ภาพรวม

กลุ่มอาการอ่อนล้าหรืออ่อนเพลียเรื้อรัง (CFS) คือภาวะแทรกซ้อนที่ผิดปกติที่ส่งผลให้เกิดอาการอ่อนเพลีียอย่างรุนแรงที่เรื้อรังนานไม่ต่ำกว่าหกเดือน และไม่สามารถอธิบายได้ถึงสาเหตุของอาการได้แน่ชัด เป็นอาการอ่อนเพลียอย่างรุนแรงทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ และไม่ดีขึ้นแม้จะได้พักก็ตาม  ลักษณะอาการอื่นๆที่อาจเกิดขึ้น:
  • การนอนหลับไม่สามารถทำให้รู้สึกสดชื่นได้
  • มีปัญหาด้านความจำ การให้ความสนใจและสมาธิ
  • เวียนศีรษะอย่างรุนแรงเมื่อลุกขึ้นจากการนอนหรือการลุกจากท่านั่ง
ภาวะนี้เรียกว่า myalgic encephalomyelitis (ME) บางครั้งอาจใช้ตัวย่อ ME/CFS  ซึ่งส่วนใหญ่อาจใช้ systemic exertional intolerance disease (SEID)            สาเหตุของกลุ่มอาการล้าเรื้อรังยังไม่รู้สาเหตุที่แน่ชัด และมีหลายทฤษฎี -นับตั้งแต่การติดเชื้อไวรัสไปจนถึงความตึงเครียดทางจิตใจ ผู้เชี่ยวชาญบางท่านเชื่อว่ากลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรังอาจถูกกระตุ้นโดยปัจจัยหลายๆอย่างรวมกัน ยังไม่มีการตรวจชนิดใดชนิดเดียวที่จะสามารถบ่งชี้ภาวะกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรังได้ คุณอาจต้องได้รับการตรวจทางการแพทย์หลายรูปแบบในการตัดโรคอื่นๆที่มีอาการคล้ายคลึงกันออกไป การรักษากลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรังจะมุ่งประเด็นไปที่อาการที่ดีขึ้น Chronic fatigue syndrome

อาการ

อาการของกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรังมีความหลากหลายในแต่ละคน และอาการรุนแรงสามารถแปรเปลี่ยนได้ในแต่ละวัน สัญญานและอาการอาจมีดังต่อไปนี้:
  • อาการล้า
  • มีปัญหาด้านความจำและสมาธิ
  • เจ็บคอ
  • ปวดศีรษะ
  • ต่อมน้ำเหลืองที่คอหรือรักแร้โต
  • ปวดข้อต่อหรือกล้ามเนื้อที่ไม่สามารถอธิบายได้
  • มีอาการเวียนศีรษะที่ยิ่งแย่เมื่อลุกจากที่นอนหรือลุกจากการนั่ง
  • การนอนหลับไม่ช่วยทำให้สดชื่นได้
  • รู้สึกอ่อนเพลียรุนแรงหลังการออกกำลังทางกายหรือจิตใจ

ควรไปพบแพทย์เมื่อไร

ความเหนื่อยล้าเป็นอาการของโรคเจ็บไข้ได้ป่วยทุกโรค เช่นการติดเชื้อหรือกลุ่มโรคจิตเภท เหมือนโรคทั่วไปคุณควรไปพบแพทย์หารมีอาการเหนื่อยล้ามากเกินไปหรือไม่ยอมหายไป

สาเหตุ

สาเหตุของกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรังยังคงไม่ทราบแน่ชัด หลายๆคนอาจเกิดมาพร้อมกับการมีแนวโน้มที่จะมีภาวะผิดปกตินี้ ซึ่งสามารถถูกกระตุ้นได้ด้วยหลายปัจจัยรวมกัน สิ่งกระตุ้นที่อาจทำให้เกิดอาการเช่น:
  • การติดเชื้อไวรัส เพราะมีหลายๆคนเกิดกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรังขึ้นหลังมีการติดเชื้อไวรัส นักวิจัยจึงตั้งคำถามเกี่ยวกับเชื้อไววัสที่อาจเป็นตัวกระตุ้นความผิดปกตินี้ เชื้อไวรัสตัวที่น่าสงสัยรวมไปถึงเชื้อไวรัสเอ็บสไตบาร์ เชื้อไวรัส human herpes virus สายพันธุ์ 6 
  • ระบบภูมิต้านทานมีปัญหา ระบบภูมิต้านทานในคนที่เป็นภาวะกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรังมักปรากฏให้เห็นว่ามีส่วนบกพร่องเล็กน้อย แต่ก็ยังเป็นที่แน่ชัดว่าการบกพร่องนี้คือสาเหตุของความผิดปกตินี้
  • ฮอร์โมนไม่สมดุล คนที่เป็นกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรังในบางครั้งพบว่ามักมีระดับฮอร์โมนในเลือดที่ผลิตในไฮโปทาลามัส ต่อมใต้สมองหรือต่อมหมวกไตมีความผิดปกติ แต่ความผิดปกติที่แน่ชัดยังคงไม่ทราบแน่นอน 
  • ได้รับบาดเจ็บทางร่างกายหรือทางอารมณ์ เคยมีรายงานในบางรายมักมีการบาดเจ็บ การผ่าตัดหรือมีความเครียดทางอารมณ์อย่างชัดเจนในช่วงสั้นๆก่อนเกิดอาการดังกล่าว

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรังคือ:

  • อายุ กลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรังสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกช่วงอายุ แต่ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับวัยหนุ่มสาวถึงผู้ใหญ่วัยกลางคน
  • เพศ ผู้หญิงมักถูกวินิจฉัยว่ามีภาวะกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรังได้บ่อยกว่าในผู้ชาย แต่นั้นอาจเป็นเพราะผู้หญิงมักเป็นเพศที่มาพบแพทย์เพื่อบอกอาการให้แพทย์ฟังบ่อยกว่าผู้ชายนั่นเอง

ภาวะแทรกซ้อน

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรังคือ:
  • มีข้อจำกัดในการดำเนินชีวิต
  • มีการขาดงานเพิ่มมากขึ้น
  • แยกตัวออกจากสังคม
  • ภาวะซึมเศร้า
อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับ:ภาวะซึมเศร้า

การวินิจฉัย

ยังไม่มีการตรวจรูปแบบเดียวที่สามารถวินิจฉัยโรคในกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรังได้แน่นอน อาการสามารถคล้ายคลึงกับปัญหาสุขภาพอื่นๆซึ่งรวมไปถึง:
  • การนอนหลับผิดปกติ  อาการอ่อนล้าเรื้อรังอาจมีสาเหตุมาจากการนอนหลับที่ผิดปกติ การตรวจสุขภาพการนอนหลับสามารถประเมินได้ว่าการพักผ่อนของคุณเริ่มถูกรบกวนจากความผิดปกติบางอย่างเช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุขหรือโรคนอนไม่หลับ 
  • มีปัญหาจากโรค อาการอ่อนเพลียคืออาการทั่วๆไปของโรคหลายๆอย่างเช่นโรคโลหิตจาง โรคเบาหวานและภาวะขาดไทรอยด์ (ไฮโปไทรอยด์) จากการตรวจในห้องปฏิบิติการสามารถตรวจเช็คเลือดเพื่อหาหลักฐานบางอย่างที่น่าสงสัยได้
  • มีปัญหาทางจิตเภท อาการอ่อนล้าคืออาการที่มัก้กืดขึ้นจากปัญหาทางด้านจิตใจ เช่นภาวะซึมเศร้าและภาวะวิตกกังวล ที่ปรึกษาจะสามารถประเมินได้ว่าหนึ่งในปัญหาเหล่านี้คือสาเหตุของอาการอ่อนล้าหรือไม่
พบว่าคนที่มีภาวะกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรังส่วนใหญ่มักมีปัญหาสุขภาพอื่นๆร่วมด้วย เช่นการนอนหลับมีปัญหา โรคลำไส้แปรปรวน โรคไฟโบรมัยอัลเจีย ภาวะซึมเศร้าหรือภาวะวิตกกังวล   มีอาการที่คาบเกี่ยวกันหลายอย่างระหว่างกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรังกับโรคไฟโบรมัยอัลเจียที่นักวิจัยคิดว่าความผิดปกติทั้งสองนี้มีลักษณะต่างกันจากโรคเหมือนกัน

เกณฑ์การวินิจฉัยที่แน่นอน

แนวทางที่ถูกจัดทำขึ้นโดย  United States Institute of Medicine เพื่อกำหนดอาการเหนื่อยล้าที่เกิดขึ้นร่วมกับกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรังคือ:
  • มีความรุนแรงที่ไปรบกวนความสามารถในการทำกิจกรรมก่อนเกิดอาการเจ็บป่วย
  • มีอาการใหม่หรือเริ่มมีอาการที่ชัดเจน (ไม่ใช่ตลอดชีวิต)
  • ไม่สามารถบรรเทาอาการลงได้ด้วยการพักผ่อน
  • อาการแย่ลงจากความเครียดทางร่างกาย จิตใจหรือทางอารมณ์
ตามเกณฑ์ของทาง Institute of Medicine’s diagnostic สำหรับกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรัง คนที่เข้าข่ายคือต้องมีอาการอย่างน้อยหนึ่งในสองอาการดังต่อไปนี้:
  • มีปัญหาด้านความทรงจำ และสมาธิ
  • อาการเวียนศีรษะแย่มากขึ้นเมื่อลุกจากที่นอนหรือลุกจากท่านั้งขึ้นยืน
อาการเหล่านี้จะต้องปรากฏอาการมาไม่ต่ำกว่าหกเดือนและเกิดขึ้นอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของช่วงเวลาของอาการขนาดปานกลางหรือรุนแรง

การรักษา

ยังไม่สามารถรักษากลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรังได้ การรักษาจะมุ่งไปที่การบรรเทาอาการ อาการที่ทำให้เกิดปัญหาหรือภาวะที่ทำให้เกิดการพิการควรเป็นสิ่งที่ต้องได้รับการแก้ไขก่อนสิ่งอื่น 

ยารักษาโรค

ปัญหาบางอย่างที่เกิดขึ้นร่วมกับกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรังสามารถดีขึ้นได้ด้วยยาจากแพทย์สั่งและยาที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป เช่น:
  • ภาวะซึมเศร้า หลายๆคนที่มีปัญหาด้านสุขภาพระยะยาว เช่นกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรังมักมีภาวะซึมเศร้าร่วมด้วย การรักษาภาวะซึมเศร้าจะช่วยทำให้การรับมือกับกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรังสามารถทำได้ง่ายขึ้น ยาต้านเศร้าในปริมาณยาขนาดต่ำก็สามารถช่วยทำให้การนอนหลับดีขึ้นและบรรเทาอาการปวด 
  • ภาวะทนการอยู่ในท่ายืนไม่ได้ ในบางรายที่เป็นภาวะกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรัง โดยเฉพาะช่วงวัยรุ่น มีความรู้สึกเวียนศีรษะหรือคลื่นไส้เมื่อลุกขึ้นยืนหรือนั่งตัวตรง การรับประทานยาจะช่วยควบคุมความดันเลือดหรือจังหวะการเต้นของหัวใจอาจ 
  • ความเจ็บปวด หากยาที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปเช่นไอบูโรเฟน (แอดวิล มอทรินไอบีและอื่นๆ) และยานาพรอกเซน โซเดียม (อัลลีฟ) ไม้สามารถช่วยได้ดีมากพอ ยาที่แพทย์สั่งที่ไว้ใช้รักษาโรคไฟโบรมัยอัลเจียอาจเป็นตัวเลือกที่ช่วยได้ รวมไปถึงยาพรีกาบาลิน(ไลริกา) ดูล็อกซีทีน (ซิมบัลตา) อะมิทริปไทลีนหรือยากาบาเพนติน (นิวรอนติน) 

การบำบัด

หลายคนที่มีภาวะกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรังสามารถได้รับประโยชน์ดังนี้:
  • การเข้ารับการปรึกษา การได้พูดคุยกับที่ปรึกษาจะสามารถช่วยสร้างทักษะการรับมือกับการเจ็บป่วยเรื้อรัง ข้อจำกัดในการจัดการปัญหาในที่ทำงานหรือที่โรงเรียน และความเป็นไปในครอบครัวดีขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับการจัดการกับภาวะซึมเศร้าได้.
  • การจัดการกับปัญหาการนอน การนอนไม่เพียงพอสามารถทำให้เกิดอาการอื่นๆที่ทำให้ยากในการจัดการมากขึ้น แพทย์อาจแนะนำให้หลีกเลี่ยงคาเฟอีนหรือการเปลี่ยนเวลานาน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับสามารถรักษาได้ด้วยการใช้เครื่องที่ช่วยส่งแรงดันอากาศผ่านหน้ากากในขณะหลับ
  • การออกกำลังกาย การออกกำลังกายแบบรุนแรงมักนำมาซึ่งอาการที่แย่ลง แต่การรักษาการทำกิจกรรมไว้จะสร้างแรงต้านทานได้จึงเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันการเกิดภาวะถดถอยของร่างกายได้ รูปแบบการออกกำลังกายควรเริ่ต้นจากความเข้มข้นที่ต่ำมากๆและค่อยๆเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปอาจช่วยการทำงานในระยะยาวให้ดีขึ้นได้

อาการอ่อนเพลียหลังการออกกำลังกาย

คนที่มีภาวะกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรังจะมีอาการแย่ลงหลังการใช้แรงทางร่างกาย ทางจิตใจและทางอารมณ์ สิ่งนี้เรียกว่าอาการอ่อนเพลียหลังการออกกำลังกายและอาจเกิดอาการหลายวันหรือหลายสัปดาห์หลังการใช้แรงอย่างหนัก คนที่มีอาการอ่อนเพลียหลังการออกกำลังกายมักพบว่าไม่สามารถหาจุดที่สมดุลระหว่างการออกกำลังกับการพักผ่อนได้ดีนัก เป้าหมายคือการพยายามรักษากิจกรรมไว้แต่ต้องไปมากจนเกินไป

การแพทย์ทางเลือก

มีการบำบัดทางเลือกหลายรูปแบบที่พบว่าสามารถช่วยอาการอ่อนล้าเรื้อรังได้ แต่ยังไม่มีหลักฐานที่เพียงพอมากนัก คนไข้ที่มีภาวะของกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรังอาจมีความต่อต่อยารักษาโรค ซึ่งรวมไปถึงผลิตภัณฑ์สมุนไพรและอาหารเสริม การรักษามีค่าใช้จ่ายสูงหรืออาจก่อให้เกิดอันตรายที่ควรหลีกเลี่ยง
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด