ภาวะการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (Acute Respiratory Distress Syndrome) – อาการ, การรักษา

ภาวะการหายใจล้มเหลวเฉียบพลันคืออะไร 

ภาวะการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (ARDS) คือภาวะเกิคความรุนแรงกับปอด เกิดขึ้นเมื่อของเหลวเข้าไปในถุงลมของปอด ของเหลวมากเกินไปในปอดจะไปลดจำนวนออกซิเจนหรือเพิ่มจำนวนคาร์บอนไดออกไซด์ในกระแสเลือด ภาวะ ARDS จะไปขัดขวางอวัยวะของคุณในการได้รับออกซิเจนที่อวัยวะต้องการเพื่อการทำงาน และในท้ายที่สุดอวัยวะนั้นก็จะล้มเหลว ARDS ส่วนใหญ่มักคนป่วยในโรงพยาบาลที่ป่วยมากๆ เป็นสาเหตุทำให้เกิดการบาดเจ็ดขั้นรุนแรง ปกติอาการมักเกิดขึ้นภายในวันหรือสองวันหลังป่วยหรือได้รับบาดเจ็บมา อาการรวมถึงการหายใจถี่สั้นและอ้าปากงับอากาศ ARDS คือภาวะฉุกเฉินและอาจทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้

อาการของภาวะการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน

อาการของภาวะ ARDS มักเกิดขึ้นระหว่างช่วงหนึ่งถึงสามวันหลังการบาดเจ็บ อาการและสัญญานทั่วไปของภาวะ ARDS รวมถึง:
  • หายใจลำบากและเร็ว
  • กล้ามเนื้อเหนื่อยล้าและอ่อนแอ
  • ความดันโลหิตต่ำ
  • ผิวหรือเล็บเปลี่ยนสี
  • ไอแห้ง สั้นๆบ่อยๆ
  • มีไข้
  • ปวดศีรษะ
  • อัตราการเต้นของชีพจรเต้นเร็ว
  • สับสนทางจิตใจ

สาเหตุของภาวะการหายใจล้มเหลวเฉียบพลันคืออะไร 

ARDS คือสาเหตุส่วนใหญ่ที่สร้างความเสียหายต่อหลอดเลือดเล็กๆในปอด ของเหลวจากหลอดเลือดที่รั่วเหล่านี้จะเข้าสู่ถุงลมในปอด ซึ่งถุงลมเหล่านี้คือที่ๆออกซิเจนเข้าและคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากเลือด เมื่อถุงลมเหล่านี้เต็มไปด้วยของเหลวทำให้ออกซิเจนในเลือดน้อย มีบางอย่างอาจทำให้ปอดเสียหายได้เช่น:
  • สูดดมสารพิษเข้าไป เช่น น้ำเกลือ สารเคมี ควันบุหรี่และอาเจียน
  • เกิดการติดเชื้อในเลือดอย่างรุนแรง
  • เกิดการติดเชื้อที่ปอดเช่น โรคปอดอักเสบ
  • ได้รับการบาดเจ็บที่หน้าอกหรือศีรษะ เช่นในระวังรถชนหรือเล่นกีฬาที่ทีการกระแทก
  • ใช้ยากล่อมประสาทหรือยาต้านเศร้ากลุ่มไตรไซคลิกเกินขนาด

ปัจจัยความเสี่ยงสำหรับภาวะการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน

ARDS คือภาวะแทรกซ้อนจากโรคอื่น ปัจจัยต่อไปเหล่านี้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะ ARDS:
  • อายุ 65 ปีขึ้นไป
  • โรคปอดเรื้อรัง
  • มีประวัติดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปหรือสูบบุหรี่
ARDS สามารถเกิดอาการรุนแรงมากขึ้นได้สำหรับ:
  • มีภาวะกลุ่มอาการท็อกซิกช็อก
  • เป็นสูงอายุ
  • มีภาวะตับวาย
  • มีประวัติดื่มแอลกอฮอล์ในทางที่ผิด
Respiratory Ditress Syndrome

การวินิจฉัยภาวะการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน

หากสงสัยว่าคนที่รู้จักมีภาวะ ARDS ควรโทรเรียกฉุกเฉินหรือพาไปห้องฉุกเฉิน ภาวะ ARDS คือภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ และการได้รับการวินิจฉัยในระยะเริ่มต้นอาจช่วยชีวิตจากภาวะที่เกิดขึ้นได้ แพทย์จะวินิจฉัย ARDS ได้หลายวิธี หากไม่มีผลที่สามารถนำมาวินิจฉัยได้ แพทย์อาจอ่านค่าความดันโลหิต ตรวจร่างกายและอาจแนะนำให้ตรวจสิ่งต่อไปนี้:
  • ตรวจเลือด
  • เอ็กซเรย์ทรวงอก
  • ซีทีสแกน
  • คอและจมูก
  • ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
  • ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
  • ตรวจทางเดินหายใจ
ความดันโลหิตต่ำและออกซิเจนในเลือดต่ำอาจเป็นสัญญานของ ARDS แพทย์อาจใช้ผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจและการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อตดภาวะโรคหัวใจออก หากผลการเอกซเรย์หรือซีทีสแกนแสดงให้เห็นว่ามีของเหลวในถุงลมในปอดอาจวินิจฉัยได้แน่นอนว่าเป็นภาวะ ARDS การตัดชิ้นเนื้อปอดไปตรวจสามารถนำไปตัดโรคปอดอื่นๆออกไปได้ แต่พบได้ไม่ยาก

การรักษาภาวะการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน

ออกซิเจน

เป้าหมายที่สำคัญของการรักษาภาวะ ARDS คือทำให้แน่ใจว่าคนๆนั้นมีออกซิเจนเพียงพอในการป้องกันอวัยวะล้มเหลว แพทย์อาจสั่งจ่ายออกซิเจนด้วยหน้ากาก เครื่องช่วยหายใจสามารถบังคับอากาศเข้าไปในปอดและลดของเหลวในถุงลม

การจัดการของเหลว

การจัดการของเหลวที่ได้รับคือแผนการรักษาภาวะ ARDS อีกหนึ่งแบบ เพื่อเป็นการทำให้แน่ใจว่าได้รับของเหลวที่มีความสมดุล การมีของเหลวในร่างกายมากเกินไปสามารถทำให้เกิดการสะสมของเหลวในปอด แต่อย่างไรก็ตาม การมีของเหลวน้อยเกินไปก็เป็นสาเหตุทำให้อวัยวะต่างๆและหัวใจเริ่มเกิดความตึงเครียด

ยา

คนที่มีภาวะ ARDS มักได้รับยาเพื่อจัดการกับผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น ซึ่งรวมไปถึงยาดังต่อไปนี้:
  • ยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการไม่สบายตัว
  • ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาการติดเชื้อ
  • ยาเจือจางเลือดเพื่อช่วป้องกันการเกิดลิ่มเลือดในบริเวณปอดหรือขา

การฟื้นฟูสมรรถภาพปอด

คนที่กำลังฟื้นตัวจากภาวะ ARDS อาจจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด เป็นวิธีช่วยทำให้ระบบทางเดินหายใจแข็งแรงและเพิ่มสมรรถนะปอด โปรแกรมนี้อาจรวมถึงการฝึกการออกกำลังกาย การฝึกทักษะการใช้ชีวิตและมีทีมช่วยเหลือในการฟื้นฟูจากภาวะ ARDS

การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ 

  • การเลือกวิถีชีวิตเพื่อสุขภาพ: มุ่งเน้นไปที่การรักษาวิถีชีวิตที่มีสุขภาพดีโดยการรับประทานอาหารที่สมดุล ออกกำลังกายให้เพียงพอ (เท่าที่ยอมรับได้) พักผ่อนให้เพียงพอ และหลีกเลี่ยงสารที่เป็นอันตราย เช่น ควันบุหรี่
  • การดูแลติดตามผล: เข้าร่วมการนัดหมายติดตามผลกับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณตามกำหนดเวลาเพื่อติดตามความคืบหน้าของคุณ จัดการกับข้อกังวลใด ๆ และปรับแผนการรักษาของคุณตามความจำเป็น

สิ่งที่ต้องเฝ้าติดตามคืออะไรบ้าง 

ผู้รอดชีวิตของคนที่มีภาวะ ARDS สามารถฟื้นฟูได้เต็มที่ภายในสองสามเดือน แต่อย่างไรก็ตามในบางคนปอดอาจเสียหายตลอดชีวิต ผลข้างเคียงอื่นๆรวมไปถึง:

การป้องกันภาวะการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน

ไม่มีทางป้องกันการเกิดภาวะ ARDS ได้ แต่อย่างไรก็ตามสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะ ARDS ด้วยการทำตามสิ่งต่อไปนี้:
  • เตรียมความพร้อมเพื่อช่วยเหลทอสำหรับทุกๆการบาดเจ็บ การติดเชื้อหรืออาการเจ็บป่วย
  • หยุดสูบบุหรี่และอยู่ให้ห่างจากควันบุหรี่มือสอง
  • เลิกดื่มแอลกอฮอล์ พิษสุราเรื้อรังอาจเพิ่มความเสี่ยงและขัดขวางการทำงานของปอดที่เหมาะสม
  • รับวัคซีนประจำปีและวัคซีนปอดอักเสบทุกๆห้าปี เพื่อลดความเสี่ยงภาวะปอดติดเชื้อ

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด