โรคกระจกตาอักเสบ (Keratitis) เป็นภาวะอักเสบที่มีผลต่อกระจกตา กระจกตาเป็นส่วนใสที่ครอบคลุมทั้งม่านตาและรูม่านตา โรคกระจกตาอักเสบอาจเกิดจากการติดเชื้อหรือการบาดเจ็บที่ดวงตา
โรคกระจกตาอักเสบ เป็นภาวะที่พบบ่อย ผู้ที่ใส่คอนแทคเลนส์อาจมีอาการกระจกตาอักเสบบ่อยกว่าคนที่ไม่ใส่คอนแทคเลนส์ ไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม เราสามารถป้องกันภาวะนี้ได้ หากมีอาการกระจกตาอักเสบให้ไปพบแพทย์ทันที2
อาการของกระจกตาอักเสบ
อาการของกระจกตาอักเสบ ได้แก่ :- ตาแดง
- ปวดและระคายเคืองในตาที่ได้รับผลกระทบ
- การมองเห็นเปลี่ยนไป เช่น พร่ามัว หรือไม่สามารถมองเห็นได้
- ไวต่อแสง (allergy-eyes-0488/”>แพ้แสง)
- ไม่สามารถลืมตาได้
- มีสารหรือของเหลวขับออกมาจากตา (ขี้ตาเยอะ)
- น้ำตาไหลตลอดเวลา
ประเภทของกระจกตาอักเสบ
กระจกตาอักเสบมี 2 ประเภทใหญ่ๆ ขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรค กระจกตาอักเสบอาจจำแนกออกเป็น กระจกตาอักเสบที่มีการติดเชื้อ และกระจกตาอักเสบที่ไม่ติดเชื้อภาวะกระจกตาอักเสบติดเชื้อ
กระจกตาอักเสบติดเชื้อเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้ : แบคทีเรีย: Pseudomonas aeruginosa และ Staphylococcus aureus เป็นแบคทีเรีย 2 ชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด ที่ทำให้เกิดกระจกตาติดเชื้อแบคทีเรีย ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในผู้ที่ใช้คอนแทคเลนส์อย่างไม่เหมาะสม เชื้อรา: Fungi: ภาวะกระจกตาอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อจากเชื้อรา จะเกิดจากเชื้อรา Aspergillus, Candida, หรือ Fusarium. ซึ่งจะพบบ่อยในคนที่สวมคอนแทคเล็นส์ แต่อย่างไรก็ตาม การติดเชื้อแบบนี้ยังสามารถพบได้กับคนที่ไม่ได้สวมคอนแทคเล็นส์แต่สัมผัสกับเชื้อราเหลานี้ที่อยู่กลางแจ้งได้เช่นกัน ปรสิต: สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า Acanthamoeba ส่วนใหญ่พบในคนอเมริกันที่สวมคอนแทคเลนส์ ปรสิตเหล่านี้จะอาศัยอยู่กลางแจ้งหรือบางคนอาจได้รับปรสิตเหล่านี้จากการว่ายน้ำในทะเลสาบ การเดินป่า หรือได้รับน้ำที่ติดเชื้อที่ใช้แช่คอนแทคเลนส์ การติดเชื้อชนิดนี้เรียกว่า Acanthamoeba keratitis ไวรัส: กระจกตาอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส ส่วนใหญ่เกิดจากไวรัสเริมซึ่งจะลุกลามจากโรคตาแดง จนกลายไปเป็นการอักเสบของกระจกตากระจกตาอักเสบแบบไม่ติดเชื้อ
สาเหตุที่ทำให้เกิดการอักเสบของกระจกตาแบบไม่ติดเชื้อ มีดังนี้ :- การบาดเจ็บที่ดวงตา เช่น โดนขีดข่วน
- สวมคอนแทคเลนส์ติดต่อนานเกินไป
- ใช้คอนแทคเลนส์ถาวร
- สวมใส่คอนแทคเลนส์ขณะว่ายน้ำ
- อาศัยอยู่ในอากาศอบอุ่น ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงที่เศษวัสดุจากพืชจะทำลายกระจกตา
- ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
- การมองหรือสัมผัสกับแสงแดดที่จ้าหรือรุนแรง (photo keratitis)
การวินิจฉัยโรคกระจกตาอักเสบ
หากมีอาการใดๆ ที่สงสัยว่าจะเป็นอาจกระจกตาอักเสบ ควรรีบไปรับการตรวจท้นที แพทย์จะทำการวินิจฉัยโรคและให้รักษาก่อนที่จะมีภาวะแทรกซ้อน ในการวินิจฉัยโรค แพทย์จะซักประวัติอาการ ก่อนจะทำการตรวจที่ตา หากไม่สามารถลืมตาได้ แพทย์จะทำการเปิดตาเพื่อจะทำการตรวจแก้วตาได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน ในระหว่างการตรวจ อาจมีการกล้องจุลทรรศน์หรือปากกาไฟฉายส่องตรวจดู กล้องจุลทรรศน์ทำงานโดยการขยายโครงสร้างภายในดวงตา เพื่อให้แพทย์สามารถมองเห็นความเสียหายที่เกิดจากการอักเสบของกระจกตาได้อย่างชัดเจน ปากกาไฟฉายใช้สำหรับตรวจสอบรูม่านตาเพื่อค้นหาการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติ แพทย์อาจใช้การย้อมสีบนดวงตาเพื่อช่วยให้แพทย์มองหาความผิดปกติอื่นๆ ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น บางครั้งแพทย์อาจมีการเก็บตัวอย่างกระจกตา หรือเศษฉีกขาดบนดวงตา เพื่อส่งตรวจวินิจฉัยแยกแยะการติดเชื้อ เพื่อระบุหาสาเหตุที่แท้จริง แพทย์อาจจะใช้ป้ายตรวจวัดสายตาเพื่อตรวจสอบการมองเห็นการรักษากระจกตาอักเสบ
วิธีรักษากระจกตาอักเสบ ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ หากมีการติดเชื้อต้องกินยาตามใบสั่งแพทย์ แพทย์อาจให้ยาหยอดตา หรือยากิน หรือทั้งสองอย่าง ซึ่งยาดังกล่าว มีดังนี้:- ยาปฏิชีวนะ สำหรับการติดเชื้อแบคทีเรีย
- ไบโอไซด์ สำหรับการติดเชื้อปรสิต
- ยาต้านเชื้อรา สำหรับการติดเชื้อรา
- ยาต้านไวรัส สำหรับการติดเชื้อไวรัส
ภาวะแทรกซ้อนของกระจกตาอักเสบ
กระจกตาอักเสบมีภาวะแทรกซ้อนได้หลายอย่าง ภาวะแทรกซ้อนบางประการ ได้แก่:- แผลเป็นจากกระจกตา : ภาวะนี้อาจก่อให้เกิดแผลเป็นบนกระจกตาได้ การเกิดแผลเป็นที่กระจกตาอาจทำให้เกิดการรบกวนการมองเห็นและอาจสูญเสียการมองเห็นหากส่งผลต่อส่วนกลางของกระจกตา
- แผลที่กระจกตา : แผลที่กระจกตาเป็นแผลเปิดบนกระจกตาที่มักเกิดจากการติดเชื้อ อาจเจ็บปวดและอาจส่งผลให้กระจกตาเสียหายอีกหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
- การมองเห็นแย่ลง : การอักเสบและความเสียหายที่เกิดจากโรคกระจกตาอักเสบสามารถนำไปสู่ความบกพร่องทางการมองเห็นตั้งแต่ความพร่ามัวเล็กน้อยไปจนถึงการสูญเสียการมองเห็นอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากกระจกตาส่วนกลางได้รับผลกระทบ
- กระจกตาทะลุ : ในกรณีที่รุนแรง กระจกตาอาจอ่อนแอลงเนื่องจากการอักเสบจนเกิดรูพรุนหรือเกิดรู สิ่งนี้สามารถนำไปสู่การรั่วไหลของของเหลวในดวงตา การติดเชื้อภายในดวงตา และแม้กระทั่งการสูญเสียดวงตาหากไม่ได้รับการจัดการอย่างเร่งด่วน
- โรคต้อหิน : การอักเสบเรื้อรังจากโรคกระจกตาอักเสบอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต้อหิน ซึ่งเป็นภาวะที่มีความดันภายในลูกตาเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจทำลายเส้นประสาทตาและทำให้สูญเสียการมองเห็น
- การติดเชื้อทุติยภูมิ : กระจกตาอักเสบโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเกิดจากการติดเชื้อ อาจทำให้การป้องกันของกระจกตาอ่อนแอลง ทำให้เกิดการติดเชื้อทุติยภูมิจากจุลินทรีย์อื่น ๆ ได้มากขึ้น
- โรคตาแพ้แสง : โรคตาแพ้แสงหรือความไวต่อแสงอย่างรุนแรงสามารถเกิดขึ้นได้อันเป็นผลมาจากการอักเสบและไม่สบายที่เกี่ยวข้องกับโรคกระจกตาออักเสบ
- ความรู้สึกของกระจกตาลดลง : กระจกตาอักเสบอาจส่งผลต่อเส้นประสาทกระจกตา ส่งผลให้ความไวลดลง ซึ่งอาจส่งผลต่อความสามารถของดวงตาในการตรวจจับและตอบสนองต่อสารระคายเคืองและอันตรายที่อาจเกิดขึ้น
นี่คือที่มาของบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/keratitis/symptoms-causes/syc-20374110
- https://www.medicalnewstoday.com/articles/320347
- https://www.webmd.com/eye-health/keratitis-facts
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น