ทำยังไงให้เจ้าตัวน้อยนอน (How to Put a Baby Sleep)

ลูกน้อยของคุณตื่นขึ้นมาร้องไห้บ่อยหรือเปล่า ลองฟังคำแนะนำดี ๆ เหล่านี้กันดู เผื่อคุณพ่อคุณแม่จะได้เอาเคล็ดลับดี ๆ ไปลองใช้เป็นวิธีกล่อมลูกนอน เพื่อที่จะช่วยให้เจ้าตัวน้อยหลับสบายขึ้น หากลูกน้อยนอนพลิกไปพลิกมาทั้งคืน การปรับรูปแบบและเวลาในการนอนของเจ้าตัวน้อยจะช่วยแก้ปัญหาตรงนี้ได้ อิงกริด พรือเฮอร์ ที่ปรึกษาด้านการนอนหลับสำหรับเด็กในแฟร์ฟิลด์ รัฐคอนเนตทิคัต และผู้จัดรายการวิดีโอซีรี่ส์ “Baby Sleep 911” กล่าวว่า “ในโลกนี้ไม่มีคนที่มีพฤติกรรมการนอนที่แย่ แต่มีแค่คนที่มีพฤติกรรมการนอนหลับที่ไม่ดีเท่านั้น และพฤติกรรมการนอนหลับไม่ดีก็แก้ได้” หากทำให้เจ้าตัวน้อยนอหลับได้ดีขึ้น คุณพ่อคุณแม่เองก็จะได้มีเวลาหลับได้สบาย ๆ ด้วย

1. ทำให้เป็นกิจลักษณะ

คุณหมอเดโบราห์ กีวาน ผู้อำนวยการศูนย์โรคการนอนหลับ จากโรงพยาบาลเด็กริดเรย์ ในอินเดียแนโพลิส กล่าวว่า ทารกเรียนรู้ว่าเมื่อไรจึงจะถึงเวลานอนนั้นมาจากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ก่อนนอนประมาณ 30 นาที ให้ลดเสียงต่าง ๆ ลงและหรี่ไฟให้มืดลง แสงที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญเพราะช่วยตั้งนาฬิกาในตัวของทารกได้ สมองของเราเชื่อมโยงความสว่างและความมืดเข้ากับการตื่นและหลับ การเปิดไฟให้แสงอ่อนลงและให้เจ้าตัวน้อยได้สัมผัสแสงจ้ายามเช้าจะช่วยให้ระบบการหลับและตื่นนอนของเจ้าตัวน้อยทำงานเป็นปกติ

ลูกน้อยนอนหลับตลอดคืนเมื่อไร

เมื่อลดสิ่งเร้าลง คุณพ่อคุณแม่สามารถทำกิจกรรมอื่น ๆ ให้เจ้าตัวน้อยรู้สึกสบายขึ้นได้ เช่น อาบน้ำอุ่นให้เจ้าตัวน้อย ร้องเพลงกล่อมเจ้าตัวน้อยหรือเล่านิทานก่อนนอนเบา ๆ คุณหมอจีวานแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ทำกิจกรรมเหล่านี้ประมาณ 6 ถึง 8 สัปดาห์ติดต่อกันเป็นอย่างน้อย และทำม่ำเสมอ คือทำกิจกรรมนี้ตามลำดับและทำทุกคืน ก็จะทำให้ลูกน้อยได้เรียนรู้ว่าจะต้องทำอะไรบ้าง

2. อย่าพึ่งวิธีผ่อนคลายต่าง ๆ เพื่อให้ลูกน้อยหลับ

หากเอาลูกน้อยไว้ในเปลตอนหลับอยู่ แล้วตื่นขึ้นมาในตอนกลางคืนช่วงที่เราหลับอยู่ จะทำให้เจ้าตัวน้อยจำสภาพแวดล้อมของตัวเองไม่ได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จะต้องช่วยให้เจ้าตัวน้อยนอนหลับต่อให้ได้ คุณหมอจีวานกล่าว คุณพ่อคุณแม่ควรให้เจ้าตัวน้อยนอนหลับด้วยตัวเองและเป็นเวลา ซึ่งจะช่วยให้ทารกเรียนรู้การหลับเอง คุณแม่ท่านหนึ่งในเซนเตอร์พอร์ต รัฐนิวยอร์กชื่อ เอเดรียน ปอร์ซิโอ กล่าวว่า ปกติเธอจะพาลูกขับรถไปรอบ ๆ บริเวณใกล้ ๆ บ้านตอนหัวค่ำเพื่อให้ลูกหลับลง และถึงแม้ลูกสาวตัวน้อยของเธอจะอายุเข้า 5 ขวบ เธอก็ยังใช้วิธีนี้เพื่อให้ลูกหลับเสมอ เฮเธอร์ เทอร์เจียน ที่ปรึกษาด้านการนอนหลับในลอสแองเจลิสและผู้เขียนร่วมหนังสื่อชื่อ The Happy Sleeper กล่าวว่า ปัญหาที่เราได้รับการติดต่อจากผู้ปกครองมากที่สุดคือคุณพ่อคุณแม่ใช้วิธีต่าง ๆ ช่วยให้ลูก ๆ หลับ แต่พอทำไปนาน ๆ เด็ก ๆ จะชินจนเทคนิคต่าง ๆ ที่คุณพ่อคุณแม่ใช้ไม่ได้ผล ทารกแรกเกิดมักชอบการโยกตัวไปมา ซึ่งจะช่วยให้นอนหลับได้อย่างผ่อนคลาย แต่ทารกจะพัฒนาได้เร็ว และเรียนรู้ว่า ต่อไปจะไม่ต้องการกิจกรรมพวกนี้ก่อนนะ จึงจะนอนได้

เคล็ดลับจากคุณพ่อคุณแม่: วิธีการฝึกให้ลูกน้อยนอนหลับและเคล็ดลับจากคุณพ่อคุณแม่

เฮเธอร์ กล่าวว่า ทารกก่อนอายุ 5 เดือนส่วนใหญ่จะหลับเองได้และหากคุณพ่อคุณแม่ยังต้องมานั่งกล่อมให้ลูกหลับ คุณพ่อคุณแม่ก็จะต้องทำแบบนั้นไปเรื่อยและเด็กจะหลับเองไม่เป็น คุณพ่อคุณแม่อาจเริ่มฝึกให้ลูกน้อยตื่นเองอย่างน้อยในช่วงเดือนแรก ๆ วันละครั้ง โดยปกติแล้ว การฝึกให้ลูกน้อยหลับด้วยวิธีที่กล่าวมาแล้วครั้งแรก ๆ จะประสบผลสำเร็จมาก ๆ คุณพ่อคุณแม่ยังนอนกอดเจ้าตัวน้อยได้ตามปกติและให้ค่อย ๆ งดลูบหลัง งดกล่อมและงดไกวเปลเจ้าตัวน้อยให้ชิน และอาจจะเปิดเพลงกล่อมทารกนอน

3. อย่าให้อาหารหรือให้นมเจ้าตัวน้อยจนหลับ

เฮเธอร์กล่าวว่า ทารกแรกเกิดอยากหลับตลอดเวลาขณะให้นม ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ไม่ควรเครียดกับเรื่องแบบนี้ แต่หากเจ้าตัวน้อยผลอยหลับระหว่างกินนมบ่อย ๆ เจ้าตัวน้อยก็จะคิดว่าจะต้องกินนมก่อนจึงจะหลับลงได้ ในการแก้ปัญหานี้ คุณพ่อคุณแม่ควรเริ่มทำแต่เนิ่น ๆ จนกว่าเจ้าตัวน้อยจะปรับตัวได้ดีขึ้น จากนั้นให้ใช้วิธีกล่อมเด็กด้วยการอ่านหนังสือและฟังเพลง และให้อยู่ในบรรยากาศน่านอน ในช่วงแรก ๆ คุณพ่อคุณแม่อาจจะยังต้องลุกขึ้นมาป้อนนมลูกตอนกลางคืนบ้าง แต่ถ้าทำบ่อย ก็จะทำให้เด็กมีพฤติกรรมที่หิวบ่อยจึงจะทำให้หลับ และการกล่อมให้หลับก็จะไม่ได้ผล

4. หัดให้ลูกเข้านอนเร็วขึ้น

เมื่อพูดถึงการเอาลูกเข้านอน การกำหนดเวลาเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยทำให้เจ้าตัวน้อยเห็นเป็นกิจวัตรประจำวัน เฮเธอร์กล่าวว่า เด็กทาราอายุราว 8 สัปดาห์จะมีเมลาโทนินเพิ่มขึ้นซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้รู้สึกง่วง ซึ่งร่างกายจะหลั่งออกมาเมื่อถึงเวลานอน ซึ่งหมายความว่า ทารกน้อยพร้อมที่จะเข้านอนและตื่นเองตามเวลาพระอาทิตย์ขึ้นและตกได้ หากคุณพ่อคุณแม่ปล่อยให้เจ้าตัวน้อยนอนดึก เจ้าตัวน้อยก็จะนอนยากในบางช่วงเวลามากขึ้น ระดับของเมลาโทนินจะสูงขึ้นในช่วงเวลาพระอาทิตย์ตก แต่เนื่องจากเวลาพระอาทิตย์ตกอาจเป็นได้ตลอดเวลาตั้งแต่ 4:30 น. ในฤดูหนาวถึง 8:30 น. ในฤดูร้อน ให้พยายามดูนาฬิกาและพยายามให้ลูกน้อยนอนหลับช่วง 18.30 โมงหรือ 1 ทุ่ม จึงจะช่วยปรับวิถีการนอนของเจ้าตัวน้อยให้ประสบผลสำเร็จ หากดวงอาทิตย์ยังขึ้นอยู่ ให้ปิดผ้าม่าน หน้าต่างด้วย<a href=How to Put a Baby Sleep” width=”600″ height=”314″ /> เฮเธอร์ยังกล่าวอีกว่า สัญญาณที่ดีที่บอกว่าเจ้าตัวน้อยเตรียมจะหลับแล้วก็ตอนที่เจ้าตัวน้อยเริ่มสงบลง เคลื่อนไหวน้อยลง หน้าตาดูไม่ตื่นเต้นกับอะไรแล้ว หรือดวงตาซะลึมซะลือ คุณพ่อคุณแม่ก็อย่าได้เข้าใจผิดว่าเจ้าตัวน้อยมีความผิดปกติอะไร คุณพ่อคุณอาจทราบว่าเจ้าตัวน้อยอยากจะนอนเพราะได้เวลานอน เฮเธอร์ยังกล่าวอีกว่า นาฬิกาในร่างกายของเจ้าตัวน้อยจะบอกเจ้าตัวน้อยว่าเมื่อไรที่ต้องตื่นนอน และเมื่อไรที่ได้เวลานอนแล้ว แล้วกิจกรรมเหล่านี้ก็จะกลายเป็นกิจวัตรไป

5. อย่าให้กินนมเล่น ๆ

อิงกริดกล่าวว่า การนอนหลับและโภชนาการเป็นสิ่งที่ต้องทำควบคู่กันไป ในช่วง 8 สัปดาห์แรก ควรให้ทารกกินนมตามความต้องการทุก ๆ 2 ถึง 2.5 ชั่วโมง หากเจ้าตัวน้อยอยากกินนมทุก ๆ ชั่วโมงหรือมากกว่านั้น แปลว่าเจ้าตัวน้อยยังกินนมไม่เพียงพอในแต่ละช่วงวัน ให้เก็บบันทึกตลอด 24 ชั่วโมงว่าทารกที่กินนมขวดต้องใช้เวลากินกี่ออนซ์และกี่โมง สำหรับทารกที่กินนมแม่ให้เขียนจำนวนนาทีที่ให้นมลูกในแต่ละครั้ง หากทารกกินนมเป็นเวลา 20 นาทีช่วงป้อนนมตอนกลางคืน แต่ช่วงกลางวันกินนมแค่ห้าหรือสิบนาทีเท่านั้น แสดงว่าทารกกำลังเล่นนมเท่านั้น และพอตกดึกมา ก็ไม่อิ่มท้องพอที่จะทำให้หลับได้ตลอดทั้งคืน ในทางกลับกัน หากทารกรับประทานอาหารได้ดีในระหว่างวัน ทารกก็จะนอนหลับได้นาน 4-6 ชั่วโมงในตอนกลางคืนในอีกถึง 2.5 ถึง 3 เดือน เพื่อช่วยให้ลูกน้อยกินอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ควรเว้นระยะห่างระหว่างมื้ออาหาร เพื่อหันเหความสนใจของลูกน้อยโดยการเอาจุกนมหลอกล่อหรือชวนลูกเล่นด้วยวิธีต่าง ๆ เพื่อให้ลูกน้อยหิวทุกครั้งเมื่อถึงเวลาให้นม นอกจากนี้ อย่าละเลยเวลาที่เจ้าตัวน้อยมีอาการเรอ เพราะบางครั้ง เราอาจเข้าใจผิดว่า การที่เด็กผละออกจากเต้านมหรือขวดนมเพราะคิดว่าลูกน้อยอิ่มแล้ว ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว ทารกอาจต้องการแค่เรอก็ได้ นอกจากนี้ แสงจ้าหรือเสียงรบกวนอาจทำให้ดึงสมาธิเจ้าตัวน้อยได้ ลองให้นมทารกในห้องที่มืดและเงียบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากทารกที่มักเสียสมาธิกับสิ่งเร้ารอบข้างมาเกินไป

