ประคบร้อนคืออะไร
การประคบร้อนการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเพื่อบรรเทาอาการบาดเจ็บหรืออักเสบที่ไม่รุนแรง ป่วย มีไข้ หรือบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาหรือการบาดเจ็บจากการใช้ชีวิตประจำวัน ทำได้โดยการใช้ความร้อนหรือสิ่งที่ทำให้เกิดความร้อนเมื่อนวดหรือนำไปสัมผัสกับผิว เช่น เจลสำหรับประคบร้อนแบบสำเร็จรูป ใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำร้อน กระเป๋าน้ำร้อน ซึ่งจะทำให้เส้นเลือดขยายตัว เพิ่มการไหลเวียนของเลือด บรรเทาอาการบาดเจ็บ บรรเทาอาการปวด และทำให้เลือดออกและบวมมากขึ้น ซึ่งการประคบร้อนควรทำหลังจากการอักเสบลดลงแล้ว ไม่มีอาการบวม แดง ร้อน หรือหลังจากผ่านไป 48 ชั่วโมง เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อและลดอาการปวดของการบาดเจ็บ บรรเทาอาการตึงบริเวณข้อ อาการปวด หรืออักเสบเรื้อรัง บรรเทาอาการคัดเต้านม ปวดประจำเดือน ปวดฟัน อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจ เท้าบวมทำอย่างไรวิธีการใช้ลูกประคบร้อนสมุนไพร
ในการประคบร้อนสามารถใช้ลูกประคบสมุนไพรได้ เนื่องจากได้ผลดีและมีกลิ่นหอมของสมุนไพรอีกด้วย โดยนำลูกประคบสมุนไพรสูตรไม่มีสุราไปนึ่งในหม้อนึ่งประมาณ 15-20 นาที แล้วนำไปประคบตรงที่ที่ต้องการรักษา ด้วยการประคบร้อน สำหรับลูกประคบสมุนไพรสูตรที่มีการผสมสุราเป้นส่วนผสม สามารถนำไปประคบได้ทันที เนื่องจากสุรามีฤทธิ์ร้อนถุงน้ำร้อนไฟฟ้า
ถุงน้ำร้อนไฟฟ้ามีคุณสมบัติตัดไฟอัตโนมัติ เมื่ออุณหภูมิสูงกว่ากำหนด ซึ่งทำให้สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย โดยถุงน้ำร้อนไฟฟ้าแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ถุงน้ำร้อนไฟฟ้าแบบเจล โดยเมื่อต่อกับกระแสไฟฟ้าจะร้อนเร็วมาก ตัวเจลมีการกระจายความร้อนสูง ทนความร้อนได้นาน โดยที่ถุงบรรจุเจลสามารถกันการทะลุทะลวงได้ และถุงน้ำร้อนไฟฟ้าแบบน้ำคือแบบที่สามารถเติมน้ำเข้าไปในถุงได้และเสียบกระเป๋าเข้ากับกระแสไฟฟ้า สามารถระบายน้ำออกได้เมื่อไม่ใช้งานควรประคบร้อนเมื่อใด
เมื่อมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหรือกล้ามเนื้ออักเสบ ควรประคบร้อนเพื่อทำให้เลือดไหลเวียนมากขึ้น ทำให้สามารถดึงออกซิเจนมาเลี้ยงบริเวณนั้นมากขึ้น ส่งผลในการช่วยขับกรดแลคติกส่วนเกินออก ทำให้เนื้อเยื่อที่เสียหายฟื้นตัวเร็วขึ้น และรู้สึกสบายร่างกายมากขึ้น หากกล้ามเนื้อกระตุกเกร็งให้ประคบแบบร้อนชื้น เพื่อกระตุ้นให้ฟื้นตัวโดยเร็ว ควรประคบร้อนเพื่อบรรเทาอาการข้อยึดหรือข้ออักเสบ ในอาการเรื้อรัง และเมื่อมีการบาดเจ็บ อักเสบ ฟกช้ำ มีแผล ควรประคบร้อนหลังแผลหายอักเสบ ไม่มีรอยแดง หรือเวลาผ่านไปอย่างน้อย 48-72 ชั่วโมง ประคบร้อนเมื่อมีอาการอื่น ๆ การประคบร้อนเป็นวิธีการรักษาที่ง่ายและมีประสิทธิภาพสำหรับอาการและอาการไม่สบายต่างๆ โดยเป็นการให้ความอบอุ่นกับบริเวณเฉพาะของร่างกาย โดยทั่วไปโดยใช้ผ้าอุ่นหรือวัสดุกักเก็บความร้อนอื่นๆ ต่อไปนี้คือการใช้งานและคุณประโยชน์ของการประคบร้อน:- บรรเทาอาการปวด:
- การประคบร้อนสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดและไม่สบายที่เกี่ยวข้องกับความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ อาการตึง หรือการบาดเจ็บเล็กน้อย ความร้อนช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อและเพิ่มการไหลเวียนโลหิตในบริเวณที่ได้รับผลกระทบ
- ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ:
- การใช้ความอบอุ่นกับกล้ามเนื้อที่ตึงหรือเจ็บสามารถส่งเสริมการผ่อนคลายได้ สิ่งนี้มีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับสภาวะต่างๆ เช่น กล้ามเนื้อกระตุกหรือตึง
- อาการปวดข้อ:
- การประคบร้อนมักใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดข้อ เช่น ที่เกิดจากโรคข้ออักเสบหรืออาการอักเสบอื่นๆ ความร้อนสามารถช่วยลดความฝืดและเพิ่มความยืดหยุ่นได้
- ปวดประจำเดือน:
- ผู้หญิงมักบรรเทาอาการปวดประจำเดือนได้ด้วยการประคบร้อนบริเวณหน้าท้องส่วนล่าง ความร้อนช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อมดลูกและลดอาการปวด
- อาการปวดหัว:
- สำหรับอาการปวดศีรษะหรือไมเกรนจากความตึงเครียด การประคบร้อนที่หน้าผากหรือคออาจช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่ตึงและบรรเทาอาการปวดหัวได้
- ไซนัส:
- การประคบร้อนสามารถใช้เพื่อบรรเทาอาการคัดจมูกและส่งเสริมการระบายน้ำได้ การประคบร้อนบริเวณไซนัสอาจช่วยลดความกดดันและปรับปรุงการหายใจได้
- การดูแลบาดแผล:
- ในบางกรณีอาจใช้การประคบร้อนเป็นส่วนหนึ่งของการดูแลบาดแผลได้ สามารถช่วยส่งเสริมการไหลเวียนของเลือดไปยังบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ และอาจช่วยในกระบวนการสมานแผล
- การผ่อนคลายและลดความเครียด:
- นอกเหนือจากคุณประโยชน์ทางกายภาพแล้ว การประคบร้อนยังช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายและลดความเครียดโดยรวมอีกด้วย ความอบอุ่นที่ผ่อนคลายสามารถส่งผลสงบต่อร่างกายและจิตใจได้
ข้อระมัดระวังในการประคบร้อน
- ไม่ควรประคบร้อนทันทีที่ได้การบาดเจ็บ
- ไม่ควรประคบร้อนในบริเวณที่มีบาดแผลเปิดหรือมีเลือดออก เพราะเป็นการเพิ่มการอักเสบ
- อุณหภูมิที่เหมาะสมในการประคบร้อนไม่ควรเกิน 45 องศาเซลเซียส
- ไม่ควรใช้ความร้อนในการประคบที่มากเกินไป เพราะจะทำให้รู้สึกแสบร้อนบริเวณที่ประคบ และอาจทำให้เกิดรอยดำไหม้หรือแผลพุพอง
- ผู้ป่วยเบาหวานไม่ควรได้รับการประคบร้อนบริเวณแขน ขา เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ อาจทำให้เกิดแผลติดเชื้อเรื้อรังได้
- ไม่ควรประคบร้อนจุดเดิมนานเกินไปจนผิวไหม้
- ควรเปลี่ยนจุดที่ประคบร้อนไปเรื่อยๆ ทุก 1 – 2 นาที และควรมีการเป็นการพักผิวบ้างเป็นระยะ
- อย่าอุ่นถุงประคบในไมโครเวฟนานเกิน 1 นาที เพราะอาจทำให้พลาสติกที่ห่อหุ้มถุงละลายได้
- ถ้าถุงประคบร้อนลวกหรือเจ็บควรหยุดการประคบทันที
- ห้ามประคบร้อนให้เด็กเล็กหรือทารกเด็ดขาด
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น