ทำอย่างไรไม่ให้ขี้หึง (How to not be Jealous) 

จะทำยังไงกับอาการหึง

ความหึงหวงนั้นเป็นที่ทราบกันดีว่าไม่ใช่สิ่งที่ดีนัก เราอาจเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า ความหึงหวงทำลายความสัมพันธ์ แต่อะไรกันที่ทำให้อารมณ์หึงหวงเป็นสิ่งที่ไม่ดี  ความหึงหวงอาจเกิดขึ้นเมื่อคุณกังวลว่าจะสูญเสียบางสิ่งหรือบางคนที่สำคัญต่อคุณ ซึ่งมันแตกต่างจากความริษยา ที่เป็นความต้องการบางสิ่งบางอย่างที่เป็นของคนอื่น  ความหึงหวงสามารถทำให้เกิดความรู้สึกโกรธ ความขุ่นเคือง หรือความเศร้าได้ แต่บ่อยครั้งที่มันสามารถบอกเกี่ยวกับตัวคุณและสิ่งที่คุณต้องการได้  วิธีเหล่านี้เป็นวิธีที่จะจัดการกับความหึงหวงและวิเคราะห์ส่วนลึกของความรู้สึกของคุณ 

หาสาเหตุที่ทำให้เกิดการหึงหวง 

หากใครที่มีอาการหึงหวงอย่างรุนแรง เราต้องลองถามตัวเองว่าสาเหตุที่ซ่อนอยู่คืออะไร  การหาสาเหตุที่ทำให้เกิดความรู้สึกหึงหวงสามารถทำให้คุณรู้ว่าความรู้สึกนั้นมาจากอะไร เมื่อคนรักของคุณใช้เวลากับเพื่อนใหม่มากขึ้น คุณรู้สึกหึงหวงเพราะมันเป็นสัญญาณแรกที่คนรักคนก่อนของคุณนอกใจ  เมื่อไหร่ก็ตามที่ความหึงหวงหรือความอิจฉาเริ่มจากความรู้สึกไม่ปลอดภัย กลัว หรือเป็นรูปแบบของความสัมพันธ์เก่า ๆ ที่เคยผ่านมา การรู้ว่าสาเหตุมาจากอะไรจะช่วยให้คุณรู้ว่าจะเผชิญหน้ากับมันอย่างไร

พูดคุยเกี่ยวกับความกังวลที่คุณมี

หากการกระทำของคนรัก (หรือการกระทำของคนอื่นที่มีต่อคนรักของคุณ) กระตุ้นให้เกิดความรู้สึกหึงหวง คุณควรจะพูดคุยกับคนรักของคุณในทันที  คนรักของคุณอาจไม่ทราบว่าคุณรู้สึกอย่างไร ให้โอกาสตัวเองได้พูดคุยเกี่ยวกับขอบเขตของความสัมพันธ์หรือพูดคุยเกี่ยวกับวิธีที่จะทำให้ความสัมพันธ์เข้มแข็งขึ้น หากคุณเชื่อใจคนรักของคุณแต่คุณยังคงมีความสงสัยอยู่เพราะความสัมพันธ์ที่คุณเคยผ่านมา ช่วยกันหาวิธีที่คุณทั้งสองคนจะสามารถทำให้สถานการณ์ดีขึ้นได้ หากคุณรู้สึกกังวลเกี่ยวกับการพูดถึงความรู้สึกหึงหวง ให้จำไว้ว่ามันเป็นเรื่องปกติ เพราะคนรักของคุณก็อาจจะมีความรู้สึกเหล่านี้ในบางครั้งเหมือนกัน 

ปรึกษากับเพื่อนที่เชื่อใจได้ 

บางครั้งความหึงหวงทำให้ความจริงบิดเบือนได้ คุณอาจสงสัยว่าการจีบที่ไม่เคยเกิดขึ้นนั้นเกิดขึ้นจริง ๆ บางครั้ง การพุดคุยเรื่องเหล่านี้กับบุคคลที่สามสามารถทำให้สถานการณ์น่ากลัวน้อยลงและช่วยให้คุณได้มุมมองใหม่ ๆ ด้วย 

มองความอิจฉาหรือการหึงหวงในมุมที่ต่างออกไป   

การหึงหวงเป็นความรู้สึกที่ซับซ้อน รุนแรง และคุณอาจรู้สึกไม่ดีเมื่อต้องจัดการกับมัน แต่แทนที่จะคิดว่ามันเป็นสิ่งที่ไม่ดี ให้พยายามหาข้อมูลที่มีประโยชน์เพื่อช่วย   ความหึงหวงหรือความอิจฉา บอกคุณเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างสิ่งที่คุณมีและสิ่งที่คุณปราถนา  ความหึงหวงหรือความอิจฉาสามารถเปลี่ยนเป็นการโทษตัวเองและการความรู้สึกว่าขาดอะไรสักอย่าง แต่คุณอาจสามารถที่จะจัดการกับมันได้โดยการหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์ที่คุฯสามารถใช้เพื่อสถานการณ์ที่ความต้องการของคุณจะบรรลุผลได้ 

การแก้อาการหึงและอิจฉา

ฝึกรู้สึกขอบคุณกับสิ่งที่คุณมี 

การรู้สึกขอบคุณเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่เพียงแต่ลดความรู้สึกอิจฉาเท่านั้นแต่ยังลดความเครียดได้อีกด้วย  คุณอาจไม่ได้มีทุกสิ่งที่คุณต้องการ พวกเราส่วนมากก็ไม่ แต่อย่างน้อยคุณก็ยังมีบางสิ่งที่คุณต้องการ บางทีคุณอาจจะมีสิ่งที่ดี ๆ ในชีวิตที่คุณคิดไม่ถึงเลยก็ได้  สิ่งนี้สามารถช่วยได้เมื่อคุณรู้สึกอิจฉาที่เพื่อนมีรถใหม่หรือเมื่อคุณหวังว่าคนรักของคุณจะไม่ใช้เวลากับเพื่อนมากขนาดนั้น บอกตัวเองว่า รถของคุณที่ยังใช้งานได้ดี สามารถพาคุณไปในที่ต่าง ๆ ได้ มองถึงข้อดีที่เพื่อนของคุณให้คุณค่ากับมิตรภาพของเขา  การรู้สึกดีกับสิ่งที่เรามีในชีวิตถึงแม่ว่าจะไม่เกี่ยวข้องกับความอิจฉาเลยก็ตาม ถึงแม้ว่าชีวิตของเราจะไม่ได้สมบูรณ์แบบ ซึ่งไม่มีชีวิตใครสมบูรณ์แบบ คุณก็ยังมีสิ่งดี ๆ อยู่ในชีวิตของคุณ 

ฝึกเทคนิคการเผชิญกับปัญหาในขณะนี้ 

การจัดการกับความอิจฉาที่เกิดขึ้นไม่ได้ช่วยให้คุณจัดการกับสาเหตุที่ซ่อนอยู่ แต่มันจะช่วยผ่อนคลายความเครียดจนกว่าคุณจะสามารถจัดการกับปัญหาที่ซ่อนอยู่ได้  การเปลี่ยนความสนใจจากความอิจฉาสามารถช่วยให้คุณจัดการกับความรู้สึกได้เช่นกันJealousy2.jpg” alt=”How to not be Jealous” width=”600″ height=”362″ />

หยุดพัก 

ลองวิธีเหล่านี้เพื่อให้คุณเปลี่ยนความสนใจของคุณจากความรู้สึกหึงหวงหรืออิจฉาก่อนที่มันจะมากเกินไป: 
  • เขียนเกี่ยวกับสิ่งที่คุณรู้สึก 
  • เดินเล่น 
  • ให้พื้นที่ตัวเองโดยการออกจากสถานการณ์นั้น ๆ 
  • ทำอะไรสักอย่างที่ทำให้ใจเย็นลงประมาณ 10 นาที 

ค้นหาสาเหตุที่ซ่อนอยู่

ความอิจฉาหรือความหึงหวงที่เป็นสาเหตุให้เกิดความเครียดสามารถเชื่อมโยงได้กับความวิตกกังวลและการเห็นคุณค่าในตัวเองต่ำ การเรียนรู้วิธีการจัดการกับปัญหานี้จะช่วยให้คุณสามารถจัดการกับความอิจฉาหรือการหึงหวงได้อย่างอัตโนมัติ วิธีหนึ่งที่จะจัดการกับการเห็นคุณค่าในตัวเองต่ำคือการหาคุณค่าในตัวเอง เช่น ความเห็นอกเห็นใจ การสื่อสาร หรือความซื่อตรง  อีกทั้งมันยังช่วยให้คุณรับรู้ถึงข้อดีและได้ทบทวนว่าอะไรเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคุณ ซึ่งนี่จะทำให้การเคารพตัวเองของคุณเพิ่มขึ้น และอาจช่วยลดความรู้สึกกังวลใจจากปมด้อยหรือการแข่งขันได้  ความวิตกกังวลก่อให้เกิดอาการหลายอย่างที่ทำให้ยากต่อการจัดการด้วยตัวเอง มีเทคนิคหลายอย่างที่สามารถช่วยได้แต่การบำบัดก็ช่วยได้เช่นกัน   มันเป็นการใช้หลักของการรับรู้อย่างมีสติเพื่อช่วยให้: 
  • ยอมรับความรู้สึกวิตกกังวลให้มากขึ้นเพื่อที่มันจะไม่ทำให้คุณรู้สึกแย่เกินไป 
  • รับรู้ความคิดที่คุณไม่ต้องการและความคิดที่เป็นที่กังวลเพื่อที่คุณจะสามารถทดแทนมันด้วยสิ่งอื่นได้ 

รู้จักคุณค่าของตัวเอง 

เมื่อความอิจฉาทำให้คุณเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น มันอาจส่งผลต่อคุณค่าของคุณ ชีวิตของคุณอาจเป็นที่น่าอิจฉาสำหรับคนอื่น ๆ แต่ความอิจฉาทำให้คุณรู้สึกว่าไม่มีอะไรที่ดีพอเลย  งานวิจัยค้นหาความเชื่อมโยงที่เป็นไปได้ของความอิจฉาและความคุณค่าในตัวเอง มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่าความอิจฉาจะเกิดขึ้นเมื่อคุณพบกับอะไรบางอย่างที่คุกคามคุณค่าของคุณ  จะต่อสู้กับการมีคุณค่าในตัวเองต่ำได้อย่างไร : 
  • เตือนตัวเองเกี่ยวกับสิ่งที่คุณทำได้ดี 
  • ฝึกความเห็นอกเห็นใจในตัวเอง (ปฏิบัติกับตัวเองให้เหมือนกับที่คุณปฏิบัติต่อเพื่อนสนิท)
  • ฝึกการบอกสิ่งดี ๆ กับตัวเองหรือแลกเปลี่ยนมันกับคนรักของคุณ 
  • เตือนตัวเองเกี่ยวกับสิ่งที่คุณให้คุณค่าในคนรักและความสัมพันธ์ของคุณ 
  • หาเวลาทำสิ่งที่คุณมีความสุขที่จะทำ 

ฝึกการมีสติ 

การมีสติเป็นเทคนิคที่ช่วยให้คุณให้ความสนใจกับความคิดและความรู้สึกที่เกิดขึ้นโดยปราศจากการตัดสินหรือวิจารณ์พวกมัน ทำให้คุณตระหนักได้ถึงรูปแบบของการเกิดความอิจฉา และความรู้สึกที่เกิดขึ้นก่อนความรู้สึกอิจฉา  การมีสติสามารถช่วยให้คุณรู้สึกดีกับความอิจฉามากขึ้น ตัวอย่างเช่น มันช่วยให้คุณยอมรับความรู้สึกที่เกิดขึ้นว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของความรู้สึก และก้าวต่อไป  ไม่ตัดสินความอิจฉาหรือตัวคุณเองที่เกิดความรู้สึกนี้ สามารถช่วยให้เกิดความรู้สึกลบ ๆ ได้ 

การพูดคุยกับนักจิตวิทยา

หากคุณมีปัญหาในการจัดการกับความอิจฉาด้วยตัวเอง การพูดคุยกับนักจิตบำบัดสามารถช่วยได้  มันไม่ใช่เรื่องง่ายเสมอไปที่จะพูดคุยเกี่ยวกับความอิจฉา คุณอาจรู้สึกไม่สบายใจที่ต้องเล่าสิ่งเหล่านี้ให้คนที่ไม่รู้จักฟัง แต่นักจิตบำบัดที่ดีจะคุยกับคุณด้วยความใจดีและความเห็นอกเห็นใจ  นอกจากนั้น พวกเขายังรู้ว่าความรู้สึกอิจฉาเป็นสิ่งปกติที่เกิดขึ้นได้กับทุกคนในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ  การคุยกับนักจิตบำบัดอาจช่วยได้ดังนี้: 
  • ความอิจฉาหรือความหึงหวงก่อให้เกิดความรู้สึกหมกมุ่น 
  • คุณจะทราบถึงพฤติกรรมที่จูงใจ
  • ความอิจฉาหรือความหึงหวงกลายเป็นสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ 
  • คุณมีความรู้สึกก้าวร้าว 
  • ความหึงหวงหรือความอิจฉาทำให้เกิดปัญหาทางพฤติกรรมบางอย่าง เช่น การตามคนรักของคุณหรือการเช็คว่าพวกเขาทำอะไรอยู่ที่ไหนอย่างต่อเนื่อง 
  • ความหึงหวงหรือความอิจฉาส่งผลต่อการใช้ชีวิตของคุณ ทำให้คุณไม่สามารถทำสิ่งที่ต้องการจะทำได้ เป็นสาเหตุให้เกิดความวิตกกังวล
ความหึงหวงหรือความอิจฉาสามารถช่วยให้คุณโฟกัสกับสิ่งหรือคนที่คุณใส่ใจได้ แต่มันไม่ควรที่จะสร้างปัญหาให้ความสัมพันธ์ของคุณ มันสามารถช่วยให้ความสำพันธ์ดีขึ้นในบางกรณีด้วยซ้ำ มันขึ้นอยู่กับว่าคุณจะใช้มันยังไง 

ให้เวลากับมัน 

หากคุณเคยมีความรู้สึกหึงหวงหรืออิจฉามาก่อน คุณก็จะรู้ได้ว่าความรู้สึกเหล่านี้ค่อย ๆ หายไปเมื่อเวลาผ่านไป มันจะรู้สึกว่ารุนแรงน้อยลงเมื่อคุณจัดการกับความรู้สึกต่าง ๆ แต่ความรู้สึกนั้นก็จะบรรเทาลงเหมือนกันเมื่อสิ่งที่ทำให้อิจฉาหรือหึงหวงนั้นจบไป  จากงานวิจัยเกี่ยวกับการอิจฉาหรือหึงหวง เรามักจะมีความรู้สึกเหล่านี้ก่อนที่สิ่งต่าง ๆ จะเกิดขึ้นมากกว่ากลังจากสิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้น เมื่อเวลาผ่านไป คุณจะรู้สึกว่าความจำเป็นในการเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่นนั้นลดน้อยลง แต่ความรู้สึกดี ๆ ที่คุณมีนั้นยังอยู่ เพราะฉะนั้น เมื่อคุณรู้สึกอิจฉาเพื่อนก่อนที่จะถึงวันแต่งงานของเพื่อน หลังจากการแต่งงานยผ่านไปแล้วคุณจะรู้สึกอิจฉาน้อยลงและยินดีกับเพื่อนของคุณ  สร้างความมั่นใจเพื่อไม่ให้หึงหวง การสร้างความมั่นใจในตนเองและการรักตนเองสามารถช่วยลดความรู้สึกอิจฉาและความไม่มั่นคงในความสัมพันธ์ได้อย่างแท้จริง ต่อไปนี้เป็นวิธีการบางอย่างในการเพิ่มความมั่นใจในตนเองเพื่อให้คุณค่าแก่ตนเองและลดอาการอิจฉา:
  • การสำรวจตัวเอง:เริ่มต้นด้วยการตรวจสอบสาเหตุที่ของความหึงหวง พยายามระบุสาเหตุที่ทำให้เกิดความไม่มั่นคงในตัวเองที่ซ่อนอยู่  การรู้จักตัวเองเป็นขั้นตอนแรกในการจัดการกับความอิจฉา
  • การคิดบวก : การคิดบวกเกี่ยวกับตัวเองเพื่อรู้สึกถึงคุณค่าของตัวเองให้มากกว่าเดิม 
  • มุ่งเน้นการพัฒนาตนเอง:ตั้งเป้าหมายในการพัฒนาตนเอง ซึ่งอาจรวมถึงการทำงานอดิเรก การเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ หรือการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตเชิงบวก การบรรลุเป้าหมายเหล่านี้จะช่วยเพิ่มความมั่นใจของคุณได้
  • ฝึกฝนการดูแลตนเอง:จัดลำดับความสำคัญของกิจกรรมการดูแลตนเองที่ทำให้คุณรู้สึกดีกับตัวเอง ซึ่งอาจรวมถึงการออกกำลังกาย การทำสมาธิ การเจริญสติ และการนอนหลับให้เพียงพอ
  • ใช้เวลากับเพื่อนและครอบครัว:อยู่ท่ามกลางเพื่อนและครอบครัวที่ให้กำลังใจเพื่อทำให้คุณรู้สึกมีค่ามากขึ้น
  • ความสัมพันธ์เชิงบวก:เลือกคู่รักและเพื่อนที่เคารพและเห็นคุณค่าของคุณ ความสัมพันธ์ที่ดีนั้นสร้างขึ้นจากความไว้วางใจและการเคารพซึ่งกันและกัน ซึ่งสามารถช่วยลดความหึงหวงได้
  • เพิ่มความไว้วางใจ:พยายามพัฒนาความไว้วางใจในความสัมพันธ์ของคุณ ความไว้วางใจเป็นลักษณะพื้นฐานของการลดความหึงหวง การสื่อสารอย่างเปิดเผยและซื่อสัตย์กับคู่รักของคุณเป็นสิ่งสำคัญ
  • การควบคุมสติและอารมณ์:ฝึกเทคนิคการมีสติเพื่อจัดการอารมณ์ของคุณ การเรียนรู้ที่จะรับรู้และควบคุมอารมณ์สามารถช่วยให้คุณตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นของความอิจฉาได้อย่างสงบมากขึ้น
โปรดจำไว้ว่าการสร้างความมั่นใจเป็นกระบวนการต่อเนื่องและต้องใช้เวลา อดทนกับตัวเองและฝึกฝนความเห็นอกเห็นใจตนเอง การพยายามสร้างความภาคภูมิใจในตนเองและคุณค่าในตนเองจะช่วยลดความหึงหวงและมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อสุขภาพและเติมเต็มมากขึ้นได้

นี่คือที่มาในบทความของเรา

  • https://www.psychologytoday.com/intl/blog/anxiety-files/200805/jealousy-is-killer-how-break-free-your-jealousy
  • https://www.psychalive.org/how-to-deal-with-jealousy/
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด