สิวข้าวสาร หรือสิวหิน (Milium Cysts) มีลักษณะเป็นตุ่มสีขาวขนาดเล็กซึ่งมักขึ้นที่บริเวณจมูก และแก้ม มักจะมีลักษณะขึ้นรวมกันเป็นกลุ่ม กลุ่มของซีสต์จะเรียกว่า Milia
สิวข้าวสารเกิดขึ้นเมื่อเคราติน อุดตันอยู่ใต้ชั้นผิวหนัง เคราติน (Keratin) คือโปรตีนที่มีโครงสร้างแข็งแรง พบได้ในเซลล์เนื้อเยื่อผิวหนัง เส้นผม และเล็บ
สิวข้าวสารสามารถพบได้ในคนทุกเชื้อชาติ ทุกเพศและทุกวัย แต่ส่วนใหญ่มักพบในเด็กแรกเกิด
อาการของสิวข้าวสาร
สิวข้าวสารมีลักษณะเป็นตุ่มสีขาวขนาดเล็กรูปร่างเหมือนโดม มักมีสีขาวหรือเหลือง ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการคันหรือเจ็บ แต่อาจทำให้รู้สึกระคายเคืองในบางราย เสื้อผ้าหรือผ้าปูที่นอนที่มีเนื้อสากสามารถทำให้สิวข้าวสารเกิดอาการระคายเคืองและมีลักษณะแดงมากขึ้น ถุงน้ำ (Cysts) สามารถพบได้บ่อยบริเวณใบหน้า ริมฝีปาก เปลือกตา และแก้ม แต่ก็อาจพบในบริเวณอื่นของร่างกายได้บ้าง เช่น ลำตัว หรืออวัยวะเพศ ภาวะนี้มีความคล้ายกับอีกภาวะหนึ่งที่เรียกว่า Epstein pearls ซึ่งมีลักษณะของตุ่มคล้ายกันแต่จะเกิดขึ้นที่เหงือกและในปากของทารกแรกเกิด ภาวะ Milia มักจะถูกเข้าใจผิดว่าเป็นสิวทารก (baby acne) ซึ่งที่จริงแล้ว คำว่า acne ใช้กับสิวที่เกิดจากเชื้อ P. acne ซึ่งมีกลไกการเกิดต่างกันสาเหตุของสิวข้าวสาร
สาเหตุการเกิดในทารกแรกเกิด จะต่างกันกับในเด็กโตและผู้ใหญ่ทารกแรกเกิด
ในทารกแรกเกิด สิวข้าวสารเกิดขึ้นได้โดยไม่ทราบสาเหตุ มักจะสับสนกับภาวะสิวทารก (Baby Acne) ที่เกิดจากฮอร์โมนจากแม่ สิวข้าวสารมักจะมักจะมีมาตั้งแต่แรกคลอด ไม่มีอาการอักเสบและบวม ซึ่งไม่เหมือนกับสิวทารก ที่จะมีอาการหลังคลอดประมาณ 2-4 สัปดาห์ มีอาการอักเสบและบวม ในเด็กโตและผู้ใหญ่ สิวข้าวสารมักจะเกิดจากผิวที่ถูกทำลายบางชนิด เช่น ตุ่มน้ำที่เกิดจากภาวะควมผิดปกติของผิวหนัง เช่น โรคดักแด้ (epidermolysis bullosa) โรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเองชนิดหนึ่ง (cicatrical pemphigoid) ความผิดปกติในกระบวนการสร้างเหล็ก (Porphyria Cutanea Tarda) ตุ่มน้ำที่เกิดจากการบาดเจ็บ เช่น สัมผัสโดนพืชที่มีพิษภาวะผิวไหม้
ภาวะผิวถูกทำลายจากการสัมผัสแสงแดดเป็นระยะเวลานาน การใช้ยากลุ่มสเตรียรอยด์ทาผิวเป็นระยะเวลานาน หัตถการผลัดเซลล์ผิวบางชนิด เช่น การขัดผิวด้วยหัวขัด (Dermabrasion) หรือการใช้เลเซอร์ (Laser Resurfacing) สิวข้าวสารสามารถเกิดมากขึ้นได้หากผิวหนังสูญเสียกระบวนการผลัดเซลล์ผิวด้วยตัวเอง ซึ่งทำให้เซลล์ผิวเกิดความแก่ประเภทของสิวข้าวสาร
ชนิดของสิวข้าวสารจะแยกตามอายุที่มีสิวเกิดขึ้น หรือสิ่งที่ทำให้เกิดสิว ทั้งสองชนิดนี้จะแบ่งการเกิดเป็น 2 ชนิด ดังนี้ Primary Milla จะเกิดจากเนื้อเยื่อเคราตินอุดตัน มักพบบริเวณใบหน้าของเด็กทารกและผู้ใหญ่ Secondary Milia มีลักษณะคล้ายกัน แต่จะเกิดจากมีบางสิ่งอุดตันรูขุมขน เช่นการบาดเจ็บที่ผิวหนัง ผิวไหม้ หรือผิวเป็นตุ่มน้ำสิวข้าวสารในทารก
มักจะเป็นชนิด primary milia พบในทารกแรกเกิดและหายได้เองภายในไม่กี่สัปดาห์ สิวมักจะพบในบริเวณใบหน้า หนังศีรษะ และลำตัวช่วงบน จากการเก็บข้อมูลที่ Seattle Children Hospital พบสิวข้าวสารในทารกได้ 40% Primary Milia ในเด็กโตและผู้ใหญ่ สามารถพบสิวได้บริเวณเปลือกตา หน้าผาก และอวัยวะเพศ Primary milia สามารถหายเองได้ภายในไม่กี่สัปดาห์หรืออาจจะเป็นเดือนรักษาสิวข้าวสารด้วยธรรมชาติ
ต่อไปนี้เป็นวิธีการรักษาแบบธรรมชาติที่บางคนแนะนำ:- น้ำผึ้ง:น้ำผึ้งมีคุณสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรียและสารต้านอนุมูลอิสระ การทาน้ำผึ้งจำนวนเล็กน้อยลงบนสิวข้าวสารโดยตรงและทิ้งไว้ประมาณ 15-20 นาทีก่อนล้างออกอาจช่วยให้ผิวนุ่มขึ้นและทำให้ซีสต์หลุดออกมาได้ง่ายขึ้น
- ไอน้ำ:ไอน้ำสามารถช่วยเปิดรูขุมขนและอาจช่วยในการปล่อยวัสดุที่ติดอยู่ภายในสิวข้าวสาร ต้มน้ำและปล่อยให้ไอน้ำค่อยๆ ทำให้ใบหน้าของคุณอุ่นขึ้น โดยใช้ผ้าขนหนูมาทำเป็นเต็นท์คลุมศีรษะ ระวังอย่าให้ตัวเองไหม้ หลังจากนึ่งแล้ว คุณสามารถขัดผิวบริเวณนั้นอย่างอ่อนโยนด้วยผ้านุ่มที่สะอาด
- น้ำมันละหุ่ง:บางคนแนะนำให้ทาน้ำมันละหุ่งเล็กน้อยที่สิวข้าวสาร เพื่อช่วยให้ผิวนุ่มขึ้นและอาจช่วยในการกำจัดมันออกไป อย่างไรก็ตาม ยังขาดหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนข้อกล่าวอ้างนี้
- การขัดผิวอย่างอ่อนโยน:การใช้สครับขัดผิวอย่างอ่อนโยนหรือผ้านุ่มสามารถช่วยขจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว และอาจช่วยให้วัสดุที่ติดอยู่ในซีสต์หลุดออกได้ง่ายขึ้น หลีกเลี่ยงการขัดผิวที่รุนแรงซึ่งอาจทำให้ผิวระคายเคือง
- หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีฤทธิ์รุนแรง:ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่มีฤทธิ์รุนแรงอาจทำให้ผิวหนังระคายเคืองและทำให้ปัญหารุนแรงขึ้น เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนและไม่ก่อให้เกิดสิว (ไม่อุดตันรูขุมขน)
- อาหารเพื่อสุขภาพและความชุ่มชื้น:การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่อุดมไปด้วยวิตามินและสารต้านอนุมูลอิสระ ตลอดจนการได้รับน้ำเพียงพอ สามารถส่งผลต่อสุขภาพผิวโดยรวมได้
- หลีกเลี่ยงการบีบ:สิ่งสำคัญคือต้องหลีกเลี่ยงการบีบซีสต์ หรือสิวข้าวสารเนื่องจากอาจทำให้เกิดการติดเชื้อ ทำให้เกิดแผลเป็น หรืออาการแย่ลงได้
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://www.medicalnewstoday.com/articles/320953
- https://health.clevelandclinic.org/does-babys-skin-have-tiny-white-bumps-leave-them-alone/
- https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4760378/
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น