การแพ้ตัวไรฝุ่นคืออะไร
ไรฝุ่นเป็นแมลงที่มีขนาดเล็กมาก ถือเป็นสิ่งมีชีวิตจำพวกแมงมุมชนิดหนึ่ง มันอยู่ในฝุ่นบ้าน และกินเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว(ที่หลุดออกมาจากผิวหนังคน) เป็นอาหาร มีชีวิตอยู่ได้ทุกสภาพอากาศ และทุกความสูง เติบโตได้ดีในสภาพอากาศอุ่น ประมาณ 21องศาเซลเซียส และความชื้นสัมพัทธ์ 70% เมื่อคุณหายใจเอาไรฝุ่นเข้าไป ภูมิคุ้มกันจะเริ่มทำงานผลิตแอนติบอดีมาต่อต้านสารนั้นแม้ว่าดูจะไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายก็ตาม การตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันที่มากเกินไปนี้ ทำให้เกิดอาการแพ้ไรฝุ่น จาม และน้ำมูกไหล สมาคมโรคภูมิแพ้แห่งอเมริกาได้ทำการศึกษาและพบว่า มีคนเป็นภูมิแพ้ชนิดนี้ 20 ล้านคนในสหรัฐอเมริกา นอกจากทำให้มีอาการแพ้แล้ว การสัมผัสไรฝุ่นเป็นเวลานานสามารถส่งผลให้เป็นหอบหืด และไซนัสได้สาเหตุของการแพ้ไรฝุ่น
ภูมิแพ้ คือ การที่ภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อสารแปลกปลอมแม้ว่าตามปกติจะไม่ทำร้ายร่างกายของคุณ สารเหล่านี้เรียกว่า สารก่อภูมิแพ้ (Allergen) อาทิเช่น อาหารบางชนิด เกสรดอกไม้ และไรฝุ่น ผู้ที่แพ้ไรฝุ่นจะมีปฏิกิริยาตอบสนอง โดยอาการภูมิแพ้ที่มากกว่าปกติต่อเศษซากของไรฝุ่น หรือของเสียจากไรฝุ่น บ้านที่สะอาดไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีไรฝุ่น เพราะสภาพแวดล้อมที่ไรฝุ่นต้องการนั้นไม่ได้มีเงื่อนไขที่มากมายนัก เพียงแค่ห้องนอนทั่วไปก็เพียงพอสำหรับการดำรงชีวิตของไรฝุ่น ไม่ว่าจะเป็นเครื่องนอน พรม และเบาะของเฟอร์นิเจอร์ หากมีความชื้นที่เหมาะสมแก่ไรฝุ่น นั่นก็เพียงพอต่อการดำรงชีวิตของไรฝุ่น อาการภูมิแพ้ไรฝุ่นจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อสูดดมไรฝุ่นเข้าไปสะสมในร่างกายเพิ่มขึ้น ข้อควรรู้ ฝุ่นนั้นเป็นตัวกระตุ้นการจามสำหรับทุกคน แต่บางคนอาจจะมีการตอบสนองต่อไรฝุ่นมากเป็นพิเศษอาการแพ้ไรฝุ่น ผิวหนังและภายใน
การแพ้ไรฝุ่นมีอาการตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงรุนแรง เช่น- น้ำมูกไหล คันจมูก
- น้ำมูกไหลลงคอ
- มีผื่นคันตามผิวหนัง
- คัดจมูก
- ปวดหน้า เนื่องจากแน่นในไซนัส
- ตาแดง มีน้ำตา เคืองตา
- คันคอ
- ไอ
- ใต้ตาบวม เป็นสีเข้ม
- นอนไม่หลับ
- เจ็บหน้าอก
- หายใจลำบาก
- หายใจมีเสียงหวีด ไอ หรือหายใจไม่เต็มปอด
- พูดลำบาก
- หอบหืด
การวินิจฉัย
ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง หากพบว่ามีอาการภูมิแพ้มากขึ้นมากขึ้นเมื่ออยู่บ้าน เมื่อทำความสะอาดหรือเมื่อเข้านอน แพทย์จะทำการทดสอบการแพ้ ว่าคุณแพ้ไรฝุ่นหรือไม่ การตรวจทั่วไปคือ Skin-prick เขาจะจิ้มสารที่ก่อภูมิแพ้ปริมาณน้อยๆ ที่ผิวหนังของคุณ รอดู15 นาที เพื่อดูว่าผิวหนังมีปฏิกิริยาหรือไม่ หากมีจะพบว่าผิวรอบบริเวณที่ทำ จะมีรอยแดงนูน พร้อมกับอาการคัน การตรวจเลือดใช้แทนการตรวจที่ผิวหนังได้ แต่จะตรวจได้เฉพาะแอนติบอดี้ ผลจึงไม่แน่นอนเท่าการตรวจที่ผิวหนังการรักษาแพ้ไรฝุ่น
การรักษาที่ดีที่สุดคือ การหลีกเลี่ยงไรฝุ่น หากไม่ได้ผล สามารถใช้ยาที่แพทย์สั่ง หรือยาแก้แพ้ตามร้านขายยาได้- ยาต้านฮิสตามีน เช่น Allegra หรือ Claritin ช่วยลดอาการจาม น้ำมูกไหล และคัน
- สเปรย์สเตียรอยด์พ่นจมูก เช่น Flonase หรือ Nasonex ช่วยลดการอักเสบและมีผลข้างเคียงน้อยกว่าแบบรับประทาน
- ยาแก้คัดจมูก เช่น Sudafed หรือ Afrin ช่วยลดการบวมของเนื้อเยื่อในช่องจมูก ทำให้หายใจได้ดีขึ้น
- ยาที่มีทั้งยาต้านฮิสตามีน และแก้คัดจมูก เช่น Actifed หรือ Claritin-D
- Cromolyn sodium
- การรักษาด้วยภูมิคุ้มกัน
- Leukotriene modifiers เช่น Accolate Zyflo หรือ Singulair
วิธีกำจัดไรฝุ่น
เตียงและที่นอนเป็นแหล่งเจริญเติบโตของไรฝุ่น เพราะมีอุณหภูมิ และความชื้นที่เหมาะสมรวมทั้งคนที่นอนอยู่บนเตียงก็เป็นอาหารของไรฝุ่น ขั้นตอนต่อไปนี้จะช่วยให้เตียงของคุณปราศจากไรฝุ่น- ใช้ผ้าคลุมที่นอน ที่นอนและหมอนชนิดที่ต้านการแพ้ โดยเลือกใช้แบบมีซิปดีที่สุด เนื้อผ้าที่ทอแน่นจะป้องกันไม่ให้ไรฝุ่นไชลงไปในที่นอน
- ซักเครื่องนอนในน้ำร้อนอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ทั้งผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน ผ้าห่ม และผ้าคลุมเตียง อบร้อนให้แห้ง หรือตากในแสงอาทิตย์
- เลือกใช้ผ้าปูกันไรฝุ่น ปลอกหมอนกันไรฝุ่น และที่นอนกันไรฝุ่น
- ใช้เครื่องปรับอากาศ หรือเครื่องทำความชื้น ควบคุมให้ความชื้นในบ้านอยู่ระหว่าง 30-50%
- ใช้เครื่องปรับอากาศที่มีแผ่นกรอง HEPA
- ซื้อของเล่นตุ๊กตาที่ซักได้เท่านั้น และซักบ่อยๆ รวมทั้งไม่เอามาไว้บนเตียง
- ปัดกวาดเช็ดถูห้องนอนบ่อยๆเพื่อลดฝุ่น
- ดูดฝุ่นเป็นประจำโดยใช้เครื่องที่มีแผ่นกรอง HEPA ผู้ที่แพ้ไรฝุ่นหนักมาก ควรให้ผู้อื่นทำความสะอาดแทน
- ขจัดฝุ่นให้หมด
- ทำความสะอาดม่าน และเฟอร์นิเจอร์ที่ประกอบด้วยผ้าบ่อยๆ
- หากเป็นไปได้ควรเปลี่ยนพื้นพรมเป็นไม้ ไลโนเลียม กระเบื้อง หรือไวนิล
- ใช้เครื่องดูดไรฝุ่น
- เลือกใช้ที่นอนกันไรฝุ่น
ข้อเท็จจริงของไรฝุ่น
ไรฝุ่นเป็นแมงขนาดเล็กที่แทบมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แม้ว่าจะไม่เป็นอันตรายต่อคนส่วนใหญ่ แต่ก็สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้และโรคหอบหืดในบางคนได้ ต่อไปนี้เป็นข้อเท็จจริงที่น่าสนใจเกี่ยวกับไรฝุ่น:- ต้องส่องกล้องจุลทรรศน์:ไรฝุ่นมีขนาดเล็กอย่างไม่น่าเชื่อ โดยมีความยาวประมาณ 0.2 ถึง 0.3 มิลลิเมตร (หรือประมาณหนึ่งในร้อยนิ้ว) สามารถมองเห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์เท่านั้น
- มีอยู่ทั่วไปในบ้าน:ไรฝุ่นเป็นเรื่องธรรมดาในครัวเรือนทั่วโลก พวกมันเจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมที่อบอุ่นและชื้น และมักพบในเครื่องนอน พรม เฟอร์นิเจอร์บุนวม และตุ๊กตาสัตว์
- แหล่งอาหารหลัก:ไรฝุ่นกินเซลล์ผิวที่ตายแล้วจากมนุษย์และสัตว์เลี้ยงเป็นหลัก นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่มักพบในบริเวณที่เซลล์ผิวหนังสะสม
- อัตราการสืบพันธุ์สูง:ไรฝุ่นตัวเมียตัวเดียวสามารถวางไข่ได้ถึง 100 ฟองในช่วงชีวิตของเธอ ไรฝุ่นมีวงจรชีวิตสั้น โดยแต่ละรุ่นใช้เวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ในการเจริญเติบโต
- ผู้ผลิตสารก่อภูมิแพ้:ไรฝุ่นไม่กัดหรือต่อย สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ในบางคนได้ สารก่อภูมิแพ้เหล่านี้สามารถแพร่กระจายในอากาศและสูดดมได้ ทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น จาม น้ำมูกไหล คันตา และหอบหืด
- สารก่อภูมิแพ้ที่แพร่หลาย:สารก่อภูมิแพ้จากไรฝุ่นเป็นสารก่อภูมิแพ้ในร่มที่พบบ่อยที่สุด ปฏิกิริยาภูมิแพ้ต่อไรฝุ่นอาจสร้างปัญหาให้กับผู้ที่เป็นโรคหอบหืดและโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้โดยเฉพาะ
- ออกหากินเวลากลางคืน:ไรฝุ่นจะออกหากินมากที่สุดในตอนกลางคืน เมื่อพวกมันกินสะเก็ดผิวหนัง นี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อาการภูมิแพ้แย่ลงในเวลากลางคืน
- ความท้าทายในการกำจัด:แม้จะเป็นไปไม่ได้ที่จะกำจัดไรฝุ่นได้หมดสิ้น แต่จำนวนไรฝุ่นและระดับสารก่อภูมิแพ้สามารถลดลงได้ด้วยการทำความสะอาดที่เหมาะสมและผ้าคลุมเตียงและหมอนป้องกันสารก่อภูมิแพ้
- ความไวต่ออุณหภูมิ:ไรฝุ่นมีความไวต่ออุณหภูมิสุดขั้ว ความร้อนจัด (สูงกว่า 130°F หรือ 54°C) และความเย็น (ต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง) สามารถฆ่าพวกมันได้ ด้วยเหตุนี้การซักผ้าปูที่นอนด้วยน้ำร้อนหรือตากแดดจึงช่วยลดจำนวนไรฝุ่นได้
- ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตา:ไรฝุ่นมีขนาดเล็กมากจนไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตามนุษย์ ปฏิกิริยาการแพ้ที่เกิดขึ้นคือการตอบสนองต่ออนุภาคของเสียและเศษผิวหนังที่หลุดออกมา
สรุป
หากคุณแพ้ไรฝุ่น การสัมผัสกับไรฝุ่นอย่างต่อเนื่อง จะทำให้เสียสุขภาพ นอกจากมีอาการแพ้แล้ว หากเป็นอย่างต่อเนื่องจะเป็นการกระตุ้นให้เป็นโรคหืดหอบ โดยเฉพาะในเด็ก หากมีอาการแพ้ไรฝุ่น ให้ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อรับคำแนะนำ และการรักษาที่ดีที่สุดนี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/dust-mites/symptoms-causes/syc-20352173
- https://www.medicalnewstoday.com/articles/318419
- https://www.webmd.com/allergies/dust-allergies
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น