เสียงดังที่ไม่ดีต่อสุขภาพ (Unhealthy Loud Noise)

เสียงดังมีอะไรบ้าง

สัญญาณเตือน รถวิ่ง เสียงรถไฟเหาะ เสียงเครื่องบิน เสียงเหล่านี้อาจดังจนต้องปิดหู แต่เสียงก็ยังสามารถแทรกผ่านเข้าไปให้ได้ยินอยู่ดี นอกจากเสียงจะทำให้เกิดความรำคาญแล้ว ยังส่งผลอย่างมากต่อสุขภาพอีกด้วย เสียงรบกวนที่เพิ่มขึ้นอาจทำให้หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ เรียกว่าภาวะหัวใจห้องบนเต้นผิดปกติ (atrial fibrillation) ซึ่งจะนำไปสู่ภาวะลิ่มเลือด โรคหลอดเลือดสมอง และภาวะหัวใจล้มเหลว เสียงสร้างความปั่นป่วน ระคายเคือง หรือการเปลี่ยนแปลงของความดันโลหิตได้ เสียงจึงเป็นสิ่งรบกวน ที่ทำให้ผู้คนมองหาความเงียบเพื่อป้องกันการรบกวนต่อหัวใจ การศึกษาจำนวนมากแสดงให้เห็นความเสี่ยงที่เกิดจากการสัมผัสเสียงเป็นระยะเวลานาน ๆ ก็มีผล ไม่เฉพาะแค่ระดับเสียงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงประเภทของเสียงด้วย เมื่อต้องการตรวจจับอันตราย มนุษย์จะจัดลำดับความสำคัญจากสิ่งที่เราได้ยิน มากกว่าสนใจว่าเสียงและการได้ยินนั้นดังแค่ไหน ทำให้สมองยังคงรับฟังเสียงแม้ในขณะนอนหลับ เสียงรบกวนอาจทำให้ร่างกายหลั่งคอร์ติซอล (“ฮอร์โมนความเครียด“) ได้แม้ว่าจะนอนหลับอยู่  การรับมือกับความเครียดไม่ใช่เรื่องยาก อ่านต่อที่นี่

เสียงดังส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร

ผลกระทบต่อการรับเสียงและการได้ยิน หูอาจได้ยินเสียงแปลก ๆ เมื่อได้ยินเสียงที่ดังมากผิดปกติ แต่อาจไม่รู้สาเหตุ การได้ยินเสียงดังสามารถทำลายหรือทำลายเซลล์ขนในหูได้ เซลล์ขนเล็ก ๆ ประมาณ 10,000 เซลล์ในอวัยวะรับเสียง มีหน้าที่แปลงสัญาณเสียงที่ได้ยินให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า ก่อนที่สัญญาณเหล่านั้นจะถูกส่งไปยังศูนย์การได้ยินในสมอง ช่วยให้เราได้ชื่นชมเสียง คำพูด และดนตรีได้ การเปิดรับเสียงดังมีผลกระทบต่อเซลล์ขนบริเวณฐานของโคเคลีย [ช่องเกลียวของหูชั้นใน] จะถูกทำลาย ซึ่งส่งผลให้สูญเสียการได้ยิน โดยเฉพาะเสียงที่มีความถี่สูง ซึ่งใช้ในการพูด จึงส่งผลกระทบอย่างมากต่อความสามารถในการเข้าใจการสนทนา การฟังเสียงเป็นเวลานานหรือซ้ำ ๆ ที่ระดับ 85 เดซิเบลหรือมากกว่า (เสียงการจราจรในเมืองที่หนาแน่น) อาจทำให้เกิดการสูญเสียการได้ยินที่เกิดจากเสียงรบกวน สมองอักเสบ เสียงดังสามารถทำลายปลายประสาทอันละเอียดอ่อนที่ใช้ถ่ายโอนข้อมูลทางไฟฟ้าจากเซลล์ขน [ในหู] ไปยังสมอง จึงอาจก่อให้เกิดการอักเสบขึ้นภายในสมอง ทำให้เกิดการสูญเสียการได้ยิน และสูญเสียการทำความรู้ความเข้าใจ เช่น ภาวะสมองเสื่อม เสียงดังที่ไม่ดีต่อสุขภาพ อารมณ์ไม่ดี การทำงานภายใต้เสียงดังรบกวนจะทำให้ผู้คนจบวันด้วยอารมณ์ที่ไม่ดีนัก ยิ่งเป็นการทำงานในสถานที่ที่มีเสียงรบกวน โดยไม่สามารถหลบหนีได้ ก็ยิ่งสร้างความหงุดหงิด และความวิตกกังวลให้เพิ่มขึ้นได้ เพราะเสียงจะทำให้ไม่สามารถสงบจิตใจได้ จึงกระตุ้นอารมณ์หรือความวิตกกังวลให้เพิ่มขึ้น เสียงหัวเราะดีต่อใจอย่างไร อ่านต่อที่นี่ ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง เพราะคุณภาพชีวิตโดยรวมจะได้รับผลกระทบจากเสียงดัง [โดยเฉพาะเสียงรบกวน] ซึ่งส่งผลต่อร่างกายด้วย โดยเฉพาะการเกิด “ฮอร์โมนความเครียด” ที่ส่งผลต่อความดันโลหิต และระดับน้ำตาลในเลือดที่เพิ่มสูงขึ้น จึงเป็นการลดความสามารถของร่างกายในการต่อสู้กับโรค มลภาวะทางเสียงจึงทำให้เกิดการติดเชื้อ และหวัดได้ง่ายขึ้น เกิดปัญหาสุขภาพเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน แผลในกระเพาะอาหารที่เกี่ยวข้องกับความเครียด เป็นต้น ไม่มีสมาธิ มนุษย์ล้วนต้องการความสงบและความเงียบ เมื่อต้องใช้สมาธิ ดังนั้นหากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดัง สมองจำเป็นต้องกรองเสียงรบกวนเพื่อสร้างสมาธิ ทำให้เกิดปัญหาในการมุ่งเน้น และการแก้ปัญหา ผลการศึกษาพบว่าผู้ที่ทำงานในที่ ๆ มีรถเสียงดังจะจำคำศัพท์ได้น้อยลง เมื่อทำการทดสอบความจำขั้นพื้นฐาน อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับการทำสมาธิได้ที่นี่ นอนหลับยากขึ้น เสียงดังรบกวนที่มากเกินไปอาจทำให้เสียสมาธิ และใช้สมองได้ยากขึ้น เพื่อเข้าสู่การผ่อนคลาย และนอนหลับ เสียงจากภายนอกจะขัดขวางคุณภาพของการนอนหลับและส่งผลให้เกิดการมึนงงในวันรุ่งขึ้น การนอนหลับไม่ดีนั้นยังสัมพันธ์กับผลกระทบด้านสุขภาพในระยะยาว เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน และโรคหัวใจ การมีลูกยากขึ้น มลพิษทางเสียงหรือเสียงดังอาจส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ของผู้ชาย ผู้ชายที่อยู่ในสถานที่ที่มีเสียงตลอดเวลา เช่น เสียงเครื่องปรับอากาศ เป็นเวลานานมีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะมีบุตรยาก ผู้หญิงก็เช่นกัน การสัมผัสเสียงในเวลากลางคืนยังส่งผลต่อการแท้งบุตร การคลอดก่อนกำหนด และข้อบกพร่องในการคลอด

วิธีระงับความกังวลจากเสียงดัง

วิธีที่ดีที่สุดคือการหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีเสียงดัง พยายามหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีเสียงดัง หรือหากทำไม่ได้ควรใช้ที่อุดหู แนะนำให้ใช้ที่อุดหูที่พอดีกับส่วนโค้งของหู เพราะจะช่วยป้องกันหูได้มากขึ้น

การป้องกันเสียงดัง:

  • ใช้อุปกรณ์ป้องกันการได้ยิน :
    • สวมที่อุดหูหรือที่ปิดหูในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานที่ทำงานที่ต้องคำนึงถึงเสียงจากการทำงาน
    • ใช้หูฟังตัดเสียงรบกวนหรือที่อุดหูในคอนเสิร์ตหรือกิจกรรมสันทนาการอื่นๆ ที่มีเสียงเพลงดัง
  • ขีดจำกัดการสัมผัส :
    • พักจากสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดังเพื่อให้หูของคุณมีเวลาฟื้นตัว
    • ลดกิจกรรมสันทนาการที่ต้องสัมผัสกับเสียงดังเป็นเวลานาน
  • ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม :
    • ใช้มาตรการลดเสียงรบกวนในบ้านหรือที่ทำงานของคุณ เช่น การเก็บเสียงหรือการติดตั้งแผงกั้นเสียงรบกวน
    • ใช้อุปกรณ์หรือเครื่องจักรที่เงียบกว่าทุกครั้งที่เป็นไปได้
  • ตรวจสอบระดับเสียง :
    • ใช้แอปสมาร์ทโฟนหรือเครื่องวัดเสียงรบกวนแบบพกพาเพื่อตรวจสอบระดับเสียงรบกวนในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน
    • หลีกเลี่ยงการตั้งค่าที่ระดับเสียงเกินขีดจำกัดที่ปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ
โดยสรุป การป้องกันเสียงดังถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการรักษาสุขภาพการได้ยินและความเป็นอยู่โดยรวม การใช้มาตรการป้องกันและลดการสัมผัสระดับเสียงที่มากเกินไป บุคคลสามารถลดความเสี่ยงของการสูญเสียการได้ยินที่เกิดจากเสียงรบกวนและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องได้
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด