เคล็ดลับการฝึกพูดในที่สาธารณะ สำหรับเด็ก (7 Public Speaking Tips for Kids )

การพูดในที่สาธารณะนั้นอาจฟังดูน่ากลัว มีการประเมินว่า 75% ของคนทั้งหมดมีความวิตกกังวลในระดับหนึ่งเกี่ยวกับการพูดต่อหน้าผู้คน โดยมีคนจำนวนมากที่ระบุว่าการพูดในที่สาธารณะเป็นสิ่งที่กลัวที่สุด แต่มันก็ไม่เสมอไป เรามีเคล็ดลับเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่จะช่วยให้คุณก้าวผ่านความกังวลนี้ไปได้ และช่วยทำให้คุณพูดต่อหน้าสาธารณะได้อย่างยอดเยี่ยม เคล็ดลับการฝึกทักษะการพูด 

เคล็ดลับที่ #1 – ฝึกลูกพูดในสิ่งที่ชอบ

ผู้คนจะเลือกเรื่องที่จะนำไปพูด แม้ว่าอาจจะหมายถึงการปรับหัวข้อที่จะพูดให้เป็นสิ่งที่เขาอยากให้เป็น ถ้าคุณเลือกพูดถึงในเรื่องที่คุณให้ความสนใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องวิดิโอเกมส์ ภาวะโลกร้อนของยูนิคอร์น คุณอาจจะต้องการพูดเกี่ยวกับมันมากขึ้น  ไม่เพียงแค่จะลดความวิตกกังวล แต่ยังเพิ่มความกระตือรือร้นที่ช่วยปรับปรุงบุคลิกการพูดของคุณ เราจะมีชีวิตชีวาเมื่อเรารู้สึกหลงใหล

เคล็ดลับที่ #2 – สอนลูกพูดจากการรู้จักผู้ฟัง

การพูดในที่สาธารณะ เป็นการสนทนา ระหว่างผู้หว่างผู้พูดและผู้ฟัง ถ้าคุณรู้จักผู้ฟังของคุณ ผู้ที่จะเข้ามาฟัง หรืออย่างน้อยรู้ประเภทของคนที่คุณจะต้องพุดให้ฟัง อาจจะลดอาการประหม่า ที่จะเกิดขึ้นตอนขึ้นบนเวทีและอาจช่วยลดอาการเครียดของคุณด้วย ข้อดีเพิ่มเติมคือ การรู้จักผู้ฟังของคุณจะช่วยให้คุณเตรียมคำพูดที่เหมาะกับสถานการณ์ได้ดีขึ้น ช่วยโน้มน้าวพวกเขาในมุมมองของคุณ

เคล็ดลับที่ #3 – ฝึกฝนบ่อย ๆ ทำให้เก่งขึ้น

มันน่าเบื่อ เรารู้  แต่การฝึกฝนทำให้การพูดนั้นออกมายอดเยี่ยม เมื่อเราเตรียมตัวในการพูด เรามักจะใช้เวลาในเกือบทั้งหมดไปกับการคิดหาคำที่เหมาะสมที่จะเอาไปพูด แต่นี้ไม่ใช่สิ่งที่ผู้ฟังนั้นให้ความสนใจ ผู้ฟังจะสนใจในการที่เราเสนอตัวของเราเอง สิ่งที่เราพัฒนาได้ก็ต่อเมื่อเราฝึกฝนล่วงหน้า นอกจากนี้ การฝึกฝนจะช่วยให้เรารู้สึกคุ้นเคยกับเนื้อหามากขึ้น ช่วยลดความกังวลเมื่อได้ขึ้นเวทีจริง ๆ!

เคล็ดลับที่ #4 – การพัฒนาทักษะการพูดด้วยจินตนาการภาพ

ความกังวลนั้นเป็นความกลัวเกี่ยวกับบางสิ่งที่เราเชื่อว่ามันจะเกิดขึ้น ร่างกายจะตอบสนองตามะรรมชขาติเมื่อเราเครียดกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในอนาคต วิธีที่ดีที่สุดที่จะเอาชนะความวิตกกังวล โดยเฉพาะอย่างยิ่งความกังวลในการพูดในที่สาธารณะ เป็นการนึกถึงสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น เราเห็นมาเป็นสิบ ๆ ครั้งแล้ว  หลาย ๆ การพูดในที่สาธารณะส่วนมาก (แต่ไม่ทั้งหมด) นั้นจะออกมาดี ผู้พูดยืนขึ้น และนั่งลงในบางจังหวะของการปรบมือ บางครั้งเกิดขึ้นเพราะความปลาบปลื้มแต่ส่วนมากเป็นการให้ความสนับสนุน นี้เป็นสถาณการณ์ที่เราจะต้องเจอเมื่อต้องพุดในที่สาธารณะ  แต่ถ้าฉันทำมันพัง แล้วทุกคนก็หัวเราะเยาะฉันล่ะ? ในช่วงสิบปีของการฝึกพูดในที่สาธารณะ กรรมการผู้จัดการ (Mark) ของเราไม่เคยเห็นสิ่งนี้เกิดขึ้นจริง ผู้ชมรู้ว่ารู้สึกอย่างไรที่จะยืนขึ้นและนำเสนอต่อสาธารณะ และรู้สึกเห็นใจผู้พูดที่ไม่ได้พยายามอย่างเต็มที่ แทนที่จะหัวเราะเยาะผู้พูด คนส่วนใหญ่ต้องการวิ่งเข้าไปกอดและบอกพวกเขาว่าทุกอย่างเรียบร้อยดี (และเราเคยเห็นเด็กเล็ก ๆ ทำแบบนี้จริง ๆ ในชั้นเรียนของเรา). ผู้ฟังจะอยู่ข้างผู้พูดเสมอ และเหตุการณ์แบบนี้มักจะเกิดขึ้น มากกว่าสิ่งที่เรากลัวสามารถช่วยคลายความกังวลที่จะเกิดขึ้นในการพูดในที่สาธารณะ  7 Public Speaking Tips for Kids

เคล็ดลับที่ #5 – เปลี่ยนความกังวล

น่าเสียดายที่แม้ว่าเราจะพยายามกำจัดความวิตกกังวลเกี่ยวกับการพูดในที่สาธารณะได้ แต่ก็มักจะไม่หายไปจริง ๆ แม้ว่าหลายคนอาจมองว่านี่เป็นข้อเสีย แต่ก็ไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป ความเครียดเพียงเล็กน้อยอาจเป็นสิ่งที่ดี เป็นแรงจูงใจที่ดี ช่วยให้เรามีสมาธิ และให้ความกระตือรือร้นที่เราอาจไม่มี แม้ว่าอะดรีนาลีนที่มากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของเรา แต่เพียงเล็กน้อยก็สามารถช่วยให้เราประสบความสำเร็จได้ ทั้งหมดนี้เหมาะสำหรับการพูดในที่สาธารณะ การเปลี่ยนความกระวนกระวายใจไปให้เป็นคำพูดที่สามารถกระตุ้นให้เราลุกขึ้นและออกไปพูด (นี่คือการตอบสนอง ‘การต่อสู้’ มากกว่า ‘การหนี’) ช่วยให้เราตรงประเด็น และช่วยให้เรานำเสนองานด้วยความกระตือรือร้นมากขึ้น

เคล็ดลับที่ #6 – ใช้การหายใจให้เป็น

หากการทำสมาธิสอนอะไรเรา ไม่มีอะไรจะทำให้ประสาทสงบลงได้เท่ากับการหายใจลึก ๆ สักสองสามครั้ง ให้มั่นใจว่าคุณหายใจอย่างสงบขณะที่รอที่จะพูด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณรู้สึกว่ากำลังจะวิตกกังวล การหายใจช่วยทำให้อาการกังวลน้อยลง และในหลาย ๆ สถานการณ์ความวิตกกังวลจนกระทั่งคุณกลับมาที่ที่นั่ง  แต่อย่าให้การหายใจที่ดีหยุดอยู่แค่นั้น เมื่อคุณอยู่บนเวที กำลังจะเริ่มพูด คุณควรหายใจเข้าลึก ๆ หนึ่งทีก่อนเริ่มพูด วิธีนี้จะช่วยให้คุณมีสมาธิและให้การเริ่มต้นที่ดีอย่างที่คุณต้องการ จากนั้นหายใจเข้าลึก ๆ ต่อไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้อาการวิตกกังวลยังไม่หายไป นี้สามารถช่วยลดความวิตกกังวลได้ ในหลาย ๆ ครั้ง ลมหายใจของเราเป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดที่ที่ช่วยให้เราสงบ

เคล็ดลับที่ #7 – การรับฟังความคิดเห็น 

เคล็ดลับสุดท้ายคือการรับฟังความคิดเห็น และฝึกฝนในเพื่อการพูดในครั้งต่อ ๆ ไป คำติชมและโดยเฉพาะอย่างยิ่งการวิจารณ์เชิงสร้างสรรค์ ที่ระบุข้อผิดพลาดของเรา และให้แนวทางที่เราสามารถดำเนินการเพื่อเอาชนะมันได้ในอนาคต นี่คือวิธีที่เราสามารถเรียนรู้และทำให้รู้สึกมั่นใจมากขึ้นในการพูดครั้งต่อ ๆ ไป
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด