ปวดข้อนิ้วมือ (Finger Joint Pain) : อาการ สาเหตุ การรักษา

บางครั้งอาการเจ็บปวดที่ข้อนิ้ว (Finger Joint Pain) สามารถสังเกตุได้ชัดเจนมากขึ้นเมื่อคุณบีบมือ ซึ่งเมื่อคุณบีบมือคุณจะรู้สึกปวดข้อนิ้วมือมากขึ้นเนื่องจากข้อต่อนิ้วมือเกิดปัญหาและจำเป็นต้องรักษาด้วยวิธีเฉพาะ  ก่อนที่คุณจะตัดสินใช้วิธีรักษาที่ดีที่สุด สิ่งสำคัญคือควรระบุสาเหตุที่ทำให้เกิดการปวดข้อนิ้วก่อน  Finger Joint Pain

สาเหตุของอาการปวดข้อนิ้วมือ

สาเหตุทั่วไปที่ทำให้เกิดอาการปวดข้อนิ้วมือได้แก่ 
  • ข้อนิ้วมือเคล็ดหรือกล้ามเนื้อนิ้วมือฉีก อาการข้อนิ้วเคล็ดเป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นเมื่อเส้นเอ็นในข้อนิ้วมือถูกยืดออกหรือฉีกขาด ส่วนกล้ามเนื้อนิ้วมือขาดเกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็นยึดกล้ามเนื้อถูกแรงยืดออกมากเกินไปซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างเล่นกีฬา ยกของหนักผิดท่าและการทำกิจกรรมอื่นๆ และอาการที่เกิดขึ้นได้แก่ปวดข้อนิ้วมือและข้อนิ้วมือบวม 
  • ข้อต่อหลุด ข้อต่อนิ้วมือหลุดเกิดขึ้นเมื่อกระดูกข้อนิ้วมือเคลื่อนที่อยู่ในตำแหน่งที่ผิดปกติ ซึ่งจำเป็นต้องทำการนำกระดูกที่หลุดออกต่อเข้าในตำแหน่งที่ปกติตามเดิมโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
  • กระดูกนิ้วมือหักหรือแตก การแตกหักเกิดขึ้นบนกระดูกเอง ถ้าหากเกิดกระดูกแตกหรือหักใกล้กับข้อต่อนิ้วมือสามารถทำให้เกิดอาการปวดนิ้วมือเมื่อใช้นิ้วมือหรือบีบนิ้วมือซึ่งอาการอื่นๆที่สามารถเกิดขึ้นได้แก่นิ้วมือชาเเละเคลื่อนไหวนิ้วมือได้อย่างจำกัด
  • โรคข้อต่ออักเสบ โดยส่วนใหญ่โรคนี้เป็นโรคที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อมือเเละนิ้วมือ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์เป็นโรคข้ออักเสบทั่วไปที่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดที่นิ้วมือและข้อนิ้วมือฝืด
  • โรคมะเร็งกระดูกระยะลุกลามหมายถึงเซลล์เนื้อร้ายหรือเซลล์มะเร็งที่เกิดการลุกลามเข้าไปในเนื้อเยื่อกระดูกซึ่งโดยปกติมักเกิดขึ้นกับผู้ป่วยโรคมะเร็งกระดูก อาการที่เกิดขึ้นได้แก่ปวดกระดูกและแขนขาอ่อนล้า

การรักษาอาการปวดข้อนิ้วมือที่บ้าน

อาการข้อนิ้วมือเคล็ดหรือกล้ามเนื้อข้อนิ้วมือฉีกสามารถรักษเองได้ที่บ้าน อย่างไรก็ตามถ้าคุณเคยมีอาการข้อนิ้วมือบวมอักเสบอย่างรุนเเรง คุณควรไปพบเเพทย์โดยทันที  ถ้าหากเกิดอาการปวดข้อนิ้วมือเพียงเล็กน้อย คุณสามารถปฏิบัติตามวิธีดังต่อไปนี้เพื่อบรรเทาอาการเจ็บนิ้วมือเองได้ที่บ้าน ซึ่งมีวิธีดังต่อไปนี้ 
  • หยุดพักการใช้งานข้อนิ้วมือเนื่องจากการทำกิจกรรมที่ต้องใช้นิ้วมือต่อไปอาจทำให้เกิดอาการบาดเจ็บที่รุนเเรงมากขึ้นได้ 
  • ใช้น้ำเเข็งประคบเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดเเละนิ้วมือบวมอักเสบ
  • ใช้ยาบรรเทาอาการปวดเช่นยาไอบลูโพรเฟนและยาพาราเซลตามอล 
  • ใช้ยาทาบรรเทาอาการปวดชนิดครีมหรือขี้ผึ้ง
  • ใช้ยาบรรเทาอาการอักเสบชนิดครีมหรือขี้ผึ้งที่มีสารสกัดเมนทอลกรือแคบไซซิน
  • ใช้ผ้าพันแผลพันนิ้วที่เกิดอาการปวดข้อเข้ากับนิ้วที่ปกติเพื่อพยุงข้อต่อนิ้วมือที่เจ็บปวด

การรักษาโรคข้อต่ออักเสบ

ถ้าหากคุณได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคข้อต่ออักเสบ การรักษาโรคข้อต่ออักเสบมีหลายวิธีเพื่อเสริมความเป็นไปได้ในการฟื้นฟูสภาพ นอกจากทางเลือกการใช้ยาเช่น Movita และ Wellgo ที่ได้อธิบายไปแล้ว เราสามารถเพิ่มเติมวิธีการรักษาดังนี้:
  • – การผ่าตัด: ในบางกรณีที่อาการข้อต่ออักเสบรุนแรงและมีความเสี่ยงต่อสุขภาพ เช่น ข้อต่อที่มีความเสียหายหรือสิ่งแปลกปลอมที่ต้องการการซ่อมแซมหรือการเปลี่ยนข้อต่อ แพทย์อาจต้องทำการผ่าตัดเพื่อปรับปรุงสภาพของข้อต่อ
  • – การทำกายภาพบำบัด: กายภาพบำบัดเป็นวิธีการรักษาที่มุ่งเน้นการฟื้นฟูและเสริมสร้างกล้ามเนื้อและข้อต่อ โดยการปฏิบัติกิจกรรมทางกายภาพที่เหมาะสมซึ่งจะช่วยลดอาการปวดและเพิ่มความยืดหยุ่นของข้อต่อ
  • การเลือกใช้วิธีการรักษาจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคและสภาพส่วนบุคคลของผู้ป่วย ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำและการวางแผนการรักษาที่เหมาะสมสำหรับคุณ

ควรเข้ารับการรักษาจากเเพทย์เมื่อไหร่

คุณควรไปพบเเพทย์เพื่อตรวจอาการด้วยการเอกซ์เรย์ถ้าหากคุณเคยมีอาการดังต่อไปนี้
  • ยังคงมีอาการเจ็บปวดนิ้วมืออย่างรุนเเรง 
  • มีอาการนิ้วมือชาหรือรู้สึกชา
  • ไม่สามารถเหยียดนิ้วมือให้ตรงหรืองอนิ้วมือได้
  • มีไข้ 
  • กระดูกเเทงออกมา 
  • มีอาการเจ็บนิ้วมือที่ไม่สามารถรักษาเองที่บ้านได้ภายใน 1-2 สัปดาห์
ในกรณีที่เกิดอาการเจ็บปวดข้อนิ้วมืออย่างรุนเเรง แพทย์มักใช้การวินิจฉัยอาการด้วยการเอกซเรย์บริเวณที่เกิดอาการเจ็บปวดเพื่อตรวจดูว่าคุณมีอาการกระดูกนิ้วแตกหักหรือไม่

วิธีการบรรเทาอาการปวดด้วยตัวเอง

  • งอนิ้ว : เหยียดมือไปข้างหน้าของคุณ ฝ่ามือขึ้น ใช้นิ้วแต่ละนิ้วแล้วเคลื่อนช้าๆ ไปทางกึ่งกลางฝ่ามือ ค้างไว้หลายวินาที ยืดตัวตรง และทำซ้ำ
  • การยกนิ้ว : วางฝ่ามือของคุณบนพื้นผิวเรียบ และยกนิ้วทีละนิ้วด้วยการควบคุม ทำซ้ำด้วยมือทั้งสองข้าง
  • การสไลด์นิ้ว : วางฝ่ามือบนพื้นผิวเรียบโดยเหยียดนิ้วออก เลื่อนนิ้วเข้าหานิ้วหัวแม่มือทีละนิ้ว
  • ทำตัว “C” หรือตัว “O” : ขยับนิ้วเหมือนกำลังจะจับลูกบอลเล็กๆ เพื่อสร้างตัวอักษร “C” หรือ “O” เกร็งกล้ามเนื้อค้างไว้ เหยียดนิ้วให้ตรงแล้วทำซ้ำ
  • การบีบกำปั้น : แบมือออก หงายฝ่ามือขึ้น แล้วค่อยๆ กำมือเป็นกำปั้น โดยให้นิ้วหัวแม่มืออยู่ด้านนอกมือ ปล่อยและทำซ้ำ
  • งอนิ้วหัวแม่มือ : งอนิ้วหัวแม่มือเข้าหาฝ่ามือให้ไกลที่สุดเท่าที่จะทำได้ กดค้างไว้และทำซ้ำ
  • ชูนิ้วโป้ง : วางกำปั้นของคุณโดยหงายนิ้วก้อยขึ้นบนโต๊ะ ยกนิ้วโป้งเป็นสัญลักษณ์ชูนิ้วโป้ง ลดนิ้วหัวแม่มือและทำซ้ำ
  • งอข้อมือ : กางแขนออก คว่ำฝ่ามือลง ใช้มืออีกข้างกดหลังมือลงไปที่พื้น งอข้อมือ ถือและปล่อย
การออกกำลังกายมือเหล่านี้ต้องใช้อุปกรณ์ประกอบฉากและช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อที่รองรับข้อต่อนิ้วมือของคุณ เริ่มต้นด้วยการทำซ้ำสองสามครั้งในแต่ละวันและค่อยๆ เพิ่มขึ้นเมื่อคุณมีพละกำลังเพิ่มขึ้น แบบฝึกหัดทั้งห้านี้ช่วยบริหารกล้ามเนื้อนิ้วในรูปแบบต่างๆ: 
  • การบีบลูกบอล : บีบลูกบอลยางหรือฟองน้ำให้แน่นซ้ำๆ ด้วยแรงที่ควบคุมอย่างช้าๆ
  • บีบไม้หนีบผ้า : บีบไม้หนีบผ้าให้เปิดออกด้วยนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้หลายๆ ครั้ง ทำเช่นเดียวกันกับนิ้วอื่นๆ
  • ยางรัดยืด : พันยางยืดขนาดใหญ่รอบนิ้วและนิ้วหัวแม่มือทั้งหมดของคุณ เปิดและปิดนิ้วซ้ำๆ ด้วยแรงควบคุม
  • ที่จับผ้าขนหนู : วางฝ่ามือราบบนผ้าขนหนูหนาๆ รวบรวมวัสดุระหว่างนิ้วหัวแม่มือและจับให้แน่น ปล่อยและทำซ้ำ
  • งอข้อมือที่จับ : จับขวดน้ำโดยให้ฝ่ามือคว่ำลง งอข้อมือของคุณขึ้นและลงอย่างช้าๆ ย้อนกลับการออกกำลังกายโดยยกฝ่ามือขึ้น

บทสรุป

อาการเจ็บปวดข้อนิ้วมือสามารถเกิดขึ้นเนื่องจากข้อนิ้วเคล็ดหรือกล้ามเนื้อนิ้วมือฉีกได้และสามารถรักษาเองได้ที่บ้าน โดยภายใน 1-2 อาทิตย์อาการเจ็บปวดควรดีขึ้น  ถ้าคุณมีอาการเจ็บข้อนิ้วมือที่ไม่ดีขึ้นและมีอาการรุนเเรงมากขึ้น ควรไปพบเเพทย์ทันที นอกจากนี้ถ้านิ้วมือของคุณเกิดอาการคดงอหรือมีกระดูกแทงออกมา คุณควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจสอบอาการเจ็บปวดนิ้วมือทันที 

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา 

  • https://www.medicinenet.com/finger_pain/symptoms.htm
  • https://www.nhs.uk/conditions/osteoarthritis/symptoms/
  • https://www.webmd.com/rheumatoid-arthritis/guide/hand-and-finger-ra

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด