ไอซียูคืออะไร 

ICU ใช้ดูแลผู้ป่วยที่มีอันตรายถึงชีวิต เช่น การบาดเจ็บ หรืออาการป่วยที่รุนแรง ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูและอย่างใกล้ชิด และต้องการการช่วยชีวิต ผู้ป่วยที่อยู่ในไอซียูแตกต่างจากผู้ป่วยที่อยู่ในหอผู้ป่วยใน:
  • ICU ดูแลผู้ป่วย 24 ชั่วโมงโดยผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการฝึกมาอย่างดี 
  • มีเตียงที่น้อยกว่า มีเครื่องมือมากมายที่ใช้เพื่อเฝ้าสังเกต และดูแลผู้ป่วย 
  • เข้าเยี่ยมได้น้อยกว่า 

ทำไมคนป่วยบางคนต้องเข้าไอซียู 

ผู้ที่มีแนวโน้มที่ต้องเข้าไอซียูมีดังนี้:
  • หลังจากการผ่าตัดใหญ่ 
  • หลังการประสบอุบัติเหตุ (เช่น อุบติเหตุทางรถยนต์ ไฟไหม้รุนแรง)
  • ป่วยเรื้อรัง หรือป่วยระยะสุดท้าย (เช่น หัวใจ หรือไตล้มเหลว หลอดเลือดสมอง หัวใจวาย)
  • มีการติดเชื้อที่รุนแรง (เช่น โรคปอดบวม ภาวะช็อคจากการติดเชื้อ)
  • หากทารกคลอดก่อนกำหนด หรือป่วยรุนแรง – ปกติแล้วจะมีห้องไอซียูสำหรับทารก เรียกว่า NICU

วัตถุประสงค์ขอไอซียู:

  • การจัดการการดูแลผู้ป่วยวิกฤต : วัตถุประสงค์หลักของห้องไอซียูคือการให้การรักษาพยาบาลเฉพาะทางสำหรับผู้ป่วยอาการหนักที่ต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิดและการรักษาอย่างเข้มข้น
  • เครื่องช่วยชีวิต : ห้อง ICU มีเทคโนโลยีทางการแพทย์ขั้นสูงและอุปกรณ์ช่วยชีวิต เช่น เครื่องช่วยหายใจ เครื่องตรวจหัวใจ และเครื่องบำบัดทดแทนไต เพื่อรองรับการทำงานของอวัยวะสำคัญและรักษาเสถียรภาพของผู้ป่วยในภาวะวิกฤต
  • การดูแลหลังการผ่าตัด : ผู้ป่วยจำนวนมากที่เข้ารับการรักษาในห้องไอซียูจำเป็นต้องมีการติดตามและการจัดการหลังการผ่าตัดตามขั้นตอนการผ่าตัดที่ซับซ้อน การบาดเจ็บ หรือการปลูกถ่ายอวัยวะ
  • การรักษาเฉพาะทาง : ห้อง ICU ให้การรักษาและการแทรกแซงเฉพาะทาง เช่น การตรวจติดตามการไหลเวียนโลหิต กระบวนการรุกราน (เช่น การใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง เส้นหลอดเลือดแดง) และการบำบัดด้วยการให้สารทางหลอดเลือดดำอย่างต่อเนื่อง (เช่น ยากดหลอดเลือด ยาระงับประสาท ยาปฏิชีวนะ)
ทีม ICU ร่วมงานอย่างใกล้ชิดกับผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขาการแพทย์ ทั้งเวชศาสตร์วิกฤต ระบบปอด วิทยาหทัยวิทยา โรคไต ประสาทวิทยา และศัลยกรรม เพื่อให้การดูแลที่ครอบคลุมตามความต้องการของผู้ป่วยแต่ละราย ICU

เกิดอะไรขึ้นบ้างในไอซียู

ไอซียูอาจทำให้ทั้งผู้ที่ต้องเข้าไปรักษา หรือผู้ที่ไปเยี่ยมกลัวได้จากสาย ท่อ และเครื่องมือต่าง ๆ  ผู้ป่วยที่ต้องเข้าไอซียูอาจมีเครื่องมือหลายอย่างที่แพทย์ใช้รักษา ที่พบได้บ่อยคือเครื่องที่ใช้เฝ้าดูหัวใจ และเครื่องช่วยหายใจ เครื่องมือที่ใช้ในไอซียูหลายชิ้นจะมีเสียงเพื่อเตือนให้ผู้ดูแลทราบว่าอาการของคนไข้เปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง  นอกจากนี้ ยังมีท่อมากมายที่นำของเหลว หรือสารอาหารเข้า-ออกตัวผู้ป่วย  มีเจ้าหน้าที่ทำงานอยู่ในไอซียูเยอะ ผู้ป่วยแต่ละคนจะมีพยาบาลผู้เชี่ยวชาญที่คอยตรวจเครื่อง และดูระบบช่วยเหลือชีวต

การเตรียมตัวสำหรับเข้าไอซียู

บ่อยครั้งการเข้าไอซียูนั้นเกิดขึ้นโดยไม่คาดหมาย แต่บางคนก็รู้ว่าตัวเองต้องเข้า เช่น หลังจากการผ่าตัดใหญ่ นอกนั้นก็เป็นผู้ที่ป่วยเรื้อรัง หรือเป็นโรคร้ายแรงที่ต้องเข้าไอซียูหากอาการแย่ลงกะทันหัน ในทั้งสองกรณี การเตรียมตัวสำหรับการเข้าไอซียูอาจจะเป็นการเตรียมเอกสารสำคัญต่าง ๆ  ในการวางแผนการรักษาตัวเองล่วงหน้า ผู้ป่วยจะมีต้องการเกี่ยวกับการรักษาของตัวเองเมื่อถึงเวลาที่พวกเขาป่วยเกินกว่าที่จะพูดได้ หากไม่มีการบอกกล่าวใด ๆ แพทย์อาจจะรักษาคนไข้มากกว่าที่คนไข้ต้องการ  หากคนที่คุณรักมีอาการป่วยหนัก และอาจต้องอยู่ในไอซียู การพูดคุยกันถึงเรื่องเป้าหมายของการรักษาก่อนที่จะเข้าไอซียูเป็นเรื่องสำคัญ เป้าหมายของการรักษาในไอซียูคือคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย และการรักษาที่รับได้ของผู้ป่วยเอง ซึ่งผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ต้องเข้าใจในสิ่งที่ผู้ป่วยแต่ละคนต้องการ 

ข้อควรระวังในการเยี่ยมคนป่วยในไอซียู 

ผู้ป่วยทุกคนที่อยู่ในไอซียูล้วนแต่มีอาการที่ไม่ดี โรงพยาบาลจึงต้องมีกฏในการเยี่ยม คุณอาจต้องปิดโทรศัพท์ และไม่อนุญาตให้นำของเยี่ยมเข้าไป หากคุณรู้สึกไม่สบาย คุณไม่ควรไปเยี่ยมผู้ป่วย 

เกิดอะไรขึ้นหลังจากออกจากไอซียู

ผู้ป่วยมักถูกย้ายไปหอผู้ป่วยอื่นเมื่อไม่จำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดแล้ว  เมื่อผู้ป่วยหายดีพอที่จะกลับบ้านแล้ว พวกเขาจะถูกให้ออกจากโรงพยาบาล ปกติแล้วก็จะมียา และวิธีการดูแลตัวเองอื่น ๆ ที่บ้าน พวกเขาอาจจำเป็นต้องกลับมาที่โรงพยาบาล ไปคลินิค หรือพบแพทย์อีกครั้ง 
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด