โรค HPV คืออะไร
การติดเชื้อไวรัส HPV (Human papillomavirus HPV) คือการติดเชื้อไวรัสที่ติดต่อระหว่างคนสู่คนโดยการสัมผัสแบบผิวหนังสู่ผิวหนัง ไวรัส HPV มีมากกว่า 100 สายพันธุ์ โดยที่มากกว่า 40 สายพันธุ์สามารถติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์และอาจส่งผลต่ออวัยวะสิบพันธุ์ ปาก หรือลำคอของผู้ป่วยได้
จากข้อมูลของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) ระบุว่า HPV เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (STI) ที่พบมากที่สุด
เป็นเรื่องปกติที่คนส่วนใหญ่จะมีรสนิยมทางเพศและมีเพศสัมพันธ์ที่หลากหลาย แม้ว่าพวกเขาจะมีคู่นอนน้อยก็ตาม
บางครั้งการติดเชื้อ HPV ที่อวัยวะสืบพันธุ์อาจไม่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพใด ๆ เลย แต่อย่างไรก็ตาม HPV บางประเภทสามารถพัฒนาไปสู่การเป็นหูดหงอนไก่ รวมไปถึงมะเร็งปากมดลูก มะเร็งทวารหนัก และมะเร็งในลำคอ
สาเหตุของโรคติดเชื้อ HPV
ไวรัสที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อ HPV จะติดต่อจากผิวหนังสู่ผิวหนัง ซึ่งคนส่วนใหญ่ได้รับการติดเชื้อ HPV ที่อวัยวะเพศจากการมีเพศสัมพันธ์โดยตรง รวมถึงทางช่องคลอด ทางทวารหนัก และการร่วมเพศทางปาก
เนื่องจาก HPV เป็นการติดเชื้อจากผิวหนังสู่ผิวหนัง จึงสามารถเกิดการแพร่เชื้อได้โดยไม่จำเป็นต้องมีเพศสัมพันธ์
ผู้ป่วยหลายคนที่รู้ตัว่าได้รับเชื้อ HPV ซึ่งหมายความเขาแพร่ออกไปเชื้อได้แม้ว่าคู่นอนของเขาจะไม่มีอาการใด ๆ เลยก็ตาม นอกจากนี้ยังสามารถติดเชื้อ HPV ได้หลายชนิด
ในบางกรณีที่แม่ที่มีเชื้อ HPV สามารถแพร่เชื้อไวรัสนี้ไปยังลูกน้อยในระหว่างการคลอดได้ ซึ่งไม่พบบ่อยนัก เมื่อมีเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเด็กอาจมีอาการที่เรียกว่า หูดหงอนไก่ที่ทางเดินหายใจ ซึ่งพัฒนามาจาก HPV ที่เกี่ยวข้องกับหูดภายในลำคอหรือทางเดินหายใจ
อาการของโรคติดเชื้อไวรัส HPV
บ่อยครั้งที่การติดเชื้อ HPV ไม่แสดงเกิดอาการ หรือไม่ก่อให้เกิดเป็นปัญหาสุขภาพที่เห็นได้ชัดเจน
จากข้อมูลของ CDC พบว่า ในความเป็นจริงแล้ว 90 เปอร์เซ็นต์ของการติดเชื้อ HPV (9 ใน 10) จะหายไปได้เองภายในระยะเวลา 2 ปี แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากยังคงมีไวรัสอยู่ในร่างกายของผู้ป่วย อาจทำให้ผู้ป่วยคนนั้นแพร่เชื้อ HPV ในช่วงเวลานี้โดยไม่รู้ตัว
เมื่อไวรัสไม่หายไปเอง อาจนำมาซึ่งปัญหาสุขภาพที่รุนแรงได้ ซึ่งรวมไปถึง หูดหงอนไก่ และหูดในลำคอ (ที่เรียกว่า หูดหงอนไก่ที่ทางเดินหายใจ recurrent respiratory papillomatosis; RRP)
HPV อาจเป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งอื่น ๆ ที่อวัยวะสืบพันธุ์ ศีรษะ คอ และลำคอ
เชื้อไวรัสสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรคหูดและสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งจะมีความแตกต่างกัน ดังนั้น ผู้ป่วยด้วยโรคหูดหงอนไก่ที่มีสาเหตุของโรคเนื่องจาก HPV จึงไม่มีโอกาสที่จะมีการพัฒนาของโรคไปสู่การเป็นมะเร็ง
