกาย การฝืนตัวเองจากความเหนื่อยล้าสามารถส่งผลกระทบร้ายแรงต่อการทำงานของร่างกายมากมาย รวมไปถึงสุขภาพหลอดเลือดและหัวใจ หากรู้สึกเหนื่อยและพอมีเวลา การนอนงีบสักครู่ก็ไม่ถือว่าเป็นสิ่งเลวร้าายสำหรับคุณ แต่กระนั้นก็ไม่ควรเพิกดฉยว่าทำไมคุณถึงรู้สึกเหนื่อยล้าด้วยเช่นกัน ทำอย่างไรเมื่อเป็นโรคนอนไม่หลับ อ่านต่อที่นีหัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น