6. เอาเจ้าตัวน้อยนอนให้จริงจัง

ทารกที่พักผ่อนได้เพียงพอจะนอนหลับได้ดีกว่าเด็กที่เหนื่อยมากเกินไปจนง่วงนอน คุณพ่อคุณแม่บางคนใช้สัญชาติญาณตัวเอง และคิดว่า การที่ไม่ยอมให้ลูกน้อยได้งีบหลับช่วงระหว่างวันบ้าง หรือทำให้ตื่นสาย โดยหวังว่า เจ้าตัวน้อยจะนอนหลับได้นานขึ้นในตอนกลางคืน ในความเป็นจริงแล้ว วิธีเหล่านี้ไม่ได้ผล เฮเธอร์กล่าวว่า เมื่อเด็กทารกรู้สึกเหนื่อยเกินไป ฮอร์โมนความเครียดจะเพิ่มสูงขึ้น เมื่อทารกหลับก็อาจจะหลับไม่ได้นาน เพราะฮอร์โมนความเครียดจะปลุกทารกตื่นในขณะที่ยังหลับไม่ลึกมาก นี่เป็นเหตุผลที่ทำไมการงบหลับระหว่างวันเป็นประจำจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยให้ทารกนอนหลับได้ เฮเธอร์ยังบอกอีกว่า ในช่วงที่ทารกอายุได้ 2 เดือน ช่วงเวลาแรกตื่น ทารกจะตื่นอยู่ได้ประมาณ 90 นาที ซึ่งถือว่าระยะเวลาสั้นมาก เด็กทารกจะยังไม่มีความอดทนที่จะตื่นนานกว่านั้นจนกว่าจะถึงวัย 4 ถึง 5 เดือน หมั่นเช็คเวลาและคอยสังเกตุเวลาที่เจ้าตัวน้อยส่งสัญญาว่าอยากจะนอน ซึ่งสายตาที่ซะลึมซะลือจะบอกได้ว่า เจ้าตัวน้อยอยากจะนอนแล้ว

7. กำหนดแนวทางในการนอน

การปล่อยให้เจ้าตัวน้อยงีบหลับบนเบาะรถหรือบนหน้าอกคุณก็น่าทำ แต่ควรปล่อยให้เจ้าตัวน้อยงีบหลับอย่างน้อยวันละ 1 ครั้งในเปลเองบ้าง การนอนในเปลจะช่วยให้เจ้าตัวน้อยได้หลับพักผ่อนอย่างมีคุณภาพ อิงกริดกล่าวว่า การงีบหลับแรกระหว่างวันเป็นการฟื้นฟูจิตใจของทารกและจะเป็นตัวกำหนดว่า ทั้งวันสภาพจิตใจของทารกน้อยจะเป็นอย่างไร ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูก ๆ ได้นอนเปลที่บ้านจะดีกว่า ประการที่สองคือ การฟื้นฟูร่างกาย กล่าวคือ เมื่อทารกโตพอที่จะเคลื่อนไหวเองได้มากพอ ก็ให้ทารกได้ขยับร่างกายได้เต็มที่เพราะจะส่งผลให้มีสุขภาพที่ดีด้วย เมื่อทารกอายุได้ 3 ถึง 4 เดือน ทารกจะตื่นนานขึ้น และคุณพ่อคุณแม่ควรเริ่มกำหนดเวลานอนหลับให้ลูกได้ซักงีบในตอนเช้า หนึ่งงีบในตอนบ่ายอ่อน ๆ และอีกซักงีบสั้น ๆ ในช่วงบ่าย หากจำเป็น การงีบหลับเป็นช่วงเวลาที่ดีสำหรับคุณพ่อคุณแม่ในการฝึกให้เจ้าตัวน้อยอยากนอน การให้เจ้าตัวน้อยงีบหลับในเวลากลางวัน คุณพ่อคุณแม่เองก็จะได้มีเวลาคิดและวางแผนอย่างอื่นได้มากขึ้น

8. ลองปล่อยให้เจ้าตัวน้อยได้ลองหัดนอนเองบ้าง

เมื่อลูกน้อยตื่นขึ้นมาแล้วคุณพ่อคุณแม่รีบกล่อมให้นอน การพยายามให้เจ้าตัวน้อยเข้านอนทันทีก็จะเกิดเป็นวงจรที่คุณพ่อคุณแม่รับมือลำบากในภายหลัง เฮเธอร์กล่าวอีกว่า คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ควรไปเร่งให้เจ้าตัวน้อยรีบนอน ได้ยินเสียงลูกน้อยอ้อแอ้ตื่นขึ้นมา ก็อย่าเพิ่งเข้าไปกล่อมลูก ลองให้ลูกพยายามนอนหลับด้วยตัวเองได้ก่อน แต่หากลูกนอนหลับเองไม่ได้ คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องยอมเข้าไปปลอบและกล่อมให้หลับ หากกล่อมแล้วไม่ได้ผล จึงค่อย ๆ ให้คุณพ่อคุณแม่ใช้วิธีผ่อนคลายอื่น ๆ ตามที่ตอนที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำเข้ามาช่วยให้เจ้าตัวน้อยหลับได้ เฮเธอร์เล่าต่ออีกว่า หัวใจสำคัญในการสร้างอารมณ์ผ่อนคลายให้กับทารกคือการให้ทารกได้เรียนรู้ที่จะกล่อมตัวเองให้หลับได้เร็วขึ้น และทารกได้เรียนรู้ทักษะการผ่อนคลายด้วยตัวเองตามธรรมชาติ นอกจากนี้ ยังช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องรู้สึกเหนื่อยและมีสภาพจิตใจย่ำแย่ เพราะยังเป็นช่วงที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเรียนรู้ว่าเจ้าตัวน้อยกำลังสร้างทักษะในการนอนด้วยตัวเอง

9. ไม่ต้องคิดมาก

คุณพ่อคุณแม่คงต้องใช้เวลาเยอะมากในการศึกษาวิธีการทำให้เจ้าตัวน้อยได้นอนหลับ อิงกริดกล่าวว่า การที่มีข้อมูลมากเกินก็ทำให้คุณพ่อคุณแม่ลองวิธีการต่าง ๆ มากเกินไปด้วย ซึ่งไม่ได้ทำให้ทารกน้อยทำเป็นกิจลักษณะได้ ทารกมักจะชอบและชินกับวิธีใดวิธีหนึ่งที่ทำให้หลับ แนะนำให้ทารกได้มีเวลาปรับตัวและหลับได้เองบ้าง

เมื่อลูกน้อยนอนไม่หลับ

เมื่อทารกนอนหลับยาก อาจเป็นเรื่องท้าทายสำหรับทั้งทารกและผู้ปกครอง ต่อไปนี้เป็นกลยุทธ์และเคล็ดลับบางประการที่ควรลองใช้หากลูกน้อยของคุณนอนหลับไม่ดี:
  • ตรวจสอบความต้องการขั้นพื้นฐาน :

      • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้สนองความต้องการพื้นฐานของลูกน้อยของคุณ ตรวจสอบว่าพวกเขาหิว มีผ้าอ้อมที่เปื้อน ร้อนเกินไปหรือเย็นเกินไป หรือไม่สบายตัว การแก้ไขปัญหาเหล่านี้อาจช่วยให้ลูกน้อยของคุณสงบลงได้
  • สร้างกิจวัตรการนอนหลับอย่างสม่ำเสมอ :

      • สร้างกิจวัตรการนอนหลับอย่างสม่ำเสมอเพื่อส่งสัญญาณให้ลูกน้อยของคุณรู้ว่าถึงเวลานอนแล้ว ซึ่งอาจรวมถึงกิจกรรมต่างๆ เช่น การอาบน้ำอุ่น การโยกตัวเบาๆ หรืออ่านนิทานก่อนนอน
  • จัดให้มีสภาพแวดล้อมการนอนหลับที่สะดวกสบาย :

      • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าสภาพแวดล้อมการนอนหลับของทารกปลอดภัย สบาย และเอื้อต่อการนอนหลับ ห้องที่เย็น มืด และเงียบสงบพร้อมที่นอนเปลที่แน่นหนาจะช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น
  • ใช้เสียงสีขาวหรือเพลงเบา ๆ :

      • ทารกบางคนพบว่ามีเสียงสีขาวหรือเสียงดนตรีที่นุ่มนวลและสงบเงียบ คุณสามารถใช้เครื่องเสียงสีขาวหรือเล่นเพลงกล่อมเด็กเบาๆ เพื่อสร้างบรรยากาศที่เหมาะกับการนอนหลับ
  • ห่อตัวลูกน้อยของคุณ (หากเหมาะสม) :

    • การห่อตัวสามารถให้ความรู้สึกปลอดภัยแก่ทารกบางคนได้ โดยเฉพาะในช่วงเดือนแรกๆ อย่าลืมห่อตัวอย่างปลอดภัยโดยมีพื้นที่สำหรับใส่
ทั้งนี้เลือกดูวิธีที่เหมาะสมกับทารกน้อยของคุณเพื่อความเหมาะสม เนื่องจากเด็กแต่ละคนมีความต้องการที่แตกต่างกันออกไป
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด