โรคหลอดลมโป่งพองคืออะไร
หลอดลมโป่งพอง (Bronchiectasis) เป็นภาวะที่พื้นที่ของหลอดลมปอดได้รับความเสียหายกว้างขึ้น และหนาตัวขึ้นอย่างถาวร
การที่หลอดลมเกิดความเสียหาย คือสาเหตุที่ทำให้เกิดการสะสมของแบคทีเรียและเมือกขึ้นภายในปอด ซึ่งจะมีผลต่อการติดเชื้อและการอุดตันของทางเดินหายใจ
ปัจจุบันนี้ยังไม่สามารถรักษาโรคหลอดลมโป่งพองให้หายขาดได้ แต่การเยียวยารักษาทำให้สามารถใช้ชีวิตตามปกติได้
อย่างไรก็ตาม ความเสียหายของถุงลมนี้ควรต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับปอดและเพื่อให้การไหลเวียนของออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายยังสามารถเกิดขึ้นได้
สาเหตุของหลอดลมโป่งพองเกิดจากอะไร
หลอดลมโป่งพองการอาจเกิดจากได้รับบาดเจ็บที่ปอด ซึ่งในภาวะเช่นนี้มี 2 ประเภทหลักๆ ดังนี้
ประเภทที่ 1 ประเภทที่เกี่ยวข้องกับ Cystic fibrosis (CF) หรือที่รู้จักในชื่อ CF bronehiectasis ซึ่ง CF เป็นภาวะทางพันธุกรรมที่ทำให้เกิดการสร้างเมือกที่ผิดปกติ
ประเภทที่ 2 ประเภทที่ไม่เกี่ยวข้องกับ CF ถือเป็นภาวะที่พบบ่อยที่สุดที่นำไปสู่การเป็นโรคหลอดลมโป่งพอง ได้แก่
-
ระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ
-
โรคลำไส้อักเสบ
-
การขาด alpha 1-antitrypsin (COPD ที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม )
-
ติดเชื้อ HIV
-
โรคแพ้เชื้อรา (เป็นปฏิกริยาภูมิแพ้ที่เกิดจากเชื้อราในปอด)
CF จะมีผลกระทบต่อปอดและอวัยวะอื่น ๆ เช่น ทำให้เกิดการติดเชื้อซ้ำซ้อนในตับและตับอ่อน ส่วนใน และทำให้อวัยวะอื่น ๆ การทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ
อาการของโรคหลอดลมโป่งพอง
โรคหลอดลมโป่งพองจะใช้เวลานานเป็นเดือน หรือหลายเดือน หรือเป็นปีจึงจะแสดงอาการให้เห็น ซึ่งอาการโดยทั่วไป มีดังนี้
-
ไออย่างต่อเนื่อง ไอเรื้อรังทุกวัน
-
เมื่อหายใจจะมีเสียงผิดปกติหรือเสียงดังฮืด ๆ ในอก
-
หายใจหอบถี่
-
ไอแบบมีเสมหะมากๆ ทุกวัน
-
น้ำหนักลด
-
ปลายนิ้วมือหรือนิ้วเท้ามีการขยายตัวออกเหมือนไม้พลองหรือไม้กระบอง
-
ติดเชื้อทางเดินหายใจบ่อยๆ
หากมีอาการดังกล่าวมานี้ ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคและทำการรักษาทันที
การวินิจฉัยโรคหลอดลมโป่งพอง
การวินิจฉัยโรคหลอดลมอักเสบมักใช้การสแกนเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอก หรือการทำคอมพิวเตอร์สแกนทรวงอก เนื่องจากการเอกซเรย์ทรวงอกไม่ให้รายละเอียดมากพอ
การทำคอมพิวเตอร์สแกนทรวงอก เป็นวิธีการตรวจที่ไม่สร้างความเจ็บปวดและยังสามารถแสดงภาพของทางเดินหายใจและโครงสร้างอื่นในทรวงอกที่ถูกต้องแม่นยำ ทำให้เห็นปัญหาในบริเวณและตำแหน่งที่ปอดเสียหายได้อย่างชัดเจน
หลังจากการทำคอมพิวเตอร์สแกนทรวงอกแล้วพบว่าผู้ป่วยเป็นโรคหลอดลมโป่งพอง แพทย์ผู้วินิจฉัยจะหาสาเหตุของโรค โดยการซักประวัติ และพอจิจารณาจากผลการตรวจร่างกายของผู้ป่วย
สิ่งสำคัญในการให้การรักษาคือ ต้องรู้สาเหตุที่แท้จริงของโรค เพื่อการรักษาที่ถูกต้องและป้องกันไม่ให้มีอาการของโรครุนแรงกว่าเดิม ซึ่งมีหลายสาเหตุที่เป็นตัวกระตุ้นหรือเป็นสาเหตุของโรคหลอดลมโป่งพอง
การประเมินสาเหตุของโรค ส่วนใหญ่ประกอบด้วยการทดสอบในห้องปฏิบัติการและการทดสอบทางจุลชีววิทยา รวมถึงทดสอบการทำงานของปอดด้วย
การประเมินในเบื้องต้น อาจทำดังนี้
-
การตรวจนับเม็ดเลือด และแยกกลุ่มด้วยลักษณะที่แตกต่างกันของเม็ดเลือด
-
ตรวจสอบปริมาณอิมมูโนโกลบูลินชนิดต่างๆ (IgG, IgM, and IgA)
-
การเพาะเชื้อเสมหะเพื่อตรวจหาแบคทีเรีย ไมโครแบคทีเรีย และเชื้อรา
หากแพทย์สงสัยว่ามีภาวะ Cystic fibrosis แพทย์จะสั่งให้ทำการทดสอบคลอไรด์ในเหงื่อ (sweat chloride test) เหงื่อ หรือทำการทดสอบทางพันธุกรรม
ทางเลือกในการรักษาโรคหลอดลมโป่งพอง
การรักษาโรคเฉพาะอย่าง อาจสามารถชะลออาการของโรคหลอดลมโป่งพองได้ ซึ่ง โรคดังกล่าว ได้แก่
-
การติดเชื้อไมโครแบคทีเรีย
-
ภูมิคุ้มกันบางอย่างบกพร่อง
-
โรคปอดเรื้อรัง
-
โรคปอดอักเสบจากการสำลักที่กลับมาเป็นซ้ำ
-
โรคแพ้เชื้อรา
-
อาจจะเป็นโรคภูมิแพ้ตัวเอง
โดยทั่วไปแล้วโรคหลอดลมโป่งพองยังไม่สามารถรักษาได้ จะให้การรักษาตามอาการที่เกิดขึ้น หรือกล่าวได้ว่าเป็นเป็นการควบคุมไม่ให้มีการติดเชื้อและควบคุมสารคัดหลั่งที่เกิดขึ้นให้ได้
นอกจากนี้ยังมีจำเป็นอย่างยิ่งในการป้องกันไม่ให้เกิดการอุดตันของทางเดินหายใจเพิ่มขึ้น และลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับปอดให้น้อยที่สุด วิธีการรักษาโรคหลอดลมโป่งพอง โดยทั่วไปทำโดย
-
การทำให้ทางเดินหายใจโล่ง ด้วยการฝึกหายใจและกายภาพบำบัดหน้าอก
-
การฟื้นฟูสมรรถภาพปอด n
-
การใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันและรักษาการติดเชื้อ (กำลังมีการค้นคว้าเกี่ยวกับยาปฏิชีวนะชนิดใหม่ ที่เป็นชนิดใช้สูดดม)
-
การใช้ยาขยายหลอดลมเพื่อทำให้หายในสะดวก เช่น albuterol (Proventil) และ tiotropium (Spiriva)
-
กินยาลดน้ำมูก
-
กินยาขับเสมหะ เพื่อช่วยให้เสมหะขับออกมาได้ในขณะที่ไอ
-
การบำบัดด้วยออกซิเจน
-
รับวัคซีน เพื่อป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจ
การทำกายภาพบำบัดหน้าอก เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของการบำบัดที่สามารถช่วยได้ วิธีการคือ สวมเสื้อกั๊กที่สั่นด้วยความถี่สูงเพื่อช่วยล้างเมือกในปอด เสื้อกั๊กจะบีบอัดและคลายหน้าอกของผู้สวมใส่เบา ๆ ทำให้เกิดผลเช่นเดียวกับอาการไอ ซึ่งจะทำให้ขับเมือกออกจากผนังของหลอดลม
หากมีเลือดออกในปอด หรือหลอดลมโป่งพองมีอยู่เพียงส่วนเดียวของปอด อาจต้องทำการผ่าตัดเพื่อกำจัดส่วนนั้นออกไป
ได้แก่ การระบายสารคัดหลั่งในหลอดลมโดย ใช้แรงโน้มถ่วงของโลกเป็นตัวช่วย เป็นอีกส่วนหนึ่งของการรักษาในแต่ละวัน ซึ่งนักบำบัดโรคระบบทางเดินหายใจสามารถสอนเทคนิคต่างๆ เพื่อช่วยขับเมือกส่วนเกินออกมาได้ด้วยการไอ
หากมีภาวะอื่นที่ทำให้เกิดโรคหลอดลมโป่งพอง เช่น ความผิดปกติของภูมิคุ้มกัน หรือปอดอุดตันเรื้อรัง แพทย์ผู้ทำให้รักษาจะทำการรักษาภาวะเหล่านั้นควบคู่ไปด้วย
โรคหลอดลมโป่งพองสามารถป้องกันได้หรือไม่?
ประมาณ 50% ของโรคหลอดลมโป่งพองที่ไม่ใช่เกิดจาก Cystic Fibrosis ยังไม่สามารถทราบสาเหตุที่แท้จริงของโรคได้
นอกจากนี้ การหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ อากาศเสีย ควันจากอาหาร และสารเคมี ที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางพันธุกรรมและปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ ที่มีผลต่อปอด สามารถช่วยปกป้องปอดและรักษาสุขภาพปอดได้
ผู้ปกครองและเด็ก ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัด ไอกรน และโรคหัด เนื่องจากโรคเหล่านี้จะมีผลต่อต่อการเกิดโรคเมื่อโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่
เนื่องจากบ่อยครั้งที่เราไม่ทราบสาเหตุของการก่อโรคที่แท้จริง การป้องกันจึงเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยได้ผลมากนัก ดังนั้น หากรู้ว่าเป็นโรคนี้ควรรีบทำการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อป้องกันความเสียหายหนักที่อาจเกิดขึ้นกับปอด จึงถือเป็นสิ่งที่สำคัญ
ภาวะแทรกซ้อนของหลอดลมโป่งพอง
โรคหลอดลมโป่งพองเป็นภาวะทางเดินหายใจเรื้อรังที่มีลักษณะการขยับขยายและรอยแผลเป็นของทางเดินหายใจในปอดอย่างผิดปกติ ภาวะนี้อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้แก่:- การติดเชื้อทางเดินหายใจ:บุคคลที่เป็นโรคหลอดลมโป่งพองจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเดินหายใจบ่อยครั้ง เช่น หลอดลมอักเสบ ปอดบวม และไซนัสอักเสบ การติดเชื้อเหล่านี้อาจทำให้อาการของโรคหลอดลมโป่งพองรุนแรงขึ้นและนำไปสู่ความเสียหายของปอดเพิ่มเติม
- ไอเป็นเลือด:ไอเป็นเลือดหมายถึงการไอเป็นเลือดและอาจเกิดขึ้นได้ในผู้ที่เป็นโรคหลอดลมโป่งพองเนื่องจากหลอดเลือดที่เปราะบางและเสียหายในทางเดินหายใจที่ขยายใหญ่ขึ้น ภาวะไอเป็นเลือดอย่างรุนแรงอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้และต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ทันที
- การทำงานของปอดลดลง:เมื่อเวลาผ่านไป โรคหลอดลมโป่งพองอาจทำให้การทำงานของปอดลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจส่งผลให้ความจุปอดลดลง ความอดทนในการออกกำลังกายลดลง และหายใจลำบาก
- อาการระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง:ผู้ที่เป็นโรคหลอดลมโป่งพองมักมีอาการทางเดินหายใจเรื้อรัง เช่น ไอเรื้อรัง มีเสมหะ หายใจมีเสียงหวีด และหายใจไม่สะดวก ซึ่งอาจส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อคุณภาพชีวิต
- ภาวะทุพโภชนาการ:การติดเชื้อในปอดเรื้อรังและความยากลำบากในการล้างเสมหะออกจากทางเดินหายใจอาจทำให้น้ำหนักลดลงและภาวะทุพโภชนาการในผู้ที่เป็นโรคหลอดลมโป่งพอง
- การกำเริบของโรคหลอดลมโป่งพอง:การกำเริบของโรคหลอดลมโป่งพองเป็นระยะ ๆ อาจเกิดขึ้นได้ซึ่งอาการจะแย่ลงอย่างกะทันหัน อาการกำเริบเหล่านี้อาจต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำ
- ภาวะแทรกซ้อนในปอด:เมื่อเวลาผ่านไป โรคหลอดลมโป่งพองสามารถเพิ่มความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ในปอด เช่น ฝีในปอด เยื่อหุ้มปอดอักเสบ หรือปอดบวม (ปอดยุบ)
- คุณภาพชีวิตที่ลดลง:เนื่องจากธรรมชาติของโรคหลอดลมโป่งพองเรื้อรังและอาการที่เกี่ยวข้อง บุคคลที่มีอาการนี้อาจพบกับคุณภาพชีวิตที่ลดลง รวมถึงข้อจำกัดในการทำกิจกรรมประจำวัน ความเหนื่อยล้าที่เพิ่มขึ้น และการแยกตัวออกจากสังคม
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
-
https://www.nhs.uk/conditions/bronchiectasis/
-
https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/21144-bronchiectasis
-
https://www.nhlbi.nih.gov/health-topics/bronchiectasis
-
https://www.webmd.com/lung/what-is-bronchiectasis
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team