โรคไฟลามทุ่ง (Erysipelas) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคไฟลามทุ่งคืออะไร

โรคไฟลามทุ่ง (Erysipelas) คือการติดเชื้อแบคทีเรียชั้นบนสุดของผิวหนัง ซึ่งเป็นความผิดปกติของผิวหนังเช่นเดียวกับเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบที่เป็นการติดเชื้อของเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง โดยทั้งสองอาการนี้มีลักษณะภายนอกที่คล้ายกันและมีวิธีการรักษาเหมือนกัน โดยปกติโรคไฟลามทุ่งเกิดจากเช่นแบคทีเรีย Streptococcus กลุ่ม ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียกลุ่มเดียวกับที่ทำให้เกิดอาการเจ็บคอ โดยการติดเชื้อก่อให้เกิดผื่นแดงขนาดใหญ่บนผิวหนัง บางครั้งอาจมีอาการอื่นๆตามมาได้แก่แผลพุพองและมีไข้หรือเป็นหวัด โดยส่วนใหญ่เเล้วไฟลามทุ่งมักเกิดขึ้นที่บริเวณใบหน้าและขา โรคไฟลามทุ่งมีอาการดีขึ้นเมื่อทำการรักษา โดยปกติอาการไฟลามทุ่งมักดีขึ้นด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ Erysipelas

อาการของโรคไฟลามทุ่งมีอะไรบ้าง

โดยปกติอาการของโรคไฟลามทุ่งมีดังต่อไปนี้
  • มีไข้
  • หนาวสั่น
  • รู้สึกไม่ค่อยดี
  • มีผื่นแดงและบวม รู้สึกเจ็บปวดบริเวณที่มีผื่นขึ้น
  • มีแผลพุผองเกิดขึ้นบริเวณที่เกิดการติดเชื้อ
  • ต่อมน้ำเหลืองบวม
เมื่อมีอาการไฟลามทุ่งเกิดขึ้นบนใบหน้า โดยปกติอาการบวมมักเกิดขึ้นกับจมูกและแก้มทั้งสองข้าง

สาเหตุของโรคไฟลามทุ่งคืออะไร

โรคไฟลามทุ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus  กลุ่ม A ที่แทรกซึมเข้าไปในผิวหนังชั้นนอก โดยปกติเชื้อแบคทีเรียเหล่านี้มักอาศัยอยู่บนผิวหนังและพื้นผิวโดยไม่ทำให้เกิดอันตรายใดๆ อย่างไรก็ตามเมื่อเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้เข้าสู่ผิวหนังผ่านบาดแผลและทำให้เกิดการติดเชื้อ อาการที่เกิดขึ้นได้แก่ผิวหนังแตกเป็นขุยเช่นโรคเท้านักกีฬาและเกิดผิวหนังอักเสบ ซึ่งบางครั้งนำไปสู่โรคไฟลามทุ่งได้ นอกจากนี้โรคไฟลามทุ่งยังสามารถเกิดขึ้น เมื่อเเบคทีเรียเกิดการแพร่กระจายเข้าสู่จมูก ซึ่งทำให้เกิดการติดเชื้อตั้งแต่จมูกและลำคอตามลำดับ  สาเหตุอื่นที่ทำให้เกิดโรคไฟลามทุ่งได้แก่
  • เกิดแผลบนผิวหนัง
  • แผลผ่าตัด
  • แมลงกัด
  • โรคผิวหนังเช่นpsoriasis-types-0054/”>โรคสะเก็ดเงิน
  • ขาบวมเนื่องจากปัญหาเกี่ยวหัวใจเช่นภาวะหัวใจล้มเหลวและโรคเบาหวาน
  • การฉีดยาที่เป็นสารเสพติดเช่นยาเฮโรอีน

โรคไฟลามทุ่งมีวิธีการรักษาอย่างไร

คนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคไฟลามทุ่งมักสามารถทำการรักษาเองได้ที่บ้านแต่วิธีการรักษาบางประเภทจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ซึ่งขึ้นอยู่กับความรุนเเรงของอาการที่เกิดขึ้น โดยแผนการรักษาของคุณประกอบด้วยการรักษาที่บ้าน การใช้ยาหรือการผ่าตัด

การรักษาตนเองที่บ้าน

โดยปกติบริเวณที่เกิดอาการติดเชื้อแบคทีเรียจำเป็นต้องยกขึ้นให้อยู่สูงกลายส่วนอื่นๆของร่างกายเพื่อลดอาการบวม เช่นถ้าหากเกิดอาการติดเชื้อที่ขา คุณควรพยายามยกขาให้อยู่สูงขึ้นกว่าระดับสะโพก ซึ่งคุณสามารถใช้เบาะรองขาในขณะที่คุณกำลังนอนอยู่ได้ นอกจากนี้สิ่งที่สำคัญคือควรดื่มน้ำในเพียงพอเเละตื่นนอนเป็นเวลา โดยคุณอาจจำเป็นต้องยกขาให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้นกว่าปกติหลายวันก่อนที่อาการบวมจะหายไป

การใช้ยา

ยาปฏิชีวนะเช่นยาเพนนิซิลินเป็นยาทั่วไปที่นำมาใช้รักษาโรคไฟลามทุ่ง แพทย์จะสั่งยาชนิดนี้ให้คุณมาทานเองที่บ้าน ถ้หากคุณมีอาการของโรคปานกลาง ซึ่งคุณจำเป็นต้องทานยาประมาณอาทิตย์  ในกรณีที่เกิดโรคไฟลามทุ่งรุนเเรง โดยปกติผู้ป่วยจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเพื่อเข้ารับการฉีดยาปกติชีวนะเข้าทางหลอดเลือดดำ นอกจากนี้ถ้าหากผู้ป่วยเป็นเด็กเล็กหรือผู้สูงอายุจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล มีบางโอกาสที่เชื้อแบคทีเรียจะไม่ตอบสนองต่อยาปฏิชีวนะและจำเป็นเปลี่ยนไปใช้ยาชนิดอื่น  นอกจากนี้คุณจะได้รับยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการที่ทำให้เกิดการระคายเคืองรวมถึงรักษาไข้ ยาต้านเชื้อรานำมาใช้เพื่อรักษาอาการโรคเท้านักกีฬา ซึ่งจำเป็นต้องนำมาใช้ถ้าหากอาการดังกล่าวทำให้เกิดโรคไฟลามทุ่ง

การผ่าตัด

การผ่าตัดทำมาใช้ในกรณีที่เกิดโรคไฟลามทุ่งอย่างรุนเเรงเท่านั้น ซึ่งเป็นการเกิดอาการไฟลามทุ่งอย่างรวดเร็วและทำให้เนื้อเยื่อตาย โดยการผ่าตัดนำมาใช้เพื่อตัดเนื้อเยื่อที่ตายออก

ภาวะแทรกซ้อนของโรคไฟลามทุ่ง

แม้ว่าไฟลามทุ่งโดยทั่วไปจะเป็นภาวะที่รักษาได้ แต่ก็สามารถนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนบางอย่างได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากปล่อยไว้โดยไม่รักษาหรือหากการติดเชื้อแพร่กระจาย ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากไฟลามทุ่ง ได้แก่ :
  • การก่อตัวของฝี: ในบางกรณี การติดเชื้อสามารถนำไปสู่การก่อตัวของหนองที่เต็มไปด้วยหนอง (ฝี) ภายในบริเวณผิวหนังที่ได้รับผลกระทบ ฝีอาจต้องระบายน้ำเพื่อแก้ไขการติดเชื้ออย่างเต็มที่
  • เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ: ไฟลามทุ่งและเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับการติดเชื้อที่ผิวหนัง และไฟลามทุ่งบางครั้งอาจลุกลามกลายเป็นเซลลูไลติสหรือในทางกลับกัน เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบเป็นการติดเชื้อที่ผิวหนังในวงกว้างซึ่งส่งผลต่อผิวหนังและเนื้อเยื่อชั้นลึก
  • ภาวะแบคทีเรีย: หากแบคทีเรียเข้าสู่กระแสเลือดจากบริเวณผิวหนังที่ติดเชื้อ อาจทำให้เกิดภาวะแบคทีเรียในกระแสเลือด (การติดเชื้อในกระแสเลือดจากแบคทีเรีย) ภาวะแบคทีเรียในกระแสเลือดสามารถนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่รุนแรงขึ้น และอาจต้องได้รับการดูแลจากแพทย์โดยด่วนและให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำ
  • ภาวะโลหิตเป็นพิษหรือภาวะพิษเหตุติดเชื้อ: ในกรณีที่รุนแรง การติดเชื้อแบคทีเรียสามารถแพร่กระจายไปทั่วกระแสเลือด ทำให้เกิดภาวะโลหิตเป็นพิษ (เลือดเป็นพิษ) หรือภาวะพิษเหตุติดเชื้อ ภาวะติดเชื้อในสัตว์เป็นภาวะที่คุกคามชีวิตซึ่งอาจนำไปสู่ความล้มเหลวของอวัยวะและเสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
  • การติดเชื้อซ้ำ: บางคนอาจมีอาการไฟลามทุ่งเกิดขึ้นซ้ำ ซึ่งอาจเป็นเรื่องยากในการจัดการและอาจต้องใช้ยาปฏิชีวนะป้องกันในระยะยาวเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำอีก
  • ท่อน้ำเหลืองอักเสบ : โรคไฟลามทุ่งอาจส่งผลต่อท่อน้ำเหลือง ซึ่งนำไปสู่ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ ซึ่งเป็นการอักเสบของท่อน้ำเหลือง สิ่งนี้อาจทำให้เกิดรอยแดงบนผิวหนังและอาจบ่งบอกถึงการแพร่กระจายของเชื้อผ่านระบบน้ำเหลือง
สิ่งสำคัญคือต้องไปพบแพทย์หากคุณสงสัยว่าคุณเป็นโรคไฟลามทุ่งหรือมีการติดเชื้อที่ผิวหนัง การวินิจฉัยอย่างทันท่วงทีและการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะที่เหมาะสมสามารถช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนและส่งเสริมการฟื้นตัวได้เร็วขึ้น หากคุณสังเกตเห็นสัญญาณของการแพร่กระจายของการติดเชื้อ เช่น ความเจ็บปวดที่เพิ่มขึ้น รอยแดง ความอุ่น หรือมีไข้ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที เพราะสิ่งเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อหรือภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงขึ้น

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

  • https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK532247/
  • https://www.medicalnewstoday.com/articles/317973

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด