โรคไข้เลือดออก (Dengue Fever) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ไข้เลือดออก Dengue Fever

ไข้เลือดออก (Dengue Fever) คือโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue Virus) โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค มักพบในประเทศเขตร้อนและไข้เลือดออกจะระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี อาการของโรคไข้เลือดออกมีตั้งแต่ไม่รุนแรงมากนักไปจนถึงเสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที หากผู้ป่วยติดเชื้อไข้เลือดออกในครั้งแรก อาการอาจไม่รุนแรงมากนัก จะมีอาการประมาณ 4-7 วัน ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะคิดว่าเป็นไข้หวัดใหญ่ หากเด็กเล็กหรือผู้สูงอายุได้รับเชื้อไข้เลือดออก อาจมีอาการประมาณ 10 วัน โรคไช้เลือดออก (Dengue Fever)   สถิติโรคไข้เลือดออกในประเทศไทย จากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี 2563 ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-14 เม.ย. 63 มีรายงานผู้ป่วยทั่วประเทศ 8,746 ราย เสียชีวิต 6 ราย โดยกลุ่มอายุที่พบอัตราป่วยมากสุดคือ 5-14 ปี รองลงมาคือกลุ่มอายุ 15-24 ปี และอายุแรกเกิด-4 ปี ตามลำดับ ส่วนจังหวัดที่พบอัตราป่วยสูงสุด คือ ระยอง อ่างทอง และนครราชสีมา ตามลำดับ จำนวนผู้ป่วยสะสมตั้งแต่ต้นปีนี้ถึงปัจจุบันมีตัวเลขผู้ป่วยคิดเป็นร้อยละ 56 ของจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกในปี 62 ส่งผลให้การคาดการณ์โรคไข้เลือดออกในปี 63 นี้ มีโอกาสที่จะพบจำนวนผู้ป่วยมากกว่าปี 62

สาเหตุของไข้เลือดออก

เชื้อไวรัสเดงกีซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 4 สายพันธุ์ คือ DENV-1, DENV-2, DENV-3 DENV-4  ด้วยกัน มียุงลายตัวเมียเป็นพาหะนำโรค เมื่อยุงลายดูดเลือดผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสเดงกี เชื้อจะเข้าไปฝังตัวภายในกระเพาะและต่อมน้ำลายของยุงโดยมีระยะฟักตัวประมาณ 8-12 วัน เมื่อยุงที่มีเชื้อไวรัสไปกัดคนอื่นๆ ต่อ เชื้อไวรัสก็จะเข้าสู่กระแสเลือดของผู้ที่โดนกัด ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกตามมา ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกที่เคยได้รับเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใดจะมีภูมิคุ้มกันเฉพาะสายพันธุ์นั้น หากได้รับเชื้อไวรัสสายพันธุ์ที่ต่างออกไปจากครั้งแรกก็สามารถเป็นไข้เลือดออกได้อีก และโดยทั่วไปอาการของโรคครั้งที่สองมักรุนแรงกว่าครั้งแรก ปัจจุบันยังไม่มีรายงานไข้เลือดออกสายพันธุ์ใหม่ในประเทศไทย

การวินิจฉัยโรคไข้เลือดออก 

แพทย์จะทำการซักประวัติของผู้ป่วยว่าเคยเดินทางมาก่อนหรือไม่ และจะทำการตรวจเลือด และนำเข้าห้องปฏิบัติการ ดังนี้
  • ตรวจภูมิคุ้มกันต่อไข้เลือดออก (IgM) หรือตรวจ NS1 Ag ต่อเชื้อโดยตรง
  • ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) เพื่อหาความผิดปกติของส่วนประกอบทั้งหมดของเลือด ได้แก่ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด และความเข้มข้นของเลือด

อาการของไข้เลือดออกมีดังนี้

ผู้ป่วยไข้เลือดออกมีอาการดังนี้ 

ภาวะแทรกซ้อนของโรคไข้เลือดออก

ผู้ป่วยที่มีเป็นไข้เลือดออกในช่วงแรก อาการไม่ดีขึ้นอาจพัฒนาไปสู่โรคไข้เลือดออกระยะรุนแรงได้ 

ผู้ที่มีความเสี่ยงของไข้เลือดออก ได้แก่ :

  • มีแอนติบอดี้ต่อไวรัสไข้เลือดออกจากการติดเชื้อครั้งก่อน
  • มีอายุต่ำกว่า 12 ปี
  • เป็นผู้หญิง
  • ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ

แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยไข้เลือดออก 

ปัจจุบันยังไม่มียาต้านเชื้อไวรัสสำหรับโรคไข้เลือดออก การรักษาจึงเป็นไปตามอาการของร่างกายของผู้ป่วยเพื่อให้ผู้ป่วยฟื้นฟูสภาพร่างกายให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็ว แพทย์จะให้ยาลดไข้  ลดอาการปวดศีรษะ ยาแก้บรรเทาอาการปวดเมื่อย ผู้ป่วยที่รับประทานยาแอสไพรินและไอบูโพรเฟน อาจทำให้เลือดออกมากขึ้น ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน ในผู้ป่วยบางรายที่อาการไม่รุนแรง ระยะของโรคไข้เลือดออกอาจหายได้เองภายใน 2-7 วัน ผู้ป่วยควรนอนพักผ่อนเยอะๆ และหากมีอาการไม่ดีขึ้น หรือยังมีอาการไข้ขึ้นสูง ควรรีบไปพบแพทย์ทันที 