มะเร็งที่มีสาเหตุมาจาก HPV มักไม่แสดงอาการจนกว่าเซลล์มะเร็งจะเข้าสู่ระยะหลังของการเติบโต การตรวจคัดกรองอย่างสม่ำเสมอสามารถช่วยในการวินิจฉัยปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับ HPV ได้ตั้งแต่ระยะแรกๆ ซึ่งสามารถช่วยให้เห็นแนวทางและเพิ่มโอกาสในกาารรักษาโรคให้หายขาดได้
HPV ในผู้ชาย
ผู้ชายหลายคนมีเชื้อ HPV ในร่างกายโดยที่ไม่แสดงอาการของโรคให้เห็น แม้ว่าในบางราย HPV อาจมีพัฒนาการไปสู่การเป็นหูดหงอนไก่ หากสังเกตพบว่ามีตุ่มหรือรอยโรคที่ผิดปกติบนองคชาต ถุงอัณฑะ หรือทวารหนัก ควรไปพบแพทย์
HPV บางสายพันธุ์เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งองคชาต มะเร็งทวารหนัก หรือ มะเร็งช่องลำคอ ในผู้ชายบางคนอาจมีความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงของ HPV ไปเป็นมะเร็ง ซึ่งรวมถึงผู้ชายที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ หรือเป็นฝ่ายรับในขณะที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก
HPV สายพันธุ์ที่ทำให้เป็นหูดหงอนไก่จะมีความแตกต่างไปจากสายพันธุ์ที่เป็นสาเหตุของมะเร็ง
HPV ในผู้หญิง
คาดว่าตลอดช่วงอายุของผู้หญิง จะมี ราว 80 เปอร์เซ็นต์ของพวกเธอที่ติดเชื้อ HPV อย่างน้อย 1 ชนิด ผู้หญิงส่วนใหญ่ที่ได้รับเชื้อ HPV นี้จะไม่แสดงอาการใด ๆ ของโรค และการติดเชื้อจะหายไปได้เองโดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในผู้ชาย
ผู้หญิงบางคนอาจสังเกตพบว่าตนเองมีหูดหงอนไก่เกิดขึ้นภายในช่องคลอด ในทวารหนัก หรือบริเวณรอบๆ ทวารหนัก และบนปากมดลูก หรือปากช่องคลอด
ควรนัดหมายเวลาเพื่อพบแพทย์เมื่อสังเกตเห็นตุ่มที่โตขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุเกิดขึ้นภายในหรือบริเวณรอบๆ อวัยวะเพศ
HPV บางชนิด เป็นสาเหตุของการเกิด มะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด มะเร็งทวารหนัก หรือมะเร็งช่องลำคอ การตรวจเพื่อคัดกรองโรคอย่างสม่ำเสมอจะทำให้พบการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งปากมดลูกในสตรีได้ นอกจากนี้การตรวจดีเอ็นเอในเซลล์ปากมดลูกยังทำให้สามารถตรวจพบเชื้อ HPV สายพันธุ์ก่อมะเร็งที่อวัยวะเพศด้วย
การตรวจ HPV
การตรวจ HPV ในผู้หญิงและผู้ชายจะมีความแตกต่างกัน
การตรวจ HPV ในผู้หญิง
การตรวจ Pap test เป็นประจำช่วยบ่งชี้เซลล์ที่ผิดปกติในผู้หญิงที่ส่งสัญญาณการเป็นมะเร็งปากมดลูกหรือปัญหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ HPV
ผู้หญิงอายุ 21 – 29 ปี ควรได้รับการตรวจ Pap test ทุก ๆ 3 ปี ส่วนผู้หญิงที่มีอายุ 30 – 65 ปี ควรปฏิบัติตามข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
-
รับการตรวจ Pap test ทุก 3 ปี
-
รับการตรวจ HPV ทุก ๆ 5 ปี ซึ่งเป็นการตรวจหา HPV ชนิดที่มีความเสี่ยงสูง (hrHPV)
-
รับการตรวจ Pap test ร่วมกับ การตรวจ HPV ทุก ๆ 5 ปี ซึ่งเรียกว่า การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (co-testing)
จากข้อเสนอแนะของคณะทำงานพิเศษเพื่อการป้องกันโรค (USPSTF) บ่งชี้ว่า การตรวจแบบ Standalone tests เป็นการตรวจแบบเจาะจงอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่าง Pap test กับ การตรวจ HPV จะเป็นวิธีที่นิยมใช้มากกว่าการตรวจการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
ในผู้หญิงที่อายุน้อยกว่า 30 ปี ปพทย์หรือสูตินรีแพทย์อาจขอทำการตรวจ HPV หากพบความผิดปกติจากผลการตรวจ pap test
เชื้อ HPV อย่างน้อย 14 สายพันธุ์ที่นำไปสู่ให้เกิดโรคมะเร็งได้ หากพบมีการติดเชื้อชนิดใดชนิดหนึ่งของเชื้อ HPVในกลุ่มนี้ แพทย์อาจติดตามดูการเปลี่ยนแปลงของปากมดลูก
แพทย์อาจทำการตรวจ Pap test บ่อยขึ้น และแพทย์อาจติดตามผลการรักษาโดยทำการตรวจภายในช่องคลอดด้วยการส่องกล้องขยาย (colposcopy)
การเปลี่ยนแปลงของปากมดลูกที่จะนำไปสู่การเป็นมะเร็งปากมดลูกมักใช้เวลาในการพัฒนานานหลายปี และการติดเชื้อ HPV มักจะหายไปเองโดยไม่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง ผู้ป่วยอาจต้องรอคอยและติดตามอาการอย่างระมัดระวังแทนการรักษาเข้ารับการรักษาเซลล์ที่ผิดปกติหรือเซลล์มะเร็งก่อนเวลาอันสมควร
การตรวจ HPV ในผู้ชาย
สิ่งสำคัญที่ควรเข้าใจ คือ การตรวจ HPV DNA มีไว้เพื่อวินิจฉัยโรค HPV ในผู้หญิงเท่านั้น ซึ่งในขนะนี้ยังไม่มีการรับรองจาก FDA สำหรับการตรวจและวินิจฉัยโรค HPV ในผู้ชาย
CDC ไม่แนะนำให้ทำการตรวจคัดกรองมะเร็งทวารหนัก มะเร็งที่คอ หรือ หรือมะเร็งองคชาตในผู้ชายเป็นประจำ
แพทย์บางคน .สำหรับผู้ชายที่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในการเป็นมะเร็งทวารหนัก รวมถึงผู้ชายที่ได้รับการร่วมเพศทางทวารหนักและผู้ชายที่ติดเชื้อ HIV แพทย์บางคนอาจทำการตรวจ Pap test ทางทวารหนัก
การรักษา HPV
เมื่อติดเชื้อ HPV ส่วนใหญ่อาการจะหายไปได้เอง ดังนั้นจึงไม่มีการรักษาการติดเชื้อ แพทย์อาจให้ผู้ป่วยเข้ารับการตรวจซ้ำใน 1 ปีเพื่อติดตามการติดเชื้อ HPV ว่ายังคงมีอยู่หรือไม่ และมีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ที่พัฒนาขึ้นหรือไม่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องมีการติดตามเพิ่มเติม
หูดหงอนไก่ สามารถรักษาได้ด้วยยาตามใบสั่งแพทย์ การจี้ด้วยกระแสไฟฟ้า หรือการแช่แข็งด้วยไนโตรเจนเหลว แต่การกำจัดหูดทางกายภาพไม่ได้เป็นการรักษาไวรัสและอาจกลับมาแสดงอาการของหูดอีกครั้ง
แพทย์อาจทำการกำจัดเซลล์ก่อมะเร็งออกโดยขั้นตอนสั้นๆ ที่สถานพยาบาล มะเร็งที่เกิดจากเชื้อ HPV อาจได้รับการรักษาด้วยวิธีต่างๆ เช่น เคมีบำบัด การฉายรังสี หรือการผ่าตัด และบางครั้งอาจใช้หลายวิธีร่วมกัน
ขณะนี้ยังไม่มีการสนับสนุนทางการแพทย์สำหรับวิธีการรักษาการติดเชื้อ HPV โดยแพทย์ทางเลือก
การตรวจคัดกรอง HPV และมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำมีความสำคัญสำหรับการติดตามรักษา และดูแลปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดจากการติดเชื้อ HPV รวมถึงการเลือกแนวทางการรักษา
ติดเชื้อ HPV ได้อย่างไร
ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์แบบเนื้อแนบเนื้อจะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HPV นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจเพิ่มความเสี่ยงสำหรับสำหรับการติดเชื้อ HPV ในบางคน ได้แก่
-
มีคู่นอนหลายคน
-
มีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทางปาก หรือทางทวารหนัก โดยไม่มีการป้องกัน
-
มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
-
มีคู่นอนที่ติดเชื้อ HPV
หากคุณติดเชื้อ HPV ชนิดที่มีความเสี่ยงสูง ปัจจัยบางอย่างต่อไปนี้ อาจทำให้มีการติดเชื้อได้มากขึ้นและอาจกลายเป็นมะเร็งได้
-
มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
-
เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ เช่น โรคหนองใน การติดเชื้อคลาไมเดีย และโรคเริม
-
การอักเสบเรื้อรัง
-
มีลูกหลายคน (มะเร็งปากมดลูก)
-
การใช้ยาคุมกำเนิดอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน (มะเร็งปากมดลูก)
-
การสูบบุหรี่ (มะเร็งปากหรือลำคอ)
-
การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก (มะเร็งทวารหนัก)
การป้องกัน HPV
วิธีป้องกันการติดเชื้อ HPV ที่ง่ายที่สุดคือการใช้ถุงยางอนามัย และการร่วมเพศอย่างปลอดภัย
นอกจากนี้ยังมีวัคซีน Gardasil 9 สำหรับใช้ป้องกันหูดหงอนไก่และมะเร็งที่เกิดจากการติดเชื้อ HPV ซึ่งวัคซีนนี้สามารถป้องกัน HPV ที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งหรือหูดหงอนไก่ได้ 9 ชนิด
หน่วยงานป้องกันโรคติดต่อในสหรัฐอเมริกา (CDC) แนะนำให้ฉีดวัคซีน HPV สำหรับเด็กชายและเด็กหญิงอายุ 11 – 12 ปี จำนวน 2 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกันอย่างน้อย 6 เดือน สำหรับผู้หญิงและผู้ชายที่มีอายุ 15 – 26 ปี สามารถรับการฉีดวัคซีนได้ 3 เข็ม ตามระยะเวลาที่กำหนด
นอกจากนี้ ผู้ที่มีอายุระหว่าง 27-45 ปี ที่ยังไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีน HPV มาก่อน จะมีสิทธิ์ได้รับการฉีดวัคซีนการ์ดาซิล 9 (Gardasil 9)
เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวเนื่องจาก HPV ควรรับการตรวจคัดกรองสุขภาพ และตรวจ Pap smears เป็นประจำ
HPV กับการตั้งครรภ์
การติดเชื้อ HPV ไม่ได้ลดโอกาสในการตั้งครรภ์ ในสตรีที่กำลังตั้งครรภ์และมีภาวะการติดเชื้อ HPV อาจต้องชะลอการรักษาออกไปจนกว่าจะคลอดบุตร อย่างไรก็ตามการติดเชื้อ HPV ในบางกรณีก็อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้
การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่เกิดขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์ อาจทำให้หูดหงอนไก่มีเลือดออก และมีขนาดโตขึ้น หากหูดหงอนไก่มีขนาดใหญ่มากอาจส่งผลกระทบต่อการคลอด คือ ทำให้การคลอดทางช่องคลอดทำได้ยาก
เมื่อหูดหงอนไก่ปิดกั้นช่องคลอดอาจมีความจำเป็นต้องใช้ทำการผ่าคลอด(C-section)
ในบางกรณี ผู้หญิงที่มีเชื้อ HPV บางคนสามารถถ่ายทอดเชื้อนี้ไปยังทารกได้ ในสภาวะเช่นนี้ HPV จะเกี่ยวข้องกับทางเดินหายใจ โดยพัฒนาไปเป็นหูดหงอนไก่ที่ทางเดินหายใจของทารก ซึ่งเกิดขึ้นได้ยาก
ในระหว่างตั้งครรภ์เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของปากมดลูก ดังนั้นควรวางแผนที่จะรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและ HPV อย่างต่อเนื่องในขณะที่กำลังตั้งครรภ์ ค้นพบเพิ่มเติมเกี่ยวกับ HPV และการตั้งครรภ์
ภาวะแทรกซ้อนของ HPV
Human Papillomavirus (HPV) สามารถนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้ ซึ่งบางส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาของมะเร็งบางชนิดและปัญหาสุขภาพอื่นๆ HPV เป็นกลุ่มของไวรัสที่เกี่ยวข้องมากกว่า 200 ชนิด และแม้ว่าการติดเชื้อ HPV จำนวนมากจะไม่เป็นอันตรายและหายได้เอง แต่บางชนิดก็อาจทำให้เกิดปัญหาระยะยาวได้ ภาวะแทรกซ้อนและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับ HPV มีดังนี้- หูดที่อวัยวะเพศ : HPV อาจทำให้เกิดการเจริญเติบโตของหูดบริเวณอวัยวะเพศและทวารหนักได้ หูดเหล่านี้อาจทำให้รู้สึกไม่สบายและอาจต้องได้รับการรักษาเพื่อเอาออก แม้ว่าหูดที่อวัยวะเพศจะไม่เป็นมะเร็ง แต่ก็มีสาเหตุมาจากเชื้อ HPV สายพันธุ์บางชนิดที่สามารถนำไปสู่มะเร็งได้
- มะเร็งปากมดลูก : HPV ที่มีความเสี่ยงสูงบางชนิด โดยเฉพาะ HPV-16 และ HPV-18 สามารถทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกในสตรีได้ การตรวจแปปสเมียร์และการฉีดวัคซีน HPV เป็นประจำสามารถช่วยป้องกันมะเร็งปากมดลูกหรือตรวจพบมะเร็งในระยะเริ่มต้นที่สามารถรักษาได้
- มะเร็งอื่นๆ : นอกจากมะเร็งปากมดลูกแล้ว HPV ยังเชื่อมโยงกับมะเร็งประเภทอื่นๆ เช่น มะเร็งทวารหนัก มะเร็งอวัยวะเพศชาย มะเร็งปากช่องคลอด มะเร็งช่องคลอด และมะเร็งศีรษะและคอบางชนิด (โดยเฉพาะมะเร็งคอหอย) มะเร็งเหล่านี้อาจเกิดขึ้นหลายปีหลังจากการติดเชื้อ HPV
- การแพร่เชื้อสู่ทารก : ในระหว่างการคลอดบุตร มารดาที่ติดเชื้อ HPV สามารถแพร่เชื้อไวรัสไปยังทารกได้ ซึ่งอาจนำไปสู่หูดที่ระบบทางเดินหายใจหรืออวัยวะเพศในเด็กได้
- ภาวะแทรกซ้อนจากการกดภูมิคุ้มกัน : ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ผู้ที่ติดเชื้อ HIV/AIDS หรือได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการติดเชื้อ HPV ที่รุนแรงและต่อเนื่องมากขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงยิ่งขึ้น
- ผลกระทบทางจิตใจและอารมณ์ : การวินิจฉัยโรค HPV หรือภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องอาจมีผลกระทบทางจิตใจและอารมณ์ต่อบุคคล ทำให้เกิดความเครียด วิตกกังวล และความกังวลเกี่ยวกับสุขภาพทางเพศ
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team