การขูดมดลูกคืออะไร
การผ่าตัดมดลูกคือการผ่าตัดเพื่อเอามดลูกของผู้หญิงออกไป มดลูกคือที่รู้กันดีว่าเป็นที่ตั้งครรภ์ เป็นที่ๆเด็กทารกจะเจริญเติบโตเมื่อผู้หญิงมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น เยื่อบุโพรงมดลูกคือแหล่งของเลือดประจำเดือน การผ่าตัดมดลูกอาจเป็นภาวะจำเป็นได้จากหลายเหตุผล การผ่าตัดใช้เพื่อรักษาอาการปวดเรื้อรังหลายอย่างซึ่งรวมไปถึงโรคมะเร็งบางชนิดและการติดเชื้อ ขอขเขตของการผ่าตัดมดลูกนั้นมีหลากหลายขึ้นอยู่กับเหตุผลที่ต้องได้รับการผ่าตัด ส่วนใหญ่จะเป็นการนำเอามดลูกออกไปทั้งหมด แพทย์อาจนำรังไข่และท่อนำรังไข่ออกด้วยในระหว่างผ่าตัด รังไข่คืออวัยวะที่ผลิตเอสโทรเจนและฮอร์โมนอื่นๆ ส่วนท่อนำรังไข่คือโครงสร้างที่มีหน้าที่ขนส่งไข่จากรังไข่ไปสู่มดลูก ทันทีที่มีการผ่าตัดมดลูก ผู้หญิงจะหยุดการมีรอบเดือน และไม่สามารถตั้งครรภ์ได้อีกทำไมจึงต้องมีการขูดมดลูก
แพทย์อาจแนะนำให้ผ่าตัดมดลูกหากมีอาการดังต่อไปนี้:- ปวดอุ้งเชิงกรานเรื้อรัง
- มีเลือดออกจากช่องคลอดที่ไม่สามารถควบคุมได้
- มะเร็งมดลูก ปากมดลูกและรังไข่
- เนื้องอกซึ่งเป็นเนื้องอกดีที่เจริญเติบโตอยู่ในมดลูก
- ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ เป็นโรคติดเชื้อที่รุนแรงในระบบสืบพันธุ์
- มดลูกหย่อน มักเกิดขึ้นเมื่อมดลูกหย่อนลงที่บริเวณปากมดลูกและยื่นออกมาจากช่องคลอด
- เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เป็นภาวะเนื้อเยื่อภายในมดลูกเจริญเติบโตภายนอกโพรงมดลูก เป็นสาเหตุของอาการปวดและเลือดออก
- ภาวะอะดีโนไมโอซีส เป็นภาวะที่เนื้อเยื่อภายในมดลูกเจริญเติบโตเข้าไปในกล้ามเนื้อของมดลูก
ทางเลือกอื่นสำหรับการขูดมดลูก
จากข้อมูลของ National Women’s Health Network การผ่าตัดมดลูกคือสิ่งที่ผู้หญิงอเมริกันต้องเจอเป็นอันดับสอง เป็นการผ่าตัดที่ถือว่ามีความปลอดภัยและมีความเสี่ยงต่ำ แต่อย่างไรก็ตามการผ่าตัดมดลูกก็อาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับผู้หญิงทุกคน การผ่าตัดชนิดนี้ไม่เหมาะสำหรับผู้หญิงที่ยังคงต้องการมีบุตรเว้นเสียแต่ว่าไม่มีทางเลือกอื่นที่เป็นไปได้ โชคดีที่ปัจจุบันนี้โรคหลายๆโรคที่เคยต้องรักษาด้วยการผ่าตัดสามารถเลือกไปรักษาด้วยวิธีอื่นๆได้ เช่น การบำบัดฮอร์โมนก็สามารถนำมาใช้รักษาภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ได้ เนื้องอกมดลูกสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดวิธีอื่นๆเพื่อเก็บมดลูกไว้ ในบางสถานการณ์การผ่าตัดเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด การผ่าตัดมดลูกมักเป็นทางเลือกเดียวในการรักษาโรคมะเร็งมดลูกหรือมะเร็งปากมดลูก คนไข้และแพทย์จะปรึกษากันถึงทางเลือกและตัดสินใจทางเลือกที่ดีที่สุดในการรักษาชนิดการผ่าขูดมดลูกมีอะไรบ้าง
ชนิดของการผ่าตัดมดลูกมีแตกต่างกันหลายชนิด
ชนิดขูดมดลูกบางส่วน
ในระหว่างการขูดมดลูกแพทย์อาจจะเอามดลูกออกบางส่วนเท่านั้น ส่วนที่เหลือยังไม่เสียหายใดๆชนิดขูดมดลูกออกทั้งหมด
ระหว่างขูดตัดมดลูกทั้งหมดแพทย์จะเอามดลูกทั้งหมดออกไป รวมไปถึงปากมดลูก และไม่จำเป็นต้องได้รับการตรวจแปปสเมียร์ประจำปีหากมดลูกได้ถูกนำออกไป แต่กระนั้นก็ควะได้รับการตรวจภายในประจำปีเสมอการผ่าขูดมดลูกและการผ่าตัดท่อนำไข่และรังไข่
ในระหว่างการผ่าตัดมดลูกและการผ่าตัดท่อนำไข่และรังไข่ แพทย์จะนำเอามดลูกออกพร้อมๆกับรังไข่และท่อนำไข่ทั้งคู่หรือข้างใดข้างหนึ่ง คนไข้อาจต้องได้รับฮอร์โมนบำบัดทดแทนหากมีการนำรังไข่ออกทั้งคู่การขูดมดลูกทำอย่างไร
การผ่าตัดมดลูกสามารถทำได้หลายวิธี ทุกวิธีล้วนต้องการการให้ยาระงับความรู้สึกทั้งแบบทั่วไปหรือแบบเฉพาะที่ การให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไปจะทำให้คนไข้หลับตลอดการผ่าตัดเพื่อที่จะได้ไม่รู้สึกเจ็บปวดใดๆ ส่วนการให้ยาระงับความรู้สึกแบบเฉพาะที่จะทำให้รู้สึกชาร้่งกายตั้งแต่เอวลงไปท่อนล่าง แต่จะยังคงรู้ตัวตื่นอยู่ในระหว่างการผ่าตัด การให้ยาระงับความรู้สึกบางครั้งอาจใช้ยาระงับประสาทร่วมด้วยเพื่อช่วยทำให้รู้สึกงง่วงและผ่อนคลายในระหว่างการผ่าตัดการขูดมดลูกทางช่องท้อง
ในระหว่างการผ่าตัดมดลูกทางช่องท้อง แพทย์จะทำการตัดมดลูกที่ผ่านรอยแผลขนาดใหญ่ที่หน้าท้อง รอยผ่าอาจเป็นแนวขวางหรือแนวตั้งได้ แต่ทั้งสองชนิดจะสามารถรักษาหายได้และมีรอยแผลเป็นเล็กน้อยการขูดมดลูกผ่านทางช่องคลอด
ในระหว่างการผ่าตัดมดลูกผ่านทางช่องคลอด มดลูกจะถูกนำออกมาผ่านการผ่าเล็กที่ทำภายในช่องคลอด จะไม่มีรอยแผลให้เห็นที่ด้านนอกและไม่ก่อให้เกิดรอยแผลที่มองด้วยตาเห็นการผ่าขูดมดลูกผ่านการส่องกล้องช่องท้อง
ในระหว่างการผ่าตัดมดลูกผ่านการส่องกล้องช่องท้อง แพทย์จะใช้เครื่องมือขนาดเล็กที่เรียกว่ากล้อง laparoscope ซึ่งเป็นกล้องที่เป็นท่อบางๆ ยาวๆที่มีความเข้มข้นของแสงสูงและมีกล้องที่มีความคมชัดสูงติดอยู่ที่ด้านหน้า อุปกรณ์ชนิดนี้จะถูกสอดใส่ผ่านเข้าไปทางแผลผ่าเล็กๆที่หน้าท้อง เป็นแผลเล็กสามหรือสี่จุดแทนการเปิดแผลขนาดใหญ่ เมื่อแพทย์เห็นบริเวณที่ต้องการผ่า แพทย์จะตัดมดลูกออกเป็นชิ้นเล็กๆและนำออกมาทีละน้อยผลเสียของการขูดตัดมดลูก
การผ่าตัดมดลูกถือว่าเป็นการผ่าตัดที่มีความปลอดภัย เหมือนกับการผ่าตัดหลักๆทั่วไป แต่อย่างไรก็ตามการผ่าตัดทุกชนิดย่อมมีความเสี่ยง บางคนอาจเกิดปฏิกิริยาต่อยาระงับความรู้สึก อาจเกิดความเสี่ยงในการมีเลือดออกมาหรือมีการติดเชื้อรอบๆบริเวณแผลผ่าตัด ความเสี่ยงอื่นๆที่รวมไปถึงอาการบาดเจ็บที่บริเวณรอบๆเนื้อเยื่อหรืออวัยวะซึ่งรวมไปถึง:- กระเพาะปัสสาวะ
- ลำไส้
- หลอดเลือด
การฟื้นตัวจากการขูดมดลูก
หลังจากการผ่าตัด อาจต้องใช้เวลาประมาณ 2-5 วันพักรักษาตัวในโรงพยาบาล แพทย์จะให้ยาแก้ปวดและเฝ้าติดตามดูสัญญานต่างไที่จำเป็นเช่นสัญญานการหายใจและอัตราการเต้นของหัวใจ อาจค้องพยายามลุกขึ้นเดินไปรอบๆในโรงพยาบาลให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ การเดินจะช่วยป้องกันการเกิดลิ่มเลือดเกิดขึ้นที่บริเวณขา.หากทำการผ่าตัดด้วยวิธีการผ่าตัดผ่านทางช่องคลอด ที่ช่องคลอดจะมีการปิดไว้ด้วยผ้ากอซเพื่อควบคุมการไหลของเลือด แพทย์จะต้องมาเปลี่ยนผ้ากอซภายในสองสามวันหลังการผ่าตัด แต่อย่างไรก็ตามหากพบว่ามีเลือดทั้งแบบสีแดงหรือสีน้ำตาลไหลออกมาจากช่องคลอดนานราว 10 วันให้สวมใส่แผ่นผ้าอนามัยไว้เพื่อช่วยป้องกันเสื้อผ้าเลอะเปื้อน หลังกลับจากโรงพยาบาลสิ่งที่สำคัญคือการเดินอย่างต่อเนื่อง ควรออกไปเดินในบริเวณรอบๆบ้าน แต่อย่างไรก็ตามควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมบางอย่างในระหว่างการฟื้นตัว ซึ่งรวมไปถึง:- การดึงหรือดันสิ่งของเช่นเครื่องดูดฝุ่น
- ยกของหนัก
- การก้ม
- การมีเพศสัมพันธ์
ผลกระทบของการผ่าตัดมดลูกออก
- วัยหมดประจำเดือน:หากรังไข่ถูกเอาออกพร้อมกับมดลูก (การผ่าตัดรังไข่) วัยหมดประจำเดือนอาจเกิดขึ้นเร็วกว่าที่คาด ทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น ร้อนวูบวาบ และช่องคลอดแห้ง
- ภาวะมีบุตรยาก:การผ่าตัดมดลูกออกทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากถาวรเมื่อเอามดลูกออก
- การบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทน (HRT):ผู้หญิงที่เข้าสู่วัยหมดประจำเดือนเร็วเนื่องจากการผ่าตัดมดลูกออกอาจได้รับประโยชน์จากการบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทนเพื่อจัดการกับอาการและลดความเสี่ยงต่อสุขภาพในระยะยาวที่เกี่ยวข้องกับระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำ
การพิจารณาและการให้คำปรึกษา
การผ่าตัดมดลูกออกเป็นขั้นตอนการผ่าตัดที่สำคัญซึ่งมีผลกระทบสำคัญต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้หญิง ก่อนที่จะเข้ารับการผ่าตัดมดลูก จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหารือเกี่ยวกับทางเลือกการรักษาที่มีอยู่ทั้งหมด ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ผลประโยชน์ และผลที่ตามมาในระยะยาวกับนรีแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม สิ่งนี้ช่วยให้มั่นใจในการตัดสินใจโดยอาศัยข้อมูลและการดูแลส่วนบุคคลตามความต้องการและสถานการณ์ส่วนบุคคลหัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น