วิธีป้องกันโรคไข้เลือดออก

ไม่มีวัคซีนป้องกันไข้เลือดออก วิธีการป้องกันที่ดีที่สุดคือการหลีกเลี่ยงอย่าให้ยุงลายกัด และไม่ควรอยู่ในที่เสี่ยงของแหล่งยุงลาย วิธีปฏิบัติเพื่อห่างไกลยุงลายมีดังนี้ : 
  • หลีกเลี่ยงพื้นที่แออัด หรือมีคนอยู่เยอะ
  • ควรฉีดยากันยุงภายในบ้าน หากรู้สึกว่ามียุง
  • สวมเสื้อผ้าให้มิดชิด ป้องกันยุงกัด
  • ใช้เครื่องปรับอากาศแทนการเปิดหน้าต่าง
  • ตรวจสอบหน้าต่างและประตู ว่ามิดชิดหรือไม่ อย่าให้มีรูทียุงสามารถบินรอดเข้ามาได้ หากมีควรรีบทำการซ่อมแซม 
  • ควรนอนในมุ้ง หากจำเป็นต้องนอนในพื้นที่โล่ง 
  • ควรกำจัดแหล่งเพาะเชื้อของยุงลาย และให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกกับทุกคนในบ้านเพื่อให้ทุกคนช่วยกันรักสถานที่หรือไม่ทิ้งให้พื้นที่มีน้ำขังภายในบ้าน หากมีสิ่งของเหล่านี้ควรเก็บให้มิดชิดและควรหมั่นเปลี่ยนบ่อยๆ เช่น 
  • จานอาหารของสัตว์เลี้ยง
  • กระถางต้นไม้
  • แจกัน
  • กระป๋องต่างๆ 
  • ภาชนะเปล่าๆที่อยู่ในบริเวณบ้าน 

คำถามที่พบบ่อย

ไข้เลือดออกระยะไหนอันตราย  ระยะวิกฤติของไข้เลือดออกเริ่มที่การเสื่อมถอยและโดยทั่วไปจะกินเวลา 24–48 ชั่วโมง ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาการทางคลินิกดีขึ้นในระยะนี้ แต่ผู้ที่มีการรั่วของพลาสมามากสามารถพัฒนาไข้เลือดออกรุนแรงได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง อันเป็นผลมาจากการซึมผ่านของหลอดเลือดเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด อัตราการรอดชีวิตจากโรคไข้เลือดออกคือเท่าไร  ไข้เลือดออกโดยทั่วไปเป็นโรคที่จำกัดตัวเองโดยมีอัตราการเสียชีวิตน้อยกว่า 1% เมื่อรักษาแล้วไข้เลือดออกจะมีอัตราการเสียชีวิต 2-5% หากไม่ได้รับการรักษา โรคไข้เลือดออกจะมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 50% ผู้ป่วยไข้เลือดออกจะรอดชีวิตได้หรือไม่  แม้ว่าไข้เลือดออกจะทำให้เจ็บปวดมาก แต่มักไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต คนส่วนใหญ่ที่ได้รับจะเริ่มรู้สึกดีขึ้นหลังจาก ผ่านไปหลายวันและฟื้นตัวเต็มที่ภายในสองสามสัปดาห์ โรคไข้เลือดออกพบได้ทั่วไปในภูมิอากาศเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน เกิดอะไรขึ้นในวันที่ 7 ของไข้เลือดออก  ไข้เลือดออก ระยะอันตราย. ไข้เลือดออกในระยะวิกฤตจะเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 4 ถึงวันที่ 7 เนื่องจากผู้ป่วยแสดงอาการไข้ ในเวลานี้ผู้ป่วยอาจไม่มีไข้หรือไข้ลดลงดังนั้นเขาจึงดูเหมือนอัตนัยและไม่ไปโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษาทำให้โรคนี้เป็นอันตรายมากขึ้น ใครบ้างที่เสี่ยงเป็นไข้เลือดออก  ไข้เลือดออกอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตในผู้ที่มีโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวานและหอบหืด ความหลากหลายในยีนเฉพาะมีความเชื่อมโยงกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของภาวะแทรกซ้อนจากไข้เลือดออกที่รุนแรง โรคไข้เลือดออกพบได้บ่อยแค่ไหนในประเทศไทย  จำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกสูงสุดในช่วงเวลาดังกล่าว ได้แก่ภาคกลาง 996 ราย (ร้อยละ 15.73) กรุงเทพมหานคร 649 ราย (ร้อยละ 11.68) ภาคใต้ 625 ราย (ร้อยละ 6.59) ภาคเหนือ 296 ราย (ร้อยละ 2.40) และ 117 รายในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (0.54%)
ลิ้งค์ด้านล่างเป็นแหล่งข้อมูลบทความของเรา
  • https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/dengue-and-severe-dengue
  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/dengue-fever/symptoms-causes/syc-20353078
  • https://www.bbc.com/news/health-50487724 
  • https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK430732/ 

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด