เมทาโดน (Methadone) ใช้รักษาผู้ที่มีอาการปวดมาก และเมทาโดนเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมการรักษาสำหรับการติดเฮโรอีนหรือยาแก้ปวดที่ทำให้เสพติด แพทย์จะเฝ้าระวังผู้ใช้เมทาโดน เนื่องจากสามารถนำไปสู่การเสพติดได้ ดังนั้นควรใช้ตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
วิธีใช้เมทาโดน
โปรดใช้เมทาโดนตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด หากมีข้อสงสัยให้ถามแพทย์จนเข้าใจก่อนที่จะเริ่มใช้เมทาโดน รับประทานเมทาโดนตามคำแนะนำของแพทย์ รับประทานยานี้โดยมีหรือไม่มีอาหารก็ได้ หากคุณมีอาการคลื่นไส้ การใช้ยานี้ร่วมกับมื้ออาหารอาจช่วยได้ ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเกี่ยวกับวิธีอื่นๆ ในการลดอาการคลื่นไส้ หากคุณกำลังใช้ยานี้เพื่อรักษาอาการปวดระดับปานกลางถึงรุนแรง ให้รับประทานตามกำหนดเวลาปกติตามที่แพทย์กำหนด ไม่ใช่ตามความจำเป็นสำหรับอาการปวดเฉียบพลัน (รุนแรง) ปริมาณการใช้เมทาโดนขึ้นอยู่กับสภาพทางการแพทย์ และการตอบสนองต่อการรักษาของคุณ การหยุดใช้ยานี้กะทันหันอาจทำให้เกิดอาการถอนยาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณใช้ยานี้มาเป็นเวลานาน หรือในปริมาณมาก เพื่อป้องกันการถอน แพทย์ของคุณอาจลดขนาดยาลงอย่างช้าๆ แจ้งให้แพทย์ หรือเภสัชกรทราบทันที หากคุณมีอาการถอนยาดังต่อไปนี้- กระสับกระส่าย
- อารมณ์แปรปรวน
- วิตกกังวล
- นอนไม่หลับ
- มีความคิดฆ่าตัวตาย
- น้ำตาไหล
- น้ำมูกไหล
- คลื่นไส้
- ท้องร่วง
- เหงื่อออก
- ปวดกล้ามเนื้อ
ผลข้างเคียงของการใช้เมทาโดน
การใช้เมทาโดนอาจจะทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อไปนี้- คลื่นไส้
- อาเจียน
- ท้องผูก
- หน้ามืด
- วิงเวียนศีรษะ
- ปากแห้ง
- ง่วงซึม
- เหงื่อออก
- ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
- การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ หรืออารมณ์ (เช่น กระสับกระส่าย สับสน เห็นภาพหลอน)
- ปวดท้อง
- ปัสสาวะลำบาก
- สัญญาณของต่อมหมวกไตทำงานได้ไม่ดี (เช่น เบื่ออาหาร เหนื่อยง่าย น้ำหนักลด)
ข้อควรระวังในการใช้เมทาโดน
ก่อนใช้ยาเมทาโดน แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงประวัติการแพ้ยา และประวัติการรักษา โดยเฉพาะความผิดปกติต่อไปนี้- ความผิดปกติของสมอง (เช่น อาการบาดเจ็บที่ศีรษะ เนื้องอก อาการชัก)
- ปัญหาการหายใจ (เช่น โรคหอบหืด ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง-COPD)
- โรคไต
- โรคตับ
- ความผิดปกติทางจิตหรืออารมณ์
- ประวัติความผิดปกติจากการใช้สารเสพติด (เช่น การใช้มากเกินไปหรือติดยา และแอลกอฮอล์)
- ปัญหากระเพาะอาหาร หรือลำไส้ (เช่น การอุดตัน)
- ท้องผูก
- ท้องร่วง เนื่องจากการติดเชื้อ
- ลำไส้แปรปรวน
- ปัสสาวะลำบาก (เช่นเนื่องจากต่อมลูกหมากโต)
- โรคตับอ่อน (ตับอ่อนอักเสบ)
- โรคถุงน้ำดี
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น