6 วิธีจัดการกับพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็ก (6 Ways to Deal With Your Child’s Aggressive Behavior)

หากคุณเป็นพ่อแม่ และต้องรับมือกับพฤติกรรมอาละวาด สติแตกไม่สามารถควบคุมตัวเองได้และทำตัวประหลาด การควบคุมอารมณ์คือทักษะที่เราทุกคนต้องเรียนรู้ และเด็กบางคนอาจต้องใช้เวลานานในรู้จักการควบคุมตัวเองนานมากกว่าคนอื่น เด็กส่วนใหญ่มักแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวใช่หรือไม่  พฤติกรรมเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาการ เด็กวัยหัดเดินทั่วๆไปมักมีพฤติกรรมก้าวร้าวกันเกือบทั้งสิ้น ในช่วงขั้นตอนนี้เด็กจะอยากชอบแสดงพฤติกรรมเพื่อแสดงความรู้สึกออกทางร่างกายเมื่อประสบกับความรู้สึกหงุดหงิด เพราะในช่วงวัยดังกล่าวนี้เด็กๆจะยังไม่มีทักษะทางด้านภาษาที่มีมากพอจะแสดงความรู้สึกความต้องการของตัวเอง เช่น การผลักเด็กล้มที่สน่มเด็กเล่นอาจถือเป็นเรื่องปกติ เรายังไม่ควรเรียกสิ่งนี้ว่าก้าวร้าวเว้นเสียแต่ว่าเป็นรูปแบบที่เกิดขึ้นเป็นประจำ อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับ: เคล็ดลับในการรับมือเมื่อลูกร้องไห้อ่านได้ที่นี่

เด็กก้าวร้าวและเด็กมีปัญหาแยกแยะได้อย่างไร

เมื่อถึงช่วงเวลาที่เด็กโตมากพอจะมีทักษะในการพูดการสื่อสารแสดงความรู้สึกของตัวเอง -ราว 7 ขวบ- พฤติกรรมการแสดงออกที่ก้าวร้าวควรจะต้องเริ่มลดน้อยลง หากพฤติกรรมก้าวร้าวยังไม่ลดน้อยลงจึงเป็นเวลาที่น่าเป็นกังวลใจ โดยเฉพาะหากเด็กทำร้ายตัวเองหรือผู้อื่นให้เกิดอันตราย หรทอทำความเสียหายกับทรัพย์สินอยู่บ่อยครั้ง จับตาดูสัญญานเตือนพฤติกรรมของเด็กที่อาจมีแนวโน้มที่ส่งผลกระทบไปในทางลบเช่น:
  • มีปัญหายุ่งยากด้านการเรียน
  • การมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนๆมีปัญหา
  • สร้างความวุ่นวายที่บ้านบ่อยๆ
อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับ: ปัญหาด้านการเรียนรู้อ่านได้ที่นี่ สัญญานเตือนเหล่านี้เป็นสิ่งที่ควรเป็นกังวลและไม่ควรเพิกเฉย พฤติกรรมของเด็กอาจเกิดขึ้นเพราะต้องการเรียกร้องความสนใจ โรคADHD โรควิตกกังวล โรคการเรียนรู้บกพร่อง และภาวะออทิซึ่ม สามารถเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าวที่เป็นปัญหาได้ทั้งสิ้น “แต่ไม่ว่าจะมาจากสาเหตุใดก็ตาม หากพฤติกรรมก้าวร้าวที่เกิดขึ้นนั้นส่งผลกระทบต่อการทำงานทุกๆวัน ก็คงต้องถึงเวลาพบแพทย์ซะที อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับ: โรค ADHD ได้ที่นี่ 6 Ways to Deal With Your Child’s Aggressive Behavior

พ่อแม่สามารถช่วยเหลือลูกน้อยของตัวเองได้อย่างไร 

ยุทธวิธีสำหรับการช่วยเหลือลูกน้อยในการสยบความก้าวร้าวของพวกเขาได้ดังต่อไปนี้:
  1. ใจเย็น  “เมื่อเด็กมีการแสดงอารมณ์ที่มากเกินไป และพ่อแม่ที่มีผลกับอารมณ์เหล่านี้มากก็จะส่งผลให้เด็กมีความก้าวร้าวเพิ่มขึ้น ในทางกลับกันลองควบคุมอารมณ์ตัวเองเพื่อเป็นต้นแบบที่ดีให้กับลูกน้อย 
  2. อย่ายอมแพ้กับพติกรรมเด็กก้าวร้าว ยกตัวอย่างเช่น หากเด็กไปอาละวาดที่ร้านขายของเพราะอยากได้ซีเรียล อย่ายอมจำนนและซื้อยอมซื้อให้ สิ่งนี้เหมือนเป็นของรางวัลและเท้ากับเป็นการสนับสนุนให้เด็กมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่อไป
  3. ชื่นชมเมื่อเด็กทำตัวดี ให้รางวัลเมื่อเด็กทำตัวดี แม้แต่กับเวลาที่เด็กน้อยไม่ทำอะไรที่น่ากวนใจ หากมื้อค่ำผ่านไปได้ด้วยดีคุณอาจชื่นชมเด็กเช่น “แม่ชอบมากเลยที่ลูกน่ารักตอนกินข้าวเย็น” การตามใจและการตบด้วยรางวัลไม่ใช่เรื่องจำเป็น เพียงแค่การยอมรับและชื่นชมคือพลังที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่พ่อแม่จะมีให้ลูกน้อยของตนได้แล้ว
  4. ช่วยให้เด็กรู้จักเรียนรู้การแสดงตัวเองด้วยชื่อของอารมณ์ที่เกิดขึ้น เช่น คุณอาจจะพูดว่า “แมjรู้ว่าตอนนี้ลูกรู้สึกโกรธจริงๆ” คำพูดเหล่านี้จะทำให้เด็กเรียนรู้ความรู้สึกและสนับสนุนให้เด็กรู้ว่าจะต้องใช้คำพูดอย่างไรแทนที่จะไปแสดงออกผ่านทางร่างกาย
  5. เรียนรู้รูปแบบอารมณ์ของเด็กและสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิด เด็กชอบอาละวาดทุกๆเช้าก่อนไปโรงเรียนหรือไม่ ดังนั้นควรจัดรูปแบบตอนเช้าให้เป็นกิจวัตรประจำวันทุกวัน แบ่งย่อยสิ่งที่ต้องทำออกเป็นอบ่างๆให้ง่ายที่สุดและคอยใช้เวลามาเตือน เช่น “เราเหลือเวลาอีก10 นาทีนะครับ” ตั้งเป้าไว้เช่นสามารถไปโรงเรียนได้ตรงเวลาถึง 4 ใน 5 วัน จากนั้นก็ให้รางวัลแก่ลูกน้อยเมื่อเขาหรือเธอสามารถทำได้ตามเป้าหมายที่วางไว้
  6. หารางวัลที่เหมาะสม อย่าไปใส่ใจเรื่องของของที่ต้องหาซื้อหรือจัดหา รางวัลอย่างเช่นได้มีเวลาพ้เศษครึ่งชั่วโฒงร่วมกับพ่อหรือแม่ ออกไปทานอาหารนอกบ้านหรือได้เลือกหนังที่อยากดูแล้วมานั่งดูด้วยกันในเวลาค่ำคืนแห่งการดูหนัง
หากลูกน้อยมีปัญหากับการควบคุมตัวเอง การใช้ยุทธิวิธีต่างๆเหล่านี้จะช่วยทำให้พ่อแม่ช่วยควบคุมพฤติกรรมต่างๆของเด็กได้ดีขึ้น หากสถานการณ์ดูเหมือนจะไม่สามารถรับมือได้ไหว จำไว้ว่าคุณไม่ใช่คนเดียวที่มีลูกน้อยที่มีพฤติกรรมดังกล่าว จิตเวชเด็กและวัยรุ่นจะสามารถช่วยเหลือทั้งเด็กและครอบครัวแก้ไขอารมณ์และพฤติกรรมก้าวร้าวได้ 

ขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญหากจำเป็น

หากพฤติกรรมก้าวร้าวของบุตรหลานของคุณยังคงมีอยู่ ให้พิจารณาขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต เช่น นักบำบัดหรือที่ปรึกษา พวกเขาสามารถให้การสนับสนุน คำแนะนำ และกลยุทธ์เพิ่มเติมในการจัดการพฤติกรรมที่ท้าทายได้ พฤติกรรมก้าวร้าวในเด็กบางครั้งอาจเป็นสัญญาณของปัญหาที่ซ่อนอยู่ เช่น ความวิตกกังวล ความบอบช้ำทางจิตใจ หรือโรคสมาธิสั้น (ADHD) หากคุณสงสัยว่าอาจมีปัญหาที่ซ่อนอยู่ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมของบุตรหลานของคุณ ให้ขอการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเพื่อการประเมินและการสนับสนุนเพิ่มเติม สิ่งสำคัญคือต้องจัดการกับพฤติกรรมก้าวร้าวในเด็กด้วยความเห็นอกเห็นใจ ความเข้าใจ และความสม่ำเสมอ เด็กทุกคนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ดังนั้นอาจต้องใช้เวลาในการค้นหากลยุทธ์ที่เหมาะกับลูกของคุณมากที่สุด จงอดทนและแน่วแน่ และอย่าลืมเฉลิมฉลองชัยชนะเล็กๆ น้อยๆ ไปพร้อมกัน
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด